เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./4795 |
วันที่ | : 18 พฤษภาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการของสหกรณ์ฯ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 77/1(8)(9), มาตรา 77/2, มาตรา 77/2(1), มาตรา 77/1(10), มาตรา 81(1)(ก), มาตรา 81/3 |
ข้อหารือ | : สหกรณ์ฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทผลิตส่งออก ขายส่งยางพารา แผ่นและยางพาราแท่ง สหกรณ์ฯ ได้หารือว่าการประกอบกิจการต่าง ๆ ของสหกรณ์ฯ ดังต่อไปนี้อยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ 1. การรวบรวมยางแผ่นจากสมาชิกเพื่อนำไปขายให้แก่พ่อค้าโดยวิธีประมูลราคาในนามของ สหกรณ์ฯ โดยสหกรณ์ฯ จะมีเจ้าหน้าที่ทำการคัดชั้นยาง ชั่งยาง และขนย้ายยางขึ้นลงจากรถให้แก่สมาชิก และพ่อค้าที่ประมูลซื้อยาง พ่อค้าที่ซื้อยางจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสหกรณ์ฯ ภายใน 3 วันนับแต่ วันที่ซื้อยางไป โดยสหกรณ์ฯ จะมีรายได้จากการเก็บค่าดำเนินการต่าง ๆ ร้อยละ 1.5 ของมูลค่า ยางในแต่ละงวด เมื่อสิ้นปีหากสหกรณ์ฯ มีผลกำไรหลังจากหักค่าใช้จ่าย (ค่าดำเนินการร้อยละ 1.5) จะนำไปเฉลี่ยคืนตามส่วนให้แก่สมาชิกที่นำยางมาร่วมประมูล 2. รับซื้อยางแผ่นจากสมาชิกเพื่อนำไปผลิตยางแท่ง 3. รวบรวมน้ำยางจากสมาชิก โดยสหกรณ์ฯ จะจัดซื้อถังขนาด 200 ลิตร ให้สมาชิกยืมไปใช้ บรรจุน้ำยางเพื่อนำมาส่งให้สหกรณ์ฯ และสหกรณ์ฯ จะคำนวณค่าน้ำยางที่จะต้องจ่ายให้สมาชิกโดย การคำนวณเปอร์เซ็นต์ยางแห้งในห้องแล็ป จากนั้นสหกรณ์ฯ จะรวบรวมน้ำยางใส่แท็งค์ขนาด 2 ตัน เพื่อ ขายให้โรงงานผลิตน้ำยางข้น เมื่อโรงงานจ่ายเงินค่าน้ำยางแล้วสหกรณ์ฯ จะโอนเงินเข้าบัญชีของ สมาชิกที่นำน้ำยางมาส่ง โดยสหกรณ์ฯ จะมีรายได้จากส่วนต่าง และเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี หาก สหกรณ์ฯ มีผลกำไรก็จะเฉลี่ยคืนในส่วนของธุรกิจน้ำยางให้สมาชิกที่นำน้ำยางมาส่งต่อไป 4. ขายถังน้ำยางให้สมาชิกที่ยืมถังไปใช้งานแล้วเกิดรั่วเสียหาย หรือมีน้ำหนักขี้ยางในถังเกิน 40 กิโลกรัม สหกรณ์ฯ จะขายเป็นเศษเหล็กโดยวิธีประมูลซื้อ สหกรณ์ฯ จะนำรายได้จากการขายถัง น้ำยางดังกล่าวไปรวมในส่วนของธุรกิจรวบรวมน้ำยาง 5. จำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก เช่น ปุ๋ย น้ำกรด ยากำจัดวัชพืช ผงทาหน้ายาง เมื่อ มีผลกำไรจะคืนให้สมาชิก 6. ให้บริการชั่งน้ำหนักรถยนต์ สหกรณ์ฯ มีเครื่องชั่งขนาด 40 ตันเพื่อชั่งเปรียบเทียบน้ำหนัก ของยางแผ่นและน้ำยางที่จัดขายให้โรงงาน และสหกรณ์ฯ จะให้เกษตรกรทั่วไปนำสินค้าเกษตรมาชั่งได้ โดยคำนวณค่าบริการชั่งน้ำหนักรถยนต์สำหรับรถสี่ล้อเล็ก 20 บาทต่อครั้ง และรถบรรทุก 40 บาทต่อครั้ง 7. ให้เช่ารถโฟลคลิฟท์ ซึ่งสหกรณ์ฯ มีไว้ตักถังน้ำยาง เมื่อหมดฤดูกาลกรีดยางแล้วสหกรณ์ฯ จะให้สมาชิกเช่ารถดังกล่าวไปใช้งานได้ แต่ปัจจุบันไม่ได้ให้เช่าแล้ว |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีสหกรณ์ฯ ขายยางพารา ไม่ว่าจะเป็นการขายยางแผ่น โดยการรวบรวมจากสมาชิก แล้วนำมาคัดชั้นยาง ชั่งยาง ขนย้ายยาง และขายให้แก่พ่อค้าโดยวิธีประมูลราคาในนามของสหกรณ์ฯ หรือการขายน้ำยางโดยการรวบรวมน้ำยางจากสมาชิกแล้วนำไปขายให้แก่โรงงานผลิตน้ำยางข้น หรือ การขายยางแท่ง เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าที่เป็นพืชผลทางการเกษตร ผู้ประกอบการขายสินค้า ดังกล่าวที่มิใช่การส่งออก ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขายสินค้าดังกล่าวจะต้องไม่ได้ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อ อธิบดีตามแบบที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีการขายถังน้ำยาง เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร 3. กรณีขายสินค้าต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก หากการขายสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายปุ๋ย การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัด ศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์ การขายสินค้าดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ค) และ (จ) แห่งประมวลรัษฎากร 4. กรณีการให้บริการเครื่องชั่งน้ำหนักรถยนต์และให้เช่ารถ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร 5. กรณีการส่งออกยางพารา เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 67/32954 |