เมนูปิด
Untitled Document

คำถาม – ถามบ่อย ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561

1. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94


Q1 : ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94
A1 :

ผู้มีเงินได้

มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร (ม.ค. – มิ.ย.)

ผู้ยื่นแบบฯ

1. ผู้ที่เป็นโสด 

เกิน 60,000

ผู้มีเงินได้

2. ผู้ที่มีคู่สมรส ที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน 

เกิน 120,000

ผู้มีเงินได้

3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 

เกิน 60,000

ผู้จัดการมรดก/ทายาท/
ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ 

เกิน 60,000

ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการของห้างหุ้นส่วนสามัญ

5. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 

เกิน 60,000

ผู้จัดการของคณะบุคคล

Q2 : วิสาหกิจชุมชนต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A2 : วิสาหกิจชุมชนมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (แบบ ภ.ง.ด.94/90)

Q3 : ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปี สามารถใช้สิทธิยกเว้นผู้สูงอายุ 190,000 บาท ได้หรือไม่
A3 : ผู้มีเงินได้มีอายุ 65 ปี ในปีภาษี สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาทได้ โดยกรอก รายการยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท ในใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และยกยอดที่เหลือ (จำนวนเงินหลังจากหักเงินได้ยกเว้นแล้ว) ไปแสดงในแบบ ภ.ง.ด.94


Q4� :�� ทำไมต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปี
A4� :�� เป็นการบรรเทาภาระภาษี หากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.94 จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้

 

Q5� :�� เงินได้ประเภทใดบ้างต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ปีภาษี 2561
A5� :�� เงินได้ตามมาตรา 40 (5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561-30 มิถุนายน 2561 มายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ปีภาษี 2561 โดยสามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561-30 กันยายน 2561


40(5) หมายถึง เงินได้จากการให้เช่า

40(6) หมายถึง เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ประกอบโรคศิลป์, บัญชี, วิศวกรรม, ทนายความ, ประณีตศิลป์, สถาปัตยกรรม โดยส่วนมากจะมีใบประกอบวิชาชีพที่ได้รับการรับรอง
40(7) หมายถึง เงินได้จากการรับเหมา ออกวัสดุส่วนประกอบสำคัญ นอกเหนือจากอุปกรณ์สัมภาระที่มี
40(8) หมายถึง เงินได้จากการพาณิชย์ หรือประเภทอื่นที่ไม่เข้า เงินได้ 40(1)-40(7)

Q6� :�� สามีมีเงินได้ค่าเช่า ภริยามีเงินได้จากการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภริยาจะต้องนำเงินได้ไปรวมยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 กับสามีหรือไม่
A6� :�� การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ของภริยา สามารถยื่นแบบรวมคำนวณภาษีกับสามี หรือ แยกยื่นแบบในนามของภริยาได

Q7� :�� คนพิการมีอายุ 67 ปี มีเงินได้จากการให้เช่าบ้าน ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A7� :�� หากคนพิการมีเงินได้ค่าเช่า ที่ได้รับระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ในปี 2561 ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คนพิการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q8 :������������ คนโสด มีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A8� :�� ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เนื่องจากเงินปันผลเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร

Q9� :�� พระสงฆ์ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94หรือไม่
A9� :�� หากพระสงฆ์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6)(7)(8) ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

 

Q10��� :�������� สามีภริยา มีเงินได้ร่วมกันจากการขายของ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 อย่างไร
A10 :�� ในกรณีที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง กรณีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง การยื่นแบบให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง หรือตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน

Q11��� :�������� เงินได้ที่ได้รับจากสามี (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) โดยเป็นแม่บ้าน อยู่บ้านเฉยๆ ถ้ามีเงินได้แต่ละเดือนเกิน 100,000 บาท ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A11 :�� เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(28) แห่งประมวลรัษฎากร

Q12�� :�� ปัจจุบันไม่ได้ขายของแล้ว มีการเลิกขายตั้งแต่ปีก่อน จะต้องยื่นแบบหรือไม่
A12�� :�� หากไม่มีเงินได้ประเภท 40(5)-(8) เลยในปีภาษี และมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ไม่ต้องยื่นแบบ แต่หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ

Q13� :�� ชาวต่างชาติต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A13�� :�� กรณีชาวต่างชาติมีเงินได้ 40(5) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับเงินได้ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

 


2. ประเภทเงินได้และการคำนวณภาษี

Q1 : นาย ก. เปิดร้านขายของชำ (ซื้อมาขายไป) ต้องเสียภาษีหรือยื่นแบบฯอย่างไร
A1 : บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการขายของชำ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ในการคำนวณภาษีเงินได้ ให้หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 60 หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักค่าใช้จ่ายจริง) หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ยื่นแบบฯปีละ 2 ครั้ง ด้วยแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

Q2 : นาย ข. ได้รับรางวัลจากการชิงโชค โดยได้รับรางวัลเป็นรถยนต์มูลค่าจำนวน 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วร้อยละ 5 อยากทราบว่า นาย ข. ยังคงต้องนำรางวัลที่ได้รับมายื่นแบบแสดงรายการอีกหรือไม่
A2 : เงินรางวัลที่ นาย ข. ได้รับถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) และได้รับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561
จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561 และต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบฯ อีกครั้งในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

Q3 : มารดาเขียนชื่อเด็กหญิง ฟ้า อายุ 5 ขวบ เพื่อชิงโชค และได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นตั๋วเครื่องบินมูลค่า 100,000 บาท ได้ถูกบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว เด็กหญิงฟ้าต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่
A3 : เด็กหญิงฟ้า ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ ต้องนำรางวัลที่ได้รับไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561 และต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบฯ อีกครั้งในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป โดยในการยื่นแบบฯให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรม

Q4 : นางสาว ง. เปิดร้านขายอาหารริมถนน เมื่อเดือน เมษายน 2561 ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A4 : เงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หาก นางสาว ง. มีเงินได้เกิน 60,000 บาท (ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561

Q5 : นาย ค. ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A5 : รางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(11) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q6 : นาย ช. ถูกรางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย ได้รับรถยนต์มูลค่า 800,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2561 ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A6 : รางวัลจากสลากบำรุงกาชาดไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(18) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q7 : นาย ฌ. ได้รับค่าที่ปรึกษาจากบริษัท เดือนละ 50,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A7 : เงินได้ค่าที่ปรึกษา ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) จึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q8 : มีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A8 : หากมีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q9 : Mr. A มิได้อยู่ในประเทศไทย แต่มีรายได้จากการให้เช่าคอนโด เดือนละ 80,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A9 : Mr. A มีเงินได้จากการให้เช่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) และมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2561 รวมจำนวน 480,000 บาท จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2561

Q10 : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากจะหักค่าใช้จ่ายจริง แต่มีใบเสร็จรับเงินที่ได้จ่ายเพียงบางส่วนจะต้องทำอย่างไร
A10 : สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 60 ของเงินได้พึงประเมิน

Q11� : หากได้รับส่วนแบ่งกำไรจาก LTF ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A11 : เงินส่วนแบ่งกำไรจาก LTF เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 แล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะนำมารวมคำนวณหรือไม่ก็ได้

Q12� : บุคคลธรรมดาได้ขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A12 : ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขาย RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(65) และ (67) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ให้นำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยเนื่องจากเป็นการยกเว้นแบบมีเงื่อนไข ดังนั้น หากมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ต้องนำไปแสดงในแบบแสดงรายการภาษีด้วย โดยการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้กรอกรายการเงินได้พึงประเมินที่ ข้อ 5. หรือ ข้อ 6. ย่อย เลือก ยกเว้น

Q13� : เมื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เรียบร้อยแล้ว จะต้องนำเงินได้ของเดือนมกราคม – มิถุนายน ไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี อีกหรือไม่
A13 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ต้องนำเงินได้ทั้งปีตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม มาคำนวณเพื่อเสียภาษี

Q14� : กรณีมีเงินได้จากค่าเช่ารับล่วงหน้า และได้ยื่นแแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.93 ไว้แล้ว ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 อีกหรือไม่
A14� : เงินได้ค่าเช่าที่ได้รับล่วงหน้า เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5) ดังนั้น หากเงินได้ดังกล่าวได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

Q15� : หากได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(5) - (8) แต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ไว้ สามารถนำไปรวมเพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ครั้งเดียวเลยได้หรือไม่
A15� : ไม่ได้� เนื่องจากกรณีมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องนำเงินได้ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และนำเงินได้ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของปีถัดจากปีภาษี ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

Q16� : หากมีเงินได้เงินเดือน และจากการขายสินค้าออนไลน์ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 อย่างไร
A16 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยนำเฉพาะเงินได้จากการขายสินค้าออนไลน์ ตามมาตรา 40(8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน มายื่นแบบ

Q17� : มีเงินได้ 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้หรือไม่� หากประเภทกิจการไม่ได้กำหนดไว้ตาม� พระราชกฤษฎีกา เช่น เงินได้จากการเปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์
A17 : ไม่ได้� เนื่องจากการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาต้องหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่มีอัตราให้หักเหมา ต้องหักเป็นตามจริงและสมควร โดยต้องมีเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ผู้รับได้ จึงจะสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

Q18� : ปีภาษี 2559 ที่ผ่านมายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยเลือกหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาไว้ ปีภาษี 2561 สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้หรือไม่
A18 : ได้

Q19� : การคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.5 จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนก่อนหรือไม่
A19� : ให้นำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน คูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5

Q20� : นายเดวิน� น้อยนิด� เจ้าของบ้านมีบ้านให้ผู้อื่นเช่า แต่ลูกชายของนายเดวิน เป็นผู้เก็บเงินค่าเช่า เสียภาษี� แทนได้หรือไม่ และใครเป็นผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
A10 � : ถือว่านายเดวิน น้อยนิด เป็นผู้มีเงินได้และมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการ

Q21� : นายเอก ชมบุญ มีเงินได้ เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับจ้างทาสี เมื่อจะยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 จะต้องแสดงเงินได้เป็นเงินได้มาตรา 40 (7) หรือ มาตรา 40(8)
A21�� : นายเอก ชมบุญ ต้องนำเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยแสดงเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(7)


 

3. การหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวนเท่าใด
A1 : ผู้มีเงินได้จะหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวน 30,000 บาท

Q2 : ห้างหุ้นส่วนสามัญหักลดหย่อนผู้มีเงินได้จำนวนเท่าใด
A2 : กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ลดหย่อน จำนวน 30,000 บาท หรือ 60,000 บาท ตามกรณีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนจำนวน 30,000 บาท
(2) กรณีที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 2 คนขั้นไป ให้หักลดหย่อนจำนวน 60,000 บาท

Q3 : นาย ก. มีเงินได้จากการขายของเบ็ดเตล็ด ได้สมรสกับ นางสาว ข. เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2561 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่
A3 : หากยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้เลือกสถานภาพโสด และไม่สามารถหักลดหย่อนคู่สมรส

Q4 : นาย พ. มีเงินได้การขายอาหาร จดทะเบียนสมรส โดยคู่สมรสมีเงินได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่
A4 : กรณีคู่สมรสมีเงินได้เฉพาะมาตรา 40 (1) - (4) เท่านั้น สามารถหักค่าลดหย่อนของคู่สมรส
ได้จำนวน 30,000 บาท

Q5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนเท่าไร
A5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้คนละ 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและ
ยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา

Q6 : นาง ช. มีเงินได้จากการเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ได้คลอดบุตรเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2561
ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่

A6 : สามารถหักลดหย่อนบุตรได้จำนวน 15,000 บาท การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หัก
ได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

Q7 : นาย ท. หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้จำนวนเท่าใด
A7 : สามารถหักลดหย่อนบิดามารดา ได้คนละ 15,000 บาท
โดยบิดามารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

Q8 : นาย ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบิดา จะหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดาได้หรือไม่
A8 : หักลดหย่อน ไม่ได้


Q9 : คู่สมรสไม่มีเงินได้ จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาหักลดหย่อน ได้หรือไม่
A9 : หากความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษี

Q10 : ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะหักค่าลดหย่อนได้จำนวนเท่าไร
A10 : ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับส่วนที่ไม่เกิน
10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่งตามที่จ่ายไปจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอีกไม่เกิน 90,000 บาท
ตัวอย่าง นาย ก. จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 จำนวน 37,000 บาท ดังนั้น เมื่อนาย ก. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตได้จำนวน 32,000 บาท (ส่วนแรก 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งคือ 5,000 บาท และส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกจำนวน 27,000 บาท รวมเป็น 5,000 + 27,000 = 32,000 บาท)

Q11 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้จำนวนเท่าไร
A11 : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายนดังนี้
1. ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท
2. สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท

Q12 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ได้หรือไม่

A12 : ไม่ได้ เนื่องจากการหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้สำหรับเงินได้
ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีเท่านั้น

Q13 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้หรือไม่
A13 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตนเอง และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

Q14� : นายสำราญ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 มีเงินได้ค่าเช่า สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือนอย่างเดียวได้หรือไม่
A14 : ได้ หักลดหย่อนคู่สมรสได้จำนวน 30,000 บาท

Q15� : กรณีจ่ายสมทบประกันสังคมทั้งตามมาตรา 33, 39 และมาตรา 40 ของประกันสังคม ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคมได้หรือไม่
A15 : ให้หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ตามมาตรา 47(1)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่เกินตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

Q16� : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนประกันชีวิตนั้นใช้สิทธิอย่างไร และหากมีประกันสุขภาพต้องนำมารวมกับประกันชีวิตใช่หรือไม่ อย่างไร
A16 : หักลดหย่อนประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม – มิถุนายน ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท หักได้ตามที่จ่ายจริง
ส่วนในการหักลดหย่อนประกันสุขภาพได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม – มิถุนายน แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

Q17� : หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าซื้อบ้านที่จ่ายให้แก่ธนาคาร กรณีสามีภริยากู้ร่วมกันต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 50,000 บาท ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ใช้สิทธิอย่างไร
A17 : หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าซื้อบ้านให้แก่ธนาคาร ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม – มิถุนายน ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท หักได้ตามที่จ่ายจริง เฉลี่ยใช้สิทธิคนละครึ่ง โดยมีวิธีการคำนวณ คือ ดอกเบี้ยที่จ่าย 50,000 บาท (ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 ใช้สิทธิได้) 5,000 + (ส่วนที่เกิน 10,000) คือ 40,000 = 45,000/2 รวมใช้สิทธิได้คนละ 22,500 บาท

Q18� : กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ดูแลหลังบัตรคนพิการในเดือนกันยายน สามารถลดหย่อนคนพิการในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A18 : หากมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้ และสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

Q19� : ซื้อหน่วยลงทุน LTF เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561 จำนวน 100,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A19 : สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

Q20� : บุตรไม่มีเงินได้ จบการศึกษาในเดือนมีนาคม 2561 และจะมีอายุครบ 26 ปีบริบูรณ์ในเดือนธันวาคม 2561 จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนบุตรในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A20 : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้จำนวน 15,000 บาท หากบุตรมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท

Q21� : มีการจ่ายค่าเบี้ยประกัน แต่จะไม่ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94� แต่จะขอมาใช้สิทธิในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได้หรือไม่
A21 : ได้

Q22� : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติได้หรือไม่
A22 : ได้

Q23� : ทำไมแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เวลายื่นแบบฯ การใช้สิทธิลดหย่อนจึงใช้สิทธิลดหย่อนได้เพียงแค่ครึ่งเดียว แต่อัตราภาษีที่ใช้ในการคำนวณจึงไม่เป็นครึ่งหนึ่งเหมือนการใช้สิทธิลดหย่อน
A23�� : เนื่องจากตามกฎหมายบทบัญญัติ 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรให้ใช้ค่าลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่ง แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดในเรื่องของอัตราภาษี ดังนั้นไม่ว่าการคำนวณภาษีครึ่งปีหรือสิ้นปีก็ต้องใช้อัตราเดียวกัน

Q24� : ถ้าบุคคลมีเงินได้มาตรา 40(8) จากการขายของที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต 800,000 บาท มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ 5,000 บาท เบี้ยประกันชีวิต 40,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท จะกรอกแบบแสดงรายการภ.ง.ด.94 อย่างไร
A24�� : ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนแรก 40,000 บาท ซึ่งส่วนแรก 10,000 บาท จะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท + ประกันชีวิตส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีก 30,000 บาท + ประกันสุขภาพอีก 5,000 รวมเป็นประกันชีวิตแบบปกติ = 40,000 บาท นำประกันชีวิตแบบบำนาญมากรอกเพิ่มได้อีก 55,000 บาท
ดังนั้นกรอกประกันชีวิตแบบปกติรวมได้ 95,000 บาท (แยกเป็นลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ 5,000 บาท และลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 90,000 บาท) ในส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญได้เพิ่มอีก 120,000 บาท (ซึ่งหักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน = 800,000 x 15% = 120,000)

Q25� : ค่าลดหย่อนท่องเที่ยวเมืองรอง ที่จ่ายไปตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2561 สามารถนำมาลดหย่อนในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A25�� : ได้

 

Q26� : ผู้มีเงินได้ อายุครบ 65 ปี ในเดือนสิงหาคม 2561 จะได้สิทธิยกเว้นเงินได้กรณีอายุเกิน 65 ปีหรือไม่
A26�� : การนับอายุ 65 ปี ให้นับวันชนวัน ดังนั้น หากมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2561 ดังนั้น เมื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท

Q27� : รายการลดหย่อนใดที่มีเพิ่มขึ้นจากปี 2560 บ้าง ที่สามารถยื่นลดหย่อนได้
A27�� : 1. การลงทุนในหุ้นสตาร์ทอัพ Angel Investor (กฎกระทรวง ฉบับที่ 337)
2. การท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด (กฎกระทรวง ฉบับที่ 335)
3. สนับสนุนการศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ (พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 655)

Q28� : การลดหย่อนประกันชีวิต ถ้ามีการจ่ายจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม จำนวน 5,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตได้หรือไม่
A28�� : ไม่ได้ เนื่องจากการใช้สิทธิลดหย่อนต้องตามที่จ่ายจริง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนตอนยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได้

Q29� : กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 แต่ลืมนำลดหย่อนบางรายการมาใช้ แต่ไปยื่นในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 แบบเดียวได้หรือไม่
A29�� : ได้

Q30� : รายการลดหย่อนประกันสังคม กรณีมีเงินเดือนและขายของ จะสามารถใช้สิทธิของการจ่ายประกันสังคมได้หรือไม่
A30�� : ถ้าเป็นการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบทำการตรวจสอบเฉพาะเงินได้ จากการขายของ 40(8) แต่สูงสุดจะไม่เกินการจ่ายตามมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ของประกันสังคม ถ้าระบบไม่สามารถให้กรอกรายการได้ อาจต้องเลือกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เป็นแบบกระดาษ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อนในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได้

Q31� : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หากจ่ายดอกเบี้ยไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน จำนวน 50,000 บาท โดยสามีภริยากู้ร่วม ภริยามีเงินได้ 40(1) สามีมีเงินได้ 40(8) โดยสามียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างไร
A31�� : กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 100,000 บาท กรณีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่าย ให้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท สามีสามารถลดหย่อนได้ดังนี้ ดอกเบี้ยคนละกึ่งหนึ่ง 50,000/2 = 25,000 ใช้สิทธิลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 10,000 บาทแรก = 5,000 บาท ส่วนที่เหลือ 25,000 - 10,000 = 15,000 ได้เต็มจำนวน รวมแล้วใช้สิทธิลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ภ.ง.ด.94 ได้จำนวน 5,000 + 15,000 = 20,000 บาท

 

Q32� : ลดหย่อนประกันชีวิต ชำระเบี้ยประกันชีวิตตอนปลายปี แต่ทราบจำนวนที่จะชำระแล้ว สามารถใช้สิทธิในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่
A32�� : ไม่ได้ เพราะยังไม่มีการจ่ายจริง

Q33� : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่งหรือไม่
A33�� : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสามแห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องมีหลักฐานในการบริจาคด้วย มีหลักเกณฑ์ดังนี้�
1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 2561 หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร�
2. เงินบริจาค ให้แก่ วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการหรือขององค์การของรัฐบาล หักลดหย่อนได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้บริจาคจริง ในเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายนในปีภาษีแต่รวมกัน ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอย่างอื่น ตามมาตรา 47(7) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547


4. ช่องทางการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ตต้องแนบเอกสารหรือไม่
A1 : ไม่ต้องแนบเอกสาร

Q2 : สถานที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จำเป็นต้องยื่นแบบฯในท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาหรือไม่
A2 : สามารถยื่นแบบฯ (ฉบับกระดาษ) ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใดก็ได้ หรือยื่นแบบฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

Q3 : ต้องการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะขอหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอย่างไร
A3 : ผู้มีเงินได้สามารถลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
เพื่อขอรับหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน

Q4 : หากลืมรหัสผ่านจะต้องทำอย่างไร
A4 : สามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้ โดยเลือกเมนู ลืมรหัสผ่าน กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ระบบจะให้รหัสผ่านเพื่อนำไปใช้ในการยื่นแบบฯผ่านอินเทอร์เน็ตได้

Q5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถทำรายการได้เมื่อใด
A5 : สามารถทำรายการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง วันที่ 8 ตุลาคม 2561 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด

Q6 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะทราบได้อย่างไร
ว่าได้ทำรายการยื่นแบบฯสำเร็จ

A6 : ให้ทำการ login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้ง หากพบข้อความเตือน “กรมสรรพากรได้รับแบบแสดงรายการของท่านแล้ว....” แสดงว่าได้ทำรายการสำเร็จ

Q7 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ายื่นแบบฯไปแล้วปรากฏว่าแสดงรายการไม่ถูกต้อง จะแก้ไขอย่างไร
A7 : ให้ทำการ login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้ง จะพบข้อความเตือน “กรมสรรพากรได้รับแบบแสดงรายการของท่านแล้ว....” หากต้องการยื่นแบบฯเพิ่มเติม ก็ให้กดปุ่ม ตกลง จากนั้นให้กรอกข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด

Q8��� : คู่สมรสมีเงินได้ 40(1) และเงินได้ 40(8)� และคู่สมรสเลือกที่จะนำเงินได้ 40(8) มายื่นแบบรวมกับ ผู้มีเงินได้ ในการกรอกสถานะของคู่สมรสในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ต้องเลือกสถานะอย่างไร
A8��� : ให้ผู้มีเงินได้เลือกสถานภาพสมรส และรายการคู่สมรส เลือกตาม (1) ที่ระบุว่า มีเงินได้มาตรา 40(5)-40(8) ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 รวมคำนวณภาษีกับผู้มีเงินได้

Q9��� : แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถจะรับได้อย่างไร
A9��� : สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

Q10� : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถยื่นแบบผ่าน application RD SMART TAX ได้หรือไม่
A10�� : ไม่ได้ เนื่องจาก application RD SMART TAX รองรับเฉพาะการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.91 เท่านั้น

Q11� : ต้องการอ่านรายละเอียดการกรอกรายการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 แบบเข้าใจง่าย จะหาอ่านได้อย่างไร
A11�� : อ่านจากคำแนะนำการกรอกแบบที่ http://www.rd.go.th/60131.html หรือสแกน QR Code �ได้ที่นี่


 

5. กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 คือเมื่อใด
A1 : หากเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2561
แต่ถ้าเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2561

Q2 : หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง
A2 : ต้องชำระค่าปรับอาญา
กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 100 บาท
กรณียื่นเกินกำหนดเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท
และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

Q3 : หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด และมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม จะขอผ่อนชำระได้หรือไม่
A3 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดเวลา จะไม่สามารถผ่อนชำระภาษี

Q4� : � เอกสารการยื่นแบบเสียภาษี ต้องเก็บไปประมาณกี่ปี
A4� :�� ควรเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี เนื่องจากสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


6. การชำระภาษีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

Q1 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่
A1 : หากเป็นแบบฯ ที่ยื่นภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวด

Q2 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนได้หรือไม่
A2 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน หรือได้มีการชำระภาษีไว้แล้ว สามารถขอคืนหรือให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในปีภาษี (ภ.ง.ด.90)

Q3 : ต้องการผ่อนชำระภาษีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ต้องยื่นแบบฯภายในวันที่เท่าไร
A3 : การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 สามารถขอผ่อนชำระได้พร้อมกับการยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบเท่านั้น (กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่สามารถผ่อนชำระได้) และสามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 30 กันยายน
งวดที่ 2 ชำระ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม
งวดที่ 3 ชำระ ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน
กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

Q4 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 หากได้ชำระไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 จะต้องทำอย่างไร
A4 : หากได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 และได้มีการภาษีที่ชำระไว้ สามารถนำไปภาษีที่ได้ชำระไว้ไปเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ได

Q5 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถรวมคำนวณกับคู่สมรสได้หรือไม่
A5 : สามารถยื่นแบบฯ รวมคำนวณได้

Q6 : สามีและภริยายื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 รวมคำนวณภาษี ต่อมาประสงค์ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 โดยยื่นแบบเพื่อแยกยื่นแบบฯ สามารถทำได้หรือไม่
A6 : กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 โดยนำเงินได้พึงประเมิน
ของอีกฝ่ายหนึ่งมารวมคำนวณและเสียภาษีในนามของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อมา สามีและภริยาประสงค์
จะยื่นรายการและเสียภาษีตอนสิ้นปีตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 เป็นการแยกยื่นรายการและเสียภาษี กรณีดังกล่าวไม่ต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการและเสียภาษีจากการยื่นรายการรวมกันตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94

 

Q7 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 คำนวณภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว คงเหลือเงินไรสุทธิ 520,000 บาท การคำนวณภาษีที่จะต้องเสียคำนวณอย่างไร
A7 : การคำนวณภาษีเงินได้ หากมีเงินได้สุทธิจำนวน 520,000 บาท
0 - 150,000 บาท ได้รับยกเว้น
150,001 - 300,000 เสียภาษีร้อยละ 5 เป็นภาษีจำนวน 7,500 บาท
300,000 - 500,000 เสียภาษีร้อยละ 10 เป็นภาษีจำนวน 20,000 บาท
500,001 - 520,000 เสียภาษีร้อยละ 15 เป็นภาษีจำนวน 3,000 บาท
รวมเป็นภาษีที่คำนวณได้จำนวน 30,500 บาท

Q8 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องชำระภาษีทันทีหรือไม่
A8 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่ม สามารถชำระภายหลังการยื่นแบบฯได้ แต่ต้องชำระภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2561

Q9 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต กำหนดให้ชำระภายวันที่ 8 ตุลาคม 2561 อยากทราบว่า มีกำหนดเวลาการชำระหรือไม่

A9 : สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่มต้องชำระภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2561 โดยในการชำระเงินนั้น ให้ดูว่า หน่วยงานรับชำระนั้น ๆ มีเวลาทำการปิดการให้บริการในเวลาใด เช่น การชำระผ่านตู้ ATM จะสามารถทำการชำระเงินได้ถึงเวลา 22.00 น. เป็นต้น

Q10 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2561 ผ่านอินเทอร์เน็ต มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม หากได้เลือกช่องทางชำระเป็น ATM ไว้แล้วแต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นช่องทางอื่นได้หรือไม่
A10 : สามารถทำได้ โดยให้ login ใหม่อีกครั้งด้วยหมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่าน จะปรากฏหน้าจอค้างชำระ จากนั้นให้เลือกช่องทางการชำระได้ตามความต้องการ

 

ปรับปรุงล่าสุด: 09-01-2021