เมนูปิด

Clear Cut ชัดเจนกับการยื่นแบบฯ 94 

1. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

Q1 :ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
A1 :

ผู้มีเงินได้

มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร (ม.ค. มิ.ย.)

ผู้ยื่นแบบฯ

1. ผู้ที่เป็นโสด 

เกิน 60,000

ผู้มีเงินได้

2. ผู้ที่มีคู่สมรส ที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน 

เกิน 120,000

ผู้มีเงินได้

3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 

เกิน 60,000

ผู้จัดการมรดก/ทายาท/
ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ 

เกิน 60,000

ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการของห้างหุ้นส่วนสามัญ

5. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 

เกิน 60,000

ผู้จัดการของคณะบุคคล


2 : วิสาหกิจชุมชนต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A2 : วิสาหกิจชุมชนมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (แบบ ภ.ง.ด.94/90)

Q3 :ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปี สามารถใช้สิทธิยกเว้นผู้สูงอายุ 190,000 บาท ได้หรือไม่

A3 :ผู้มีเงินได้มีอายุ 65 ปี ในปีภาษี สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาทได้ โดยกรอก รายการ
ยกเว้นเงินได้จำนวน
190,000 บาท ในใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และยก
ยอดที่เหลือ (จำนวนเงินหลังจากหักเงินได้ยกเว้นแล้ว) ไปแสดงในแบบ ภ.ง.ด.
94


Q4 : ทำไมต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ครึ่งปี

A4 : เป็นการบรรเทาภาระภาษี หากไม่มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.94 จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
และชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้

 

Q5 : เงินได้ประเภทใดบ้างต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ปีภาษี 2561

A5 : เงินได้ตามมาตรา 40 (5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562-30 มิถุนายน 2562
มายื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 ปีภาษี 2562 โดยสามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562-30 กันยายน 2562

     40(5) หมายถึง เงินได้จากการให้เช่า

     40(6) หมายถึง เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ประกอบโรคศิลป์, บัญชี, วิศวกรรม, ทนายความ, ประณีตศิลป์,
 สถาปัตยกรรม โดยส่วนมากจะมีใบประกอบวิชาชีพที่ได้รับการรับรอง

     40(7) หมายถึง เงินได้จากการรับเหมา ออกวัสดุส่วนประกอบสำคัญ นอกเหนือจากอุปกรณ์สัมภาระที่มี
     40(8) หมายถึง เงินได้จากการพาณิชย์ หรือประเภทอื่นที่ไม่เข้า เงินได้ 40(1)-40(7)

 

Q6: สามีมีเงินได้ค่าเช่า ภริยามีเงินได้จากการเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภริยาจะต้องนำเงินได้ไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 กับสามีหรือไม่

A6 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ของภริยา สามารถยื่นแบบรวมคำนวณภาษีกับสามี หรือ แยกยื่นแบบในนามของภริยาได้

 

Q7 : คนพิการมีอายุ 67 ปี มีเงินได้จากการให้เช่าบ้าน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A7 : หากคนพิการมีเงินได้ค่าเช่า ที่ได้รับระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ในปี 2562 ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
 คนพิการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94

 

 

Q8 : คนโสด มีเงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A8: ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เนื่องจากเงินปันผลเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข)

Q9: พระสงฆ์ มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94หรือไม่
A9: หากพระสงฆ์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6)(7)(8) ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.9

Q10 : สามีภริยา มีเงินได้ร่วมกันจากการขายของ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 อย่างไร

A10: ในกรณีที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึง
ประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง กรณีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา
40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
 สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้
พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง การยื่นแบบให้
ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของตนเอง หรือตกลงยื่นรายการ
และเสียภาษีรวมกัน

 

Q11: เงินได้ที่ได้รับจากสามี (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) โดยเป็นแม่บ้าน อยู่บ้านเฉยๆ ถ้ามีเงินได้แต่ละเดือนเกิน 100,000 บาท
 ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 หรือไม่

A11 : เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(28)

 

Q12 : ปัจจุบันไม่ได้ขายของแล้ว มีการเลิกขายตั้งแต่ปีก่อน จะต้องยื่นแบบหรือไม่

A12: หากไม่มีเงินได้ประเภท 40(5)-(8) เลยในปีภาษี และมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ไม่ต้องยื่นแบบ
 แต่หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ

 

Q13 : ชาวต่างชาติต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A13:กรณีชาวต่างชาติมีเงินได้ 40(5) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับเงินได้ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม มิถุนายน
ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 ตามมาตรา 56 ทวิ

2. ประเภทเงินได้

Q1 :นาย ก. เปิดร้านขายของชำ (ซื้อมาขายไป) ต้องเสียภาษีหรือยื่นแบบฯอย่างไร

A1 :บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการขายของชำ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ในการคำนวณภาษีเงินได้ ให้หัก
ค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ
60 หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หักค่าใช้จ่ายจริง) หากมีหลักฐาน
พิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ยื่นแบบฯปีละ
2 ครั้ง ด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน และยื่นแบบ
แสดงรายการ ภ.ง.ด.
90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

 

Q2 :นาย ข. ได้รับรางวัลจากการชิงโชค โดยได้รับรางวัลเป็นรถยนต์มูลค่าจำนวน 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1
 พฤษภาคม 2562 บริษัทผู้จ่ายเงินได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วร้อยละ 5 อยากทราบว่า นาย ข. ยังคงต้องนำ
รางวัลที่ได้รับมายื่นแบบแสดงรายการอีกหรือไม่

A2: เงินรางวัลที่ นาย ข.ได้รับถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) และได้รับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562
จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2562 และต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ
อีกครั้งในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.
90 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

 

Q3 :มารดาเขียนชื่อเด็กหญิง ฟ้า อายุ 5 ขวบ เพื่อชิงโชค และได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 เป็นตั๋ว
เครื่องบินมูลค่า
100,000 บาท ได้ถูกบริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว เด็กหญิงฟ้าต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่

A3 :เด็กหญิงฟ้า ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ ต้องนำรางวัลที่ได้รับไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2562 และ
ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบฯ อีกครั้งในแบบ ภ.ง.ด.
90 ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป โดยในการยื่นแบบฯ
ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรม

 

Q4 :นางสาว ง. เปิดร้านขายอาหารริมถนน เมื่อเดือนเมษายน 2562 ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94หรือไม่

A4 :เงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หาก นางสาว ง. มีเงินได้เกิน 60,000 บาท (ระหว่างเดือน
มกราคม ถึง มิถุนายน) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 ภายในเดือนกันยายน 2562

 

Q5 :นาย ค. ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์2562 ต้อง
ยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 หรือไม่

A5 :รางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(11) ไม่
ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.
94

 

Q6 :นาย ช. ถูกรางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย ได้รับรถยนต์มูลค่า 800,000 บาท เมื่อเดือนเมษายน 2562 ต้องยื่น
แบบ ภ.ง.ด.
94 หรือไม่

A6 :รางวัลจากสลากบำรุงกาชาดไทย ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(18)
ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94

 

Q7 :นาย ฌ. ได้รับค่าที่ปรึกษาจากบริษัท เดือนละ 50,000 บาท จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A7 :เงินได้ค่าที่ปรึกษา ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) จึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

Q8 :มีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
A8 : หากมีเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

Q9 : Mr. A มิได้อยู่ในประเทศไทย แต่มีรายได้จากการให้เช่าคอนโด เดือนละ 80,000 บาท จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A9 : Mr. A มีเงินได้จากการให้เช่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) และมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน
 2561 รวมจำนวน 480,000 บาท จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายน 2562

 

Q10 :ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หากจะหักค่าใช้จ่ายจริง แต่มีใบเสร็จรับเงินที่ได้จ่ายเพียงบางส่วนจะต้องทำ
อย่างไร

A10 :สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 60 ของเงินได้พึงประเมิน

 

Q11 :หากได้รับส่วนแบ่งกำไรจาก LTF ในช่วงเดือนมกราคม มิถุนายน จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่

A11:เงินส่วนแบ่งกำไรจาก LTF เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 แล้ว
สามารถเลือก
ได้ว่าจะนำมารวมคำนวณหรือไม่ก็ได้

 

 

Q12 :บุคคลธรรมดาได้ขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 หรือไม่

A12 :ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขาย RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม
ข้อ
2(65) และ (67) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ให้นำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ด้วยเนื่องจากเป็นการยกเว้นแบบมีเงื่อนไข ดังนั้น หากมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม มิถุนายน ต้องนำไปแสดงใน
แบบแสดงรายการภาษีด้วย โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.
94 ให้กรอกรายการเงินได้พึงประเมินที่ ข้อ 5. หรือ ข้อ 6. ย่อย
เลือก ยกเว้น

 

Q13 :เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เรียบร้อยแล้ว จะต้องนำเงินได้ของเดือนมกราคม มิถุนายน ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี อีกหรือไม่

A13 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ต้องนำเงินได้ทั้งปีตั้งแต่เดือนมกราคม ธันวาคม มาคำนวณเพื่อเสียภาษี

 

Q14 :กรณีมีเงินได้จากค่าเช่ารับล่วงหน้า และได้ยื่นแแบบภ.ง.ด.93 ไว้แล้ว ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 อีกหรือไม่

A14 :เงินได้ค่าเช่าที่ได้รับล่วงหน้า เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่า
ทรัพย์สิน ตามมาตรา
40(5) ดังนั้น หากเงินได้ดังกล่าวได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม มิถุนายน ผู้มีเงินได้มีหน้าที่
ต้องยื่น
แบบ ภ.ง.ด.94 ตามมาตรา 56 ทวิ

 

Q15 :หากได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8) แต่ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ไว้ สามารถนำไปรวมเพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.
90 ครั้งเดียวเลยได้หรือไม่

A15 :ไม่ได้  เนื่องจากกรณีมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องนำ
เงินได้ระหว่างเดือนมกราคม
- มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี ตามมาตรา 56 ทวิ
และนำเงินได้ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.
90
ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของปีถัดจากปีภาษี
ตามมาตรา
56 แห่งประมวลรัษฎากร

 

Q16 :หากมีเงินได้เงินเดือน และจากการขายสินค้าออนไลน์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 อย่างไร

A16 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยนำเฉพาะเงินได้จากการขายสินค้าออนไลน์ ตามมาตรา 40(8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือน
มกราคม
มิถุนายน มายื่นแบบ

 

Q17 :มีเงินได้ 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้หรือไม่  หากประเภทกิจการไม่ได้กำหนดไว้ตาม
พระราชกฤษฎีกา เช่น เงินได้จากการเปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์

A17 :ไม่ได้ เนื่องจากการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาต้องหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่มีอัตราให้หักเหมา
 ต้องหักเป็นตามจริงและสมควร โดยต้องมีเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ผู้รับได้ จึงจะสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

 

Q18 :ปีภาษี 2561 ที่ผ่านมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยเลือกหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาไว้ ปีภาษี 2562 สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้หรือไม่

A18 :ได้

 

Q19 :นายเดวิน น้อยนิด เจ้าของบ้านมีบ้านให้ผู้อื่นเช่า แต่ลูกชายของนายเดวิน เป็นผู้เก็บเงินค่าเช่า เสียภาษี 
แทนได้หรือไม่ และใครเป็นผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน

A19 :ถือว่านายเดวิน น้อยนิด เป็นผู้มีเงินได้และมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการ

 

Q20 :นายเอก ชมบุญ มีเงินได้ เช่น รับเหมาก่อสร้าง รับจ้างทาสี เมื่อจะยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 จะต้องแสดงเงินได้เป็นเงินได้มาตรา 40 (7) หรือ มาตรา 40(8)

A20 :นายเอก ชมบุญ ต้องนำเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยแสดงเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(7)

 

Q21 : บุคคลธรรมดามีรายได้จากการให้เช่าบ้าน สามารถนำค่าภาษีโรงเรือนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

A21 : หากเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร สามารถนำค่าภาษีโรงเรือนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

 

Q22 :บุคคลธรรมดามีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่โครงเหล็ก เมื่อเดือน มีนาคม 2561 จำนวน 10,000 บาท มีหน้าที่

ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่ และสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด

A22 :ถือเป็นรายได้จากการเช่าทรัพย์สิน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(5) สามารถหัก
ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราร้อยละ
30 หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร

 

Q23 :กรณีได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ด้วยหรือไม่

A23 :เบี้ยยังชีพที่รัฐบาลจ่ายให้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร หากมีเงินได้ ตามมาตรา

40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับตั้งแต่ เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน เกิน 60,000 บาท มีหน้าที่ต้องนำมารวมคำนวณ

เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ด้วย


3. การหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94

Q1 : ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวนเท่าใด

A1 : ผู้มีเงินได้จะหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้จำนวน 30,000 บาท

 

Q2 : ห้างหุ้นส่วนสามัญหักลดหย่อนผู้มีเงินได้จำนวนเท่าใด

A2 :กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ลดหย่อน จำนวน 30,000 บาท
 หรือ 60,000 บาท ตามกรณีดังต่อไปนี้

          1. กรณีที่อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนจำนวน 30,000 บาท

          2. กรณีที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 2 คนขั้นไป ให้หักลดหย่อนจำนวน 60,000 บาท

 

Q3 :นาย ก. มีเงินได้จากการขายของเบ็ดเตล็ด ได้สมรสกับ นางสาว ข. เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส
หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่

A3 : หากยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ให้เลือกสถานภาพโสด และไม่สามารถหักลดหย่อนคู่สมรส

 

Q4 :นาย พ. มีเงินได้การขายอาหาร จดทะเบียนสมรส โดยคู่สมรสมีเงินได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้หรือไม่

A4 :กรณีคู่สมรสมีเงินได้เฉพาะมาตรา 40(1) - (4) เท่านั้น สามารถหักค่าลดหย่อนของคู่สมรส ได้จำนวน 30,000 บาท

 

Q5 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนเท่าไร

A5 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้คนละ 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร
การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา

 

Q6 :นาง ช. มีเงินได้จากการเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ได้คลอดบุตรเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
จะสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่

A6 : สามารถหักลดหย่อนบุตรได้จำนวน 15,000 บาท การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษี
ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

 

Q7 : นาย ท. หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้จำนวนเท่าใด

A7 : สามารถหักลดหย่อนบิดามารดา ได้คนละ 15,000 บาท โดยบิดามารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
แต่ต้องไม่มีเงินได้
พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

 

Q8 : นาย ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบิดา จะหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดาได้หรือไม่

A8 : หักลดหย่อนไม่ได้

 

Q9 : คู่สมรสไม่มีเงินได้ จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาหักลดหย่อน ได้หรือไม่

A9 : หากความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษี

 

Q10 : ค่าเบี้ยประกันชีวิตจะหักค่าลดหย่อนได้จำนวนเท่าไร

A10 : ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท
 หักได้เพียงครึ่งหนึ่งตามที่จ่ายไปจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท
 ให้ได้รับยกเว้นอีกไม่เกิน 90,000 บาท

          ตัวอย่าง นาย ก. จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562 จำนวน 37,000 บาท ดังนั้น เมื่อนาย ก.
 ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตได้จำนวน 32,000 บาท (ส่วนแรก 10,000 บาท หักลดหย่อน
ได้เพียงครึ่งหนึ่งคือ 5,000 บาท และส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกจำนวน 27,000 บาท รวมเป็น 5,000 + 27,000
 = 32,000 บาท)

 

Q11 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้จำนวนเท่าไร

A11 : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือน
มกราคม ถึง มิถุนายนดังนี้

          1. ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท

          2. สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท

 

Q12 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หรือไม่

A12 :ไม่ได้ เนื่องจากการหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1)
 ซึ่งคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีเท่านั้น

 

Q13 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้หรือไม่

A13 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตนเอง และบิดา
มารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

 

Q14 : นายสำราญ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 มีเงินได้ค่าเช่า สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือนอย่างเดียวได้หรือไม่

A14 : ได้ หักลดหย่อนคู่สมรสได้จำนวน 30,000 บาท

 

Q15 :กรณีจ่ายสมทบประกันสังคมทั้งตามมาตรา 33, 39 และมาตรา 40 ของประกันสังคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคมได้หรือไม่

A15 : ให้หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ตามมาตรา 47(1)(ฌ) แต่ไม่เกินตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม

 

Q16 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนประกันชีวิตนั้นใช้สิทธิอย่างไร และหากมีประกันสุขภาพต้องนำมารวมกับประกันชีวิตใช่หรือไม่ อย่างไร

A16 : หักลดหย่อนประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม มิถุนายน ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้
เพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท หักได้ตามที่จ่ายจริง ส่วนในการหักลดหย่อนประกัน
สุขภาพได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม
มิถุนายน แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิต
ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 

Q17 : หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าซื้อบ้านที่จ่ายให้แก่ธนาคาร กรณีสามีภริยากู้ร่วมกันต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
 จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 50,000 บาท ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ใช้สิทธิอย่างไร

A17 : หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าซื้อบ้านให้แก่ธนาคาร ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในเดือนมกราคม มิถุนายน
 ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท หักได้ตามที่จ่ายจริง
 เฉลี่ยใช้สิทธิคนละครึ่ง โดยมีวิธีการคำนวณ คือ ดอกเบี้ยที่จ่าย 50,000 บาท (ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 ใช้สิทธิได้)
 5,000 + (ส่วนที่เกิน 10,000) คือ 40,000 = 45,000/2 รวมใช้สิทธิได้คนละ 22,500 บาท

 

Q18 : กรณีเปลี่ยนชื่อผู้ดูแลหลังบัตรคนพิการในเดือนกันยายน สามารถลดหย่อนคนพิการในแบบ ภ.ง.ด.94 ได้
หรือไม่

A18 : หากมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการตั้งแต่เดือนมกราคม
มิถุนายน ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนตามแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ และ
สำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนสิ้นปี ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตาม
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

 

Q19 :ซื้อหน่วยลงทุน LTF เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562 จำนวน 100,000 บาท จะใช้สิทธิลดหย่อนในแบบ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่

A19 : สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้อง
เสียภาษีเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

 

Q20 : บุตรไม่มีเงินได้ จบการศึกษาในเดือนมีนาคม 2562 และจะมีอายุครบ 26 ปีบริบูรณ์ในเดือนธันวาคม 2562
 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่

A20 : ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้จำนวน 15,000 บาท หากบุตรมีเงินได้ไม่
เกิน 30,000 บาท

 

Q21 : มีการจ่ายค่าเบี้ยประกัน แต่จะไม่ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตในแบบ ภ.ง.ด.94 แต่จะขอมาใช้สิทธิในแบบ ภ.ง.ด.90 ได้หรือไม่

A21 : ได้

 

Q22 :ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติได้หรือไม่

A22 : ได้

 

Q23 : ทำไมแบบ ภ.ง.ด.94 เวลายื่นแบบฯ การใช้สิทธิลดหย่อนจึงใช้สิทธิลดหย่อนได้เพียงแค่ครึ่งเดียว แต่อัตรา
ภาษีที่ใช้ในการคำนวณจึงไม่เป็นครึ่งหนึ่งเหมือนการใช้สิทธิลดหย่อน

A23 : เนื่องจากตามกฎหมายบทบัญญัติ 56 ทวิ ให้ใช้ค่าลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่ง แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดในเรื่อง
ของอัตราภาษี ดังนั้นไม่ว่าการคำนวณภาษีครึ่งปีหรือสิ้นปีก็ต้องใช้อัตราเดียวกัน

 

Q24 :ถ้าบุคคลมีเงินได้มาตรา 40(8) จากการขายของที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต 800,000 บาท มีการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ
 5,000 บาท เบี้ยประกันชีวิต 40,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท จะกรอกแบบ ภ.ง.ด.94
 อย่างไร

A24 : ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนแรก 40,000 บาท ซึ่งส่วนแรก 10,000 บาท จะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท
 + ประกันชีวิตส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีก 30,000 บาท + ประกันสุขภาพอีก 5,000 รวมเป็นประกันชีวิตแบบปกติ
 = 40,000 บาท นำประกันชีวิตแบบบำนาญมากรอกเพิ่มได้อีก 55,000 บาท ดังนั้นกรอกประกันชีวิตแบบปกติรวม
ได้ 95,000 บาท (แยกเป็นลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ 5,000 บาท และลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 90,000 บาท)
 ในส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญได้เพิ่มอีก 120,000 บาท (ซึ่งหักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน =
 800,000
x 15% = 120,000)

 

Q25 : ผู้มีเงินได้ อายุครบ 65 ปี ในเดือนสิงหาคม 2562 จะได้สิทธิยกเว้นเงินได้กรณีอายุเกิน 65 ปีหรือไม่

A25 : การนับอายุ 65 ปี ให้นับวันชนวัน ดังนั้น หากมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2562 ดังนั้น เมื่อยื่นแบบ
 ภ.ง.ด.94 จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท

 

Q26 : การลดหย่อนประกันชีวิต ถ้ามีการจ่ายจริงในวันที่ 1 กรกฎาคม จำนวน 5,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตได้หรือไม่

A26 :ไม่ได้ เนื่องจากการใช้สิทธิลดหย่อนต้องตามที่จ่ายจริง ตั้งแต่ 1 มกราคม 30 มิถุนายน เท่านั้น แต่สามารถ
นำไปใช้สิทธิลดหย่อนตอนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ได้

 

Q27 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 แต่ลืมนำลดหย่อนบางรายการมาใช้ แต่ไปยื่นในแบบ ภ.ง.ด.90 แบบเดียวได้หรือไม่

A27 : ได้

 

Q28 : รายการลดหย่อนประกันสังคม กรณีมีเงินเดือนและขายของ จะสามารถใช้สิทธิของการจ่ายประกันสังคมได้หรือไม่

A28 : ถ้าเป็นการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบทำการตรวจสอบเฉพาะเงินได้ จากการขายของ 40(8) แต่สูงสุดจะ
ไม่เกินการจ่ายตามมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ของประกันสังคม ถ้าระบบไม่สามารถให้กรอกรายการได้ อาจต้อง
เลือกยื่นแบบเป็นแบบกระดาษ แต่สามารถนำไปหักลดหย่อนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ได้

 

Q29 : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หากจ่ายดอกเบี้ยไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน จำนวน 50,000 บาท
 โดยสามีภริยากู้ร่วม ภริยามีเงินได้ 40(1) สามีมีเงินได้ 40(8) โดยสามียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อน
ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างไร

A29 : กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืมให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วน
จำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 100,000 บาท กรณีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่าย ให้
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะ
ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท สามีสามารถลดหย่อนได้ดังนี้ ดอกเบี้ยคนละกึ่งหนึ่ง 50,000/2 =
 25,000 ใช้สิทธิลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 10,000 บาทแรก = 5,000 บาท ส่วนที่เหลือ
 25,000 - 10,000 = 15,000 ได้เต็มจำนวน รวมแล้วใช้สิทธิลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ภ.ง.ด.
94 ได้จำนวน 5,000 + 15,000 = 20,000 บาท

 

Q30 : ลดหย่อนประกันชีวิต ชำระเบี้ยประกันชีวิตตอนปลายปี แต่ทราบจำนวนที่จะชำระแล้ว สามารถใช้สิทธิในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้หรือไม่

A30 : ไม่ได้ เพราะยังไม่มีการจ่ายจริง

 

Q31 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 เงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่งหรือไม่

A31 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสาม มี
หลักเกณฑ์ดังนี้ 

          1. การบริจาคให้ศาสนสถาน และองค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ หักลดหย่อนได้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้บริจาค
จริงแต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ
10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอย่างอื่น และเงินบริจาค
สนับสนุนการศึกษาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

          2. การบริจาคให้สถานศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของ
เงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย โดยบริจาคผ่านระบบ
e-Donation ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 – 31 ธันวาคม 2562

          3. การบริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ ลดหย่อนได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน
ร้อยละ
10 ของเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย

 

Q32 :กรณีบุตรคนที่ 2 เกิดในปี 2562 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนบุตรได้อย่างไร

A32 :บุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่คนที่ 2เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี พ.ศ. 2561 ให้หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกคน
ละ 30,000 บาท โดยในการนับลำดับบุตรให้นับลำดับของบุตรทุกคนไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

 

Q33 :บริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองสามารถลดหย่อนได้หรือไม่

A33 :การบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง หรือเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรม
ระดมทุนของพรรคการเมืองตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้
ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันไม่เกิน 10
,000 บาท

 

Q34 :ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ใช้สิทธิลดหย่อนได้เท่าไหร่

A34 :ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ไม่เกิน 60,000 บาท หากจ่ายค่าฝากครรภ์และค่า
 คลอดบุตรของการตั้งครรภ์แต่ละคราวมิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับสิทธิตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี
 แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60
,000 บาท

 

Q35 : อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึก จะนำค่าซ่อมบ้านหรือรถมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

A35 : กรณีจ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากพายุโซนร้อนปาบึก และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการ
ประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน สามารถ
นำมาหักลดหย่อนได้ดังนี้

          1. ค่าซ่อมแซม หรือค่าวัสดุ หรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอาคาร หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งกับตัวอาคาร
 หรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคาร หรือในการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุด หรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งกับ
ห้องชุดในอาคารชุด และได้จ่ายระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่
รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100
,000 บาท

          2. ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วย
การขนส่งทางบกหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอานวยความสะดวกในรถ และได้จ่ายระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2562 ถึงวันที่
31 มีนาคม 2562 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 30
,000 บาท

 

Q36 : ช่วงเดือนเมษายน 2562 จ่ายค่าที่พักโรงแรม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าที่พักได้หรือไม่

A36 : สำหรับค่าเดินทางท่องเที่ยวเมืองรองหรือเมืองหลัก ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 30
มิถุนายน 2562 สามารถลดหย่อนได้ดังนี้

          1. สำหรับการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง ได้รับสิทธิตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่
ไม่เกิน
20,000 บาท

          2. สำหรับการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลัก ได้รับสิทธิตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่
ไม่เกิน
15,000 บาท

          กรณีที่มีการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักทั้ง 1. และ 2. ให้ได้รับยกเว้นไม่เกินจำนวนที่กำหนดในข้อ 1.และ 2.
 แล้วแต่กรณี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท

 

Q37 :ค่าซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและกีฬา ที่นำมาหักลดหย่อนภาษีมีเงื่อนไขอย่างไร

A37 : สามารถนำค่าซื้อสินค้าดังต่อไปนี้ ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกำกับ
ภาษีตามมาตรา
86/4 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ได้รับสิทธิตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน
15,000 บาท

          1. อุปกรณ์การศึกษา แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

          2. เครื่องแต่งกายสำหรับการศึกษา

          3. อุปกรณ์กีฬา

          4. เครื่องแต่งกายสำหรับการเล่นกีฬา

 

Q38 :จ่ายค่าซื้อสินค้าโอทอปเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 นำมาหักลดหย่อนได้กี่บาท

A38 :ต้องจ่ายค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่วันที่
 
30 เมษายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จึงจะนำมาหักลดหย่อนได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกัน
แล้ว
ต้องไม่เกิน 15,000 บาท

 

Q39 : การใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อหนังสือ รวมถึง e-book หรือไม่

A39 : ค่าซื้อหนังสือทุกประเภท หรือค่าบริการหนังสือทุกประเภทที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ต (
e-book) นำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท

 

Q40 : มาตรการภาษีบ้านหลังแรก นำมาหักลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่

A40 : ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีเงินได้
มูลค่าไม่เกิน 5
,000,000 บาท ใช้สิทธิได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท  และต้องมีการจดทะเบียนโอน
กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จตั้งแต่วันที่
30 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2562

 

Q41 : ค่าติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในสถานประกอบการ นำมาหักลดหย่อนได้เท่าไหร่

A41 : หากมีสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา
 (เฉพาะอำเภอจะนะ  เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) และสตูล) และเป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8)
 สามารถใช้สิทธิได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

 

Q42 :ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC นำมาหักลดหย่อนได้หรือไม่

A42 :หากเป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) รวมกันไม่เกิน 30 ล้านบาทในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้น
ภาษีเงินได้ สามารถใช้สิทธิได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงิน
ด้วยบัตรเดบิตผ่านอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (
EDC)

4. ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

Q1 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ตต้องแนบเอกสารหรือไม่

A1 :ไม่ต้องแนบเอกสาร

 

Q2 :สถานที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จำเป็นต้องยื่นแบบฯในท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาหรือไม่

A2 :สามารถยื่นแบบฯ (ฉบับกระดาษ) ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใดก็ได้ หรือยื่นแบบฯ ผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
www.rd.go.th

 

Q3: ต้องการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะขอหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอย่างไร
A3: ผู้มีเงินได้สามารถลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
เพื่อขอรับหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน

 

Q4 :หากลืมรหัสผ่านจะต้องทำอย่างไร
A4 : สามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้ โดยเลือกเมนู ลืมรหัสผ่าน กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ระบบจะให้รหัสผ่านเพื่อนำไปใช้ใน
การยื่นแบบฯผ่านอินเทอร์เน็ตได้

 

Q5 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถทำรายการได้เมื่อใด

A5 :สามารถทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2562 ถึง
 วันที่ 8 ตุลาคม 2562 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุด

 

Q6 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต จะทราบได้อย่างไร ว่าได้ทำรายการยื่นแบบฯสำเร็จ

A6 :ให้ทำการ login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้ง หากพบข้อความเตือนกรมสรรพากรได้รับแบบแสดงรายการของท่านแล้ว....
แสดงว่าได้ทำรายการสำเร็จ

 

Q7 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ายื่นแบบฯไปแล้วปรากฏว่าแสดงรายการไม่ถูกต้อง จะแก้ไขอย่างไร

A7 :ให้ทำการ login ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านอีกครั้ง จะพบข้อความเตือนกรมสรรพากรได้รับแบบแสดง
รายการของท่านแล้ว....
หากต้องการยื่นแบบฯเพิ่มเติม ก็ให้กดปุ่ม ตกลง จากนั้นให้กรอกข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด

 

Q8 :คู่สมรสมีเงินได้ 40(1) และเงินได้ 40(8)  และคู่สมรสเลือกที่จะนำเงินได้ 40(8) มายื่นแบบรวมกับ ผู้มีเงินได้
ในการกรอกสถานะของคู่สมรสในแบบ ภ.ง.ด.
94 ต้องเลือกสถานะอย่างไร

A8 :ให้ผู้มีเงินได้เลือกสถานภาพสมรส และรายการคู่สมรส เลือกตาม (1) ที่ระบุว่า มีเงินได้มาตรา 40(5)-40(8)
 ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 รวมคำนวณภาษีกับผู้มีเงินได้

Q9:แบบ ภ.ง.ด.94 สามารถจะรับได้อย่างไร
A9: สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

Q10 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถยื่นแบบผ่าน application RD SMART TAX ได้หรือไม่
A10 : ไม่ได้ เนื่องจาก application RD SMART TAX รองรับเฉพาะการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 เท่านั้น

Q11 :ต้องการอ่านรายละเอียดการกรอกรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 แบบเข้าใจง่าย จะหาอ่านได้อย่างไร
A11: อ่านจากคำแนะนำการกรอกแบบที่ http://www.rd.go.th/publish/60131.0.html หรือสแกน QR Code ได้ที่นี่

http://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/callcenter/Picture/picweb2018/n2.jpg

Q12 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะต้องยื่นแบบตามภูมิลำเนา หรือตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่
A12 : การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถยื่นที่ใดก็ได้ ตามมาตรา 57 จัตวา

Q13 :Browser ที่รองรับการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร มีอะไรบ้าง

A13 :การใช้งานโปรแกรมของกรมสรรพากรต้องพิมพ์ www.rd.go.th ใน Address bar โดยตรง จะ link จาก
website อื่นไม่ได้ โดย Browser ที่รองรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร มีดังนี้

1.   Internet Explorer 8, 9, 10 และ 11 บน Windows

2.   Google chrome บน Windows

3.   Moszila Firefox  บน Windows

4.   Moszila Firefox  บน Windows

 

Q14 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม หากเป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบ
จะต้องชำระภาษีให้แล้วเสร็จภายในเวลาใด

A14 : สามารถทำรายการยื่นแบบไว้ก่อนและชำระภาษีในภายหลังได้ แต่ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่
กฎหมายกำหนดคือ วันที่ 30 กันยายน (ก่อนเวลา
22.00 น.) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการสิ้นสุดระยะเวลาในการให้บริการ
ของหน่วยรับชำระภาษีที่เลือก เช่น ธนาคาร/ไปรษณีย์/
ATM 

5. กำหนดเวลาในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

Q1 :กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 คือเมื่อใด
A1 : หากเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึง
วันที่ 30 กันยายน
2562 แต่ถ้าเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2
562 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2562

 

Q2 :หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง

A2 :ต้องชำระค่าปรับอาญา
          กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 100 บาท
          กรณียื่นเกินกำหนดเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท
          และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

 

Q3 :หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด และมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม จะขอผ่อนชำระได้หรือไม่

A3 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดเวลา จะไม่สามารถผ่อนชำระภาษี

 

Q4 : เอกสารการยื่นแบบเสียภาษี ต้องเก็บไปประมาณกี่ปี

A4 : ควรเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี เนื่องจากสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี
ตามมาตรา
193/31 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

Q5 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และเลือกผ่อนชำระภาษีไว้ หากวันสุดท้ายของการผ่อนชำระตรงกับวันหยุดราชการ จะต้องชำระภาษีอย่างไร

A5 :หากวันสุดท้ายที่ต้องผ่อนชำระตรงกับวันหยุดของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำ
การนั้นเป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบ ตามมาตรา
193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้ ตามข้อ
 
3(1) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.117/2545

 

Q6 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ทางอินเทอร์เน็ตไม่ต้องแนบเอกสารใด อยากทราบว่าจะต้องเก็บรักษาเอกสารเพื่อให้เจ้าหน้าตรวจสอบในภายหลังอีกหรือไม่

A6 :กรณียื่นแบบแสดงรายการผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานแต่อย่างใด แต่ผู้เสียภาษียังคง
ต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการลดหย่อนไว้ไม่น้อยกว่า
5 ปี กรณีมีเหตุสงสัย เจ้าหน้าที่สรรพากร
อาจขอตรวจสอบดูเอกสารหลักฐาน จะต้องนำมาแสดงตามที่ได้ใช้สิทธิ์ไว้ ซึ่งกรมสรรพากรมีระบบการเชื่อมโยง
ข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ดังนั้น หากข้อมูลใดไม่สามารถสืบค้นได้ จึงจะขอดูเอกสารหลักฐานเฉพาะบาง
ประเด็นที่จำเป็นเท่านั้น

 

Q7 :ต้องการผ่อนชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94 ต้องยื่นแบบฯภายในวันที่เท่าไร

A7 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถขอผ่อนชำระได้พร้อมกับการยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบเท่านั้น
 (กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่สามารถผ่อนชำระได้) และสามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน
          งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 30 กันยายน
          งวดที่ 2 ชำระ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม
          งวดที่ 3 ชำระ ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน

          กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด
 โดยต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

 

Q8 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ของปีภาษี 2562 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หากประสงค์ขอผ่อนชำระภาษี จะต้องชำระภาษีภายในกำหนดเวลาใดบ้าง

A8 : งวดที่ 1 ชำระภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2562

       งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562

       งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2562

       ต้องชำระภาษีงวดที่ 1 ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น จึงจะได้รับสิทธิชำระภาษีงวดต่อๆ ไป

       หมายเหตุ กรณีวันสุดท้ายของการชำระภาษีตรงกับวันหยุดราชการ ให้ชำระได้ภายในวันทำการถัดไป

 

6. การชำระภาษี และคำนวณภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94

Q1 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่

A1 :หากเป็นแบบฯ ที่ยื่นภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต
และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่
3,000 บาท ขึ้นไป สามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวด

 

Q2 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนได้หรือไม่

A2 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน หรือได้มีการชำระภาษีไว้แล้ว สามารถขอคืนหรือให้ถือเป็นเครดิต
ในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในปีภาษี
(ภ.ง.ด.90)

Q3 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หากได้ชำระไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องทำอย่างไร
A3 : หากได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และได้มีการภาษีที่ชำระไว้ สามารถนำไปภาษีที่ได้ชำระไว้ไปเครดิตในการคำนวณภาษี
ที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.
90 ได้

Q4 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถรวมคำนวณกับคู่สมรสได้หรือไม่
A4 : สามารถยื่นแบบฯ รวมคำนวณได้

Q5 :สามีและภริยายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 รวมคำนวณภาษี ต่อมาประสงค์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยยื่นแบบเพื่อแยกยื่นแบบฯ สามารถทำได้หรือไม่

A5 :กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยนำเงินได้พึงประเมินของอีกฝ่ายหนึ่งมารวมคำนวณและเสียภาษี
ในนามของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อมา สามีและภริยาประสงค์จะยื่นรายการและเสียภาษีตอนสิ้นปีตามแบบ ภ.ง.ด.
90 เป็นการแยกยื่นรายการและเสียภาษี
กรณีดังกล่าวไม่ต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกยื่นรายการและเสียภาษีจากการยื่นรายการรวมกันตามแบบ ภ.ง.ด.
94

 

Q6 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 คำนวณภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว คงเหลือเงินไรสุทธิ 520,000 บาท การคำนวณภาษีที่จะต้องเสียคำนวณอย่างไร

A6 :การคำนวณภาษีเงินได้ หากมีเงินได้สุทธิจำนวน 520,000 บาท
          0 - 150,000 บาท ได้รับยกเว้น
          150,001 - 300,000 เสียภาษีร้อยละ 5 เป็นภาษีจำนวน 7,500 บาท
          300,000 - 500,000 เสียภาษีร้อยละ 10 เป็นภาษีจำนวน 20,000 บาท
          500,001 - 520,000 เสียภาษีร้อยละ 15 เป็นภาษีจำนวน 3,000 บาท
          รวมเป็นภาษีที่คำนวณได้จำนวน 30,500 บาท

 

Q7 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องชำระภาษีทันทีหรือไม่

A7 :การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่ม สามารถชำระภายหลังการยื่นแบบได้
แต่ต้องชำระภายในวันที่
8 ตุลาคม 2562

 

Q8 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต กำหนดให้ชำระภายวันที่ 8 ตุลาคม 2562 อยากทราบว่า
 มีกำหนดเวลาการชำระหรือไม่

A8 :สำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถ้ามีภาษีต้องชำระเพิ่มต้องชำระภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2562 โดยในการชำระเงินนั้น
 ให้ดูว่า หน่วยงานรับชำระนั้น ๆ มีเวลาทำการปิดการให้บริการในเวลาใด เช่น การชำระผ่าน
ตู้
ATM จะสามารถทำการชำระเงินได้ถึงเวลา 22.00 น. เป็นต้น

Q9 :ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปีภาษี 2562 ผ่านอินเทอร์เน็ต มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม หากได้เลือกช่องทางชำระเป็น ATM
ไว้แล้วแต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นช่องทางอื่นได้หรือไม่

A9 : สามารถทำได้ โดยให้ login ใหม่อีกครั้งด้วยหมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่าน จะปรากฏหน้าจอค้างชำระ จากนั้นให้เลือก
ช่องทางการชำระได้ตามความต้องการ

Q10 :การคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.5 จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนหย่อนหรือไม่

A10 :ให้นำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน คูณด้วยอัตราร้อยละ 0.5

 

Q11 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ตแล้วมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม สามารถชำระภาษีผ่านช่องทางใดได้บ้าง

A11 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถเลือกช่องทางการชำระภาษีได้ ดังนี้

          1. ชำระภาษีผ่าน e-Payment, ​Internet Credit Card, ATM ​on Internet โดยระบุธนาคารที่ใช้บริการป้อน
หมายเลขผู้ใช้ (
User ID) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากธนาคารและดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น

          2. ชำระภาษีช่องทางอื่น เช่น ATM, Tele Banking, Phone Banking, Internet Banking, Mobile Banking,
 Counter Service (ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ, 7-Eleven, Tesco Lotus, ไปรษณีย์) ระบบจะแสดง Pay-in-Slip
ซึ่งระบุ
รายละเอียดเลขประจำตัวประชาชน / เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (13 หลัก)
, รหัสควบคุม (15 หลัก) และจำนวนภาษีที่ต้อง
ชำระ กรุณาพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการชำระภาษีตามช่องทางที่เลือกต่อไป 

          3. ชำระภาษีผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา โดยชำระเป็นเงินสด บัตรภาษี บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเครดิต
 บัตรเดบิต
Tax Smart Card) อย่างใดอย่างหนึ่ง และชำระทั้งจำนวนตามชุดชำระเงิน (Pay In Slip) ในคราวเดียว

 

Q12 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หากเลือกชำระภาษีด้วยเงินสดที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

A12 :ไม่เสียค่าธรรมเนียม

 

Q13 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยเลือกผ่อนชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตไว้ การผ่อนชำระภาษีทั้ง 3 งวดสามารถชำระผ่านช่องทางใดได้บ้าง

A13 : ช่องทางการผ่อนชำระภาษีทั้ง 3 งวด มีดังนี้

                        1. หากเลือกชำระภาษีงวดที่ 1 ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถชำระภาษีงวดที่ 2 ผ่านช่องทาง
อิเล็กทรอนิกส์
 หรือชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาได้

                        2. หากเลือกชำระภาษีงวดที่ 2 ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถชำระภาษีงวดที่ 3 ผ่าน
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาได้

                        3. หากเลือกชำระภาษีงวดที่ 2 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแล้ว งวดที่ 3 ต้องชำระภาษี ณ
 สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเท่านั้น

                        4. หากเลือกชำระภาษีงวดที่ 1 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแล้ว งวดที่ 2 และ งวดที่ 3 ต้องชำระ
ภาษี
ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเท่านั้น

 

Q14 :หากเลือกผ่อนชำระภาษีงวดที่ 1 ผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ต การผ่อนชำระภาษีงวดที่ 2 และ 3 ระบบจะตัดบัญชีให้อัตโนมัติหรือไม่

A14 :การชำระภาษีงวดที่ 2 หรือ 3 หน่วยรับชำระจะไม่หักบัญชีให้อัตโนมัติ จะต้องเข้าสู่ระบบ (Log in) แล้ว
ดำเนินการตามขั้นตอนของหน่วยรับชำระนั้นๆ

 

Q15 :กรณีผ่อนชำระภาษีงวดที่ 1 เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ได้ชำระภาษีงวดที่ 2 ภายในกำหนดเวลา ยังสามารถผ่อนชำระภาษีได้อยู่หรือไม่

A15 :กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษี
อากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ
1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

 

Q16 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีภาษีที่ต้องชำระและชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว
แต่ระบบยังแจ้งว่าค้างชำระภาษีอยู่ จะต้องดำเนินการอย่างไร

A16 : เมื่อชำระเงินภาษีเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน่วยรับชำระภาษี (ธนาคาร/ไปรษณีย์) จะส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากร
ในสิ้นวันทำการ หากอยู่ในระหว่างวันข้อมูลอาจยังไม่ถูกส่งมาให้ ระบบจึงแสดงสถานะค้างชำระที่หน้าจอ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับการส่งข้อมูลของแต่ละหน่วยรับชำระภาษี (ธนาคาร/ไปรษณีย์) ซึ่งบางแห่งอาจส่งข้อมูลการชำระเงินภาษี
ให้กรมสรรพากรทันทีที่ทำรายการเสร็จ แต่บางแห่งจะสรุปข้อมูลเมื่อสิ้นวัน ทำให้สถานะที่ปรากฏไม่ถูกต้อง

       ดังนั้น เมื่อชำระเงินภาษีหน่วยรับชำระภาษีจะออกใบเสร็จรับเงินให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน หรือในกรณีที่เลือก
ชำระภาษีผ่านทาง
e-payment หรือ Internet Banking สามารถตรวจสอบการชำระเงินได้จาก Statement ของ
ธนาคาร และหลังจากนั้นประมาณ 2 วันทำการ จึงสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันความ
สมบูรณ์ของการชำระภาษี

 

Q17 :บัตรเครดิตของธนาคารใดบ้างสามารถใช้ชำระภาษีอากรได้

A17 :การยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตและเลือก
ชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถนำบัตรเครดิตมาใช้ชำระภาษีได้ โดยชำระภาษีเต็มจำนวน
ตามที่ปรากฏในหน้าแบบฯ หรือตามจำนวนที่ขอผ่อนชำระ หรือชำระบางส่วนได้ ทั้งนี้ ต้องชำระทั้งจำนวน โดยไม่
ชำระร่วมกับเงินสด เช็ค ดราฟท์ หรือบัตรภาษี โดยธนาคารที่ให้บริการรับชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต มีดังนี้

              -  ธนาคารกรุงไทย (KTC)

              -  ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

              -  ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)

              -  ธนาคารกรุงเทพ (BBL)​

 

Q18 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว หากไม่ได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ยังสามารถชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อยู่หรือไม่

A18 :หากไม่ชำระเงินภายในกำหนดเวลา ถือว่ายังไม่ได้ยื่นแบบ สามารถยื่นแบบฯได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
ใดก็ได้พร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และชำระภาษี ค่าปรับอาญา/เงินเพิ่ม ดังนี้

            ค่าปรับอาญา

               - กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 100 บาท

               - กรณียื่นเกินกำหนดเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับขั้นต่ำ 200 บาท

            และเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ(ถ้ามี)

 

Q19 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต กรมสรรพากรจะทราบได้อย่างไร ว่าผู้เสียภาษีบันทึกข้อมูลไว้ ถูกต้องแล้วหรือไม่

A19 :การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นการประเมินตนเอง ผู้เสียภาษีอากรเป็นผู้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเงินได้
ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
 หากแจ้งรายการไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ กรมสรรพากรมีอำนาจประเมินภาษีเพิ่มเติมได้

 

Q20 :กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว หากไม่ได้พิมพ์แบบฯเก็บไว้ขณะที่ทำรายการเสร็จ
 จะสามารถพิมพ์แบบฯ และใบเสร็จรับเงินได้อย่างไร

A20 : หลังจากทำรายการยื่นแบบฯ และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะต้องรอระบบประมวลผล
ประมาณ 2 -3 วันทำการ โดยสามารถพิมพ์แบบและใบเสร็จรับเงิน ได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

www.rd.go.th => ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต => พิมพ์แบบฯ ใบเสร็จ (90/91) (94) => Login เข้าสู่ระบบด้วย
หมายเลขผู้ใช้ (
User ID)
และรหัสผ่าน (Password) => ระบุ Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชนหรือหมายเลข
อ้างอิงการยื่นแบบ =
> เลือกพิมพ์แบบ หรือพิมพ์ใบเสร็จ => ระบุปีภาษี => เลือกหมายเลขอ้างอิงการบันทึก
แบบ/เลขที่ใบเสร็จ =
> ระบบจะแสดงหน้าแบบ/ใบเสร็จรับเงิน

 

 

Q21 :อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2562

A21 :

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่

เงินได้สุทธิ

จำนวนสูงสุดของขั้น

อัตราภาษี

ภาษีในแต่ละขั้น
เงินได้

ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น

             0       -     150,000

150,000

5

ยกเว้น*

0

เกิน     150,000   -     300,000 

150,000

5

7,500

7,500

เกิน     300,000   -     500,000 

200,000

10

20,000

27,500

เกิน     500,000   -     750,000 

250,000

15

37,500

65,000

เกิน     750,000   -  1,000,000 

250,000

20

50,000

115,000

เกิน  1,000,000   -  2,000,000 

1,000,000

25

250,000

365,000

เกิน  2,000,000   -  5,000,000 

3,000,000

30

900,000

1,265,000

เกิน  5,000,000  บาท ขึ้นไป 

         *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับยกเว้นภาษีตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 03-12-2021