เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/9948
วันที่: 17 ตุลาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 48/5, มาตรา 50(1)
ข้อหารือ: ธนาคารฯ หารือว่าตามข้อบังคับธนาคารฯ ว่าด้วยเงินบำเหน็จ กำหนดการจ่าย
เงินบำเหน็จให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ครั้งเดียวเมื่อออกจากงานหรือจ่ายให้แก่
ทายาทของผู้ปฏิบัติงานในกรณีผู้ปฏิบัติงานตาย คำนวณโดยตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยระยะเวลา
ทำงาน จึงหารือการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีดังต่อไปนี้ว่าจะหักอย่างไร
กรณีที่ 1 นาย ก. บรรจุเป็นพนักงานธนาคาร เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2511
ลาออกตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2543 รวมอายุงาน 32 ปี 251 วัน
ธนาคารฯ คิด 33 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายอัตราเดือนละ 41,120 บาท เงินเดือนเฉลี่ย 12 เดือน
สุดท้ายบวกร้อยละ 10 เป็นจำนวนเงิน 44,467.50 บาท ได้รับเงินชดเชยจำนวน 6 เท่า เงิน
ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจำนวน 30 เท่า ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย พนักงานดังกล่าวไม่เป็นสมาชิก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับ
กรณีที่ 2 นาย ข. บรรจุเป็นพนักงานธนาคาร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2520 ลาออก
ตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2543 รวมอายุงาน 23 ปี 214 วัน ธนาคารฯ
คิด 24 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายอัตราเดือนละ 15,090 บาท เงินเดือนเฉลี่ย 12 เดือน สุดท้าย
บวกร้อยละ 10 เป็นจำนวนเงิน 16,131.50 บาท มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจำนวน 6 เท่า เงิน
ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจำนวน 30 เท่า ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย พนักงานดังกล่าวได้รับ
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่ต้องนำมาคำนวณภาษีจำนวน 433,720 บาท
กรณีที่ 3 นาย ค. บรรจุเป็นพนักงานธนาคาร เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2539
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 รวมอายุงาน 4 ปี 65 วัน ธนาคารฯ คิด 4 ปี เงินเดือนเดือน
สุดท้ายอัตราเดือนละ 11,035 บาท เงินเดือนเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้ายบวกร้อยละ 10 เป็นจำนวนเงิน
12,138.50 บาท พนักงานดังกล่าวไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารจ่ายเงินบำเหน็จให้
แก่ทายาทตามข้อบังคับ
แนววินิจฉัย: 1. กรณีนาย ก. และนาย ข. เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามข้อ
1(ข) เงินบำเหน็จ เงินชดเชย และเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามข้อ 1(ง)
การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเป็นไปตามข้อ 4 ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535 เงินชดเชยจำนวน 6 เท่าของเงินเดือนที่
พนักงานได้รับเป็นเงินผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้รับตามโครงการร่วมใจจากองค์กร ตาม
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
2. กรณีนาย ค. พนักงานธนาคารทำงานธนาคาร 4 ปี 65 วัน ไม่ถึง 5 ปี เงินบำเหน็จที่
ได้รับ ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5)
แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(ก) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับ
ที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2535 นาย ค. พนักงานจึงไม่มีสิทธิเลือกคำนวณภาษี และหัก
ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณกับเงินได้อื่นเพื่อ
เสียภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร และคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50
(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 64/31030

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020