เมนูปิด

ข้อ 26
การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

 

1.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงนี้ ข้อสนเทศใดซึ่งได้แลกเปลี่ยนโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งให้ถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้กฎหมายภาษีภายใน ของรัฐนั้น และจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (รวมทั้งศาลและ องค์การฝ่ายบริหาร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมิน หรือการจัดเก็บ การบังคับหรือการ ดำเนินคดี หรือการชี้ขาดคำอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่อยู่ในขอบข่ายของความตกลงนี้ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเช่นว่านั้น จะใช้ข้อสนเทศนั้น เพียงเพื่อ ความมุ่งประสงค์นั้นเท่านั้นบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจเปิดเผยข้อสนเทศในการ ดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลหรือในคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล

 

2.             ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม มิให้แปลความหมายบทบัญญัติของวรรค 1 เป็นการตั้งข้อผูกพันบังคับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของทั้งสองรัฐ ให้ต้อง

 

                (ก)          ดำเนินมาตรการทางการบริหาร โดยบิดเบือนไปจากกฎหมายและวิธีปฏิบัติทางการบริหารของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ข)          ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำสัญญา รัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ค)          ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรมพาณิชยกรรม หรือวิชาชีพ  หรือกรรมวิธีทางการค้า หรือข้อสนเทศ ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการขัดกับนโยบายสาธารณะ

 

 

ข้อ 27
เจ้าหน้าที่ทางการทูตและทางการกงสุล

                ความตกลงนี้จะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของทูตหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

ข้อ 28
การเริ่มใช้บังคับ

1.             รัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญาจะแจ้งซึ่งกันและกันว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายภายใน ในอันที่จะให้ความตกลงนี้มีผลบังคับเสร็จสิ้นแล้ว

 

2.             ความตกลงจะมีผลใช้บังคับภายใน 30 วัน หลังจากการแจ้งครั้งหลังตามวรรค 1ของข้อนี้ และความตกลงนี้จะมีผล

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่จ่ายหรือเครดิตในหรือหลังจากวันแรกของ เดือนที่สองถัดจากวันที่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ

 

                (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอื่น สำหรับรอบระยะเวลาภาษีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือน มกราคมถัดจากวันที่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ

 

 

ข้อ 29
การสิ้นสุดความตกลง

                ความตกลงนี้จะยังคงมีผลใช้บังคับตลอดไป รัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐอาจบอกเลิกโดยแจ้งรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านวิถีทางการทูตในหรือก่อนวันที่ 30 มิถุนายนของปีปฏิทินใดๆ หลังความตกลงมีผลใช้บังคับแล้วเป็นระยะเวลา 5 ปี ในกรณีเช่นว่านั้น ความตกลงเป็นอันเลิกมีผลใช้บังคับ

 

                (ก)          ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

                               (1)          ในส่วนของเงินได้สำหรับปีภาษีใดๆที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือน มกราคม ของปีปฏิทินถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิก

 

                (ข)          ในประเทศไทย

 

                               (1)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวัน แรกของเดือนมกราคมในปีปฏิทินถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิก

 

                               (2)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆ สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่ม ต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมในปีปฏิทิน ถัดจากปีที่มีการแจ้งการ บอกเลิก

 

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องจาก รัฐบาลแต่ละฝ่ายได้ลงนามในความตกลงนี้

 

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ ............. เมื่อวันที่............. ปีหนึ่งพันเก้าร้อย....................         สอดคล้องกับ............. ทำคู่กันสองฉบับ เป็นภาษาไทย ภาษาอารบิค และภาษาอังกฤษ ทุกฉบับใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกัน

 

                ในกรณีที่มีความแตกต่างในการตีความของบทบัญญัติในความตกลงนี้ให้ใช้ฉบับภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์

 

 

พิธีสาร

                ในการลงนามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ผู้ลงนามข้างท้ายนี้

 

                ได้ตกลงกันว่าบทบัญญัติดังต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของความตกลง

 

1.             จากข้อ 4

                เป็นที่เข้าใจว่าคำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" ซึ่งใช้ในประโยคแรกของวรรค 1 รวมถึงรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น ส่วนราชการใดๆ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐบาลส่วนท้องถิ่นของรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น รวมทั้งสถาบันการเงินใดๆที่เป็นของหรือถูกควบคุมโดยรัฐ ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ รัฐบาลส่วนท้องถิ่น

 

2.             จากข้อ 7

 

                (1)          ภายใต้บทบัญญัติข้อ 23 ของความตกลงนี้ บทบัญญัติอื่น ๆ จะไม่มีผลต่อสิทธิของรัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ที่จะใช้กฎหมายของตนในการจัดเก็บภาษีอากรจากเงินได้ที่ได้รับจากปิโตรเลียม และทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมนั้นจะเสียภาษีตาม กฎหมายของรัฐนั้น

 

                (2)          ตามวรรค 1,5,6 และ 7 เป็นที่เข้าใจว่าคำว่า "กำไร" หมายถึง เงินได้หรือกำไร

 

                (3)          บทบัญญัติของวรรค 3 จะใช้บังคับโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดที่บัญญัติ โดยกฎหมายภายใน หากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของธุรกิจของสถานประกอบการถาวรโดยตรง และเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP)

 

3.             ตามข้อ 8. 10 และ 11

 

                (1)          ได้ตกลงว่าหากภายใต้อนุสัญญาหรือความตกลงใดๆ หรือพิธีสารของอนุสัญญาหรือความตกลงที่ประเทศไทยได้ลงนามกับคณะบุคคลใดๆหรือสภาความร่วมมือของรัฐในอ่าวเปอร์เซีย หรือรัฐที่สามภายหลังจากการลงนามในความตกลงนี้ให้ความตกลงตามบทบัญญัติวรรค 2 ของข้อ 8 วรรค 2 และ 7 ของข้อ 10 และวรรค 2 ของข้อ 11 ให้การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์มากกว่าที่ให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ภายใต้ความตกลงนี้ ดังนั้น นับจากวันที่อนุสัญญาหรือความตกลงหรือพิธีสารดังกล่าวมีผลบังคับใช้การให้การปฏิบัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตามความตกลงนี้ด้วยโดยอัตโนมัติ

 

                (2)          ในกรณีที่ประเทศไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอัตราภาษีภายหลังจากได้มีการลงนามในความตกลงนี้ อัตราภาษีนี้นั้นจะมีผลบังคับใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ด้วย

 

4.             ตามข้อ 12 คำว่า " ค่าสิทธิ" ไม่รวมถึงการจ่ายให้แก่รัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งภายใต้สัมปทานเหมืองแร่ หรือเหมืองหิน หรือการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

 

5.             เป็นที่เข้าใจว่าองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง จะได้รับการยกเว้นภาษีจากรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง การกำหนดให้เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จะเป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศไทย


พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
(สิทธิ เศวตศิลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น


ทาโร นากายามา
(ทาโร นากายามา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 

 

 

บันทึกความเข้าใจ

                ในการเจรจาระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8 - 12 ธันวาคม 2540 เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ตกลงดังนี้

 

                ตามวรรค 6 ของข้อ 10 ของความตกลงนี้ ภาษีไทยที่เก็บจากการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จะไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติของวรรคนี้

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011