เมนูปิด

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

 

---------------------------------------------

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 399) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้

 

                ข้อ 1  จำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จำนวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และต้องเป็นจำนวนเงินที่นำไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

                ในการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกันจัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความตามที่แนบท้ายประกาศนี้

                           ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้

                           (1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินประสงค์จะชำระภาษีอากรก่อนในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน

                           (2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ สรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมีภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่

 

                ข้อ 2  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545

 

ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

อธิบดีกรมสรรพากร

 

 

                หนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 399) พ.ศ. 2545

                                                                                                                  วันที่…….…..เดือน………..…………พ.ศ……….

 

                   เจ้าพนักงานที่ดิน…………………

เรียน

                   อธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านสรรพากรพื้นที่/สรรพากรจังหวัด……………………..)

 

                                1. หนังสือนี้ทำขึ้นโดย

                                        (1) …………………………………………………………ผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็น ลูกหนี้/ ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ราย…………..…..……………………………….…ที่อยู่/สำนักงาน(ของผู้โอน) ตั้งอยู่ เลขที่………ถนน…………ตำบล/แขวง………….อำเภอ/เขต…………จังหวัด………………………

                                       (2) สถาบันการเงิน…………………………………………………………………………………… สำนักงานตั้งอยู่เลขที่……ตำบล/แขวง……………อำเภอ/เขต………………จังหวัด………………………ซึ่ง ต่อไปนี้เรียกว่า “ เจ้าหนี้ ”

                                       (3) ผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์…………………………………………………..ที่อยู่/สำนักงาน ตั้งอยู่เลขที่……ตำบล/แขวง…………………..อำเภอ/เขต………………….จังหวัด………………………..ซึ่ง ต่อไปนี้เรียกว่า “ ผู้ซื้อ ”

                                2. ตามที่ลูกหนี้ได้รับสินเชื่อจากเจ้าหนี้                เพื่อนำเงินไปใช้ในการดำเนินธุรกิจดัง รายละเอียดปรากฏตามสัญญาให้สินเชื่อเลขที่……………………..…ลงวันที่…...…………………และ/หรือ คำขอเลขที่…………………ลงวันที่…………………………….ที่ใช้เป็นหลักฐานในการให้สินเชื่อ

                                3. เนื่องจากลูกหนี้ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจอันเป็นผลกระทบมาจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้สินเชื่อให้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนเงินและ/หรือตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้และหรือผู้ค้ำประกันและเจ้าหนี้จึงได้ตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เลขที่……………ลงวันที่…………………

                                4. ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ จึงได้โอนอสังหาริมทรัพย์   [ ]  โฉนด   [ ]   น.ส.3   [ ]  น.ส.3ก.   [ ]   อื่น ๆ ……………เลขที่…………หมู่ที่……………ตำบล/แขวง…………………..อำเภอ/เขต…………………จังหวัด….…….…………..ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ได้นำมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ไว้ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ตามหนังสือสัญญาขายลงวันที่………เดือน……………….พ.ศ…….… ซึ่งลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ และผู้ซื้อตกลงซื้อขายกันในราคา……………………………….บาท ราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นจำนวนเงิน………………………บาท

                                5. ลูกหนี้มีหนี้คงค้างชำระอยู่กับเจ้าหนี้ ณ วันที่ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดจำนวน………………………….บาท

                                    และในขณะที่ทำสัญญาโอนอสังหาริมทรัพย์ตามหนังสือรับรองฉบับนี้ลูกหนี้มีหนี้คงค้างชำระอยู่กับเจ้าหนี้จำนวน……………..………….บาท

                                6. ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ซื้อ ตกลงและรับทราบว่า ลูกหนี้ต้องนำเงินจำนวน…………………………บาท ที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ตาม 4. มาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 399) พ.ศ. 2545

                                    ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ซื้อ ขอรับรองว่ารายการในหนังสือรับรองฉบับนี้เป็นความจริงทุกประการ

 

                                จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

 

 

                                     ลงชื่อ……………………………..ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้

 

(……………………………………….)

 

ในฐานะ…………………………..……….

 

ลงชื่อ…………………………………..…เจ้าหนี้

 

(….……………………………………)

 

ในฐานะ…………………………………..

 

ลงชื่อ…………………………………….ผู้ซื้อ

 

(……………………………………….)

 

ในฐานะ………………………………….

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022