เมนูปิด
ประเด็นความผิดที่พบจากการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี 
สถานที่ตั้งสำนักงาน
  ที่ตั้งสำนักงานที่แสดงในรายงานตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่ตรงกับที่ตั้งตามทะเบียนราษฎร หรือที่ตั้งของสำนักงานฯ ที่ผู้ตรวจสอบฯ แจ้งไว้ต่อกรมสรรพากร
  ที่ตั้งสำนักงานที่แสดงในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เป็นที่อยู่บิดาของผู้ตรวจสอบฯ  ไม่ตรงตามทะเบียนประวัติ บภ.02 ที่แจ้งไว้ต่อกรมสรรพากร หรือที่ตั้งสำนักงานคณะบุคคลฯ
  ที่ตั้งสำนักงานในหน้ารายงานการตรวจสอบฯ ระบุที่ตั้งเพียง "กรุงเทพมหานคร" ซึ่งไม่ทำให้ทราบได้ว่าสำนักงานตั้งอยู่ที่ใด
การให้ความร่วมมือในการส่งมอบเอกสาร
 ผู้ตรวจสอบฯ ไม่สามารถมาพบเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาในหนังสือเชิญพบ แต่ไม่แจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษร เจ้าหน้าที่ได้ทำหนังสือเตือนให้มาพบและส่งมอบอีก 2 ครั้ง ผู้ตรวจสอบฯ จึงได้ปฏิบัติตามหนังสือเชิญพบ
 ผู้ตรวจสอบฯ ไม่สามารถมาพบเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาในหนังสือเชิญพบ แต่ไม่แจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษร เจ้าหน้าที่ได้ทำให้หนังสือเตือนให้มาพบและส่งมอบอีก 4 ครั้ง ผู้ตรวจสอบฯ ยังไม่ปฏิบัติตามหนังสือเชิญพบ
การแจ้งเงินได้ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
       หน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลได้ตรวจสอบการเสียภาษีอากรของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี พบว่าผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเสียภาษีอากรของตนเองไม่ครบถ้วน ตามข้อ 8 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
การแจ้งรายชื่อที่คาดว่าจะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามแบบ บภ.07/บภ.08
       ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ไม่ปฏิบัติตามข้อ 2.2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.122/2545 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.147/2548ฯ ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2548 เรื่องการแจ้งรายชื่อกิจการที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามแบบ บภ.07/บภ.08 ดังนี้
  ไม่แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คาดว่าจะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คาดว่าจะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี
  แจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คาดว่าจะลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีหลังจากลงลายมือชื่อแล้ว
  จากแฟ้มเอกสารการตรวจสอบที่ส่งมอบ ไม่ปรากฏหนังสือตอบรับงาน
การสอบทานการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 รายการในงบดุล
  รายการสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งมีรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน ลูกหนี้เงินยืมทดรอง สินค้าคงคลัง เป็นต้น ในงบดุลไม่ได้แยกแสดงรายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าฯ เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
  รายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน มีการบันทึกรายการเงินสดต้นงวด ปีปัจจุบัน ไม่ตรงกับยอดเงินสดคงเหลือปลายงวด ปีก่อน
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากธนาคารในขณะที่ห้างฯมีรายได้จากการประกอบกิจการตลอดปี มีจำนวน 1,445,773 บาท
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากธนาคาร แต่ห้างฯ มีรายได้จากการประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างเฟอร์นิเจอร์จากหน่วยงานราชการซึ่งราชการจะจ่ายเงินเป็นเช็ค
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการบัญชีธนาคาร ห้างฯ มีการจ่ายชำระค่าซื้อน้ำมัน ครั้งละประมาณไม่ต่ำกว่าแสนบาท ซึ่งชำระเป็นเช็คของหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่บันทึกบัญชีว่าจ่ายชำระเป็นเงินสด
  รายการเงินสดและเงินฝากธนาคาร กระดาษทำการปรากฏรายการเงินสด แต่ไม่ได้เปิดเผยรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงิน  และในการประกอบกิจการห้างฯมีการรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ/ขายสินค้าให้หน่วยราชการ และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 มีข้อกำหนดในการจ่ายเงินว่าการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีซื้อ หรือเช่าทรัพย์สิน หรือจ้างทำของให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้ ขีดฆ่าคำว่า“หรือตามคำสั่ง”หรือ“หรือผู้ถือ”ออกและขีดคร่อมด้วย หากมีความจำเป็นที่จะต้องสั่งจ่าย เพื่อขอรับเงินสดมาจ่ายให้กระทำได้ในการจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่า 2,000 บาท
  ห้างฯประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างให้กับอบต.และหน่วยงานราชการเป็นส่วนใหญ่ แต่งบการเงินไม่ปรากฏรายการที่เกี่ยวกับบัญชีธนาคาร
  ห้างฯ จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายรับและรายจ่ายโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท ต่อเดือน มีการทำสัญญากับบริษัทน้ำมัน...และมีการจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเข้าดำเนินการโดยผ่อนชำระเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า แต่งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากธนาคาร
  ห้างฯมีรายได้จากการขายสินค้า ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นจำนวนเงินที่มีสาระสำคัญ แต่ไม่ปรากฏว่าห้างฯมีบัญชีธนาคารในงบการเงิน ซึ่งไม่น่าจะสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่าห้างฯ ประกอบกิจการค้าส่ง
  งบการเงินปรากฏรายการลูกหนี้การค้า – สุทธิ แต่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินมิได้เปิดเผยจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ (ย่อหน้า 24) และจากการตรวจสอบกระดาษทำการ ปรากฏว่า รายการดังกล่าวได้แสดงรวมรายการลูกหนี้เงินกู้ยืมพนักงาน และลูกหนี้อื่น จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ห้างฯ มีรายได้จากการขายสินค้าให้กับหน่วยงานราชการและได้รับเงินจากการขายสินค้าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2552 แต่งบการเงินไม่ปรากฏรายการลูกหนี้การค้า จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงินแสดงรายการรายได้ค้างรับ แต่กระดาษทำการรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งประกอบด้วย ลูกหนี้การค้า และรายได้ค้างรับ ไม่ได้แยกแสดงรายการ จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  กระดาษทำการรายการรายได้ค้างรับอื่น (ภายใต้รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) พบว่าเป็น รายได้ค่าเช่าค้างรับตั้งแต่ปี 2545-2549 ผู้ตรวจสอบฯไม่ได้พิจารณาถึงประเด็นความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี
  รายการเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน แสดงรายการอยู่ในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน แต่เนื่องจากรายการดังกล่าวมียอดยกมาจากปีก่อนด้วย จึงคาดได้ว่า ห้างฯ จะได้รับประโยชน์เกินกว่า 12 เดือน ควรปรากฏรายการอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หรือเปิดเผยจำนวนที่คาดว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บได้ในหนึ่งปีข้างหน้าไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35
  รายการสินทรัพย์หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น จำนวน 2 ล้านบาท ผู้ตรวจสอบฯ ชี้แจงว่าได้มีการชำระคืนเงินกู้ ณ วันต้นงวด แสดงว่าห้างฯ ถือเงินไว้ในมือ จำนวน 2,000,000 บาท มาตลอดจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 จึงให้กู้ยืมใหม่ในวันที่ 16 ธันวาคม 2551 จำนวน 2,000,000 บาท จึงส่งผลให้รายการทางการเงินไม่น่าจะสมเหตุสมผล
  สินค้าคงเหลือ(ยางรถยนต์) มีจำนวนเป็นกว่าสามเท่าของยอดขายประจำปี ซึ่งน่าจะขัดต่อข้อเท็จจริง และโดยลักษณะของยางรถยนต์อาจมีโอกาสด้อยค่า
  รายการต้นทุนขายแสดงรายการสินค้าคงเหลือยกมาต้นงวดไม่ตรงกับสินค้าคงเหลือปลายงวด ส่งผลกระทบให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  วัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในการทำความสะอาด ซึ่งจัดอยู่ในหมวดสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชี ควรปรากฏอยู่ในรายการสินค้าคงเหลือปลายงวด แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการสินค้าคงเหลือ
  กระดาษทำการรายการทรัพย์สินของห้างฯ มีรายการทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบุว่าได้ตรวจสอบกับใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ ซึ่งซื้อเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2550 ราคาทุน 44,900.00 บาท คำนวณค่าเสื่อมราคาร้อยละ 33 มีค่าเสื่อมราคาหักในรอบบัญชีและได้นำไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 5,141.97 บาท แต่เมื่อทดสอบการคำนวณค่าเสื่อมราคาระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินมาเท่ากับ 189 วัน คำนวณค่าเสื่อมราคาได้ 7,672.36 บาท จึงเป็นการลงบันทึกรายการทางบัญชีไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการเครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดรายได้
  หมายเหตุประกอบงบการเงินรายการอาคาร-สุทธิ ไม่ปรากฏรายการเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ถังเก็บน้ำมันหัวจ่าย เป็นต้น หรือรายการค่าเช่าสินทรัพย์ดังกล่าวในงบกำไรขาดทุน จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการวัสดุสิ้นเปลืองที่ต้องใช้ในงานโรงแรม เช่น กระดาษชำระ ชุดผ้าปูที่นอน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการที่ดิน อาคาร และรายการอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ที่ต้องมีในห้องพัก เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง โทรทัศน์ และอื่นๆในงบดุล หรือรายการค่าเช่าในงบกำไรขาดทุน
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการอาคารและที่ดินที่ใช้ในการประกอบกิจการหรือรายการค่าเช่าสำนักงานในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  กิจการมีรายได้หลักจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่งบดุลไม่ปรากฏรายการสินทรัพย์ (อาคารอพาร์ทเม้นต์) หรือรายการค่าเช่าอาคารในงบกำไรขาดทุน
  ห้างฯประกอบกิจการให้เช่าห้องพัก ที่ดินและอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการถือเป็นสินทรัพย์สำคัญที่ก่อให้เกิดรายได้ แต่งบการเงินปรากฏเพียงรายการอาคารและอาคารระหว่างก่อสร้าง โดยไม่ปรากฏรายการที่ดินหรือรายการค่าเช่าที่ดิน ส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการขัดกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
  รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ งบการเงิน ไม่ปรากฏอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ หรือรายการค่าเช่า โดยอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการถือเป็นสาระสำคัญสำหรับการประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ห้างฯไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สถานประกอบการในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ทำให้งบการเงินแสดงรายการ ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและขาดความเข้าใจได้
  รายการยานพาหนะ เป็นจำนวนที่รวมดอกเบี้ยจ่ายตามสัญญาผ่อนชำระอยู่ด้วย
  รายการยานพาหนะ เป็นสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยการเช่าซื้อ แต่จากการตรวจสอบรายการในงบกำไรขาดทุนไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่าย จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าการรับรู้รายการยานพาหนะได้รับรู้รายการโดยรวมดอกเบี้ยเช่าซื้อ จึงมีผลให้แสดงรายการไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี
  รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และหนี้สินหมุนเวียนอื่น ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  ห้างฯ ประกอบกิจการให้เช่าห้องพัก โดยเรียกเก็บค่าเช่า ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ ในเดือนถัดไป แต่ในงบดุลไม่ปรากฏรายการรายได้ค้างรับ
  รายการดอกเบี้ยค้างรับ แสดงอยู่ในรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เป็นยอดเดียวกับปีที่ผ่านมาเป็นรายการเกินกว่า 1 รอบบัญชี แต่จัดประเภทรายการเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
  รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ลูกหนี้กรมสรรพากร จำนวน 46,865.33 บาท พบว่า กระดาษทำการ รายงานภาษีซื้อของเดือนภาษี ธันวาคม 2551 มียอดภาษีซื้อทั้งสิ้นรวม จำนวน 83,690.65 บาท แต่ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีซื้อเพียง จำนวน 36,825.32 บาท ส่วนที่เหลือตั้งเป็นลูกหนี้กรมสรรพากร จำนวน 46,865.33 บาท ผู้ตรวจสอบฯ บันทึกผลการตรวจสอบว่า “ได้สอบถามผู้ทำบัญชี กิจการจะนำไปเครดิตภาษีเดือน มกราคม 2552” ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ไม่ได้เกิดจากการคำนวณภาษีในเดือนภาษี ธันวาคม 2551 ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผลให้รายการลูกหนี้กรมสรรพากร จำนวน 46,865.33 บาท ไม่ถูกต้องและทำให้งบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริง
  รายการหนี้สินหมุนเวียนอื่นมีรายการที่มีสาระสำคัญต้องแยกแสดงต่างหาก การไม่แยกแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินทำให้ผู้ใช้งบการเงินขาดความเข้าใจได้
  รายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบดุลแสดงที่ดินอาคาร และอุปกรณ์ ด้วยราคาสุทธิซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ให้แสดงด้วยราคาทุนแรกเริ่ม หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม แต่ปรากฏรายการยอดยกมาสุทธิจากค่าเสื่อมราคาสะสมและหักด้วยค่าเสื่อมราคาสำหรับปี ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องการแสดงรายการย่อ
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการยานพาหนะ แต่รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ปรากฏรายการค่าน้ำมัน- ยานพาหนะ และรายการค่าซ่อมแซมยาน- พาหนะ จึงมีผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  ห้างฯ ไม่มีรายการสินทรัพย์ที่เป็นยานพาหนะ แต่ปรากฏค่าใช้จ่ายค่ายานพาหนะ และไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  รายการที่ดิน อาคาร อุปกรณ์สุทธิ ประกอบด้วยรายการตกแต่งร้านและอุปกรณ์ ไม่มีรายการที่ดินหรืออาคารในงบดุล ไม่มีรายการค่าเช่าในงบกำไรขาดทุนแต่ปรากฏรายการภาษีโรงเรือน ทำให้งบการเงินขาดความเข้าใจได้ จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  รายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนไม่ปรากฏสินทรัพย์ประเภทเครื่องปั่นไฟ แต่ปรากฏรายการค่าน้ำมัน ซึ่งเป็นค่าน้ำมันเครื่องจักรเพื่อใช้ในการปั่นไฟอยู่ในรายการต้นทุนขาย จึงส่งผลให้งบการเงินไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงินปรากฏรายจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย แต่ไม่ปรากฏรายการทรัพย์สินรถยนต์
  การแสดงรายการในงบดุล รายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบด้วย เงินประกันสัญญากับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ ซึ่งเงินประกันสัญญาดังกล่าวเป็นรายการของปีก่อนและได้รับเงินคืนในปีนี้ จึงไม่ควรปรากฏรายการเงินประกันสัญญาในรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยยอดรวมของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ปรากฏในงบการเงินได้แสดงจำนวนเงินของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกต้องแล้ว
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินประกันผลงาน ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ในการประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ต้องมีการประกันผลงานเพื่อความชำรุดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มีผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  บริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการอาบ อบ นวด พร้อมขายอาหารและเครื่องดื่ม งบการเงินปรากฏรายการสินค้าคงเหลือ และได้เปิดเผยข้อมูลว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป แต่ในกระดาษทำการสินค้าคงเหลือประกอบด้วยวัสดุใช้ทำความสะอาด และวัสดุสิ้นเปลือง จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ประกอบด้วยภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายของปีก่อนๆ ซึ่งมีอายุเกินสามปี ห้างฯ หมดสิทธิที่จะขอคืนภาษีตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (แม่บทการบัญชีย่อหน้าที่ 49.1) แต่ไม่ได้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายในทางบัญชี
  ห้างฯ จัดรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ อยู่ในรายการหนี้สินหมุนเวียน โดยไม่แยกเจ้าหนี้ที่ชำระเกินกว่า 1 ปี ไว้ในรายการหนี้สินไม่หมุนเวียน และหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เปิดเผยจำนวนมูลหนี้ตามสัญญา ดอกเบี้ยรอตัดบัญชี หนี้สินส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี และหนี้สินสุทธิ
  กระดาษทำการยืนยันยอดเจ้าหนี้เช่าซื้อรถยนต์ ได้รวมดอกเบี้ย และภาษีซื้อ แต่แสดงรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ เป็นรายการเจ้าหนี้การค้า และไม่ได้จัดประเภทรายการหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 1 ปี
  ห้างฯ บันทึกรายการเช่าซื้อยานพานะในรายการเงินกู้ยืมระยะยาว จึงไม่ปรากฏรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี รายการเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนะชำระภายใน 1 ปี รายการดอกเบี้ยจ่าย และไม่เปิดเผยรายการหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าซื้อในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  ห้างฯมีรายการบัญชีเจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการในงบดุลขณะที่กิจการมีสถานะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายประเภทค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ ซึ่งเป็นรายการที่ต้องบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างไม่สอดคล้องกับที่เปิดเผยในนโยบายการบัญชี
  รายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น ไม่ปรากฏรายการค้างจ่าย ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำบาดาล ค่าน้ำประปา ค่าภาษีโรงเรือน เงินสมทบประกันสังคม ค่าโทรศัพท์
  กระดาษทำการ มีรายจ่ายค่าเช่าสถานประกอบการ ซึ่งต้องชำระในเดือนถัดไป แต่ไม่ปรากฏการตั้งค้างจ่ายรายการดังกล่าวในรายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น
  รายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  งบการเงินแสดงรายการเงินกู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกันในรายการหนี้สินไม่หมุนเวียน เป็นรายการเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน และเปิดเผยในหมายเหตุฯ 7 เป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาวฯ ซึ่งไม่ถูกต้อง
 รายการในงบกำไรขาดทุน
  การคำนวณรายได้ตามงบการเงิน เมื่อคำนวณตามราคาขายน้ำแข็งก้อนละ 50 บาท ห้างฯจะขายน้ำแข็งได้ 31.60 ก้อนต่อปี เฉลี่ย 0.87 ก้อนต่อวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเชิงธุรกิจ
  งบกำไรขาดทุนไม่ปรากฏรายการต้นทุนการให้บริการ
  ห้างฯ ประกอบกิจการขายก๊าซ แต่งบการเงินแสดงรายการรายได้จากการบริการ
  ห้างฯ มิได้แยกแสดงรายการต้นทุนการให้บริการและต้นทุนขาย
  งบกำไรขาดทุนแสดงว่ามีรายได้จากการบริการ แต่ในส่วนของค่าใช้จ่ายปรากฏรายการต้นทุนจากการขายและบริการ ทำให้ขาดความเข้าใจได้
  งบการเงินในส่วนของงบกำไรขาดทุน ไม่ปรากฏรายการต้นทุนบริการ แต่ปรากฏรายการต้นทุนขาย  ซึ่งรายการต้นทุนในงบการเงินไม่สัมพันธ์กับรายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง กล่าวคือ คำบรรยายรายการใน งบกำไรขาดทุนไม่ทำให้ "เข้าใจได้" ตามลักษณะการประกอบธุรกิจ
  งบการเงินปรากฏรายการต้นทุนขายและบริการ แต่ระบุในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นรายการต้นทุนขาย
  ห้างฯ นำเสนองบกำไรขาดทุน โดยไม่ได้แยกแสดงค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารออกจากกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ  ตามย่อหน้า 47 ของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (ปรับปรุง 2550)
  ห้างฯ จัดทำงบการเงิน โดยแสดงงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แบบขั้นเดียว แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ย่อหน้าที่ 48
  ห้างฯ แสดงรายได้และค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามหน้าที่ของค่าใช้จ่ายแบบขั้นเดียวแต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศ    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2552 ที่กำหนดให้งบกำไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายหรือจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แบบขั้นเดียวหรือแบบหลายขั้นก็ได้ กรณีที่เลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
  ห้างฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายแท็งค์น้ำ เครื่องมือกลต่างๆ เช่น ถังไซโล เครื่องดักฝุ่น เครื่องขัดพื้น งบกำไรขาดทุนแสดงรายได้อื่น จำนวน 1,461,503.32 บาท ซึ่งผลการตรวจสอบตามกระดาษทำการรหัส 15-3000 ได้รวมรายได้จากการให้บริการ จำนวน 1,461,500.00 บาท ถือเป็นรายการที่มีสาระสำคัญที่ควรแยกแสดงเป็นรายการต่างหากหรือเปิดเผยรายละเอียดในหมายเหตุประกอบ เพื่อให้งบการเงินมีความเข้าใจได้
  ห้างฯ ซื้อสินค้าจากต่างประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ และงบการเงินปรากฏเจ้าหนี้การค้าจากการค้างชำระค่าสินค้าต่างประเทศซึ่งได้แปลงค่าเป็นเงินตราไทย แต่งบกำไร/ขาดทุน ไม่ปรากฏว่ามีรายการกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
  นำรายได้จากการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นรายการที่มีสาระสำคัญมารวมอยู่ในรายได้อื่น โดยไม่ได้แยกแสดงเป็นรายการต่างหาก หรือเปิดเผยรายละเอียดประกอบในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ทำให้งบการเงินขาดความเข้าใจได้
  ห้างฯ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างอาคาร และจำหน่ายปลีกวัสดุก่อสร้าง แต่งบกำไรขาดทุนแสดงรายการต้นทุนรับเหมาก่อสร้างและต้นทุนขายเป็นยอดรวม โดยมิได้แยกแสดงรายการต้นทุนรับเหมาก่อสร้างและต้นทุนขาย จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 และไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  ห้างฯประกอบกิจการให้บริการห้องพัก (ให้เช่าห้องพักพร้อมเฟอร์นิเจอร์และค่าสาธารณูปโภค) แต่งบการเงินปรากฏรายการรายได้เพียงรายการเดียว โดยไม่ได้แยกแสดงรายได้ค่าเช่าและรายได้จากการให้บริการ ส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 และไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบกำไรขาดทุน ไม่แยกแสดงรายได้จากการขาย และรายได้จากการบริการ และไม่แยกต้นทุนบริการออกจากรายการต้นทุนขาย
  ห้างฯ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างโดยมีรายจ่ายค่าเช่าอุปกรณ์ก่อสร้าง และค่าเสื่อมราคาเครื่องมือก่อสร้างซึ่งควรจัดอยู่ในต้นทุนการบริการ แต่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จึงเป็นการแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  รายการค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ใช้ในการก่อสร้างปรากฏอยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยไม่ได้นำมาปันส่วนเป็นต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน แสดงค่าเสื่อมราคาประจำปี 49,338.98 บาท โดยรวมค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการประกอบธุรกิจให้เกิดรายรับค่าห้องพัก เช่น ค่าเสื่อมราคาที่นอน โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เป็นต้น ซึ่งมิได้จัดแสดงให้เป็นต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้
  รายการค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการก่อสร้างปรากฏอยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยไม่ได้นำมาปันส่วนเป็นต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง
  ไม่ปรากฏรายการค่าแรงงานในส่วนของต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง
  งบการเงินปรากฏรายการ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ อยู่ในส่วนของต้นทุนขาย แต่ไม่ปรากฏการปันส่วนไว้ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  ปรากฏรายการค่าขนส่ง อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แต่ไม่ปรากฏรายการต้นทุนค่าบริการ
  รายการค่าเสื่อมราคา ส่วนปรับปรุงอาคารเช่า เครื่องเล่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่ง  และค่าเช่าอาคารและพื้นที่ที่ปรากฏอยู่ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ห้างฯ ไม่ได้นำมาปันส่วนเป็นต้นทุนบริการ จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  กิจการมีรายได้หลักจากการให้เช่ารถบรรทุก แต่งบกำไรขาดทุนแสดงรายการต้นทุนบริการเป็นรายการเงินเดือน ในขณะที่รายการค่าเสื่อมราคายานพาหนะ ซึ่งเป็นต้นทุนโดยตรงที่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่แสดงเป็นต้นทุนบริการ แต่แสดงเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
  รายการค่าน้ำมัน ซึ่งเป็นค่าน้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักร แสดงอยู่ในค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งควรแสดงอยู่ในต้นทุนบริการ
  รายการต้นทุนจากการขายและบริการ ไม่ปรากฏการปันส่วนรายการเงินเดือน และค่าไฟฟ้า เข้าเป็นต้นทุนบริการ
  รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ไม่ปรากฏรายการเงินเดือนและค่าจ้างแรงงาน มีผลทำให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินเดือนและรายการค่าสาธารณูปโภคในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
  รายการเงินเดือน ปรากฏอยู่ในส่วนของรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยไม่มีการปันส่วนรายการดังกล่าวเข้าเป็นรายการต้นทุนขายและต้นทุนรับจ้าง
  รายการเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ซึ่งแสดงไว้ในรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็น  “เงินสมทบนายจ้าง” แต่ในกระดาษทำการ อธิบายว่า ไม่ได้บันทึกเงินประกันสังคมสำหรับเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม ส่งผลให้งบการเงินแสดงข้อมูลไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  งบการเงิน ไม่ปรากฏรายการค่าสาธารณูปโภคที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ที่ใช้ในกิจการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  รายการค่าน้ำประปา บันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายเพียง 11 เดือน ถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งรายจ่ายดังกล่าวควรแสดงรายการเป็นค่าใช้จ่ายให้ครบ 12 เดือน และค่าใช้จ่ายเดือนธันวาคม ต้องแสดงรายการเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย แต่งบการเงินไม่ปรากฏรายการค้างจ่ายของรายการดังกล่าว จึงเป็นการแสดงรายการที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและข้อเท็จจริง
  งบการเงิน ไม่ปรากฏรายจ่ายค่าจ้างทำบัญชี ส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าตรวจสอบบัญชีหรือค่าธรรมเนียมวิชาชีพ ส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการขัดกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
  ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น แสดงค่าธรรมเนียมวิชาชีพค้างจ่าย แต่ในรายละเอียดค่าใช้จ่ายขายและบริหาร แสดงค่าธรรมเนียมวิชาชีพ ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน ซึ่งแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน อุปกรณ์-สุทธิ ปรากฏรายการยานพาหนะ แต่ไม่ปรากฏรายจ่ายค่าน้ำมัน อยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
  ห้างประกอบกิจการสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตามกฎหมายมีข้อกำหนดว่าต้องมีการทำประกันวินาศภัย แต่งบการเงินไม่ปรากฏค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ห้างฯ บันทึกตามเกณฑ์คงค้าง แต่กระดาษทำการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร บันทึกผลการตรวจสอบว่ารายการค่าโทรศัพท์  ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ว่า “ไม่ตั้งค้างจ่าย บันทึกจ่ายเป็นเงินสด” ดังนั้นการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายไม่สอดคล้องกับเกณฑ์การรับรู้ค่าใช้จ่าย
  นำรายการดอกเบี้ยจ่าย จากการเช่าซื้อไปรวมอยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544
  รายการดอกเบี้ยจ่ายปี 2548 ปรากฏในงบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 31 ธันวาคม 2548 แต่กระดาษทำการงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และ 31 ธันวาคม 2547 ไม่ปรากฏรายการดอกเบี้ยจ่าย แต่ปรากฏรายการภาษีเงินได้ จึงมีผลให้การแสดงรายการในงบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  งบการเงิน ปรากฏรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ แต่ไม่ปรากฏรายจ่ายดอกเบี้ยเช่าซื้อ ซึ่งควรปรากฏในรายการต้นทุนทางการเงิน
  งบการเงินปรากฏรายการค่าใช้จ่ายต้องห้ามในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายละเอียดประกอบค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายต้องห้าม เป็นการแสดงรายการตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ปรากฏรายการรายจ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่าย เป็นการแสดงรายการตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้นำรายจ่ายเงินเดือน และค่าไฟฟ้ามาบวกกลับ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขที่จะต้องนำมาบวกกลับ ทำให้งบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริง
  งบทดลอง ปรากฏรายการรายได้อื่น จำนวน 145,808.98 บาท และ รายการขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 145,808.98 บาท กระดาษทำการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ ปรากฏรายการขาดทุนจากการจำหน่ายยานพาหนะ จำนวน 145,808.98 บาท กระดาษทำการรายได้อื่น ปรากฏรายการขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 145,808.98 บาท และรายการเงินช่วยเหลือจากผู้เป็นหุ้นส่วน จำนวน 145,808.98 บาท แต่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 500,497.14 บาท ไม่ปรากฏรายการขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 145,808.98 บาท
  คำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินเป็นค่าใช้จ่าย โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งาน ประมาณ 5 – 20 ปี” เจ้าพนักงานฯได้ทดสอบการคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามรายละเอียดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่แนบมาในงบการเงิน พบว่าค่าเสื่อมราคาอาคารที่ห้างฯคำนวณไม่ถูกต้องและไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี โดยคำนวณจากยอดยกมาคูณด้วยอัตราค่าเสื่อมราคา
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน แสดงรายการค่าเสื่อมราคาประจำปี 2549 ซึ่งที่ถูกแล้วต้องเป็นปี 2550
  งบการเงินมีรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วย อุปกรณ์สำนักงานและยานพาหนะ แต่ไม่ปรากฏรายการค่าเสื่อมราคาประจำปีในงบกำไรขาดทุน
  งบการเงินแสดงรายการเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม เป็นรายการพิเศษ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  งบกำไรขาดทุน แสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวน 13,425.00 บาท แต่จากการตรวจสอบกระดาษทำการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล พบว่า ห้างฯ นำต้นทุนค่าซื้อสินค้า จำนวน 10,406,700.91 บาท ค่าเสื่อมราคา จำนวน 148,900.00 บาท และค่าไฟฟ้า จำนวน 188,476.10 บาท มา บวกกลับด้วยจำนวนเงิน 681,671.00 บาท จำนวน 148,900.00 บาท และจำนวนเงิน 94,238.05 บาท ตามลำดับ รวมจำนวนที่บวกกลับทั้งสิ้น 924,809.05 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขที่จะต้องนำมาบวกกลับ เป็นผลให้ภาษีเงินได้ จำนวน 13,425.00 บาท ไม่ถูกต้องและทำให้งบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริง
 การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  ห้างฯ ไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบกิจการในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  หมายเหตุประกอบงบการเงินมิได้เปิดเผยลักษณะการประกอบธุรกิจ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
  หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับที่ตั้งสถานประกอบการ ภูมิลำเนาและสถานะทางกฎหมายของกิจการ และลักษณะของการประกอบการ
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน ระบุที่ตั้งสถานประกอบการไม่ตรงกับหนังสือรับรองและแบบ ภ.ง.ด.50 จึงมีผลให้การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  หมายเหตุประกอบงบการเงินไม่ได้เปิดเผยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับภูมิลำเนา สถานะทางกฎหมายของกิจการ รวมทั้งที่อยู่จดทะเบียน หรือสถานที่หลักในการประกอบธุรกิจหากแตกต่างไปจากที่อยู่จดทะเบียน และคำอธิบายลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมหลักของกิจการ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง การเสนองบการเงิน
  หมายเหตุประกอบงบการเงินมิได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน  เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ ไม่เป็นไปตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ซึ่งการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายต้องใช้เกณฑ์คงค้าง
  ห้างฯเปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการบันทึกบัญชีว่า “ห้างฯบันทึกรายการบัญชีตามเกณฑ์สิทธิ” ซึ่งการใช้ถ้อยคำว่า “เกณฑ์สิทธิ” เป็นการใช้ถ้อยคำที่ไม่ถูกต้องตามแม่บทการบัญชี และเกณฑ์สิทธิเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร ไม่ใช่เกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามแม่บทการบัญชี หรือตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
  ห้างฯ เปิดเผยนโยบายบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายว่า “บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ค้างรับค้างจ่าย”
  ห้างฯ รับรู้รายได้โดยใช้เกณฑ์เงินสดแทนการใช้เกณฑ์การรับรู้รายได้ตามขั้นความสำเร็จของงาน
  เปิดเผยนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย กิจการมีบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง แต่ไม่ได้เปิดเผยการรับรู้รายได้จากการรับเหมาก่อสร้างตามร้อยละของงานที่แล้วเสร็จตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 
  ห้างฯ เปิดเผยนโยบายบัญชี  “การรับรู้รายได้จากการขาย เมื่อส่งมอบสินค้าและลูกค้ายอมรับสินค้านั้นหรือเมื่อได้ให้บริการแก่ลูกค้านั้นแล้ว รายได้จากการขายเป็นจำนวนที่สุทธิจากภาษีขายส่วนลดแล้ว”  ซึ่งไม่ใช่เกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามแม่บทการบัญชี หรือตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
  ห้างฯ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างอาคาร และจำหน่ายปลีกวัสดุก่อสร้าง เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายว่าบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง ซึ่งการประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างต้องรับรู้รายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 เรื่อง สัญญาก่อสร้าง จึงส่งผลให้การเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินของห้างฯ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  หมายเหตุประกอบงบการเงินระบุว่ากิจการประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง แต่จากการตรวจสอบกระดาษทำการ พบว่าเป็นรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ใช่รายได้จากการรับเหมาก่อสร้างแต่อย่างใด จึงอาจทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด
  รายการเงินสดและเงินฝากธนาคาร กระดาษทำการตรวจสอบปรากฏเป็นเงินสดทั้งจำนวน แต่ไม่ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  งบดุลของห้างฯแสดงรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน แต่ห้างฯไม่ได้เปิดเผยจำนวนเงินสด และจำนวนเงินฝากสถาบันการเงินไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ทำให้งบการเงินขาดความเข้าใจได้
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน ข้อความ “เงินฝากประจำที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 3 เดือน และไม่มีภาระผูกพัน” ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เนื่องจากเงินฝากสถาบันการเงินต้องรวมเงินฝากประจำทุกประเภท”
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลว่าเงินฝากสถาบันการเงินเป็นเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ 
  รายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน จำนวน 95,661.63 บาท ห้างฯ เปิดเผยในหมายเหตุฯ 4 เป็นเงินสดและเงินฝากธนาคาร จำนวน 95,661.63 บาท แต่ผลการตรวจสอบ ปรากฏดังนี้ (1) งบทดลอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ห้างฯ มีรายการเงินสด จำนวน 46,189.34 บาท ไม่มีรายการเงินฝากสถาบันการเงิน และมีรายการลูกหนี้กรมสรรพากร จำนวน 49,472.29 บาท รวมกันได้จำนวน 95,661.63 บาท เท่ากับรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงินที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการลูกหนี้กรมสรรพากร (2) กระดาษทำการตรวจสอบเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน แสดงผลการตรวจสอบ เงินสด จำนวน 46,189.34 บาท และไม่มีรายการเงินฝากสถาบันการเงิน(3) กระดาษทำการตรวจสอบสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จำนวน 59,660.07 บาท แสดงผลการตรวจสอบลูกหนี้กรมสรรพากร จำนวน 49,472.29 บาท และภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 10,187.78 บาท (4) กระดาษทำการตรวจสอบบัญชีเงินสด ณ วันสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2550 ปรากฏรายการเงินสดคงเหลือ จำนวน  - 90,754.30 บาท บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไม่ปรากฏรายการเงินฝากคงเหลือ และบัญชีลูกหนี้กรมสรรพากร ปรากฏรายการลูกหนี้ ณ วันสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2550 จำนวน  49,472.29 บาท
  ห้างฯ ขายสินค้าพร้อมให้บริการ มีการรับชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด เช็ค หรือ ชำระผ่านบัตรของบริษัท อิออนธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด การชำระค่าสินค้าผ่านบัตรฯทางห้างฯยังไม่ได้รับเงินสดในทันที แต่ผู้ตรวจสอบฯไม่ได้เปิดเผยรายการดังกล่าวในหมายประกอบงบการเงิน
  ลูกหนี้การค้าในงบดุลเป็นยอดสุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  ห้างฯ ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นเงินผ่อนด้วย แสดงรายการลูกหนี้การค้า (สุทธิ) ในงบการเงิน ด้านสินทรัพย์หมุนเวียน โดยไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของรายการลูกหนี้ผ่อนชำระเป็นรายปี มีผลให้การแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี 
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
  หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือว่า “ ห้างฯ ตีราคาสินค้าคงเหลือ ในราคาทุนโดยวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน” แต่ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ ว่า “แสดงราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า ราคาทุนของสินค้าคำนวณโดยวิธีถัวเฉลี่ย” การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  หมายเหตุประกอบงบการเงินแสดงนโยบายบัญชีที่สำคัญ สินค้าคงเหลือแสดงตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ราคาทุนของสินค้าคงเหลือคำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน ซึ่งห้างฯประกอบกิจการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เป็นสินค้าที่มีราคาเฉพาะ แต่ละรุ่นมีราคาไม่เท่ากัน ควรคำนวณโดยวิธีราคาเฉพาะเจาะจง
  หมายเหตุประกอบงบการเงินแสดงนโยบายบัญชีที่สำคัญ สินค้าคงเหลือแสดงตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ราคาทุนของสินค้าคงเหลือคำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน  ห้างฯจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศ เป็นสินค้าที่มีราคาเฉพาะ แต่ละรุ่นมีราคาไม่เท่ากัน ควรคำนวณโดยวิธีราคาเฉพาะเจาะจง
  ห้างฯ มีสินค้าคงเหลือ แต่หมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ไม่ได้เปิดเผยวิธีการตีราคาและวิธีที่ใช้ในการคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่อง สินค้าคงเหลือ
  ห้างฯไม่ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือและวิธีการคำนวณต้นทุนของสินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่องสินค้าคงเหลือ
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินค้าคงเหลือ แต่หมายเหตุประกอบงบการเงิน  สรุปนโยบายบัญชีที่สำคัญ ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือไว้  แต่ไม่เปิดเผยราคาตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือที่แสดงในราคามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 เรื่อง สินค้าคงเหลือ
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายการบัญชีเปิดเผยเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือว่า "สินค้าคงเหลือ คำนวณโดยระบบเข้าก่อน-ออกก่อน และแสดงในราคาทุน" โดยไม่ได้ระบุว่าแสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เปิดเผยรายละเอียดราคาตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละประเภทจำแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการและราคาตามบัญชีรวม ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 เรื่อง สินค้าคงเหลือ ย่อหน้า 34.2
  รายการสินค้าคงเหลือถือเป็นรายการที่มีสาระสำคัญ กระดาษทำการสินค้าคงเหลือ บันทึกว่า ห้างฯ คำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ปรากฏตามงบการเงินจากมูลค่าต่อหน่วยทุกรายการสินค้า แต่เปิดเผยในหมายเหตุฯ ว่า "ห้างฯ คำนวณราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า สำหรับราคาทุนใช้วิธีราคาทุนถัวเฉลี่ย" เป็นการเปิดเผยการคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น แสดงยอดรวม ไม่ตรงกับรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นในงบดุล
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลจ่ายล่วงหน้า จำนวน 23,074.40 บาท ข้อเท็จจริงคือ ภาษีหัก ณ  ที่จ่าย จำนวน 37,524.20 บาท หักด้วยภาษีเงินได้ประจำปี จำนวน 14,449.80 บาท ซึ่งได้มาจากการคำนวณในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 8 จึงเป็นการแสดงจำนวนเงินที่ไม่ถูกต้อง
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน หนี้สินหมุนเวียนอื่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย จำนวน 7,199.00 บาท มาจากรายการภาษีเงินได้ประจำปี จำนวน 13,425.00 บาท หักด้วยภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 6,226.00 บาท ซึ่งรายการภาษีเงินได้ประจำปีได้มาจากการปรับปรุงกำไรขาดทุนทางบัญชีเป็นกำไรขาดทุนทางภาษี โดยการบวกกลับด้วย จำนวน 924,809.05 บาท ที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการแสดงรายการจำนวนเงินที่ผิดจากข้อเท็จจริง
  รายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ในงบดุลควรแยกแสดงรายการ “เงินให้กู้ยืมแก่หุ้นส่วน” ไม่ควรแสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เนื่องจากเป็นจำนวนเงินที่มีสาระสำคัญคิดเป็นร้อยละ 80 ของสินทรัพย์รวม
  งบการเงินปรากฏเพียงรายจ่ายค่าเช่าสถานประกอบการในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ส่วนทรัพย์สินอื่นไม่ปรากฏรายจ่ายค่าเช่าหรือทรัพย์สินในรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
  เปิดเผยนโยบายบัญชีเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แต่ไม่มีรายการดังกล่าวในงบดุล
  รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ห้างฯ ไม่ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคา
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน เรื่อง การคำนวณค่าเสื่อม ราคาสินทรัพย์ เปิดเผยว่าประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ภายในระยะเวลา 5-20 ปี โดยไม่เกินอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด มีการอ้างอิงกฎหมายของกรมสรรพากร จึงไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายการบัญชีเปิดเผยการคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรว่าเป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เป็นการอ้างอิงกฎหมายซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  รายการอุปกรณ์-สุทธิ หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยนโยบายบัญชี อุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณตามวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานประมาณ 5 - 20 ปี ไม่เกินที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน สรุปนโยบายบัญชีที่สำคัญ ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชีว่าห้างฯ แสดงรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในราคาทุนสุทธิหลังหักค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีตามยอดคงเหลือที่ลดลง ในอัตราไม่เกินอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด  ข้อความที่ว่า “ซึ่งไม่เกินอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด” เป็นข้อความตามประมวลรัษฎากร และไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอายุการใช้งานหรืออัตราค่าเสื่อมราคา ถือว่าการเปิดเผยข้อมูลตามหมายเหตุประกอบงบการเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่องที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการคิดอายุการใช้งาน  แต่ไม่ได้เปิดเผยราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม  ค่าเสื่อมราคาสะสม ของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด  และไม่ได้เปิดเผยรายการกระทบยอดของราคาตามบัญชีระหว่างวันต้นงวดถึงวันสิ้นงวดที่แสดงถึงจำนวนของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด  จึงส่งผลให้การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์  โดยงบการเงินปรากฏเพียงรายละเอียดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินที่แนบมาพร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน  ซึ่งแสดงข้อมูล “รายการทรัพย์สิน วันเดือนปี ราคา อัตรา ยอดยกมา ค่าเสื่อมราคา ยอดยกไป”
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ไม่เปิดเผยให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ย่อหน้า 78 ว่าได้หักค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวนแล้วแต่ยังคงใช้งานอยู่
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ อุปกรณ์สุทธิ ไม่ได้เปิดเผยอายุการใช้งานหรืออัตรา  ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
  หมายเหตุประกอบงบการเงินเปิดเผยนโยบายการบัญชีที่สำคัญ รายการสินทรัพย์ถาวรบันทึกตามราคาทุนเดิมและคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุการใช้งานในอัตราไม่เกินตามประมวลรัษฎากรกำหนด การระบุข้อความ "บันทึกตามราคาทุนเดิม" และ "ในอัตราไม่เกินตามประมวลรัษฎากร" เป็นการเปิดเผยหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
  รายการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ เปิดเผยในหมายเหตุฯ 3.2 นโยบายการบัญชีที่สำคัญเปิดเผยเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ แต่ไม่เกินตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด จึงเป็นการใช้ถ้อยคำไม่เป็นไปตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
  รายการที่ดิน อาคาร ในงบดุล อ้างอิงถึงหมายเหตุข้อ 6 แต่แท้จริงในหมายเหตุประกอบ ข้อ 6 เป็นเรื่องการแสดงรายละเอียดของหนี้สินหมุนเวียนอื่น
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการสินทรัพย์ประเภทอาคารในงบดุล และไม่มีรายการจ่ายค่าเช่าในงบกำไรขาดทุน เนื่องจากหุ้นส่วนผู้จัดการยินยอมให้ห้างฯ ใช้อาคารของตนเป็นสถานประกอบการโดยไม่คิดค่าตอบแทน แต่ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ทำให้งบการเงินขาดความเข้าใจได้
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการที่ดิน อาคาร หรือไม่มีค่าเช่าในงบกำไรขาดทุน ทั้งที่รอบฯปีก่อน มีค่าเช่าสำนักงานค้างจ่าย และไม่เปิดเผยเกี่ยวกับการให้ใช้สถานประกอบการในหมายเหตุประกอบงบการเงินทำให้งบการเงินขาดความเข้าใจได้จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  หมายเหตุประกอบงบการเงินรายการ อาคาร-สุทธิ  แสดงราคาทุนของอาคาร ณ วันที่ 1 มกราคม 2549 จำนวน 2,595,833.34 บาท แต่ในกระดาษทำการรายละเอียด ค่าเสื่อมราคา แสดงราคาสินทรัพย์ได้มาในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2541 มีจำนวน 3,500,000 บาท จึงส่งผลให้การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เป็นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  กิจการเปิดเผยว่าคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรงและวิธียอดคงเหลือลดลง แต่ตามข้อเท็จจริงใช้วิธียอดคงเหลือลดลง จึงเปิดเผยไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
  หมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับรายการเงินเบิกเกินบัญชี
  ห้างฯ มีรายการเบิกเกินบัญชีจากสถาบันการเงิน แต่ไม่เปิดเผยว่ามีการใช้หลักประกันอย่างใด ทำให้งบการเงินขาดความเข้าใจได้
  รายการเงินเบิกเกินบัญชี แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า “ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ห้างฯ มีภาระผูกพันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในรูปเงินเบิกบัญชี มีวงเงินจำนวน 5.0 ล้านบาท โดยมีหลักทรัพย์ของหุ้นส่วนท่านหนึ่งของกิจการในการค้ำประกัน” แต่งบการเงินที่จัดทำเป็นงบการเงินสำหรับงวด สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 การเปิดเผยในหมายเหตุฯ จึงผิดงวดบัญชี ไม่สอดคล้องกับงบการเงิน และไม่ได้เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
  หมายเหตุประกอบงบการเงินรายการ หนี้สินหมุนเวียนอื่น จำนวน 52,747.29 บาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย จำนวน 10,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย จำนวน 42,747.29 บาท แต่ในกระดาษทำการหนี้สินหมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย ค่าสอบบัญชีค้างจ่าย จำนวน 10,000 บาท เงินเดือนค้างจ่าย จำนวน 34,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย จำนวน 5,073.22 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม (เจ้าหนี้กรมสรรพากร) จำนวน 3,674.07 บาท จึงส่งผลให้หมายเหตุประกอบงบการเงินแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  เปิดเผยรายการเงินกู้ยืมจากหุ้นส่วนไว้ในหมายเหตุฯ 7 แต่ในงบดุลไม่ได้อ้างถึง และรายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น ในงบดุล อ้างถึงการเปิดเผยอยู่ในหมายเหตุฯ 7 แต่เปิดเผยอยู่ในหมายเหตุฯ 6 
  รายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการและลูกจ้าง ปรากฏรายการอยู่ในส่วนหนี้สินหมุนเวียน แต่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 6 แสดงเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
  รายการเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงิน อ้างการเปิดเผยในหมายเหตุฯ 8 แต่ในหมายเหตุฯ 8 เป็นการเปิดเผยเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล และหมายเหตุฯ ไม่ปรากฏการเปิดเผยเกี่ยวกับเงินกู้ยืมดังกล่าวซึ่งเป็นภาระผูกพันและเป็นข้อมูลทางการเงิน
  ห้างฯไม่ได้เปิดเผยรายการเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นภาระผูกพันและข้อมูลทางการเงิน ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  รายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ห้างฯไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหรือเงื่อนไขการกู้ยืม เช่น อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดชำระในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  รายการหนี้สินหมุนเวียน ปรากฏรายการเงินกู้ยืมผู้เป็นหุ้นส่วน แต่ห้างฯไม่เปิดเผยข้อมูลหรือเงื่อนไขการกู้ยืม ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน จึงส่งผลให้การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
  ห้างฯ มีผลขาดทุนสะสม เกินทุนจดทะเบียน เป็นข้อบ่งชี้ถึงการที่อาจไม่สามารถดำเนินงานต่อเนื่องซึ่งเป็นข้อสมมุติฐานตามแม่บทการบัญชี และแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงินในการประกอบธุรกิจ แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน เปิดเผยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเป็นรายการซื้อสินค้า แต่กระดาษทำการแสดงเป็นรายการเงินเดือน
การปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี
 การจัดทำแผนงานสอบบัญชี การประเมินความเสี่ยง และแนวทางการสอบบัญชี
  ไม่ปรากฏการจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม และประเมินความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีฯ กำหนด
  มีการจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม แต่ไม่ปรากฏการประเมินความเสี่ยงรายการในงบการเงิน
  การจัดทำแผนงานสอบบัญชีโดยรวม เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของแผนงานสอบบัญชี พบว่าได้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องทุกรายการในงบการเงินอยู่ในระดับกลางจากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องจะสูงหรือต่ำควรขึ้นอยู่กับแต่ละเรื่องที่ตรวจสอบ และการกำหนดความมีสาระสำคัญในการตรวจสอบกำหนดจากตัวเลขในงบการเงิน เช่น กำไรสุทธิและสินทรัพย์รวมเป็นเกณฑ์ ซึ่งไม่ได้ระบุเป็นจำนวนตัวเลข จึงไม่แสดงให้เห็นทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ
  แผนการสอบบัญชีโดยรวมหัวข้อความมีสาระสำคัญกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดจาก     งบการเงินสำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่ …… โดยเสนอรายการปรับปรุงที่พบจากการตรวจสอบเพื่อพิจารณาผลกระทบต่องบการเงินโดยรวม มิได้มีการกำหนดจากจำนวนเงินที่ถือว่ามีสาระสำคัญ
  แผนการสอบบัญชีโดยรวม ไม่ปรากฏการบันทึกเกี่ยวกับ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ นโยบายทางการบัญชีและเรื่องที่สำคัญ ความมีสาระสำคัญ และคณะผู้ตรวจสอบ
  มีการจัดทำแผนงานสอบบัญชี การประเมินความเสี่ยง เป็นลายลักษณ์อักษรแต่แผนการสอบบัญชีที่จัดทำ ไม่ปรากฏหัวข้อความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ
  ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจัดทำกระดาษทำการ “วิเคราะห์ความเสี่ยงกำหนดแนวทางการตรวจสอบ” โดยถือเป็นแผนการสอบบัญชีโดยรวม ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้ นโยบายการบัญชี ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของกิจการเพื่อกำหนดวิธีการตรวจสอบ เป็นต้น
  การประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมรายการในงบการเงินอยู่ในระดับกลางเหมือนกันหมดทุกรายการทั้งที่ในแผนงานสอบระบุว่าไม่มีหน่วยงานตรวจสอบภายใน โดยไม่ได้มีการปรับให้เข้ากับแต่ละรายการ
  การประเมินความเสี่ยงของกิจการ มีเพียงการประเมินความเสี่ยง แต่ไม่ปรากฏถึงวิธีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่างบการเงินนั้นถูกต้องตามที่ควร
  แนวทางการสอบบัญชีปรากฏข้อบกพร่อง เช่น ไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้จัดทำและลายมือชื่อผู้ตรวจทาน วันที่จัดทำและวันที่ตรวจทาน ระยะเวลาที่ประมาณว่าจะใช้ในการตรวจสอบ และระยะเวลาที่ใช้ไปจริง
  แนวทางการสอบบัญชีทุกรายการไม่ปรากฏหัวข้อระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบตามประมาณการและระยะเวลาที่ใช้จริง
  มีการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีรายการในงบดุลเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ได้ระบุลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตการตรวจสอบ
  แนวการสอบบัญชี ไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์การตรวจสอบ และระบุดัชนีอ้างอิงกระดาษทำการ
  แนวทางการสอบบัญชีจัดทำเป็นรูปแบบมาตรฐานของสำนักงาน แต่ไม่ได้ปรับแนวทางการตรวจสอบบัญชีให้สอดคล้องกับธุรกิจที่ตรวจสอบ เช่น ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบการปันส่วนรายจ่ายเข้าเป็นต้นทุนบริการ
  แนวการสอบบัญชีมีลักษณะเป็นแบบฟอร์มรูปเล่ม ซึ่งระบุว่าเป็น “คู่มือการตรวจสอบบัญชี” แต่ไม่มีการปรับวิธีการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีให้เหมาะสมกับประเภทกิจการที่มีการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน
  ไม่ปรากฏแนวการตรวจสอบบัญชีตามลักษณะเฉพาะของการประกอบธุรกิจโรงแรม
  แนวทางการสอบบัญชี ไม่ปรากฏวิธีการขอข้อมูลจากสถาบันการเงิน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
  ไม่ได้จัดทำแนวทางการสอบบัญชีเพื่อตรวจสอบรายการบัญชีรับ–จ่าย บัญชีซื้อ–ขาย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ที่กำหนดให้ต้องเลือกรายการเพื่อตรวจสอบอย่างน้อย 20 รายการของแต่ละบัญชี
  แนวทางการสอบบัญชีซื้อและแนวทางการสอบบัญชีภาษีอากรไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีซื้อด้วยการยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อฉบับที่มีมูลค่าสูงสุด 20 ลำดับแรก ของรายงานภาษีซื้อ
  แนวทางการสอบบัญชีลูกหนี้การค้ามิได้กำหนดวิธีการตรวจสอบความมีอยู่จริงของลูกหนี้การค้าด้วยวิธีการยืนยันยอดลูกหนี้คงเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรรวมทั้งไม่ได้กำหนดวิธีการวิเคราะห์อายุลูกหนี้ และการทดสอบการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
  แนวทางการสอบบัญชีรายการเจ้าหนี้ ไม่ได้กำหนดขอบเขตการสอบทานหนังสือยืนยันยอดเจ้าหนี้รวมมูลค่าหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด
  ไม่ปรากฏการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีบางรายการที่มีสาระสำคัญ สำหรับองค์ประกอบในงบดุล
  ไม่ปรากฏการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีบางรายการที่มีสาระสำคัญ สำหรับองค์ประกอบในงบกำไรขาดทุน
  ไม่ปรากฏแนวทางการสอบบัญชีภาษีอากร
  แนวการตรวจสอบที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กำหนดวัตถุประสงค์ว่าสินทรัพย์ถาวรที่บันทึกในบัญชีมีอยู่จริงและเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ แต่ผู้ตรวจสอบไม่ได้ใช้วิธีการทดสอบตรวจนับสินทรัพย์ถาวรบางรายการเพื่อเปรียบเทียบยอดตามบัญชี และไม่มีการกำหนดวิธีการตรวจสอบอื่น ได้แก่ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ (ทะเบียนรถ) ทดสอบการคำนวณค่าเสื่อมราคา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น
  แนวทางการสอบบัญชีรายการบัญชีสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นไม่กำหนดวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูล
  แนวทางการสอบบัญชีรายการสินทรัพย์อื่นไม่กำหนดวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูล
  แนวการตรวจสอบรายการเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวระหว่างงวด
  ไม่ปรากฏหลักฐานการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีสำหรับรายการในงบดุล งบกำไรขาดทุน และภาษีอากร มีเพียงเอกสาร จำนวน 1 ฉบับ ที่บันทึกว่า “ตรวจการบันทึกรายการบัญชี ตรวจการบันทึกรายได้ 100% ตรวจการบันทึกค่าใช้จ่าย 100% ตรวจรายละเอียดประกอบ ตรวจงบการเงิน” พร้อมบันทึกสรุปผลการตรวจสอบว่าไม่พบข้อบกพร่องและไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  ไม่ปรากฏหลักฐานการจัดทำแนวทางการสอบบัญชีสำหรับรายการในงบดุล งบกำไรขาดทุน  และภาษีอากร โดยมีเพียงเอกสาร จำนวน 1 ฉบับ ที่บันทึกว่า “ตรวจสอบการบันทึกรายการบัญชี ตรวจสอบรายวันทั่วไป 100% ตรวจสอบใบสำคัญรับเงินกับรายวันรับ 100% ตรวจสอบใบสำคัญจ่ายกับรายวันซื้อ 100% ตรวจสอบการผ่านรายการบัญชีไปแยกประเภท” พร้อมบันทึกสรุปผลการตรวจสอบว่าถูกต้องตามที่ควร
  ไม่ปรากฏหลักฐานการจัดทำแนวการสอบบัญชีสำหรับรายการในงบดุลและงบกำไรขาดทุน มีเพียงเอกสาร จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 บันทึกว่า “ตรวจรายวันทั่วไป 100% ตรวจรายวันรับ 100% ตรวจรายวันจ่าย 100% ตรวจการผ่านรายการบัญชีไปแยกประเภท 100% ตรวจงบการเงิน” และฉบับที่ 2 บันทึกว่า “ตรวจรายวันซื้อ ตรวจรายวันขาย ตรวจรายวันทั่วไป ตรวจการผ่านรายการ ตรวจงบการเงิน”
  รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แนวการสอบบัญชีไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบรายการที่มีสาระสำคัญและขอบเขตการเลือกรายการทดสอบ
  แนวทางการสอบบัญชีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง/รายได้จากการขาย กำหนดวิธีการตรวจสอบเพียงกระทบยอดรายได้ระหว่างสมุดบัญชีแยกประเภทกับข้อมูลตามแบบ ภ.พ.30 สุ่มรายได้สุ่มจากรายงานภาษีขาย และสุ่มตรวจสอบเอกสารประกอบอย่างน้อย 20 รายการ แต่ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบอื่น ได้แก่ การตรวจสอบวงจรรายได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (ได้จัดประเภทรายการไว้อย่างถูกต้องและแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนอย่างครบถ้วน) และตรวจสอบสัญญาจ้าง เพื่อสามารถประมาณผลงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ
  จัดทำแนวทางการสอบบัญชีรายได้ไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบหลักฐานการประมูลและการรับงานของห้างฯอันเป็นที่มาของรายได้
  ห้างฯ มีการทำสัญญาที่ก่อให้เกิดรายได้กับผู้ว่าจ้าง แต่แนวการสอบบัญชีรายได้ ไม่ปรากฏวิธีการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนจากสัญญาว่าจ้าง
  แนวทางการสอบบัญชีต้นทุนการรับเหมาก่อสร้างและต้นทุนขาย กำหนดวิธีการตรวจสอบเพียงสุ่มยอดซื้อ โดยตรวจกับใบส่งของ ใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ แต่ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบอื่น ได้แก่ การตรวจสอบวงจรรายจ่าย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (ได้จัดประเภทรายการไว้อย่างถูกต้องและแสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนอย่างครบถ้วน) และตรวจสอบสัญญาจ้าง เพื่อสามารถประมาณต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ อีกทั้ง ไม่ปรากฏว่าได้มีการกำหนดวิธีการตรวจสอบเกี่ยวกับงานระหว่างทำคงเหลือ
  แนวทางการตรวจสอบภาษีอากร กำหนดการตรวจสอบการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีเป็นกำไรสุทธิทางภาษี แต่ไม่ได้กำหนดการตรวจสอบการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและการเสียภาษี การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษี การจัดทำรายงานฯ
  ผู้ตรวจสอบฯ มิได้มาพบและส่งมอบเอกสารหลักฐานให้ตรวจสอบ จึงไม่ปรากฏแนวการสอบบัญชีสำหรับการพิจารณาในชั้นนี้
 การจัดทำกระดาษทำการ
  กระดาษทำการแผนการสอบบัญชีโดยรวม ไม่ปรากฏชื่อผู้จัดทำ ผู้สอบทานและวันที่จัดทำและวันที่สอบทาน
  กระดาษทำการที่จัดทำไม่ระบุชื่อและลายมือชื่อผู้ปฏิบัติงาน / วันที่ปฏิบัติงาน ผู้สอบทาน / วันที่สอบทาน และสรุปผลการปฏิบัติงาน
  กระดาษทำการไม่ปรากฏเครื่องหมายแสดงการตรวจสอบ และคำอธิบายเครื่องหมายแสดงการตรวจสอบ ที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการตรวจสอบรายการนั้นๆ ผู้ตรวจสอบฯ ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมพบว่า กระดาษทำการที่จัดส่งให้ยังคงไม่ปรากฏเครื่องหมายแสดงการตรวจสอบ และคำอธิบายเครื่องหมายแสดงการตรวจสอบ
  ไม่ปรากฏการจัดทำกระดาษทำการสำหรับองค์ประกอบในงบดุลที่มีสาระสำคัญ
  ไม่ปรากฏการจัดทำกระดาษทำการสำหรับองค์ประกอบในงบกำไรขาดทุนที่มีสาระสำคัญ
  ไม่มีการจัดทำกระดาษทำการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร
  รายการในกระดาษทำการไม่สอดคล้องกับรายการในงบดุล
  ผู้ตรวจสอบฯจัดทำเอกสารสรุปเพียง 1 ฉบับ ที่บันทึกผลการตรวจสอบว่า “ตรวจการบันทึกรายการบัญชี ตรวจการบันทึกรายได้ 100% ตรวจการบันทึกค่าใช้จ่าย 100% ตรวจรายละเอียดประกอบ ตรวจงบการเงิน” พร้อมบันทึกสรุปผลการตรวจสอบว่าไม่พบข้อบกพร่องและไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ปรากฏหลักฐานการจัดทำกระดาษทำการที่บันทึกผลการตรวจสอบสำหรับรายการที่มีสาระสำคัญทางบัญชีและภาษีอากร
  ผู้ตรวจสอบฯจัดทำเอกสารสรุปเพียง 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 บันทึกว่า “ตรวจรายวันทั่วไป 100% ตรวจรายวันรับ 100% ตรวจรายวันจ่าย 100% ตรวจการผ่านรายการบัญชีไปแยกประเภท 100% ตรวจงบการเงิน” ฉบับที่ 2 บันทึกว่า “ตรวจรายวันซื้อ ตรวจรายวันขาย ตรวจรายวันทั่วไป ตรวจการผ่านรายการ ตรวจงบการเงิน” โดยไม่ปรากฏหลักฐานการจัดทำกระดาษทำการที่บันทึกผลการตรวจสอบสำหรับรายการที่มีสาระสำคัญทางบัญชีและภาษีอากร
  ผู้ตรวจสอบฯ จัดทำกระดาษทำการเพียงบางรายการ ได้แก่ กระดาษทำการงบทดลอง กระดาษทำการตรวจนับเงินสดที่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับรอง กระดาษทำการแสดงรายการวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด สำเนารายงานคงเหลือ (Weekly Inventory) สำเนาสัญญาจ้างบริหารและควบคุมงานก่อสร้างตกแต่งภายในหนังสือรับรองของหุ้นส่วนผู้จัดการ และกระดาษทำการสรุปผลการตรวจสอบ กระดาษทำการส่วนใหญ่ไม่มีการระบุชื่อผู้จัดทำ วันที่จัดทำ ชื่อผู้สอบทานงาน และวันที่สอบทานงาน และไม่พบว่ามีกระดาษทำการ รายการเงินยืมระยะสั้นจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน จำนวน 5,000,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.40 ของสินทรัพย์รวม รายการเจ้าหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระ จำนวน 978,120 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.36 ของสินทรัพย์รวม รายการรายได้ จำนวน 4,250,498.31 บาท และต้นทุนขาย จำนวน 1,443,817.95 บาท มีเพียงกระดาษทำการบันทึกสรุปผลการตรวจสอบของผู้ช่วยฯ ว่า “ตรวจรายได้กับ ภ.พ.30 ยอดตรงกัน” รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 3,535,994.96 บาท โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่มีสาระสำคัญ เช่น เงินเดือน จำนวน 786,409 บาท ค่าธรรมเนียมรูปแบบดำเนินการร้านค้า (Franchise Fee รายเดือน) จำนวน 663,922.88 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.24 และ 18.78 ของค่าใช้จ่ายขายและบริหารตามลำดับ ปรากฏเพียงบันทึกสรุปผลการตรวจสอบของผู้ช่วยฯ ว่า “บัญชีเงินเดือน ยอดตรงกับแบบ  ภ.ง.ด.1ก”
  รายการเงินสด แนวการตรวจสอบบัญชีกำหนดวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ายอดเงินในมือมีอยู่จริง โดยใช้วิธีการตรวจนับเงินสด และยืนยันยอดเงินในมือ ซึ่งในกระดาษทำการหนังสือยืนยันยอดเงินสดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด มีลายเซ็นของตัวแทนฝ่ายผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้เข้าสังเกตการณ์ตรวจนับ ผู้ตรวจสอบฯ ไม่ได้เข้าทำการตรวจนับเงินสดคงเหลือ
  รายการเงินสด ตรวจสอบโดยการขอคำยืนยันยอดเงินสดในมือของหุ้นส่วน แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อหุ้นส่วน และการตรวจสอบโดยการตรวจนับเงินสด ใบแสดงการตรวจนับ ไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้ตรวจนับและผู้เก็บรักษาเงิน และวันที่ตรวจนับในใบตรวจนับระบุวันที่ตรวจนับ 30/12/xx ขัดแย้งกับแนวทางการตรวจซึ่งระบุวันที่ตรวจวันที่ 10/5/xx และไม่ปรากฏกระดาษทำการเลือกทดสอบรับ-จ่าย เพื่อตรวจสอบอย่างน้อย 20 รายการ  
  รายการเงินสด แนวทางการสอบบัญชีกำหนดวิธีการตรวจสอบ ให้ทำการกระทบยอดเงินสด กลับไปหายอด ณ วันปิดบัญชีแต่ไม่ปรากฎกระดาษทำการ และไม่มีกระดาษทำการแสดงการทดสอบรายการบัญชีรับ-จ่าย บัญชีซื้อ-ขาย อย่างน้อย 20 รายการของแต่ละบัญชี ตามประกาศอธิบดีฯ เรื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานฯ
  รายการเงินสด ไม่ปรากฏกระดาษทำการตรวจสอบรายการรับ-จ่ายอย่างน้อย 20 รายการบัญชี
  รายการเงินสด แฟ้มกระดาษทำการได้แนบหลักฐานใบตรวจนับตัวเงิน ซึ่งได้ตรวจนับเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ปรากฏลายมือชื่อผู้สอบบัญชี แต่วันเดือนปีที่ตกลงรับงานในหนังสือตอบรับงานตรวจสอบและรับรองบัญชี เป็นวันที่ 1 พฤษภาคม 2550
  รายการเงินสด ไม่ได้ตรวจสอบความมีอยู่จริงของเงินสดคงเหลือด้วยวิธีการตรวจนับ แต่อ้างอิงหนังสือรับรองซึ่งออกโดยหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบรายการ โดยไม่ได้ใช้วิธีการตรวจสอบอื่นร่วมด้วย
  รายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน กระดาษทำการปรากฏเพียงเครื่องหมายตรวจสอบยอดคงเหลือเงินสดย่อยกับบัญชีแยกประเภทแสดงยอดคงเหลือเท่ากับที่แสดงในงบการเงินและทดสอบการบวกเลข ไม่ปรากฏกระดาษทำการตรวจนับเงินสด
  รายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน กระดาษทำการแสดงการตรวจสอบเงินฝากสถาบันการเงินว่า “ได้ให้ผู้จัดการส่งยืนยันยอดเงินฝากธนาคารแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้จัดการไม่ได้ส่งยืนยันไปให้กับธนาคาร จึงได้ใช้วิธีการตรวจสอบอื่นทดแทน...ตรงกับงบการเงิน” และปรากฏตามหนังสือที่ผู้ตรวจสอบฯ มีถึงหุ้นส่วนผู้จัดการว่า “เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบบัญชี... จึงใคร่ขอความร่วมมือจากท่านในการจัดส่งหนังสือยืนยันยอดที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชีของห้างหุ้นส่วนฯ พร้อมทั้งติดตามกลับมาเพื่อเป็นหลักฐานในการสอบบัญชีต่อไป” ผู้ตรวจสอบฯ ไม่ได้ขอคำยืนยันยอดบัญชีเงินฝาก หรือสอบทานการทำงบกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคารตามมาตรฐานการสอบบัญชี และ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 จึงไม่สามารถทราบได้ว่ามียอดคงเหลือที่แท้จริงเป็นเท่าใด หรือมีรายการอื่นใดอีก เช่น มีภาระผูกพันจากการค้ำประกันใด ๆ หรือไม่
  รายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน กระดาษทำการตรวจสอบที่อ้างอิงการตรวจสอบ ได้แก่ กระดาษทำการตรวจนับเงินสด ระบุตรวจนับเงินสดที่มีอยู่ ณ วันที่ 2 มกราคม 25xx แสดงเงินสดจำนวน 46,189.34 บาท โดยปรากฏลายมือชื่อผู้ตรวจนับและผู้สอบทาน แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เก็บรักษาเงินสดและผู้รับเงินคืนจากการตรวจนับ และจำนวนเงินสดที่ตรวจนับได้ไม่ตรงกับจำนวนยอดเงินสดที่แสดงในงบการเงิน ไม่ตรงกับสมุดบัญชีเงินสดซึ่งไม่มีเงินสดคงเหลือ (-90,754.30 บาท) และไม่ปรากฏรายการปรับปรุงและสรุปผลการตรวจสอบ จึงไม่น่าเชื่อว่ามีการตรวจนับเงินสดจริงตามกระดาษทำการตรวจนับ
  รายการเงินฝากสถาบันการเงิน ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบ คือ สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบด้วยวิธีการขอคำยืนยันยอดเงินฝากธนาคาร และการทดสอบรายการสมุดบัญชีเงินฝากกับรายการบัญชีเงินฝากธนาคาร
  รายการเงินฝากธนาคาร ไม่ปรากฏหนังสือยืนยันยอดเงินฝากธนาคาร ไม่ปรากฏการทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารเพื่อพิสูจน์ความมีอยู่จริง และจำนวนเงินที่ถูกต้องของเงินฝากดังกล่าว
  รายการเงินฝากสถาบันการเงิน ประกอบด้วยสถาบันการเงิน 2 แห่ง ผลการตรวจสอบใช้วิธีการขอคำยืนยันยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด โดยหลักฐานประกอบการตรวจสอบรายการดังกล่าวของธนาคาร.........  ไม่ได้ระบุวัน-เดือน-ปี ที่ส่งหนังสือ และปรากฏลายมือชื่อบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ณ เวลานั้น เป็นผู้ลงนามในหนังสือขอคำยืนยันยอด จึงมีผลให้หลักฐานประกอบการตรวจสอบรายการไม่สมบูรณ์สำหรับรายการที่มีสาระสำคัญ
  รายการลูกหนี้การค้า กระดาษทำการไม่แสดงรายละเอียดว่าห้างฯ ประกอบด้วยลูกหนี้รายใดบ้าง และลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนหนี้เท่าใด  ผู้ตรวจสอบฯ ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติม พบเพียงเอกสาร “รายงานบัญชีแยกประเภท-เฉพาะที่มีรายการรายวันและมียอดยกมา” ซึ่งในบัญชีแยกประเภทแสดงรายการลูกหนี้เพียงรายเดียว และบันทึกรายได้จากการบริการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 จำนวน 265,440 บาท ซึ่งได้ระบุหมายเหตุว่า ตรวจสอบแล้วกับใบแจ้งหนี้ และบัญชีแยกประเภท และไม่ปรากฏการตรวจสอบวิธีอื่นเพื่อให้มั่นใจว่าลูกหนี้มีอยู่จริง และถูกต้องตามที่ควร เช่น การตรวจสอบการยืนยันยอดลูกหนี้ซึ่งมีมูลค่ารวม  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด ตามประกาศอธิบดีฯ เรื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
  รายการเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท คำขอยืนยันยอดลูกหนี้ และสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งได้ทำสัญญากู้เงิน ณ วันที่ 31 ธ.ค.49 ระบุไม่คิดดอกเบี้ยแต่บันทึกรายการในบัญชีแยกประเภทวันที่ 1 ม.ค.49 โดยคำนวณดอกเบี้ยรับ ณ วันที่ 1 ม.ค.49 ขัดแย้งกับสัญญาที่แนบไว้
  รายการสินค้าคงเหลือ แนวทางการสอบบัญชีกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจสอบว่า “เพื่อให้แน่ใจว่ามีสินค้าคงเหลือ วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง สินค้าระหว่างทางหรือสินค้าฝากขายที่ปรากฏอยู่ในบัญชีหรือบันทึกต่างๆมีเก็บอยู่จริงในคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็นในบริษัทหรือภายนอกหรือได้นำไปฝากขาย” แต่กระดาษทำการปรากฏเพียงการตรวจสอบกับการยืนยันยอดของสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ ณ วันที่ 31ธันวาคม 25xx ของหุ้นส่วนผู้จัดการ และตรวจกับ Stock card  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25xx ผู้ตรวจสอบฯไม่ได้เข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าร่วมกับห้างฯ
  รายการสินค้าคงเหลือ ปรากฏหลักฐานที่อ้างอิงประกอบผลการตรวจสอบได้แก่ รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25xx จำนวน 277 รายการ ซึ่งปรากฏรหัสว่าตรวจสอบการคำนวณในแนวดิ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบ การเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือ การทดสอบราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ การทดสอบการเบิกจ่ายสินค้ากับบัญชีคุมสินค้า การตรวจสอบหลักฐานการซื้อ – ขายกับสมุดบัญชี การสอบทานแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป นโยบายบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือว่าใช้วิธีใด และได้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อนหรือไม่
  รายการสินค้าคงเหลือ ไม่ปรากฏกระดาษทำการรายการสินค้าคงเหลือและในรายงานการตรวจสอบฯข้อ 5 ระบุว่า “ได้รับการแต่งตั้งหลังวันที่ในงบการเงิน ไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ และไม่สามารถใช้วิธีการตรวจ สอบอื่นให้เป็นที่พอใจในยอดคงเหลือสำหรับรายการดังกล่าวได้” บันทึกไว้ในแนวการสอบบัญชีว่าห้าง ไม่ได้จัดทำรายงานการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือและไม่สามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือต้นปีได้
  รายการสินค้าคงเหลือ ซึ่งมีรายการตามรายละเอียดสินค้าคงเหลือ จำนวน 166 รายการ กระดาษทำการตรวจสอบ  สรุปผลการเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือว่า “สินค้ามีการจัดอย่างเป็นระเบียบ ตรวจสอบได้ง่าย และตรงกับ Stock Card และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสินค้า กิจการใช้วิธีการตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบเข้าก่อนออกก่อน” แต่ไม่ปรากฏรหัสอ้างอิงและกระดาษทำการ ทดสอบการตรวจนับสินค้าคงเหลือ และการตรวจสอบตามที่กำหนดในแนวการตรวจสอบ ดังนี้ ตรวจสอบหลักเกณฑ์และการตีราคาสินค้าคงเหลือ ตรวจสอบการคำนวณราคา ตรวจสอบการตัดยอดซื้อ-ยอดขาย ตรวจสอบต้นทุนสินค้า
  รายการสินค้าคงเหลือ แนวการตรวจสอบบัญชี ระบุว่าสังเกตการณ์ตรวจนับวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือปลายงวด และตรวจสอบระบบสต๊อกวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ ว่าถูกต้องสัมพันธ์กับปริมาณการจัดซื้อ และเบิกไปผลิต หรือเบิกไปจำหน่าย และยอดวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือปลายงวด โดยใช้ราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า แต่แฟ้มกระดาษทำการปรากฏเพียงรายงานสถานะสินค้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 25xx ถึง 31 ธันวาคม 25xx ซึ่งมียอดคงเหลือเท่ากับที่แสดงในงบการเงิน โดยไม่มีการแสดงเครื่องหมายการตรวจสอบ ไม่มีการบันทึกการตรวจสอบ ไม่มีการสรุปผลการตรวจสอบ และไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบตามที่ได้ระบุไว้ในแนวการตรวจสอบบัญชี
  รายการสินค้าคงเหลือจำนวน ปรากฏกระดาษทำการรายการสินค้าคงเหลือ แสดงการทดสอบราคาทุนกับราคาตลาด การเข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้า เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2552 ซึ่งเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันที่ตรวจนับได้ กับรายงานสินค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ผู้ตรวจนับและผู้ตรวจสอบ และไม่ปรากฏกระดาษทำการตรวจสอบกระทบยอดกลับมา ณ วันสิ้นงวด
  รายการสินค้าคงเหลือ มิได้ตรวจสอบความมีอยู่จริงของสินค้าคงเหลือด้วยวิธีการเข้าร่วมการสังเกตการณ์การตรวจนับ โดยอ้างอิงหนังสือรับรองจากหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ทำการสืบค้นข้อมูลราคาขายน้ำมันของผู้ประกอบการรายใหญ่ประกอบการตรวจสอบรายการ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการทดสอบเกี่ยวกับราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ นโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือและวิธีการคำนวณราคาทุน
  งบการเงินปรากฏรายการงานระหว่างทำคงเหลือ จึงเป็นข้อบ่งชี้ในเบื้องต้นว่ารายได้ที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 255x ต้องรับรู้รายได้ตามเกณฑ์อัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ แต่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ตรวจสอบรายได้ตามหลักฐานการยื่นแบบ ภ.พ.30 ดังนั้น การรับรู้รายได้ของห้างฯ จึงเป็นการรับรู้ตามงวดการชำระเงินไม่ใช่ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ
  รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า) กระดาษทำการปรากฏการทดสอบการบวกเลข ทดสอบการคำนวณ ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท ตรวจสอบกับหลักฐานการจ่ายเงิน (ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน ค่าเบี้ยประกันภัย) แต่ไม่ปรากฏการตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย
  รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์  ประกอบด้วย เครื่องมือเครื่องใช้  เครื่องใช้สำนักงาน รถยนต์ และ ตู้น้ำ กระดาษทำการทะเบียนทรัพย์สิน ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าได้ตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สิน เช่น รายการรถยนต์
  รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ ประกอบด้วย อุปกรณ์- ยานพาหนะ กระดาษทำการปรากฏรายละเอียดการซื้อสินทรัพย์ในปี แสดงเครื่องหมายทดสอบการคำนวณ การบวกเลข ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท และหลักฐานใบกำกับภาษีซื้อ และตรวจสอบการคำนวณค่าเสื่อมราคา แต่ไม่ปรากฏการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ดังกล่าว
  รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แนวทางการสอบบัญชีกำหนดวิธีการตรวจสอบว่ากิจการบันทึกรายการไว้ถูกต้องครบถ้วนมีอยู่จริง กิจการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน การตีราคาวัดมูลค่าถูกต้องตามหลักบัญชี การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินถูกต้องครบถ้วน กระดาษทำการปรากฏรายละเอียดการตรวจสอบยอดคงเหลือต้นงวดเปรียบเทียบกับยอดคงเหลือปลายงวดแสดงเครื่องหมายตรวจสอบกับกระดาษทำการปีก่อน ตรวจสอบกับงบทดลอง  และวิเคราะห์ว่ารายการดังกล่าวไม่มีการเคลื่อนไหว  แต่ไม่แสดงรายละเอียดว่าเป็นรายการสินทรัพย์ใด ไม่ปรากฏการทดสอบการคำนวณค่าเสื่อมราคาสะสม  ค่าเสื่อมราคาประจำปีและราคาทุนของทรัพย์สิน
  รายการอุปกรณ์-สุทธิ แนวการตรวจสอบบัญชีระบุว่าสำรวจที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ว่ามีอยู่จริงเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการถูกต้องครบถ้วนตรงตามทะเบียนคุม แฟ้มกระดาษทำการได้แนบรายงานแสดงค่าเสื่อมราคาเรียงตามรหัสของอุปกรณ์ มีการแสดงเครื่องหมายตรวจสอบทุกรายการ แต่ไม่มีคำอธิบายเครื่องหมายตรวจสอบ ไม่มีการสรุปผลการตรวจสอบ จึงไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่าได้ตรวจสอบตามที่ได้ระบุไว้ในแนวการตรวจสอบบัญชี
  รายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 0 บาท ประกอบด้วย ยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงาน กระดาษทำการปรากฏการทดสอบ การบวกเลข ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท ตรวจสอบกับใบกำกับภาษีขาย ใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบการอนุมัติโดยผู้มีอำนาจในการจำหน่ายสินทรัพย์
  รายการเงินเบิกเกินบัญชี ปรากฏหลักฐานที่อ้างอิงผลการตรวจสอบ ได้แก่ สำเนารายการเดินบัญชีธนาคาร แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบด้วยวิธีการขอคำยืนยันยอดจากธนาคาร
  รายการเงินเบิกเกินบัญชี กระดาษทำการทำเครื่องหมายว่าได้ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท และตรวจกับ Bank Statement หนังสือยืนยันยอดเงินฝากแต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการสนับสนุนการตรวจสอบเงินเบิกเกินบัญชี และไม่ปรากฏหนังสือยืนยันยอดเงินฝากธนาคาร
  รายการเจ้าหนี้การค้า ปรากฏหลักฐานอ้างอิงประกอบการตรวจสอบ ได้แก่ บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ (รายตัว) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 25xx จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 25xx รวม 4 ราย แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการทดสอบความครบถ้วนของบัญชีโดยการตรวจตัดยอดซื้อ และการส่งหนังสือขอยืนยันยอด
  รายการเจ้าหนี้การค้า แนวทางการสอบบัญชีเจ้าหนี้การค้าได้กำหนดวิธีการตรวจสอบ ถึงการส่งหนังสือยืนยันยอด ณ วันสิ้นงวด แต่ไม่ปรากฏหนังสือยืนยันยอดเจ้าหนี้การค้า
  รายการเจ้าหนี้การค้า แฟ้มกระดาษทำการปรับปรุงงบทดลอง ปรากฏเพียงกระดาษทำการที่แยกรายละเอียดเจ้าหนี้รายตัวโดยไม่มีการแสดงเครื่องหมายตรวจสอบและคำอธิบาย จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่แสดงถึงการตรวจสอบที่ให้ข้อสรุปที่เพียงพอต่อการรายงาน เช่น วิเคราะห์เปรียบเทียบบัญชีเจ้าหนี้ พิจารณาความสัมพันธ์กับยอดซื้อสินค้า ขอคำยืนยันยอด ซึ่งต้องยืนยันยอดเจ้าหนี้รวมมูลค่าหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตรวจตัดยอดซื้อ เพื่อทดสอบความครบถ้วนตรงตามงวดบัญชีของบัญชีซื้อและเจ้าหนี้การค้า ตรวจการชำระเงินหลังวันสิ้นงวด
  รายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กระดาษทำการตรวจสอบหนี้สินหมุนเวียนอื่น แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการสนับสนุนที่แสดงให้เห็นถึงการตรวจสอบความมีอยู่จริงของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  รายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ ปรากฏเพียงกระดาษทำการหลักซึ่งแสดงรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อตามจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล และเครื่องหมายการทดสอบการบวกเลขแนวตั้ง แต่ไม่ปรากฏรหัสอ้างอิงกระดาษทำการสนับสนุนการตรวจสอบ สรุปผลการตรวจสอบ และกระดาษทำการสนับสนุนการตรวจสอบ เช่น (1) ตรวจสอบเอกสารการเป็นหนี้ เช่น สัญญาเช่าซื้อ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) ตรวจสอบการจ่ายชำระหนี้ กับหลักฐานการชำระ (3) ตรวจสอบดอกเบี้ยจ่าย
  รายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคล ปรากฏหลักฐานอ้างอิงประกอบการตรวจสอบ ได้แก่ หนังสือยืนยันยอดจากหุ้นส่วนยืนยันการเป็นเจ้าหนี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการทดสอบรายการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้กับบัญชีที่เกี่ยวข้อง
  รายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการและลูกจ้าง แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล ซึ่งตรงกับกระดาษทำการตรวจสอบรายการนี้ แต่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงินภายใต้หัวข้อเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
  รายการเจ้าหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ แนวทางการสอบบัญชีเจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกำหนดวิธีการตรวจสอบ โดย ตรวจสอบรายละเอียดของบัญชี กับสัญญาเงินกู้ยืม ขอคำยืนยันยอดเจ้าหนี้ฯ(อย่างน้อย 60% ของปริมาณหนี้) และทดสอบการคำนวณดอกเบี้ยจ่ายและค้างจ่ายแต่ไม่ปรากฏหลักฐานหนังสือยืนยันยอดเจ้าหนี้ รวมทั้งไม่ปรากฏการตรวจสอบกับสัญญาเงินกู้ยืม และรายการเคลื่อนไหวการรับ และจ่ายคืนเงินยืม
  รายการเงินกู้ยืมจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มียอดคงเหลือยกมาจากปีก่อน แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการแสดงการตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวระหว่างปีของรายการบัญชีเงินกู้ยืมจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มียอดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด
  รายการเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กระดาษทำการตรวจสอบ ปรากฏการตรวจสอบกับเอกสารตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนังสือยืนยันยอดเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการ ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินกู้ยืม โดยตรวจสอบการรับเงินกู้ยืม การจ่ายคืนเงินต้น ตามแนวการตรวจสอบที่กำหนด
  รายการเงินกู้ยืมระยะยาวจากผู้เป็นหุ้นส่วนฯ บันทึกผลการตรวจสอบว่า “เป็นการกู้ยืมเงินจาก ผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่อใช้หมุนเวียนในห้างฯ เมื่อขาดสภาพคล่อง การกู้ยืมไม่มีกำหนดชำระ ไม่มีการคิดดอกเบี้ย ห้างฯจะชำระคืนเมื่อห้างฯมีสภาพคล่องเกี่ยวกับเงิน ไม่มีการทำสัญญาใด บัญชีเงินกู้ยืมระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เกิดขึ้นจริง” โดยไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบใด ๆ
  ไม่ปรากฏหลักฐานการสอบบัญชีที่ทำให้ผู้สอบบัญชีสามารถสรุปได้ว่าบริษัทฯ จะสามารถดำเนินงานต่อเนื่องได้ ดังที่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เรื่อง สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญว่า “…ผู้บริหารของบริษัทฯ มีความเชื่อว่าการจัดทำงบการเงินโดยใช้เกณฑ์ที่ว่ากิจการจะดำเนินงานต่อเนื่องต่อไปนั้นยังคงเหมาะสม…
  รายการส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน  แสดงเพียงการตรวจสอบเงินลงทุนของหุ้นส่วนแต่ละคน ไม่ได้แสดงถึงการตรวจสอบรายการขาดทุนสะสมเกินทุน ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ถึงการไม่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อสมมติทางการบัญชี เรื่อง “การดำเนินงานต่อเนื่อง”
  กระดาษทำการงบกำไรขาดทุน(P/S) แสดงรายการต้นทุนขาย กำไรก่อนภาษีเงินได้และภาษีเงินได้นิติบุคคลมีจำนวนเงินไม่สอดคล้องกับงบการเงิน
  รายการรายได้ประกอบด้วยรายได้จากการขาย และรายได้ส่งเสริมการขาย (รายได้อื่น)ตรวจสอบการรับชำระเงิน,รายงานภาษีขาย,แบบ ภ.พ.30 และการตรวจตัดยอดขาย 3 รายการสุดท้าย กับ 3 รายการแรกของปีถัดไปตรวจกับใบเสร็จรับเงินว่าตรงงวดบัญชีหรือไม่  ซึ่งการตรวจตัดยอดขายไม่ได้แสดงวิธีการตรวจสอบกับการเชื่อมโยงบัญชีใดๆ
  รายการรายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ปรากฏเพียงการตรวจสอบการรับชำระเงิน รายงานภาษีขาย แบบ ภ.พ.30 และการตรวจตัดยอดขาย 3 รายการสุดท้าย กับ 3 รายการแรกของปีถัดไป ตรวจกับใบเสร็จรับเงินว่า ตรงตามงวดบัญชีหรือไม่ ซึ่งการตัดยอดขายไม่ได้แสดงวิธีการตรวจสอบกับการเชื่อมโยงบัญชีใดๆ และไม่ปรากฏการตรวจสอบการบันทึกบัญชีการรับรู้รายได้จากการรับเหมาโดยอ้างอิงขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้างตามสัญญาจ้าง
  รายการรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างใช้วิธีการตรวจสอบเพียงกระทบยอดรายได้ระหว่างสมุดบัญชีแยกประเภทกับข้อมูลตามแบบ ภ.พ.30 สุ่มรายได้ สุ่มจากรายงานภาษีขาย และสุ่มตรวจสอบเอกสารประกอบ แต่มิได้ตรวจสอบสัญญาจ้าง และวงจรรายได้ จึงมีผลให้การจัดกระดาษทำการไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถให้ข้อสรุปที่เพียงพอต่อการรายงานฯ
  รายการรายได้จากการบริการ กระดาษทำการไม่ปรากฏกระดาษทำการแสดงการตรวจสอบรายได้เพื่อทดสอบถึงการเกิดขึ้นจริง ถูกต้อง ครบถ้วน และการตรวจตัดยอดรายได้
  รายได้จากการขายและบริการ ปรากฏกระดาษทำการตรวจสอบเปรียบเทียบระหว่างรายได้ขายตามบัญชีและรายรับตามแบบ ภ.พ.30 แสดงเครื่องหมาย ทดสอบการบวกเลข ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท ใบกำกับภาษีขาย และใบเสร็จรับเงิน แต่กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบรายละเอียดของห้องพักและการตรวจตัดยอดบริการ
  รายการรายได้จากการขาย กระดาษทำการ แสดงการตรวจสอบรายได้ตามบัญชี กับ แบบ ภ.พ.30 โดยสุ่มทดสอบเดือนที่มียอดขายมากกว่า 840,000.00 บาท จำนวน 4 เดือน บันทึกผลการตรวจสอบว่ากิจการบันทึกบัญชีถูกต้องครบถ้วนตรงตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการสนับสนุน แสดงรายการที่คัดเลือกมาทดสอบว่าเป็นรายการใด และไม่ปรากฏการตรวจตัดยอดขาย
  รายได้จากการส่งเสริมการขาย ควรจะมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายประมาณ 43,358.75 บาท แต่ในงบการเงินมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้เพียง 8,562.34 บาท จึงสันนิษฐานว่าบันทึกบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ไม่ครบถ้วน
  ห้างฯมีรายการดอกเบี้ยรับยกมาต้นงวด และ ณ วันสิ้นงวด ไม่ปรากฏรายการดังกล่าว ถือว่าห้างฯได้รับดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการที่แสดงถึงการตรวจสอบรายการรับชำระเงินและการนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะ
  รายการต้นทุนขาย  ส่วนใหญ่เป็นรายการซื้อสินค้า ตรวจสอบการจ่ายชำระเงินตาม receipt รายงานภาษีซื้อ แบบ ภ.พ.30 และการตรวจตัดยอดซื้อ 3 รายการสุดท้าย และ 3 รายการแรกของปีถัดไป ซึ่งการตรวจตัดยอดซื้อไม่ได้แสดงวิธีการตรวจสอบกับการเชื่อมโยงบัญชีใดๆ
  รายการต้นทุนขาย ปรากฏรายการค่าวัสดุและอุปกรณ์  ค่าแรงงานและ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ไม่ปรากฏการตรวจสอบการบันทึกบัญชีการรับรู้รายได้จากการรับเหมาโดยอ้างอิงขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้างตามสัญญาจ้าง
  รายการต้นทุนขาย หลักฐานการตรวจสอบ ได้แก่ สำเนาบัญชีแยกประเภทซื้อสินค้า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 25xx จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 25xx ซึ่งไม่ปรากฏเครื่องหมายการตรวจสอบและการตรวจสอบวิธีใดบ้าง และไม่ปรากฏการทดสอบโดยการตรวจตัดยอดซื้อ ณ สิ้นงวด การส่งยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อ การทดสอบกับสมุดรายวันซื้อ
  รายการต้นทุนขาย กระดาษทำการ สรุปการตรวจสอบการสุ่มทดสอบรายการซื้อที่มีมูลค่ามากกว่า 200,000.00 บาท จำนวน 25 รายการ โดยตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันจ่ายเงิน ใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการสนับสนุน แสดงรายการที่คัดเลือกมาทดสอบว่าเป็นรายการใด และไม่ปรากฏการตรวจตัดยอดซื้อ
  รายการต้นทุนขายและบริการ กระดาษทำการตรวจตัดยอดขายและตรวจตัดยอดซื้อ ปรากฏการตรวจตัดยอดซื้อ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ซึ่งไม่เพียงพอ
  งบกำไรขาดทุนแสดงต้นทุนขายโดยมีรายการซื้อสุทธิ กระดาษทำการต้นทุนขายแสดงรายการซื้อสุทธิ โดยสรุปผลการตรวจสอบว่า “ตรวจสอบรายการซื้อสินค้ากับเอกสารการบันทึกบัญชี และบัญชีแยกประเภท รวมทั้งทดสอบการตัดบัญชีซื้อรายการต่างๆ ถูกต้องตรงกับบัญชีแยกประเภท” แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการการตรวจสอบ
  รายการซื้อ กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานสนับสนุนการตรวจสอบตามที่แสดงเครื่องหมายไว้ เช่น ตรวจสอบกับใบกำกับภาษีซื้อและใบเสร็จรับเงินรวม 12 เดือน ตรวจสอบกับงบการเงินปีก่อน ตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท และตรวจสอบงบทดลอง
  รหัสบัญชีของห้างฯ ได้แยกประเภทบัญชีซื้อสินค้าเพื่อขายออกจากบัญชีซื้อวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง แต่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีมิได้จัดทำกระดาษทำการวิเคราะห์ต้นทุนขาย เป็นเหตุให้ไม่มีหลักฐานการตรวจสอบแสดงให้เห็นไปในทางหนึ่งทางใดว่ามีรายการขายต่ำกว่าทุนที่จะต้องรายงานในแบบแจ้งข้อความฯ 
  รายการค่าใช้จ่าย แนวการตรวจสอบ กำหนดวัตถุประสงค์ว่ารายจ่ายเพื่อกิจการที่เป็นของรอบบัญชีนี้ได้บันทึกโดยครบถ้วนถูกต้อง โดยเลือกว่าจะตรวจสอบรายจ่ายจากสมุดซื้อเชื่อ และหลักฐานซื้อเชื่อ ปริมาณ 100% ของเดือนมกราคม-ธันวาคม สมุดเงินสดจ่ายและหลักฐานเงินสดจ่าย ปริมาณ 100% ของมกราคม-ธันวาคม แต่กระดาษทำการค่าใช้จ่ายในการขายและให้บริการที่อ้างอิง มีเพียงรายการของต้นทุนขายและให้บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและให้บริการ ตามงบกำไรขาดทุน ซึ่งไม่มีเครื่องหมายแสดงการตรวจสอบรายการตามที่ได้กำหนดไว้ในแนวการตรวจสอบค่าใช้จ่าย
  รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เช่น เงินเดือน ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบ ได้แก่ ตารางเปรียบเทียบเงินเดือนตามบัญชี กับเงินเดือนตามแบบ ภ.ง.ด.1 ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ตรวจจำนวนพนักงาน ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเงิน
  รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ปรากฏเครื่องหมายการตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท  แนบสำเนา ภ.ง.ด.1 ก ไม่สรุปผลการตรวจสอบ ซึ่งรายการเงินเดือน ไม่ปรากฏการตรวจสอบความมีตัวตนของพนักงานและไม่ปรากฏการตรวจสอบรายการอื่นที่มีสาระสำคัญ
  รายการเงินเดือน ปรากฏอยู่ในกระดาษทำการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และมีผลสรุปเงินเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคมสรุปผลการตรวจสอบว่าตรวจกับเอกสารจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเงินเดือน และความมีตัวตนของพนักงาน
  รายการค่าใช้จ่ายขายและบริหาร ปรากฏกระดาษทำการค่าใช้จ่ายขายและบริหารแสดงเครื่องหมายการตรวจสอบกับบัญชีแยกประเภท ทดสอบการบวกเลข ตรวจสอบกับงบทดลอง ตรวจสอบกับหลักฐานการจ่ายเงินเดือน ตรวจสอบกับใบสำคัญจ่ายค่าเช่า ตรวจสอบกับใบเสร็จรับเงินประกันสังคม แต่กระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานสนับสนุนการตรวจสอบตามที่แสดงเครื่องหมายไว้ในรายการเงินเดือน เงินประกันสังคม  ค่าเช่าสำนักงาน  และค่าสอบบัญชี
  ห้างฯไม่มียานพาหนะ แต่งบการเงินปรากฏรายการค่าน้ำมัน-ยานพาหนะ และค่าซ่อมแซม-ยานพาหนะ แต่แฟ้มกระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบรายการดังกล่าว เพื่อให้ความมั่นใจว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและเกี่ยวกับกิจการ
  ห้างฯ ได้จ่ายค่าน้ำมันยานพาหนะ และค่าซ่อมแซมยานพาหนะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในกิจการ แต่แฟ้มกระดาษทำการไม่ปรากฏหลักฐานตรวจสอบการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าจ่ายค่าน้ำมันไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้น และไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบภาษีซื้อ
  ห้างฯ มีค่าเช่าอุปกรณ์ แสดงอยู่ในรายการค่าใช้จ่ายและบริหาร แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการแสดงการตรวจสอบการจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษี
  ไม่ได้จัดทำกระดาษทำการค่าธรรมเนียมวิชาชีพบัญชีค้างจ่าย ซึ่งห้างฯได้มีการจ่ายชำระเงินในระหว่างปี โดยที่รายการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกับการคำนวณและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  กระดาษทำการการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบกับแบบ ภ.พ.30 และตรวจสอบกับรายงานภาษีซื้อ-รายงานภาษีขาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจสอบโดยการส่งยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อ
  ไม่ปรากฏหลักฐานการจัดทำกระดาษทำการตรวจสอบภาษีหัก ณ ที่จ่าย การรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นรายการที่มีสาระสำคัญทางด้านภาษี
  ไม่ได้จัดทำกระดาษทำการที่แสดงถึงการตรวจสอบสาระสำคัญทางภาษีอากร สำหรับรายการบัญชีที่มีความสัมพันธ์กับภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่น รายการค่าจ้างและบริการ ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี  และไม่ได้จัดทำกระดาษทำการที่แสดงการปรับปรุงกำไร(ขาดทุน)สุทธิทางบัญชีเป็นกำไร(ขาดทุน)สุทธิทางภาษีอากร
  ห้างฯ มีการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าทุน แต่ไม่ปรากฏรายการปรับปรุงกรณีราคาขายต่อหน่วยต่ำกว่าราคาซื้อต่อหน่วย
  ผู้ตรวจสอบฯ รายงานไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีว่า ห้างฯ มีผลประกอบการขาดทุนเป็นจำนวนมาก ได้รับคำชี้แจงจากหุ้นส่วนผู้จัดการว่า ห้างฯ ได้ประมูลงานจากหน่วยงานราชการ ด้วยการประมูลแข่งขันกับผู้รับเหมารายอื่น ๆ ด้วยราคาที่ต่ำกว่าผู้รับเหมารายอื่น ๆ มาก ประกอบกับต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างได้ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องประสบกับผลขาดทุน แต่ไม่ปรากฏกระดาษทำการสนับสนุนผลการตรวจสอบดังกล่าว
  หมายเหตุประกอบงบการเงิน การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้นำเงินเดือน และค่าไฟฟ้า มาบวกกลับ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขที่จะต้องนำมาบวกกลับ เป็นผลให้ภาษีเงินได้ไม่ถูกต้อง
  รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ แสดงผลการตรวจสอบว่า ห้างฯ มีการจำหน่ายยานพาหนะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชีและมีผลขาดทุนจากการจำหน่ายยานพาหนะ แต่ผู้ตรวจสอบฯ ไม่ได้ตรวจสอบว่ากิจการจำหน่ายยานพาหนะในราคาที่ต่ำโดยมีเหตุผลสมควรหรือไม่ และไม่ได้นำเงินชดเชยการขาดทุนจากการจำหน่ายฯ และผลขาดทุนจากการจำหน่าย มาคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี
  กระดาษทำการปรากฏการสอบยันใบกำกับภาษีซื้อ ซึ่งมีผู้ขาย 3 ราย จำนวนเงิน 96,482 บาท คิดเป็น ร้อยละ 11.92 ของยอดซื้อทั้งปี ได้มีการตอบยืนยันยอดจำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.10 ของยอดซื้อทั้งปี และไม่ได้การตอบรับยืนยันยอด จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.82 ของยอดซื้อทั้งปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการตอบรับการยืนยันยอด และไม่ปรากฏการใช้วิธีการตรวจสอบอื่นที่เหมาะสม
  ไม่จัดทำกระดาษทำการสำหรับตรวจสอบสาระสำคัญด้านภาษีอากร เช่น การยืนยันการออกใบกำกับภาษี
  ผู้ตรวจสอบฯ ลงลายมือชื่อตรวจสอบและรับรองบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดขนาดใหญ่
  ผู้ตรวจสอบฯ มิได้มาพบและส่งมอบเอกสารหลักฐานให้ตรวจสอบ จึงไม่ปรากฏกระดาษทำการสำหรับการพิจารณาในชั้นนี้
รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต้องลงลายมือชื่อปฏิบัติงาน ในฐานะของผู้สอบบัญชีภาษีอากร แต่ในรายงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีแสดงว่าปฏิบัติงานในฐานะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  ผู้ตรวจสอบฯ ลงลายมือชื่อตรวจสอบและรับรองบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัดขนาดใหญ่ เป็นการรับรองงบการเงินเกินขอบเขต
  รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีมีรูปแบบเป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด แต่มีข้อความไม่ครบถ้วน ขาดในส่วนของคำว่า “(คำอธิบายข้อยกเว้นถ้ามี)...........”
  จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไม่ถูกต้องในส่วนของย่อหน้าแรก แสดงเป็น  “งบกำไรขาดทุนและงบกำไรสะสม” และข้อ 4.“กิจการได้ปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร”
  รูปแบบของรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ในข้อ 2 มีข้อความไม่เป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 122/2545
  รายการการตรวจสอบและรับรองบัญชีมีรูปแบบตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด แต่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เช่น ไม่มีคำว่า “คำอธิบายข้อยกเว้น (ถ้ามี)” และไม่มี “ข้อ 5. อื่น ๆ”
  รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีจัดทำโดยมีรูปแบบไม่เป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.147/2548 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3  สัตต  แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี มีข้อบกพร่อง ดังนี้ - ชื่อรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้ตรวจสอบฯ ใช้ว่า “รายงานของผู้สอบบัญชี” ข้อความในวรรคแรกซึ่งอธิบดีกำหนดว่า “...ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงาน...” แต่ผู้ตรวจสอบฯ ใช้ว่า “ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็น...” และไม่มีข้อความ “(อธิบายข้อยกเว้นที่สำคัญ ถ้ามี) ....”
  รายการเงินสด ปรากฏว่ามียอดเงินคงเหลือสิ้นปีก่อน จำนวน 62,080.52 บาท ห้างฯ บันทึกยอดยกมาต้นงวด ปีปัจจุบันมีจำนวน 61,630.52 บาท เป็นการบันทึกรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่  ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  งบการเงินแสดงรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน แต่ไม่ปรากฏเงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือสิ้นงวดในบัญชี และงบการเงินไม่แสดงรายการลูกหนี้กรมสรรพากร เป็นการจัดทำงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  ห้างฯ จำหน่ายสินค้าและรับจ้างกับส่วนราชการ อบต. รัฐวิสาหกิจ ซึ่งปกติชำระเป็นเช็คธนาคาร แต่ไม่ปรากฏการบันทึกรายการในบัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นการจัดทำงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  รายการเจ้าหนี้ ห้างฯ ได้บันทึกบัญชีซ้ำ แต่ผู้ตรวจสอบฯ ไม่ได้รายงานเป็นข้อยกเว้น
  เจ้าหนี้เช่าซื้อ จัดอยู่ในรายการหนี้สินหมุนเวียน โดยไม่แยกเจ้าหนี้ที่ชำระเกินกว่า 1 ปี ไว้ในรายการหนี้สินไม่หมุนเวียน และหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เปิดเผยจำนวนมูลหนี้ตามสัญญา ดอกเบี้ยรอตัดบัญชี หนี้สินส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี และหนี้สินสุทธิ เป็นการจัดทำงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  กระดาษทำการยืนยันยอดเจ้าหนี้เช่าซื้อรถยนต์ ได้รวมดอกเบี้ย และภาษีซื้อ ได้แสดงรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อ ในงบการเงินเป็นรายการเจ้าหนี้การค้า และไม่ได้จัดประเภทรายการหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 1 ปีแต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  งบการเงินไม่ปรากฏรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายประเภทค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ ซึ่งเป็นรายการที่ต้องบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างไม่สอดคล้องตามที่ได้เปิดเผยนโยบายการบัญชี  แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  บันทึกบัญชีจำหน่ายทรัพย์สินไว้ไม่ถูกต้อง โดยนำมูลค่าภาษีขายมารวมกับเงินสดที่ได้รับจากการขาย ทำให้รายการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินต่ำไป แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  ห้างฯ รับรู้รายได้โดยใช้เกณฑ์เงินสดแทนการใช้เกณฑ์การรับรู้รายได้ตามขั้นความสำเร็จของงาน แต่ผู้ตรวจสอบฯรายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  ห้างฯ รับรู้รายได้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 เรื่อง สัญญาก่อสร้าง ผู้ตรวจสอบฯ รายงาน โดยไม่มีข้อยกเว้น
  ห้างฯ ซื้อสินค้าจากต่างประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ และงบการเงินปรากฏเจ้าหนี้การค้าจากการค้างชำระค่าสินค้าต่างประเทศซึ่งได้แปลงค่าเป็นเงินตราไทย และงบกำไรขาดทุนไม่ปรากฏว่ามีรายการกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้งบการเงินที่จัดทำแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ผู้ตรวจสอบฯ รายงาน โดยไม่มีข้อยกเว้น
  ห้างไม่ได้แสดงรายการต้นทุนบริการในงบกำไรขาดทุน จึงส่งผลให้งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 แต่ผู้ตรวจสอบไม่ได้รายงานเป็นข้อยกเว้นในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  ห้างฯ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างโดยมีรายจ่ายค่าเช่าอุปกรณ์ก่อสร้าง และค่าเสื่อมราคาเครื่องมือก่อสร้างซึ่งควรจัดอยู่ในต้นทุนการบริการ นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จึงเป็นการแสดงรายการไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ผู้ตรวจสอบฯ รายงาน โดยไม่มีข้อยกเว้น
  งบกำไรขาดทุนแสดงรายการเงินเดือนเป็นต้นทุนบริการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่เป็นการให้เช่าทรัพย์สิน และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ผู้ตรวจสอบฯไม่ได้รายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในรายงานการตรวจสอบ
  งบกำไรขาดทุน แสดงรายได้จากการขายและบริการ โดยไม่แยกแสดงรายได้จากการขาย กับ รายได้จากการบริการ และรายการต้นทุนแสดงเฉพาะต้นทุนขายโดยไม่แสดงต้นทุนบริการ ซึ่งรายจ่ายต้นทุนบริการ เช่น เงินเดือน แสดงอยู่ในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ไม่ได้ปันส่วนเป็นต้นทุนบริการ
  ห้างฯ ว่าจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี แต่ไม่ปรากฏรายจ่ายค่าจ้างทำบัญชีในรายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ทำให้งบการเงินจัดทำไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  รายการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ไม่ปรากฏรายจ่ายดอกเบี้ยเช่าซื้อ เป็นการจัดทำงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ผู้ตรวจสอบฯ รายงาน โดยไม่มีข้อยกเว้น
  ห้างฯ มีการขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุน แต่ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่ได้รายงานเป็นข้อยกเว้นไว้ในข้อ 4
  ผู้ตรวจสอบฯ ไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า แต่ไม่ได้เปิดเผยไว้ในรายงานการตรวจสอบฯ
  ห้างฯมีผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่มีผลต่อการดำเนินงานต่อเนื่องของห้างฯ ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในหน้ารายงานฯ  แต่ผู้ตรวจสอบฯมิได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องไว้ในรายงาน
  ห้างฯ มีผลขาดทุนสะสมเกินทุนจดทะเบียน ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงทางการเงินในการประกอบธุรกิจ แต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรือเปิดเผยไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  กระดาษทำการตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายทางภาษีอากร แสดงรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายที่ไม่ถือเป็นรายจ่าย จำนวนรวม 79,129.24 บาท ซึ่งมีรายการค่าเสื่อมราคารวมจำนวน 74,109.77 บาท เกิดจากการคำนวณค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้เกินไป แต่ห้างฯ ได้บวกกลับในหมายเหตุประกอบงบการเงินจำนวนรวม 401,019.47 บาท โดยไม่มีรายการค่าเสื่อมราคาแต่เป็นรายการค่าตอบแทนหุ้นส่วน จำนวน 396,000 บาท  มีผลทำให้ห้างฯ บันทึกรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงไป 74,109.77 บาท ซึ่งผู้ตรวจสอบฯ ได้บันทึกในกระดาษทำการเสนอปรับลดยอดค่าใช้จ่ายบวกกลับจำนวน 321,890.23 บาท  แต่ห้างฯ ไม่ประสงค์ปรับลด และจะนำค่าเสื่อมราคาที่คำนวณไว้เกินไปปรับปรุงในกำไรสะสมต้นงวดในงวดถัดไป แต่ผู้ตรวจสอบฯ รายงานโดยไม่มีข้อยกเว้น
  กระดาษทำการสินค้าคงเหลือ ปรากฏวันที่เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2552 แต่ในหน้ารายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี แสดงว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ทำการตรวจนับเงินสดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 .......และไม่ได้สังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ......” ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงไม่น่าเชื่อถือ
  กระดาษทำการวิเคราะห์ผลต่างค่าจ้างแรงงานกับแบบนำส่ง ภ.ง.ด.3  ผู้ตรวจสอบฯ บันทึกผลการตรวจว่าพบค่าจ้างแรงงานในเดือนมีนาคมยังไม่ได้นำส่ง ผู้ตรวจสอบฯ ได้แจ้งหุ้นส่วนผู้จัดการให้ดำเนินการหักนำส่ง และผู้ตรวจสอบฯ ได้ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเงินตั้งแต่เดือน มกราคม-เมษายน ปรากฏว่าห้างฯ ยังไม่ได้มีการหักนำส่ง ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ได้แจ้งข้อความตามข้อ 5 และลงลายมือชื่อในแบบแจ้งฯ รับรองว่าได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว และผู้ตรวจสอบฯ ได้ลงลายมือชื่อโดยไม่ได้แสดงความเห็น จึงเป็นการแจ้งข้อความไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
  กระดาษทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร “สรุปค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็น 119.96% ในปี 2550 หุ้นส่วนผู้จัดการได้ให้เหตุผลว่าห้างฯ มีการใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับทางลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ทางห้างฯ มีการบันทึกบ/ชและผ่านรายการไปบ/ชแยกประเภทที่เกี่ยวข้องจริงตามเอกสาร แต่ไม่ได้มีการหัก ณ ที่จ่ายนำส่งแต่อย่างไร ซึ่งผู้สอบได้แนะนำให้หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการหักให้ถูกต้อง มิฉะนั้นห้างฯ เองอาจจะถูกเรียกภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายหลังได้” แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ได้แจ้งข้อความตามข้อ 5 และลงลายมือชื่อในแบบแจ้งฯ รับรองว่า “ได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว” จึงเป็นการแจ้งข้อความไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และผู้ตรวจสอบฯ ได้ลงลายมือชื่อโดยไม่ได้แสดงความเห็น
การทดสอบรายการตามแบบแจ้งข้อความของกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการที่แนบพร้อมการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50
  ผู้เป็นหุ้นส่วนฯ ลงลายมือชื่อและไม่ได้แจ้งข้อมูลตามแบบแจ้งข้อความฯ  แต่ผู้ตรวจสอบฯได้ลงลาย มือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯโดยระบุว่าตามรายละเอียดรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  ผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ได้แจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการ แต่ผู้ตรวจสอบฯ ลงลายมือชื่อรับรองการทดสอบรายการตามแบบแจ้งฯ โดยไม่มีความเห็นประกอบ
  หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ไม่ได้แจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการในแบบแจ้งข้อความฯ แต่ผู้ตรวจสอบฯ ลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯ โดยไม่มีความเห็นและมิได้ทักท้วงให้หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการให้ถูกต้อง ก่อนที่จะลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความ
  ห้างฯ จำหน่ายยานพาหนะราคา 178,971.95 บาท แต่ราคาตามบัญชีสุทธิ 324,780.00 บาท  ทำให้เกิดผลขาดทุน จำนวน 145,808.98 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.89 ของราคาสุทธิตามบัญชี แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้แจ้งข้อมูลในแบบแจ้งข้อความฯ และผู้ตรวจสอบฯ ได้ลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯ โดยไม่มีความเห็นประกอบ
  ห้างฯ ชำระค่าเช่าค้างจ่ายยกมาจากปีก่อน มีหน้าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อกรมสรรพากรซึ่งจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานฯไม่พบข้อมูลการนำส่งภาษีดังกล่าว ทำให้การแจ้งข้อมูลของหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯในแบบแจ้งข้อความของกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ ตามข้อ 5 ไม่สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
  ห้างฯมีการจ่ายค่าเช่าและค่าขนส่ง จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ5 สำหรับค่าเช่าและอัตราร้อยละ1 สำหรับค่าขนส่ง จากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานฯ พบว่าข้อมูลการนำส่งภาษีดังกล่าวไม่ครบถ้วนจึงมีผลให้การแจ้งข้อมูลของหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ในแบบแจ้งข้อความของกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการตามข้อ 5 ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ส่งผลให้การแสดงความเห็นในส่วนของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของเจ้าพนักงานฯ
  ห้างฯ ประกอบการมีผลขาดทุนขั้นต้น แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้แจ้งข้อมูลในแบบแจ้งข้อความฯ และผู้ตรวจสอบฯ ได้ลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯ โดยไม่มีความเห็นประกอบ
  งบการเงินแสดงผลขาดทุนขั้นต้น ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนฯ ลงลายมือชื่อ แต่ไม่ได้แจ้งข้อมูลดังกล่าว ในแบบแจ้งข้อความฯ และผู้ตรวจสอบฯได้ลงลาย มือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯ โดยระบุว่าตามรายละเอียดรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  ห้างฯประกอบกิจการมีผลขาดทุน โดยงบการเงินแสดงผลขาดทุนขั้นต้น  หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ได้ลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความในแบบ ภ.ง.ด.50  โดยไม่ได้ระบุเครื่องหมายใดๆ และในส่วนของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ลงลายมือชื่อโดยรายงานว่าข้าพเจ้าได้ทดสอบรายการตามแบบแจ้งข้อความฯข้างต้นแล้วมีความเห็นว่า 1. ถูกต้องตามที่ควรและมีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้  “ไม่มี” ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นโดยไม่มีความเห็นประกอบ
  ห้างฯประกอบกิจการมีผลขาดทุน โดยงบการเงินแสดงผลขาดทุนขั้นต้น หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ได้ลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯ โดยแจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการตามข้อ 1 – 5 แต่ในส่วนของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ลงลายมือชื่อโดยรายงานว่าข้าพเจ้าได้ทดสอบรายการตามแบบแจ้งข้อความฯข้างต้นแล้วมีความเห็นว่า 1.ถูกต้องตามที่ควรและมีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้ “ไม่มี” ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นโดยไม่มีความเห็นประกอบ
  จากการตรวจสอบกระดาษทำการ บัญชีคุมสินค้า และใบกำกับภาษีซื้อ พบว่า ราคาขายน้ำมันดีเซล ตลอดทั้งเดือนมีราคาขายต่อหน่วยต่ำกว่า ราคาซื้อต่อหน่วย ผู้เป็นหุ้นส่วนฯ ได้แจ้งข้อมูลตามแบบแจ้งข้อความฯ ตามข้อ 1 ว่ากิจการไม่มีขายสินค้า บริการ หรือทรัพย์สิน ให้กู้ยืมเงิน หรือให้เช่าทรัพย์สิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีแต่ต่ำกว่าราคาตลาด อันถือได้ว่าเป็นสาระ สำคัญโดยชัดแจ้ง แต่ผู้ตรวจสอบฯ ได้ลงลายมือชื่อในแบบแจ้งข้อความฯ โดยมีความเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรและไม่มีความเห็นเพิ่มเติม
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
  มีสถิติการรับงานเป็นจำนวนมากซึ่งเกินความรู้ความสามารถที่ตนจะปฏิบัติงานได้ และไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ช่วยที่ได้แจ้งต่อกรมสรรพากร
  ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่ามีผู้ช่วยปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจริง
หมายเหตุ 
  ตัวอักษรสีแดง หมายถึง ประเด็นข้อบกพร่องเพิ่มเติมจากครั้งที่ผ่านมา

 

ปรับปรุงล่าสุด: 07-01-2021