เมนูปิด

ตารางเปรียบเทียบการลดอัตรา และการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี 2552 กับปี 2553 มีดังนี้

รายการ

รอบระยะเวลาบัญชีปี2552

รอบระยะเวลาบัญชีปี2553

1. การลดอัตราภาษีเงินได้  สำหรับกิจการดังต่อไปนี้

     1.1 กิจการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

ในอัตราร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ

ตั้งแต่ระยะเวลาบัญชีปี 2550 ถึงปี 2552

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 466)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2550 เป็นต้นไป

ในอัตราร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ

ตั้งแต่ระยะเวลาบัญชีปี 2553 ถึงปี 2555

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 492)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

     1.2 กิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH)

ในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 405)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2545 เป็นต้นไป

เช่นเดียวกับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2552

 

 

ในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ เป็นเวลา

10 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่อง สำหรับรายได้ ดังนี้

(1)  รายได้จากการให้บริการของกิจการ ROH

แก่วิสาหกิจในเครือที่ตั้งขึ้นในไทย

(2)  ดอกเบี้ยที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือหรือสาขาในต่างประเทศ เฉพาะส่วนที่กิจการ ROH กู้มาเพื่อ ให้วิสาหกิจในเครือหรือสาขาในต่างประเทศกู้ต่อ 
(3)  ค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของกิจการ ROH ที่กระทำในไทยที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือ หรือสาขาในต่างประเทศ หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง   
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 508)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป

 2.  การยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับรายจ่าย ดังนี้

     2.1 รายจ่ายบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัด

สวัสดิการสังคม กองทุนคุ้มครองเด็ก หรือกองทุนพัฒนากีฬา

แห่งชาติที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายนั้นๆ

 

 

 

 

 

เท่าจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่บริจาค

แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ

ตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร 

แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 498)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไป

     2.2  รายจ่ายที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป และรับคนพิการเข้าทำงาน ทุก 200 คนต่อคนพิการ 1 คน

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534

เช่นเดียวกับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2552

    2.3 รายจ่ายที่เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นๆ ที่จัดอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก โดยตรงแก่คนพิการ เช่น ลิฟท์ ห้องสุขา ทางพิเศษ สำหรับคนพิการ เป็นต้น

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

พ.ศ.2534

เช่นเดียวกับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2552

     2.4  รายจ่ายที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทำงาน

 

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 499)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไป

     2.5  รายจ่ายที่เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น ให้แก่คนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 499)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไป

   2.6 รายจ่ายค่าห้องสัมมนา และค่าห้องพักในการอบรมสัมมนาภายในประเทศให้แก่ลูกจ้าง

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า เป็นเวลา 1 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 482) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป

 

   2.7  รายจ่ายในการเข้าร่วมงาน  ออกร้าน งานนิทรรศการ งานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ เฉพาะกรณี

มีหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐว่าได้เข้าร่วมงานจริง

 

 

 

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2553 ถึง

วันที่ 31 ธันวาคม 2554

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 503)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

   2.8  รายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่งหรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายใน ประเทศให้แก่ลูกจ้าง

หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนา

 

เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

เป็นเวลา 2 รอบระยะเวลาบัญชี

สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง

วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 506) พ.ศ.2553

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

  2.9 รายจ่ายบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553 ผ่านตัวแทนรับบริจาค สำหรับการบริจาคที่ได้กระทำตั้งแต่

วันที่ 1 กันยายน 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

 

เท่าจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่บริจาค

แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ

ตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร

แล้วต้องไม่เกิน ร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

ก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 513)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป

3. การยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ ดังนี้

     3.1 เงินได้ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้อื่นที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

 

สำหรับการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่าง

วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 483)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป

 

สำหรับการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่าง

วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 495)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป

    3.3 เงินได้ที่ได้รับจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่น

สำหรับการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือ

การให้บริการ ที่ได้กระทำในระหว่าง

วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 483)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป

สำหรับการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า หรือ

การให้บริการ ที่ได้กระทำในระหว่าง

วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 495)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป

   3.4 เงินได้ที่ได้จากการให้บริการของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคแก่วิสาหกิจในเครือที่อยู่ในต่างประเทศ หรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

 

ป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 508)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป

  3.5 เงินปันผลที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจากการให้บริการของกิจการ ROH แก่วิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ หรือสาขาในต่างประเทศ หรือจากค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและ

พัฒนาเทคโนโลยีของกิจการROH ที่กระทำขึ้นในไทยที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศหรือสาขาในต่างประเทศ หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยรายได้ดังกล่าวต้องจ่ายจากหรือในต่างประเทศรวมกันไม่น้อยกว่า

ร้อยละ 50 ของรายได้ทั้งหมดของกิจการ ROH

 

เป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน 

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 508)

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป

    3.6 เงินได้ที่ได้รับชดเชยความเสียหายจากรัฐบาล สำหรับอุทกภัย ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

 

เท่าจำนวนเงินชดเชยที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชี 2553

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 513) พ.ศ.2554

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป

    3.7 เงินได้ที่ได้รับบริจาคหรือช่วยเหลือ

เพื่อชดเชยความเสียหายที่ได้รับ สำหรับอุทกภัย ระหว่าง

วันที่ 1 กันยายน 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 นอกเหนือจาก 3.6

 

เท่าจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์สิน โดยต้องไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชี 2553

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 513) พ.ศ.2554

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป

   3.8 เงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากอุทกภัย ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2553 ถึง

วันที่ 31 ธันวาคม 2553

 

เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

ตามมาตรา 65 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร 

ในรอบระยะเวลาบัญชี 2553

ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 513) พ.ศ.2554

ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป

RD Call  Center 1161

บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี

 

ปรับปรุงล่าสุด: 09-01-2021