เมนูปิด

ข้อ 26
ผู้แทนทางการทูตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล

 

                ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้จะมีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิทางการรัษฎากรของผู้แทนทางการพูด หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

ข้อ 27
การเริ่มใช้บังคับ

1.             รัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐจะแจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดตาม กฎหมายของรัฐนั้น เพื่อที่จะทำให้อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ได้เรียบร้อยแล้ว อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้ได้ในวันหลังของการแจ้งเหล่านั้น

 

2.             บทบัญญัติของอนุสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้

 

                ก)            สำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนที่จ่าย หรือเครดิตในหรือหลังจากวันแรกของ

                               เดือนมกราคม ถัดจากวันที่อนุสัญญามีผลบังคับใช้ และ

 

                ข)            สำหรับภาษีอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับปีภาษี หรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวัน

                               แรกของเดือนมกราคม ถัดจากวันที่อนุสัญญามีผลบังคับใช้

 

 

ข้อ 28
การเลิกใช้

1.             อนุสัญญาฉบับนี้จะคงมีผลใช้บังคับตลอดไป แต่รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใด อาจบอกเลิก อนุสัญญานี้ได้โดยแจ้งการบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักรให้รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งทราบดดยทางการทูต ไม่ช้ากว่าวันที่ 30 มิถุนายนของปีปฏิทินใด ๆ ภายหลังจากที่อนุสัญญานี้เริ่มใช้บังคับมาแล้ว 5 ปี

 

2.             ในกรณีเช่นนี้อนุสัญญาเป็นอันเลิกมีผลบังคับ

 

                ก)            สำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนที่จ่ายหรือเครดิต หลังจากวันสิ้นสุดของปี

                               ปฏิทินที่ได้มีการแจ้งการบอกเลิก และ

 

                ข)            สำหรับภาษีอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นหลังจากวันสิ้นสุดของ

                               ปีปฏิทินที่ได้มีการแจ้งการบอกเลิก เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายซึ่งไดรับมอบ

                               อำนาจโดยถูกต้องได้ลงนามใน อนุสัญญานี้

 

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องได้ลงนามในอนุสัญญานี้

 

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ   ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปีหนึ่งพันเก้าร้อยเก้าสิบหก เป็นภาษีอังกฤษและไทย ต้นฉบับทุกฉบับใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกัน เว้นแต่กรณีที่มีข้อสงสัยให้ถือตัวฉบับภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ

 

ฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักรไทยไทย 


(ฯพณฯ ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้


(ฯพณฯ นายรูล์ เอช กอริส)
เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม

 

 

 

พิธีสาร

                ในการลงนามอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้  เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร  ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้  ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้ตกลงกันตามบทบัญญัติต่อไปนี้  ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญานี้

 

1.             ตามข้อ 7 วรรค 1, 5, 6 และข้อ 8  เป็นที่เข้าใจว่า คำว่า “กำไร” หมายถึง  เงินได้หรือกำไร

 

2.             ตามข้อ 7 วรรค 2, 3 และ 4  เป็นที่เข้าใจว่าในกรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในแอฟริกาใต้ที่ไม่สามารถใช้สิทธิทางภาษีอากรในประเทศไทยบนพื้นฐานของการคำนวณกำไรสุทธิของสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ไม่มีข้อความใดในวรรคที่กล่าวถึง จะจำกัดสิทธิประเทศไทยจากการกำหนดกำไรที่พึงถือเป็นของสถานประกอบการถาวรบนพื้นฐานของอัตราร้อยละที่เหมาะสมของยอดรายรับทั้งสิ้นของสถานประกอบการถาวร โดยมีเงื่อนไขว่า ผลนั้นจะเป็นตามหลักการที่มีอยู่ในข้อที่กล่าวถึงนี้

 

3.             ตามข้อ 8 วรรค 2 เป็นที่เข้าใจว่าเงินได้ที่ได้รับจากวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง จากการดำเนินการเดินเรือในการเจรจาจรระหว่างประเทศ ซึ่งอาจเก็บภาษีได้ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้นหมายถึง

 

                (ก)          ในกรณีการขนส่งผู้โดยสาร เงินได้ที่เรียกเก็บในอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ข)          ในกรณีการขนส่งสินค้า เงินได้เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าจากรัฐอีกรัฐหนึ่ง ในการดำเนินธุรกิจใน

                              รัฐต่างๆ รวมทั้งในอีกรัฐหนึ่งนั้น ตามกฎหมายภาษีภายในของอีกรัฐหนึ่งนั้น

 

4.             ตามข้อ 20 เป็นที่เข้าใจว่าผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง จะไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ให้เสียภาษีอากรใดๆ อันเป็นการนอกเหนือไปจากหรือเป็นภาระหนักว่าภาษีอากรซึ่งผู้มีถิ่นที่อยู่ในอีกรัฐหนึ่งนั้นถูกหรืออาจถูกบังคับให้เสียในสถานการณ์เดียวกัน

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011