เมนูปิด

 

          บริษัท ก. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 18 เมษายน 2537 และเงื่อนไขลงวันที่ 25 ตุลาคม 2537 บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยคำนวณกำไรสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดบริษัทฯ ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 โดยสรุปมีดังต่อไปนี้


          มาตรา 31 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 8 ปี (เฉพาะส่วนที่ส่งออก) นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น


          มาตรา 35 (1) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนด 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง (เฉพาะส่วนที่ส่งออก)


          เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ มีอัตราภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 อัตรา คือ อัตราร้อยละ 30 สำหรับกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและอัตราร้อยละ 15 สำหรับ กำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงมีปัญหาว่า


          1. การเปรียบเทียบแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ต้องพิจารณาเปรียบเทียบอย่างไร จากข้อเท็จจริง ดังนี้ รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2548 - 31ธันวาคม 2548



          กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุนลดอัตราภาษี 50% (อัตราภาษีที่ชำระ 15%) กิจการไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน เสียภาษีปกติ (อัตราภาษีที่ชำระ30%) รวมทั้งสิ้น


          1.กำไรสุทธิ ภ.ง.ด.50                            

          3,315,856,944.00           3,528,156,008.00           6,844,012,952.00


          2.ประมาณการกำไรสุทธิ ภ.ง.ด. 51           

          642,924,975.00           1,694,984,025.00           2,337,909,000.00


          3.ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป              

          2,672,931,969.00           1,833,171,983.00           4,506,103,952.00


          4.คิดเป็นอัตราร้อยละ                                                   

          80.61                                51.96                                65.84



           2. การพิจารณา "เหตุอันสมควร" ตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา "เหตุอันสมควร" กรณีแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ต้องพิจารณาอย่างไร จากข้อเท็จจริง ดังนี้


          รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุนลดอัตราภาษี 50% (อัตราภาษีที่ชำระ 15%) กิจการไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุนเสียภาษีปกติ (อัตราภาษี ที่ชำระ30%)


          รวมทั้งสิ้นรอบบัญชีปี 2547 ภ.ง.ด. 50         

          398,386,545.00                                 0.00               398,386,545.00


          รอบบัญชีปี 2548 ภ.ง.ด. 51                         

           96,438,746.50             153,561,253.50               250,000,000.00

           ประมาณการเสียภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 51 รอบบัญชีปี 2548 น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ภ.ง.ด. 50 ปี 2547 - ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ภ.ง.ด. 50 ปี 2547

          1. กรณีบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (เฉพาะส่วนที่ส่งออก) และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และอยู่ในระยะเวลาได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของ อัตราปกติ มีกำหนด 5 ปี ตามมาตรา 31 และมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว


          2. ตามข้อ 1 กรณีบริษัทฯ ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 ขาดไปร้อยละ 65.84 ของกำไรสุทธิรวม เข้าลักษณะบริษัทฯ ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวม ซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น กรณีไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ชำระขาดตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร


          3. ตามข้อ 2 กรณีการพิจารณาเหตุอันสมควรตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว กำหนดว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วให้ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร


          เมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรวม ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2547 (ภ.ง.ด.50) จำนวน 398,386,545.00 บาท และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีรวมในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 (ภ.ง.ด.51) จำนวน 250,000,000.00 บาท จึงเข้าลักษณะบริษัทฯ ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือว่า เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร ตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว บริษัทฯ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ชำระขาดตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.02)/3106
วันที่: 11 ตุลาคม 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50
ข้อกฎหมาย: มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
แนววินิจฉัย
เลขตู้: 70/35378

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020