เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.09141
วันที่: 2 กันยายน 2542
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินมัดจำป้ายทะเบียนรถยนต์ (ป้ายแดง)
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(10), มาตรา 82/3, มาตรา 86/10
ข้อหารือ: บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายรถยนต์ ได้ให้ลูกค้ายืมป้ายทะเบียนแดง (สมุดคู่มือ
ประจำรถใช้กับเครื่องหมายพิเศษ) เพื่อให้ลูกค้าใช้ชั่วคราวระหว่างขับรถยนต์ไปที่กรมขนส่งทางบกเพื่อ
จดทะเบียน เมื่อได้ป้ายทะเบียนจริงแล้วลูกค้าจึงจะคืนป้ายทะเบียนแดงให้บริษัทฯ ในกรณีดังกล่าวหาก
บริษัทฯ เรียกเก็บเงินมัดจำป้ายทะเบียนแดงจากลูกค้า เมื่อลูกค้าได้ป้ายทะเบียนจริงแล้ว ลูกค้าจึงจะนำ
ป้ายทะเบียนแดงมาคืน โดยบริษัทฯ คืนเงินมัดจำให้ลูกค้า การคืนเงินมัดจำดังกล่าวคืนให้ลูกค้าทุกราย
โดยไม่มีเงื่อนไขจึงหารือว่า
1. เงินมัดจำค่าป้ายแดงดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่ามัดจำโดยมีภาษี
มูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. หากต้องออกใบกำกับภาษีขายสำหรับเงินมัดจำดังกล่าว เมื่อคืนค่ามัดจำให้กับลูกค้า
บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1. การให้ยืมป้ายทะเบียนแดงชั่วคราวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการตาม
มาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะต้องนำเงินมัดจำป้ายทะเบียนแดงจากลูกค้าไปเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(3)(ข) แห่ง
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2 541
2. กรณีตาม 2. เมื่อมีการคืนเงินมัดจำค่าป้ายทะเบียนแดง บริษัทฯ ต้องออกใบลดหนี้
ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกค้าตามมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.80/2542 ฯ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
เลขตู้: 62/28276

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020