เมนูปิด


          2. บริษัทฯ ให้บริการในบริเวณท่าเรือและหรือบริเวณที่ต่อเนื่องกับท่าเรือ เช่น ให้บริการรถเครน แรงงานคน เรือลากจูงเพื่อลากจูงเรือลำเลียงที่บรรทุกสินค้าจากท่าเรือไปเทียบข้างเรือเดินสมุทรระหว่างประเทศหรือจากข้างเรือเดินสมุทรระหว่างประเทศไปยังท่าเรือ ฯลฯ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทผู้ว่าจ้าง ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร


          3. การให้บริการจัดหาท่าเรือเพื่อนำสินค้าขึ้นหรือลงเรือลำเลียงในแต่ละเที่ยว

เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทผู้ว่าจ้าง ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร


          บริษัท ซ ได้ว่าจ้างบริษัทฯ เป็นผู้รับขนส่งช่วงขนส่งสินค้าจากท่าเรือไปเทียบข้างเรือเดินสมุทร หรือจากข้างเรือเดินสมุทรไปยังท่าเรือ ตามข้อ 2 ซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบ

ข้อหารือลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 สรุปความว่า “กรณีการขนส่งช่วงที่ 2 บริษัท ซ. ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งสินค้ากับลูกค้าที่เป็นผู้ส่งออกจากท่าเรือฉลอมไปยังเรือเดินสมุทร แต่บริษัท ซ. ไม่ได้ดำเนินการเองโดยบริษัท ซ. ได้ทำสัญญาจ้างช่วงบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการขนส่งรับขนส่งสินค้า โดยใช้เรือฉลอมขนส่งสินค้าจากท่าเรือฉลอมไปยังเรือเดินสมุทรที่จอดอยู่กลางทะเลมีระยะทางขนส่งประมาณ 200-240 กิโลเมตร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร”


          บริษัทฯ มีความเข้าใจว่า กรณีที่บริษัทฯ รับจ้างขนส่งช่วงเพื่อขนส่งสินค้าโดย

เรือลำเลียงหรือเรือฉลอมจากบริษัท ซ. เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามหนังสือตอบข้อหารือลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 ใช่หรือไม่

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./3070
วันที่: 20 เมษายน 2548
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการรับขนส่งสินค้า
ประเด็นปัญหา: มาตรา 81(1)(ณ)
           1. บริษัทฯ ให้บริการขนส่งนอกบริเวณท่าเรือโดยให้บริการรถบรรทุกสินค้าจากโรงงานหรือคลังสินค้าหรือจุดจ่ายทั่วประเทศไปยังท่าเรือหรือจากท่าเรือไปยังโรงงานหรือคลังสินค้าหรือจุดจ่ายทั่วประเทศ เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย          กรณีบริษัทฯ เป็นผู้รับขนส่งช่วงของบริษัท ซ. ประกอบการขนส่งสินค้าโดยใช้เรือฉลอมหรือเรือลำเลียงจากท่าเรือไปเทียบข้างเรือเดินสมุทรหรือจากข้างเรือเดินสมุทรไปยังท่าเรือ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33370

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020