เมนูปิด

 

มาตรการภาษีบ้านหลังแรก

 

          กรมสรรพากรได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) พ.ศ. 2554 และ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 213) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2554  เป็นต้นไป  โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน

 

รายการ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

1. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ยกเว้นเท่ากับภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ หรือที่ต้องชำระก่อนการคำนวณเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ฯ

2. ผู้มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา

3. การจ่ายค่าซื้อบ้านหลังแรก และ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์

ระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2554  ถึงวันที่  31 ธันวาคม 2555 

4. การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และวิธีคำนวณสิทธิยกเว้นภาษีฯ

·  ยกเว้นภาษีครั้งแรก ภายใน 5 ปีภาษี นับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ฯ  และต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษี ต่อเนื่องกันโดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี ดังนี้

·  สิทธิยกเว้นภาษีต่อปีภาษี    

( ค่าซื้อฯ ไม่เกิน 5,000,000 x 10% )

      5 ปี

ตัวอย่าง

1.นาย ก. ซื้อบ้านหลังแรก 15 ธันวาคม 2554  และโอนกรรมสิทธิ์ 15 มกราคม 2555  ราคา

5,000,000 บาท 

ดังนั้น  นาย ก.  สามารถเริ่มต้นใช้สิทธิยกเว้นฯครั้งแรกได้ภายใน 5 ปีภาษี

โดยเริ่ม ตั้งแต่ปีภาษี 2555 - 2559  เป็นจำนวนเท่ากับ 100,000 บาทต่อปี เท่า ๆ

กันในแต่ละปีภาษี เป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน

5. เงื่อนไขการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

· มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่ซื้อเป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมถึงการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน และทำสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน)   เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า  5  ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และอสังหาริมทรัพย์ฯ นั้น ต้องไม่เคยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

·ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ฯ มาก่อน

·ไม่เคยใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือ สร้างอาคารอยู่อาศัย

·ไม่เคยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยเดิมและซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่ 241  (พ.ศ.2546)  และไม่เคยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร   อาคารพร้อมที่ดิน  หรือห้องชุดในอาคารชุด  เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ.2552)

6. กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ

 

ยกเว้นภาษีได้ทุกคน โดยเฉลี่ยตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง  และไม่เกินร้อยละ 10ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ  

7. กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา

   

ยกเว้นภาษีได้เพียงแห่งเดียว

7.1  สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับ

ยกเว้นภาษี ดังนี้

      (1) กรณีภริยาไม่แยกยื่นแบบฯ  ยกเว้นภาษีรวมกันเท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริงแต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ

      (2) กรณีภริยาแยกยื่นแบบฯ  ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง   แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกของสามีและภริยา จะต้องกระทำในปีภาษีเดียวกัน

      (3) กรณีต่างฝ่ายต่างมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ เพียงแห่งเดียว

7.2  สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้  และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งต้องแยกยื่นแบบฯ ดังนี้

      (1) กรณีมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ

      (2) กรณีผู้มีเงินได้สมรสกัน  ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ฯ

8. กรณีการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อสังหาริมทรัพย์ฯ    ร่วมกัน

ผู้กู้ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเอง หรือเคยใช้สิทธิหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมาแล้ว ผู้กู้ร่วมจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในส่วนของเงินได้ที่ใช้กู้ร่วม

9. ตัวอย่างการคำนวณภาษี

ตัวอย่างที่ 1  กรณีไม่มีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

     ปีภาษี 2554 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือน 240,000 บาท ซื้อบ้าน
หลังแรกราคา 3,900,000 บาท  คำนวณภาษี
  ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน

240,000

บาท

หัก ค่าใช้จ่าย

60,000

บาท

หัก ค่าลดหย่อน

30,000

บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ

150,000

บาท

ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

-  

บาท

ภาษีที่ได้รับยกเว้นจากบ้านหลังแรก

* -

บาท

   * เนื่องจากไม่มีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจาก
บ้านหลังแรก

ตัวอย่างที่ 2  กรณีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิน้อยกว่าค่าซื้อบ้านหลังแรก

1.      ปีภาษี 2554 นาย ก มีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือน 340,000 บาท ซื้อบ้าน
หลังแรกราคา 3,900,000 บาท  คำนวณภาษี  ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน

340,000

บาท

หัก ค่าใช้จ่าย

60,000

บาท

หัก ค่าลดหย่อน

30,000

บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ

250,000

บาท

ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

10,000 

บาท

ภาษีที่ได้รับยกเว้นจากบ้านหลังแรก

** 10,000  

บาท

     ** ได้รับยกเว้นภาษีจากบ้านหลังแรกไม่เกินภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

(3,900,000 x 10% =  78,000 บาทต่อปีภาษี)

               5 ปี

9. ตัวอย่างการคำนวณภาษี (ต่อ)

ตัวอย่างที่ 3  กรณีภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิมากกว่าค่าซื้อบ้านหลังแรก

1.      ปีภาษี 2554  นาย ก. มีเงินได้ทั้งปีจากเงินเดือน 1,000,000 บาท  ซื้อบ้านหลังแรก ราคา 3,900,000 บาท  คำนวณภาษี  ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน

1,000,000

บาท

หัก ค่าใช้จ่าย

60,000

บาท

หัก ค่าลดหย่อน

30,000

บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ

910,000

บาท

ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

117,000 

บาท

ภาษีที่ได้รับยกเว้นจากบ้านหลังแรก

*** 78,000 

บาท

     *** ได้รับยกเว้นภาษีจากบ้านหลังแรกตามจำนวนค่าซื้อฯ ที่จ่ายจริงเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 5,000,000 บาท 

(3,900,000 x 10% =  78,000 บาทต่อปีภาษี)

          5 ปี

10. กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ

สิ้นสุดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตั้งแต่ปีภาษีแรกที่ได้ใช้สิทธิฯ และให้ถือว่าไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา   และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ  1.5  ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง สำหรับภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมาแล้วด้วย

11. หลักฐานประกอบการยกเว้น

     ภาษีเงินได้

·      หนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์

·      หนังสือรับรองตนเองว่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งแรก

·      สำเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

·      สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน (กรณีกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน)

 

 

 

 

RD Call  Center 1161

บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี

 

ปรับปรุงล่าสุด: 09-01-2021