เมนูปิด

เลขที่ข่าว ปชส. 52/2545

วันที่แถลงข่าว 6 กันยายน 2545

เรื่อง กรมสรรพากรกระตุ้นเตือนการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.94 พร้อมบริการรับชำระผ่าน Internet

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                  กรมสรรพากรกระตุ้นเตือนบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้บางประเภท ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การประกอบวิชาชีพอิสระ การรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจค้าขายต่างๆ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ตามแบบ ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2545 สำหรับปีนี้ กรมสรรพากรเปิดให้บริการยื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ต และชำระภาษีผ่านตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ชั้นนำที่ร่วมโครงการได้อีกด้วย

 

                            นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “บุคคลธรรมดาผู้มีรายได้ จากการให้เช่าทรัพย์สิน การประกอบวิชาชีพอิสระ การรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจค้าขายต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ด้วยแบบ ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 30 กันยายน ศกนี้ จึงขอความร่วมมือให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เนื่องจากขณะนี้กรมสรรพากรใช้ระบบเทคโนโลยี ในการดึงข้อมูลการมีรายได้จากแหล่งต่าง ๆ สามารถติดตามรายที่ไม่ยื่นแบบฯ หรือยื่นไว้ไม่ถูกต้องได้โดยง่าย ”

 

                                   “สำหรับปีนี้ ผู้ที่ยังไม่ได้รับแบบ ภ.ง.ด. 94 ที่ส่งให้ทางไปรษณีย์ ก็ให้ติดต่อขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตหรืออำเภอทุกแห่ง หรือจะ Down load แบบ ภ.ง.ด. 94 จากเว็บไซด์กรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th เพื่อนำไปใช้ยื่นแบบฯ แทนก็ได้ หรือจะใช้บริการยื่นแบบฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซด์ของกรมสรรพากรก็ได้ โดยผู้เสียภาษีไม่ต้องสมัครขอใช้บริการ และการยื่นแบบฯ ด้วยระบบนี้ไม่ต้องแนบเอกสารหลักฐานใด ๆ หากมีภาษีต้องชำระก็อาจชำระด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง คือ

 

                                 วิธีที่ 1 ผ่านระบบตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ ที่ร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ รวม 5

ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน)

                                วิธีที่ 2 ผ่านระบบ E-payment ของธนาคารพาณิชย์ รวม 6 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงก์ จำกัด และผ่านระบบ E-pay

                                วิธีที่ 3 ผ่านระบบ Tele-Banking เฉพาะของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เท่านั้น” รองอธิบดีกรมสรรพากรกล่าวในที่สุด

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 01-10-2019