เมนูปิด

เลขที่ข่าว  ปชส. 7/2546

วันที่แถลงข่าว      พฤศจิกายน  2545

เรื่อง   การประชุมคณะศึกษาเพื่อการบริหารและการค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเซีย ครั้งที่ 32

          (The Study Group on Asian Tax Administration and Research: SGATAR)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------    

 

                       ร้อยเอกสุชาติ  เชาว์วิศิษฐ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เป็นประธานเปิดการประชุมคณะศึกษา เพื่อการบริหารและการค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเซีย  (SGATAR) ครั้งที่ 32 ณโรงแรมดุสิตรีสอร์ทแอนด์โปโลคลับ  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 มีหัวข้อการประชุมที่น่าสนใจ 3 หัวข้อ คือ

                     - การให้บริการแก่ผู้เสียภาษีโดยเน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Taxpayer  Serviec)

                     - การดำเนินคดีแก่ผู้หลีกเลี่ยงกฎหมายภาษี ซึ่งหน่วยจัดเก็บภาษีเป็นผู้ดำเนินคดีเอง (Criminal Actions Against Taxpayers)

                     - พัฒนาระบบไอทีในการบริหารจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น The Use of IT in Tax Administration Reform)

 

                      นายศุภรัตน์  ควัฒน์กุล  อธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะประธานที่ประชุมได้เปิดเผยว่า “การประชุมคณะศึกษา เพื่อการบริหารและการค้นคว้าทางภาษีอากรแห่งเอเซีย  (SGATAR) ได้จัดให้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2514 ที่ประเทศฟิลิปปินส์      โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยจัดเก็บภาษีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์  และแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดเก็บภาษีอากร ตลอดจนวางแผนและปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากร ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย   โดยกำหนดให้สมาชิก หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพปีละครั้ง  ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมดังกล่าวมาแล้ว 3 ครั้ง   คือ      การประชุมฯ  ครั้งที่ 5 ใน ปี พ.ศ.2518  ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ.2526 และครั้งที่ 22 ในปี พ.ศ.2535 และในปีนี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2545”

 

                        ร้อยเอกสุชาติ    เชาว์วิศิษฐ   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง  ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในการที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพในการประชุมฯ   นอกจากจะมีผลทำให้ประเทศไทยสามารถนำแนวคิดใหม่ๆ มาพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีของไทยให้ได้ผลดี  และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม ซึ่งจะทำให้ได้รับความรู้อย่างกว้างขวางโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ และท้ายที่สุดยังเป็นโอกาสที่กรมสรรพากรจะช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย”

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 01-10-2019