เมนูปิด

                                                 บันทึกข้อความ

 

ส่วนราชการ      กรมสรรพากร    กองการเจ้าหน้าที่    ฝ่ายวินัย    โทร. (02) 6173528

 

ที่  กค 0803 / ว.67                                                        วันที่   3   มกราคม   2545     

 

เรื่อง    ข้อบังคับทางวินัยและแนวทางลงโทษ

 

 

                                ผู้อำนวยการสำนัก  (ทุกสำนัก)

                                สรรพากรภาค 1 – 12

                                ผู้ตรวจราชการ 1 – 12

                                ผู้อำนวยการกอง  (ทุกกอง)

เรียน                       เลขานุการกรม

                                ผู้อำนวยการศูนย์  (ทุกศูนย์)

                                หัวหน้าหน่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ

                                หัวหน้างานตรวจสอบภายใน

                                สรรพากรพื้นที่ 1 – 16

 

                                ด้วยกรมสรรพากรได้รวบรวมข้อบังคับทางวินัยและแนวทางการลงโทษเป็นรูปเล่ม  ทั้งนี้  ตามแผนกลยุทธ์กรมสรรพากรใสสะอาด  ปีงบประมาณ พ.ศ.2545  โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

                                1.  เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม  และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน                     

                                2.  เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้รณรงค์  เผยแพร่แก่ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด  อันเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีวินัย  ด้วยจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้

                                     (1)     เพื่อให้ความรู้   ให้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติตามวินัยอย่างไร   ถ้าฝ่าฝืน  ไม่ปฏิบัติตามวินัย

จะมีโทษและมีผลเสียอย่างไร   ทั้งนี้  เพื่อให้สำนึกในหน้าที่ที่จะต้องรักษาวินัยและมีความกลัวไม่กล้าทำความผิด

                                     (2)     เพื่อเตือนสติ  ให้มีสติสัมปชัญญะ  รักเกียรติ  รักศักดิ์ศรี  มีความบริสุทธิ์ใจ  มีอุดมคติ

ในการทำงาน และมีความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ   ซึ่งจะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตว์สุจริตให้เกิดผลดีและความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ

                                     (3)  เพื่อปรับทัศนคติ  ให้มีทัศนคติที่ดีต่อทางราชการและต่อเพื่อร่วมงาน  ต่อหน่วยงาน  ต่อผู้บังคับบัญชา  ตลอดจนต่อสังคม  โดยมีอุดมคติเพื่อส่วนรวม  ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือ  ร่วมใจ  และมีจิตมุ่งส่วนรวมในการทำงาน

                                     (4)  เพื่อปรับพฤติกรรม  ให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่มีวินัย

 

                                จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ  และพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกรม

สรรพากรต่อไป  เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าว  จำนวน               เล่ม  ไว้เรียบร้อยแล้ว  ขอได้ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบด้วย

 

ศิโรตม์   สวัสดิ์พาณิชย์

(นายศิโรตม์   สวัสดิ์พาณิชย์)

รองอธิบดี  รักษาการในตำแหน่ง

ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ  ปฏิบัติราชการแทน

อธิบดีกรมสรรพากร

 

 

 

            สำเนาถูกต้อง

            เพทาย   เพียรรู้จบ

        (นายเพทาย  เพียรรู้จบ)

                   นิติกร 3

 

 

 

ข้อบังคับทางวินัยและแนวทางการลงโทษ

ฝ่ายวินัย  กองการเจ้าหน้าที่

กรมสรรพากร

 

แนวทางการลงโทษทางวินัย

ลักษณะแห่งความผิดไม่ร้ายแรง   ได้แก่  ฐานความผิดดังต่อไปนี้

 

                                1.  ฐานความผิด  “ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  และเที่ยงธรรม”  ตามมาตรา 82 วรรคแรก

                                     ด้วยอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     1.1  ปฏิบัติหน้าที่การเงินและบัญชี  จัดทำหลักฐานการเบิกเกินกว่าจำนวนวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงาน  แล้วนำเงินส่วนที่เกินไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ใช้ในราชการ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     1.2  ไม่ปฏิบัติงานตามลำดับที่ที่ลงรับไว้ในทะเบียนรับเรื่อง  โดยลัดคิดให้แก่บุคคลอื่น  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                     1.3   เลื่อนการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ผู้ขอเบิกออกไป  1  เดือน แล้วนำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้อวัสดุสำนักงานของราชการ ภายหลังได้นำเงินมาจ่ายให้เจ้าหน้าที่ครบถ้วนแล้ว  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                     1.4  ไม่ชี้แจงข้อขัดข้องแก่ผู้มาติดต่อราชการ  กรณีไม่สามารถดำเนินการได้  โดยได้คืนหลักฐานและเงินที่รับไว้แก่ผู้มาติดต่อราชการ (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                2.  ฐานความผิด  “อาศัยหรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น”   ตามมาตรา 82  วรรคสอง

 

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     2.1  นำรถยนต์ของทางราชการไปทำธุรกิจส่วนตัวในระหว่างปฏิบัติหน้าที่  กับ  ไม่ควบคุม  กำกับการนำรถยนต์เก็บเข้าที่  เป็นเหตุให้ลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์  นำรถคันดังกล่าวไปทำธุรกิจส่วนตัว  และประสบอุบัติเหตุ  แต่เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการและบุคคลภายนอกแล้ว (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     2.2  นำเงินส่วนตัวของตนเองและพรรคพวกให้ข้าราชการและลูกจ้างกู้ยืมโดยคิดอกเบี้ย  และอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่เบิกจ่ายเงินเดือนหักเงินกู้จากเงินเดือนของผู้กู้ในแต่ละเดือน ทั้งที่มิได้มีการมอบฉันทะให้รับเงินแต่อย่างใด (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     2.3  นำรถยนต์บรรทุกเล็กของทางราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว  โดยขับไปเยี่ยมครอบครัวในวันศุกร์  แล้วขับกลับในวันอาทิตย์เป็นประจำ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     2.4  ใช้โทรสารของทางรากชาร  เวียนจดหมายของบริษัท  โฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยสิ่งพิมพ์  อันมีลักษณะเป็นธุรกิจส่วนตัว  (โทษ  ตัดเงินเดือน 5%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     2.5  ละทิ้งหน้าที่ราชการไป  1  วัน  อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ควบคุมดูแลสมุดบัญชีการลงเวลามาปฏิบัติราชการทำการลงลายมือชื่อมาปฏิบัติราชการในวันดังกล่าว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     2.6  ได้ใช้หรือมีส่วนรู้เห็นให้ลูกจ้างชั่วคราว   ตำแหน่งคนงานไปรดน้ำพรวนดินที่บ้านพักของตนเป็นครั้งคราว  โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                     2.7  สั่งซื้อสินค้าในนามของทางราชการ  เพื่อใช้เป็นการส่วนตัว  เมื่อไม่ชำระหนี้  ทำให้เจ้าหนี้ทวงหนี้มายังส่วนราชการ  ภายหลังเจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้ยินยอมรับสภาพหนี้  และชดใช้หนี้บางส่วนให้แก่บริษัทฯ  ดังกล่าวแล้ว  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                     2.8  นำรถยนต์ของทางราชการไปเยี่ยมญาตินอกเวลาราชการ  แต่ขับโดยประมาทเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย  ภายหลังได้ซ่อมรถยนต์จนใช้งานได้ดีดังเดิมแล้ว  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                3.  ฐานความผิด  “ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ”  ตามมาตรา 83

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     3.1  ไม่ควบคุม  ดูแล  ตรวจสอบแบบพิมพ์ว่ามีอยู่ครบถ้วน  ถูกต้องหรือไม่  เป็นเหตุให้แบบพิมพ์สูญหายไป  1  ฉบับ  โดยไม่ทราบสาเหตุ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     3.2  เจ้าหน้าที่หัวหน้าหน่วยพัสดุ  ไม่ควบคุมดูแล  การจัดทำและจัดส่งหนังสือ  แจ้งความประกวดราคาการจัดซื้อไปยังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  ส่งหนังสือแจ้งความไปยังสถานีวิทยุ  หลังจากได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว  ทำให้ไม่มีการประกาศทางสถานีวิทยุ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     3.3  ผู้บังคับบัญชาลงนามอนุมัติการลาของลูกจ้างไม่ถูกต้อง  โดยดำเนินการเกี่ยวกับใบลาเพียง  2  ฉบับ  จากใบลาที่ยื่น  7  ฉบับ  ของลูกจ้างดังกล่าว  และปล่อยปละละเลยให้รับเงินค่าจ้างในวันที่ไม่ได้มาปฏิบัติงานตามปกติ  อีกทั้งอนุมัติให้ลาออก  โดยไม่ได้ดำเนินการทางวินัย  กรณีไม่มาปฏิบัติราชการแต่อย่างใด  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     3.4   ไม่ระมัดระวังทำให้แบบพิมพ์สูญหายไป  จำนวน  90  ฉบับ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     3.5  ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย  และหากผู้รับผิดทางแพ่ง  ได้นำสำนวนซึ่งทำการสอบสวนเสร็จแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2532  เก็บไว้ในตู้เอกสาร  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง  แต่หลงลืมจนเวลาล่วงเลยถึงเดือนมีนาคม 2533  จึงนำออกมาเสนอ       ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     3.6   ได้สั่งราชการทางโทรศัพท์  เพื่อให้ผู้มาติดต่อกลับบ้านได้  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     3.7   ทำต้นขั้วใบเสร็จรับเงินสูญหาย  แต่ปรากฏว่าไม่มีการนำเอกสารที่สูญหายไปใช้ในทางมิชอบแต่อย่างใด  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                     3.8  ไม่ส่งรถเข้าซ่อมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและเสียค่าซ่อมน้อย  แต่ฝืนนำรถออกไปใช้งานจนกระทั่งรถอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถจะใช้งานได้ต่อไป จึงนำมาซ่อมทำให้ค่าซ่อมสูงขึ้น  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                     3.9  ไม่ทำรายงานอัตรากำกลังของข้าราชการส่วนต่าง ๆ  ให้กรมทราบ  เมื่อผู้บังคับบัญชาเร่งรัดก็บอกว่าได้จัดส่งไปแล้ว  แต่มากรมฯ เตือนก็เก็บหนังสือเตือนไว้ไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ  จนกระทั่งจัดทำรายงาน  งวดที่ 2  เสร็จ  ได้แก้ไขตัวเลขเป็นรายงานงวดที่ 1  ก่อนส่งกรมฯ  เพื่อดำเนินการต่อไป  (โทษ   ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     3.10  ไม่ตรวจนับจำนวน  และหมายเลขแบบพิมพ์  อีกทั้งไม่นำเก็บในตู้เอกสารทันทีที่ได้รับ  ทำให้แบบพิมพ์สูญหาย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     3.11  มอบให้ลูกจ้างชั่วคราวไปถอนเงินเพื่อใช้ในราชการเพียงลำพังคนเดียว  เป็นเหตุให้ลูกจ้างชั่วคราวทุจริตยักยอกเงินไปจำนวนหนึ่ง  นอกจากนี้ยังไม่ได้ทำบันทึกรายการรับจ่ายเงิน   ซึ่งเป็นงานในหน้าที่  ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น  จนกระทั่ง  สตง.ตรวจพบ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     3.12  ไม่ค่อยอยู่ปฏิบัติหน้าที่  มักจะให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทนเสมอ  ทำให้เกิดการผิดพลาดในการปฏิบัติงาน  ใช้เวลาราชการและสถานที่ราชการประกอบธุรกิจส่วนตัว  ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้งแล้ว  แต่ไม่เชื่อฟัง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)  

                                     3.13  ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่  แต่ไม่ส่งมอบงานในหน้าที่ให้แก่ผู้มารับหน้าที่ใหม่  หลีกเลี่ยงไม่ส่งมอบงานในหน้าที่ภายในระยะเวลาอันสมควร  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                     3.14  มีงานค้างอยู่ในความรับผิดชอบ  จำนวน  35  เรื่อง  ผู้บังคับบัญชาให้สะสานงานค้างภายใน  2  เดือน  ระยะเวลาล่วงเลยไป  4  เดือน  ยังมีงานค้างอยู่อีก  23  เรื่อง  นอกจากนี้ในการขอลาป่วย  ไม่เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนหรือในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ (โทษ ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                4.  ฐานความผิด  “ไม่อุตสาหะและไม่เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ”  ตามมาตรา 84  วรรคแรก

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     4.1  เจ้าหน้าที่พัสดุไม่จ่ายน้ำมันโดยไม่ได้จดเลขมิเตอร์ไว้เป็นหลักฐาน  เป็นเหตุให้น้ำมันสูญหายไปวันเดียว 470.8 ลิตร  โดยไม่ปรากฏมีผู้นำน้ำมันไปหรือจ่ายน้ำมันเกิดบัญชี  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     4.2  ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่จำนวนตรวจสอบภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน  2  ปี  นับแต่วันออกหมายเรียกโดยไม่แสดงเหตุผลเพื่อขออนุมัติผู้บังคับบัญชาขยายเวลาตามระเบียบ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     4.3  มีหน้าที่ในการเก็บเงินแต่ไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด  เป็นเหตุให้ยักยอกเงินค่าสาธารณูปโภคไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  จำนวน  47,754  บาท  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     4.4  ได้รับเอกสารสัญญารับสภาพหนี้ของผู้ต้องรับผิดทางแพ่งมาดำเนินการต่อ  แต่ไม่รีบดำเนินการกลับมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ระดับรองลงไปดำเนินการแทน  จนกระทั่งบุคคลทั้งสองพ้นจากตำแหน่งไป  ก็ยังไม่มีการบังคับผู้ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ชำระหนี้แต่อย่างใด  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     4.5  ร่วมกันลงลายมือชื่อในวันตรวจการจ้างซ่อมแซมบ้านพักสองหลังว่า  ผู้รับจ้างทำการซ่อมถูกต้องแล้ว  แต่ปรากฏว่าการซ่อมแซมไม่ถูกต้องตามสัญญา  21  รายการ  เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                     4.6  ลงชื่อในใบเสร็จรับเงินไว้ล่วงหน้า  เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่นำไปใช้ประกอบการทุจริต  แล้วเบียดบังเอาเงินของทางราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     4.7  ได้ร่วมกันตรวจรับงานจ้างไม่เป็นไปตามแบบแปลนที่ระบุไว้ในสัญญา  และราชการได้รับความเสียหาย  ภายหลังผู้รับเหมาได้ชดใช้เงินค่าเสียหายคืนให้แก่ทางราชการแล้ว  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     4.8  ได้นำแบบพิมพ์บางส่วนไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านพักโดยพละการและปล่อยปละละเลยให้ถูกปลวกกัดกินเสียหาย  และไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแบบพิมพ์เพื่อทำลายเอกสาร  กลับใช้ให้ผู้อื่นเผาแบบพิมพ์ที่ชำรุดดังกล่าว  เมื่อเผาแล้วก็ไม่รายงานผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                     4.9  รับผิดชอบในการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง  แต่ได้ดำเนินการขอขยายเวลาเบิกเงินงบประมาณไม่ทันกำหนดเวลา  เป็นเหตุให้ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                5.  ฐานความผิด  “ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ”  ตามมาตรา 84  วรรคแรก

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     5.1  แบบพิมพ์สูญหายไป  ขณะอยู่ในความรับผิดชอบของตน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     5.2  มีหน้าที่เก็บรักษาเงินค่าผ่อนส่งรถจักรยานต์และนำเงินส่งคลังจังหวัด  แต่ได้มอบหมายให้ลูกจ้างประจำนำเงินที่เก็บรักษาไว้ส่งคลังจังหวัดแทน  ปรากฏว่าลูกจ้างคนดังกล่าวได้ถือโอกาสยักยอกเงิน  แล้วหลบหนี้ไป  แต่ภายหลังเจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้หาเงินมาส่งใช้คืนครบถ้วนแล้ว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     5.3  มีหน้าที่นำบัตรภาษีส่งกรมบัญชีกลาง  ได้นำบัตรภาษีวางไว้ที่เชิงบันไดเพื่อเข้าห้องน้ำ  เป็นเหตุให้บัตรภาษีที่วางไว้สูญหายไป  ต่อมาได้ใช้ประกาศยกเลิกบัตรภาษีที่หายไป  จึงไม่เป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     5.4  ขับรถยนต์ของทางราชการแซงหน้ารถคันอื่นแต่ไม่พ้น  เป็นเหตุให้ชนกับรถที่วิ่งสวนมา  ได้รับความเสียหายและมีผู้บาดเจ็บ  แต่มาได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่คู่กรณี  และซ่อมรถยนต์ของทางราชการใช้การได้ตามปกติแล้ว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     5.5  เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีดทำสำนวนที่ส่งมาพิมพ์หาย  ในการส่งมอบไม่ปรากฏหลักฐานการรับส่ง  ต่อมาสำนวนนั้นหาไม่พบ  แต่กรณียังไม่เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง  เนื่องจากสำนวนในคดีที่หาไม่พบนั้น  ถึงที่สุดแล้ว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     5.6  ขับรถยนต์ของทางราชการไปปฏิบัติราชการ  เกิดอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกสิบล้อสองคัน  ซึ่งวิ่งสวนมาในลักษณะจะแซงกัน  ทำให้รถยนต์ของทางราชการได้รับความเสียหายและเจ้าหน้าที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ราชการแล้ว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     5.7  ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรประจำสำนักงาน  ได้อ่านหนังสือนอกมุ้ง  และจุดยากันยุงไว้  เมื่อเข้านอนลืมดับยากันยุง  เป็นเหตุให้ไฟลุกไหม้มุ้งและที่นอนทั้งหมด  และไหม้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายเล็กน้อย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

 

                                6.  ฐานความผิด  “ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย  ระเบียบของทางราชการ  ตามมติคณะรัฐมนตรี  และนโยบายของรัฐบาล”  ตามมาตรา 85 วรรคแรก

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     6.1  นำเงินส่งเกินกำหนดเวลา  (มีการกระทำผิดวินัยเป็นจำนวนมาก  ระดับโทษจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป)

                                     6.2  แต่งตั้งข้าราชการระดับ 1  เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ   ซึ่งไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  กำหนดให้ประธานฯ  เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3  ขึ้นไป  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     6.3  ได้ขออนุมัติทำการจ้างเหมาก่อสร้าง  แล้วให้ผู้ที่เสนอราคาได้ทำงานล่วงหน้าก่อนทำสัญญาจ้างเหมา  ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ.2521  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     6.4  ระเบียบกำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน  45  วัน  แต่ดำเนินการใช้เวลานานถึง  14  เดือน  ก่อนหน้านั้น  ผู้บังคับบัญชาเรียกมาว่ากล่าวตักเตือนก็ยังเพิกเฉย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     6.5  ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน  กลับมอบกุญแจและดวงตราประจำครั่งไวกับเจ้าหน้าที่  เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทุจริตเงินค่าธรรมเนียมไปเป็นเงิน  21,115  บาท  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                     6.6  ลงรับในบัญชีผิดพลาดเงินขาดบัญชีไป  45  บาท  และไม่บันทึกรายการรับเงินในบัญชีเงินสดด้วย  เมื่อ  สตง. มาตรวจพบจึงไม่นำเงินลงบัญชี  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

 

                                7.  ฐานความผิด  “เปิดเผยความลับของทางราชการ”  ตามมาตรา 87  วรรคแรก

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     7.1  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6  นำความลับเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบพิเศษ  2  ขั้น  ไปเปิดเผยก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     7.2  ได้รับคำสั่งให้ทำการตรวจค้น  แล้วนำเรื่องการตรวจค้นไปแจ้งให้ผู้ที่จะถูกตรวจค้นทราบล่วงหน้าทำให้การตรวจค้นไม่เป็นผลเท่าที่ควร  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  6  เดือน)

 

                        8.  ฐานความผิด  “ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา”  ตามมาตรา  88  วรรคแรก

 

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     8.1  มีหน้าที่อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการ  เข้ามารับเวรล่าช้าเป็นเหตุให้ไม่มีผู้เชิญธงชาติลงจากยอกเสา  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.2  นักวิชาการ  ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา  ให้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินประจำวัน  แต่ไม่ตรวจสอบหลักฐานการรับเงินกับรายการในสมุดเงินสดว่าตรงกันหรือไม่  เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี  นำค่าเปรียบเทียบปรับไม่เป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.3  ไม่ได้มาอยู่เวรในสำนักงาน  เนื่องจาไปหามารดาซึ่งป่วยหนักและไม่สามารถกลับมาอยู่เวรได้ทัน  และไม่ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อสั่งการให้ผู้อื่นมาอยู่เวรแทนแต่อย่างใด  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.4  เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีไม่ดำเนินการให้กับผู้มาติดต่อให้แล้วเสร็นภายในกำหนดเวลาหนึ่งชั่วโมง  โดยไม่มีเหตุผลอันควร  ทั้งที่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาสั่งการเรื่องการเสียภาษีประจำปีให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.5  ไม่ยอมเข้าพบผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งการด้วยวาจา  เพื่อจะสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  แต่กรณียังไม่ถึงกับเกิดความเสียหายแก่ราชการ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.6  ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าของเรื่อง  และเป็นเลขานุการคณะทำงาน  แต่ได้ทำบันทึกข้อความถึงผู้บังคับบัญชาอ้างว่าไม่สันทัดที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว  ขอให้มอบหมายงานแก่ผู้อื่นแทนและปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.7  มีหน้าที่อยู่เวรและเป็นหัวหน้าเวร  ตั่งแต่เวลา  08.30 – 16.30  น.  แต่มาอยู่เวรเมื่อเวลา  13.30  น.  โดยอ้างว่าลืม  นอกจากนี้  ได้แก้ไขบันทึกสมุดตรวจเวร   โดยความยินยอมของผู้ตรวจเวร  จากข้อความ  “ไม่พบหัวหน้าเวรเนื่องจากยังมาไม่ถึง”  เป็นว่า  “ตรวจเวรแล้วเหตุการณ์ทั่วไปปกติ”  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     8.8  ขณะทำหน้าที่เวรได้ชักชวนเพื่อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมานั่งดื่มสุราในบริเวณสำนักงาน  เมื่อผู้บังคับบัญชาห้ามปรามให้เลิกกระทำดังกล่าว  และแสดงกิริยาวาจาไม่พอใจผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เ ดือน)

                                     8.9  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6  ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานธุรการ  ไม่รายงานเรื่องที่ลูกจ้างประจำกระทำผิดวินัย  ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา  จนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาถึง  2  ปีเศษ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     8.10  บุคลากร 6  ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบรรจุแต่งตั้ง  ถ่ายเอกสารสมุดประวัติของผู้บังคับบัญชาสูงสุดมาเก็บไว้  1  ชุด   ทั้งที่ได้มีคำสั่งห้ามมิให้ถ่ายเอกสารดังกล่าวอย่างเด็ดขาด  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     8.11  ได้รับคำสั่งให้ไปร่วมปฏิบัติการกับคณะแต่กลับปฏิเสธและแสดงกิริยาไม่สุภาพ  เอาแฟ้มงานมาโยนใส่โต๊ะทำงานของผู้อำนวยการต่อหน้าผู้ร่วมงานอื่น  พร้อมกับพูดว่า  “เอาคืนไปไม่ทำ”  แล้วเดินออกจากห้องไป  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     8.12  ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบสภาพบ้านเช่า  แล้วไม่ได้ไปตรวจสภาพบ้านเช่าจริง  แต่ลงนามในรายงานการตรวจว่าอนุญาตให้เช่าได้  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     8.13  นิติกร 4  ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งกรมฯ  ซึ่งสั่งให้กรอกแบบแสดงผลงานตามแบบประจำเดือน  โดยอ้างว่าลืม  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     8.14  ไม่ไปร่วมประชุมตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายโดยอ้างว่าท้องเสีย  นอกจากนี้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปริมาณที่กำหนด  ทำให้งานคั่งค้างจำนวนมากจนผู้บังคับบัญชาต้องมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติแทน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                     8.15  รับจ้างทำบัญชีให้ร้านค้า  แต่การกระทำไม่ก่อให้เกิดการเลี่ยงการเสียภาษีแต่อย่างใด  (โทษลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                9.  ฐานความผิด  “รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา”  ตามมาตรา 90 วรรคแรก

 

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     9.1  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์  ได้รับอนุญาตให้ลาไปต่างประเทศตั้งแต่วันที่  14  เมษายน  -  8  พฤษภาคม  2540  แต่ออกเดินทางไปต่างประเทศตั้งแต่วันที่  6  เมษายน  2540   โดยลาพักผ่อนและลาป่วย   ซึ่งปรากฏว่าไม่ได้ป่วยจริง  แต่ลาเพื่อมิให้ขาดราชการ  และการไปต่างประเทศในช่วงดังกล่าว  มิได้ขออนุญาตแต่อย่างใด  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     9.2  รายงานผู้บังคับบัญชาว่า  นำรถจักรยานยนต์ออกปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วรถจักรยานยนต์สูญหายไป  ผลการสืบสวนข้อเท็จจริง  ปรากฏว่าได้ขับออกไปรับประทานอาหารและทำธุระส่วนตัว  แต่ภายหลังได้ซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่มาชดใช้คืนแก่ทางรากชารแล้ว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     9.3  ได้ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชา  ในรอบปีงบประมาณ  จำนวน  31  ครั้ง  รวม  69  วัน  เนื่องจากมีภาระดูแลบุตรที่ยังเล็กอยู่ระหว่างการศึกษา  3  คน  กับยายอายุ  90  ปี  เมื่อบุตรป่วยจึงต้องคอยดูแล  และบางวันไม่มีเงินไปทำงานต้องยื่นใบลาป่วยเป็นเท็จ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     9.4  ได้เสนอเอกสารประกาศ  และสอบคัดเลือกอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา  โดยแสดงว่าตนเป็นผู้ผ่านการสอบคัดเลือก  เพื่อประกอบการประเมินให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น  (โทษ  ตัดเงินเดือน  5%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                     9.5  รับอยู่เวรรักษาการแทนผู้อื่น  ได้ลงชื่อรับเวรเวลา  16.30  ครั้งเวลา  17.00  น.  ได้หายไปโดยไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่  แล้วรายงานผู้บังคับบัญชาว่าท้องเดิน  แต่วันรุ่งขั้นบันทึกชี้แจงหัวหน้าเวรว่าไม่มีเงินรับประทานอาหารตั้งแต่กลางวัน  ตอนเย็นจึงกลับบ้าน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                     9.6  เจ้าหน้าที่สองคนได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการเพื่อรับรถยนต์  และขนครุภัณฑ์หลายรายการ  บุคคลทั้งสองไม่ได้เดินทางไปและกลับด้วยกันแต่ได้ทำเรื่องขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและกลับพร้อมกัน  เป็นเหตุให้การจัดทำเอกสาครการเดินทางครั้งนี้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                     9.7  รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา  โดยปลอมแปลงใบรับรองแพทย์จากสมควรได้รับการพักผ่อน  2  วัน  แต่เป็น  12  วัน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                     9.8  แก้ไขใบรับรองแพทย์จากเดิมเห็นควรอยู่รักษาเป็นเวลา  1  วัน  แต่เป็น  4  วัน  โดยเจตนาที่จะได้มีวันลามากขึ้น  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                     9.9  มีหน้าที่เข้าตรวจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เวรรักษาการณ์กลางคืน  ได้บันทึกรายงานว่าเหตุการณ์ทั่วไปปกติ  ทั้งที่ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวรถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในข้อหาลักลอบเล่นการพนัน  ต่อมามีบัตรสนเท่ห์เรื่องดังกล่าว  ก็รางานข้อกล่าวหาตามบัตรสนเท่ห์  ไม่มีมูลความจริงอันเป็นการปกปิดความผิดของใต้บังคับบัญชาและรายงานเท็จ  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                     9.10  รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่าส่งหมายเรียกแล้ว  ต่อมาได้บรรเทาผลร้ายให้ผู้ถูกหมายเรียกและเรียกมาพบภายในกำหนดเวลา  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                     9.11  สมมุติข้อเท็จจริงและพยานบุคคล  โดยไม่ได้ออกไปสืบเสาะหรือสอบปากคำแต่อย่างใด  แต่ข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นรายงานเท็จนั้น  ไม่ใช่สาระสำคัญ  (โทษ ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                10.  ฐานความผิด  “ไม่ถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ”  ตามมาตรา 91

                                       ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น   

                                       10.1  ไม่ส่งมอบบ้านพักตามระเบียบ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.2  ไม่เดินทางไปทรายงานตัวช่วยราชการภายในกำหนดเวลา  และไม่รายงานผู้บังคับบัญชาทราบถึงสาเหตุที่ไม่สามารถเดินทางได้ภายในกำหนดเวลา  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.3  ไม่ส่งใบลาตามระเบียบว่าด้วยการลา  แต่จัดส่งใบลาในวันที่ผู้บังคับบัญชาเรียกมาสอบถาม  และผู้บังคับบัญชามิได้อนุญาตการลา  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.4  ไม่ลงชื่อและเวลามาปฏิบัติราชการ  รวม  5  วัน  และไม่ลงเวลากลับรวม  13  วัน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.5  ขาดราชการโดยอ้างว่าป่วย  โดยไม่มีใบรับรองแพทย์ประกอบการลาตามระเบียบ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.6  ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีล้มละลายและถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว  แต่ไม่รายงานการถูกฟ้องคดีให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.7  หลักจากลาสิกขาบทแล้ว  ไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงเหตุที่ไม่อาจกลับมาปฏิบัติราชการได้ในเวลาอันสมควร  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.8  ใช้สิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้าน  แต่เข้าพักอาศัยเพียง  6  เดือน  หลังจากนั้นได้ย้ายออกไปเช่าบ้านใหม่  แต่ยังใช้หลักฐานการเช่าบ้านเดิมและไม่แจ้งต้นสังกัดทราบ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.9  ถ่ายรูประดับเหรียญติดลงใน  ก.พ.7   โดยยังไม่ไดรับพระราชทานเหรียญ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.10  ไม่ยื่นใบลาป่วยในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       10.11 ไม่รายงานการถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาลักลอบเล่นการพนันให้ผู้บังคับบัญชาทราบ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                        10.12  ลงชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการแทนเพื่อน  ซึ่งไม่ได้มาปฏิบัติราชการ

                                       10.13  เข้าศึกษาภาคสมทบโดยไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาตามระเบีบบและใช้เวลาราชการไปศึกษาบางครั้ง  กับลาป่วย  1  วัน  โดยไม่ยื่นใบลาป่วยตามระเบียบว่าด้วยการลา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                       10.14  ไม่ยื่นใบลาในทันที  แต่จัดส่งใบลาพร้อมใบรับรองแพทย์เมื่อผู้บังคับบัญชาทวงถาม  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                       10.15  ให้เพื่อนปลอมลายมือชื่อของตนในสมุดลงเวลา  เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจว่ามาทำงาน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                       10.16  ไม่ยื่นใบลาป่วยในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ  และผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาตการลา  เพราะเห็นว่าเป็นการลาเท็จ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       10.17  ไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาเมื่อออกนอกเขตจังหวัด  และหยุดราชการเมื่อลาป่วย  แต่ไม่ส่งใบลาทั้งที่สามารถกระทำได้  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       10.18  มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ  แต่ไม่ได้ลงชื่อและเวลามาปฏิบัติราชการด้วยตนเองกลับใช้ให้ผู้อื่นลงชื่อและเวลาปฏิบัติราชการแทน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       10.19  ลงลายมือชื่อโดยไม่มีอำนาจและเป็นผู้กำหนดและลงเลขออกหนังสือ  วันเดือนปี  ออกหนังสือเอง  โดยไม่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

 

                                       10.20  ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านพัก  โดยไม่ได้พักอาศัยอยู่บ้านเช่าหลังดังกล่าวเป็นเวลา  5  เดือน  หลังจากทักท้วง  จึงได้คืนเงินค่าเช่าบ้านให้แก่ทางราชการ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       10.21  ยื่นใบลาแต่ไม่ได้แนบใบรับรองแพทย์มายืนยันการลาป่วยผู้บังคับบัญชา  จึงไม่อนุญาตการลา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       10.22  เบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตรและค่ารักษาพยาบาลบุตร  จำนวน  2  คน  หลังจากยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น  เนื่องจากไม่ทราบหลักเกณฑ์  ต่อมาได้นำเงินที่เบิกไปทั้งหมดส่งคืนกองคลัง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       10.23  ไม่มาปฏิบัติงาน  แต่ขอให้บุคคลอื่นลงชื่อแทนรวม  5  ครั้ง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       10.24  มาปฏิบัติราชการแต่ไม่ลงชื่อในสมุดลงเวลารวม  6  วัน  ละทิ้งหน้าที่ราชการ  4  วัน  โดยไม่ยื่นใบลา  กลั่นแกล้งให้ครอบครัวผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       10.25  ขาดราชการ  โดยไม่ได้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบถึงสาเหตุจำเป็นที่มาปฏิบัติราชการไม่ได้  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                       10.26  ใช้โทรศัพท์ทางไกลโดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 29 ครั้ง (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                11.  ฐานความผิด  “ละทิ้งหน้าที่ราชการ”  ตามมาตรา 92

                                        ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                        11.1  ละทิ้งเวรรักษาการณ์ออกไปรับประทานอาหาร  โดยไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา  กลับมานั่งคุยกับเพื่อนจนกระทั่งเลิกงาน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                        11.2   ละทิ้งหน้าที่ราชการไป  5  วัน  เพื่อออกติดตามลูกหนี้ที่ตนค้ำประกัน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                        11.3  นำสุรามาดื่มบนที่ทำงาน  ขาดราชการ  มีอาการเมาสุราตลอดทั้งวัน  บางครั้งก็นอนหลับบนโต๊ะทำงาน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.4  ลงชื่อปฏิบัติราชการ  และละทิ้งหน้าที่ราชการออกไปทำธุระโดยไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.5  ใช้เวลาในการเดินทางไปรายงานตัวนานเกินสมควร  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.6  มาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่สม่ำเสมอ  ละทิ้งหน้าที่ราชการไปข้างนอกนาน ๆ  เป็นประจำ  ผู้บังคับบัญชาตัดเตือนแล้วก็ไม่ดีขึ้น  เข้าไปในสถานที่อันไม่สมควร  และคบชายไม่เลือกหน้า  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.7  เข้าปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรล่าช้า  ในสภาพมึนเมาสุรา  และลงเวลาเข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงกับความจริง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.8  เบียดบังเวลาราชการไปทำธุระส่วนตัวและไม่ดำเนินการกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งกระทำผิด  (โทษ  ตัดเงินเดือน  5%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.9  ไม่รีบกลับมารายงานตัวปฏิบัติหน้าที่รากชาร  เมื่อครบกำหนดการลาศึกษาต่อ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        11.10  ไม่จัดส่งใบลาและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา  กลับเพิกเฉยไม่ยอมชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชาทราบ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                        11.11  มาทำงานายและกลับก่อนเวลา  ละทิ้งหน้าที่รากชารรวม  7  วัน  ไม่ได้ยื่นใบลาป่วยในวันแรกที่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ กับลงชื่อในสมุดมาปฏิบัติราชการย้อนหลังในวันที่ขาดราชการ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                        11.12  หน้าที่เข้าเวรแต่ออกไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา  เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายเล็กน้อย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                        11.13  ละทิ้งหน้าที่ราชการ  ขับรถยนต์ส่วนกลางออกไปบ้านพัก  โดยไม่ขออนุญาตผู้มีอำนาจรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า  ต่อมาได้ใช้ค่าเสียหายแก่ทางราชการ  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                        11.14  ลาศึกษาต่อ  แต่ถูกจำหน่วยชื่อออกจากทะเบียบนักศึกษาและไม่มารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการ  ในวันที่รู้ว่าหมดหน้าที่จะเป็นนักศึกษา  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                12.  ฐานความผิด  “ไม่สุภาพเรียบร้อย”  ตามมาตรา 93

                                       ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                       12.1  พูดจาท้าทายและด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคายและเดินด่าทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       12.2  กล่าวหาและตำหนิผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       12.3  ทำร้ายเพื่อนข้าราชการได้รับบาดเจ็บ  (โทษภาคทัณฑ์)

                                       12.4  เกิดโทสะท้าทายลูกจ้างประจำออกไปชกต่อยข้างนอกสำนักงาน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       12.5  ชกต่อยเจ้าหน้าที่พิมพ์ดีดได้รับบาดเจ็บ  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       12.6  พูดจาดุด่าเจ้าหน้าที่  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ด้วยถ้อยคำหยาบคาย  เข้าไปทำร้ายและผลักอก  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       12.7  กล่าววาจา  “ทำไมต้องมาแสลนเรื่องของกู  คนอย่างมึงอ้าปากก็เห็นลิ้นไก่”

                                       12.8  ตบหัวหน้าฝ่าย  ซึ่งทำหนังสือว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการทำงานไม่เรียบร้อย  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       12.9  ใช้วาจาไม่สุภาพเรียบร้อยและแสดงกิริยาก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  5%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.10  ดุด่าข้าราชการอื่นด้วยถ้อยคำอันหยาบคายเป็นประจำ  แสดงกิริยามารยาทไม่เรียบร้อย  ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานบ่อยครั้ง  ถึงขั้นจะทำร้ายร่างกายข้าราชการที่เป็นสตรี  (โทษ  ตัดเงินเดือน  5%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.11  ชกต่อยหัวหน้าฝ่ายบริหาร  เนื่องจากไม่พอใจที่เรียกให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมประกอบเรื่องยืมเงินทดรอง  (โทษ ตัดเงินเดือน  5%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.12  ไม่แสดงความเคารพยำเกรง  และให้เกียรติผู้บังคับบัญชาขณะเดินตรวจดูความเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและพูดจากระทบกระเทียบ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.13  เคาะประตูห้องผู้บังคับบัญชาจนโชคอัพประตูหลุด  และเข้าไปในห้องประชุมเล็กใช้มือสองข้างจับไหล่ข้าราชการหญิงเขย่าอย่างแรงพร้อมกับพูดว่า  “กูจะเอามึงทำเมีย”  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2   เดือน)

                                       12.14  เสพสุรามึนเมาพูดจาดูหมิ่นท้าทายผู้บังคับบัญชาต่อหน้าราชการและประชาชน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.15  แสดงอารมณ์โกรธ  ขู่  อาฆาต  ผู้บังคับบัญชา  และเหวี่ยงใบลาออกลงบนโต๊ะผู้บังคับบัญชา  พร้อมพูดคำว่า  “ผมขอลาออกขอให้เซ็นให้ผมเดี๋ยวนี้”  ต่อหน้าข้าราชการหลายคน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.16  ชี้หน้าด่าเพื่อนข้ารากชารด้วยความเข้าใจผิดว่าถูกกลั่นแกล้ง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       12.17  โต้เถียงกับเพื่อนข้ารากชาร  ชักอาวุธปืนออกมาทำท่าจะยิงและใช้อาวุธปืนตีไปที่ศรีษะ  จนเพื่อนข้าราชการได้รับบาดเจ็บ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       12.18  เสพสุราจนมีอาการมึนเมา  ใช้มือจับก้นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งเป็นสตรี  กล่าววาจาไม่สุภาพก้าวร้าว  ชวนวิวาทกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       12.19  เสพสุราจนมีอาการมึนเมา  แสดงกิริยาไม่สุภาพเรียบร้อยต่อหน้าเพื่อนข้าราชการและราษฎร  กล่าววาจาหยาบคายผ่านเครื่องขยายเสียง  นอกจากนี้ได้กล่าวถ้อยคำลวนลามข้าราชการสตรี (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                       12.20  ใช้มีดปอกผลไม้  ทำร้ายร่างกายข้าราชการอื่น  ต่อมาสำนึกผิดจึงได้ขอโทษ  และคู่กรณีไม่ติดใจเอาความแต่อย่างใด  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

 

                                13.  ความผิด  “ไม่รักษาความสามัคคี”  ตามมาตรา 93

                                       ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                       13.1  ขว้างที่ทับกระดาษเข้าไปในห้องข้ารากชารอื่และห้องตัวเอง  เป็นเหตุให้กระจำประตูแตก  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       13.2  ใช้กำลังทำร้ายเพื่อนข้าราชการ  บริเวณแขนซ้ายเป็นรอยฟกซ้ำ  ผู้ถูกทำร้ายไม่ได้แสดงอาการตอบโต้แต่อย่างใด  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

 

                                14.  ฐานความผิด  “ไม่ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่”  ตามมาตรา  93             

                                        ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                        14.1  บาดหมาง  โกรธเคืองกับเพื่อนข้ารากชาร  เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบถึงการปฏิบัติงานในหน้าที่  และมีส่วนร่วมรู้เห็นในการประชุมวางแผนกับกลุ่มเดินขบวนเพื่อมิให้ตนเองต้องย้ายไปรับตำแหน่งใหม่  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                        14.2  ถูกทักท้วงจากเพื่อนข้าราชการที่ปฏิบัติงานร่วมกัน  จึงเกิดความไม่พอใจจนทำให้การประสานงานระหว่างบุคคลทั้งสองมีปัญหา  เนื่องจากไม่พูดจากัน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

 

                                15.  ฐานความผิด  “ไม่ต้อนรับ  ให้ความสะดวก  ไม่ให้ความเป็นธรรม  ไม่ให้การสงเคราะห์  ดูหมิ่น  เหยียดยาม  กดขี่  หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ  ตามมาตรา 94

                                       ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                       15.1  ไม่ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อ  โดยละเอียด  และไม่ให้คำแนะนำที่ชัดเจนเพียงพอเป็นเหตุให้ผู้มาติดต่อราชการ  จำต้องติดต่อหลายครั้ง  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       15.2  บ่นกับตัวเองด้วยเสียงอันดังขณะปฏิบัติหน้าที่  และต่อหน้าประชาชนผู้มาติดต่อราชการ  ซึ่งเป็นชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามว่า  “ทำงานเหมือนหมูเหมือนหมาแล้วยังไม่ได้ดีอีก”  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       15.3  เรียงลำดับผู้มาติดต่อราชการผิดพลาด  ผู้มาติดต่อราชการทักท้วง  ก็ไม่แก้ไข  กลับพูดจาท้าทาย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%   เป็นเวลา  2  เดือน)

 

                                16.  ฐานความผิด  “กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์  อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน”  ตามมาตรา 95

                                       ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                       16.1  ร่วมกับบุคคลภายนอกอีก  2  คน  ออกเงินกู้โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ  10  ต่อเดือน  ได้รับผลประโยชน์แล้วนำมาแบ่งกัน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       16.2  ได้รับเงินค่าตอบแทนครั้งละไม่เกิน  500  บาท  ในการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อ  ทั้ง ๆ  ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด  (โทษ  ตัดเงินเดือน 10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

 

                                17.  ฐานความผิด  “ประพฤติชั่วไม่ร้ายแรง  ประพฤติตนไม่สำรวม”  ตามมาตรา 98  วรรคแรก

 

                                       ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

17.1ให้ถ้อยคำเป็นพยานรับรอง  ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เหตุการณ์  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.2  ไม่ชำระค่าเลี้ยงดูบุตรตามคำสั่งศาลทั้งที่มีทรัพย์สินเพียงพอ  ทำให้ภรรยาเดิม  และบุตรได้รับความเดือนร้อน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.3  ถูกแจ้งความดำเนินคดีเกี่ยวกับเช็ค  แต่ภายหลังประนีประนอมยอมความกันได้  (โทษ ภาคทัณฑ์)

                                       17.4  ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายลงโทษจำคุก  2  ปี  รอการลงโทษไว้มีกำหนด  1  ปี  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.5  ดื่มสุราจนมึนเมา  พูดจาดูหมิ่นเจ้าหน้าที่อื่น  จึงถูกจับกุมคดีอาญาศาลลงโทษจำคุก  1  ปี  แต่รอการลงอาญา  การถูกดำเนินคดีไม่รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ   (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       17.6  ไม่อยู่ในความช่วยเหลือหรือแสดงความรับผิดชอบกรณีสุนัขซึ่งเลี้ยงไว้ในบ้านพักเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ  และเดินทางไปต่างจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       17.7  ไม่นำผ้าป่าไปถวายตามกำหนดนัดหมาย  ชาวบ้านและวัดต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ  ต่อมาได้นำเงินไปถวายวัดและชดใช้ค่าอาหารแล้ว  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       17.8  ใส่ความเป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งไม่เป็นความจริง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       17.9  แย่งปืนโดยกอดปล้ำกันบนรถโดยสาร  เป็นเหตุให้อาวุธปืนลั่นถูกผู้โดยสาร  3  คน  ได้รับบาดเจ็บ  พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  2  ขั้น)

                                       17.10  เก็บของตกได้นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  โดยมิได้มีการสืบหาตัวผู้เป็นเจ้าของ  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  2  ขั้น)

                                       17.11  ดื่มสุราจนมีอาการมึนเมา  ส่งเสียงดังรบกวนผู้เข้าอบรมคนอื่น  ผู้บังคับบัญชาเคยว่ากล่าวตักเตือนอยู่เสมอ  แต่ไม่ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.12  มึนเมาสุรามาปฏิบัติราชการเดือนละ  1 – 2  ครั้ง  ก่อความรำคาญแก่เพื่อนร่วมงาน  ผู้บังคับบัญชาเคยว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อฟัง  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.13  ระหว่างอบรมได้หยิบสุราออกมาดื่มในห้องอบรม  ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.14  มาปฏิบัติราชการในลักษณะเมาสุราครองสติไม่อยู่  ส่งเสียงดังแสดงวาจาก้าวร้าว  หยาบคายต่อเพื่อนร่วมงานจนเป็นที่รำคาญ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  5%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                       17.15  ติดพันหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยา  โดยไม่กลับไปเยี่ยมภรรยา  มีปากเสียงทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาเป็นประจำ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                       17.16  ดื่มสุราก่อนเข้ารายงานตัว  มีอาการมึนเมา  ยืนโงนเงิน  ทรงตัวไม่ค่อยอยู่และกล่าวว่าเมาอย่างนี้ทุกวันแต่งานไม่เสีย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.17  ดื่มสุรามาปฏิบัติราชการเป็นประจำ  และทอดทิ้งงานไปดื่มสุราบ่อยครั้ง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       17.18  ดื่มสุราและพูดสนับสนุนให้พนักงานขับรถยนต์ขับรถเร็วขึ้น  ร่วมกับพนักงานขับรถยนต์ของสำนักงบฯ  ออกไปทำธุระส่วนตัว  โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  เดือน)

                                       17.19  ดื่มสุราจนมึนเมา  รูดซิบกางเกงก่อนถึงห้องน้ำ  ทำให้ข้าราชการหญิงเห็นอวัยวะเพศ  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                       17.20ไม่ชำระหนี้กู้ยืมให้บุคคลภายนอก  ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง  ต่อมาพี่สาวได้ชำระหนี้แทน  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.21  ไม่ชำระหนี้กู้ยืมตามคำสั่งศาล  ถูกร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาจึงยินยอมชำระหนี้  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.22  ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.23  มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวจนถูกภรรยาร้องเรียน  ต่อมาได้หย่าขาดกับภรรยาแล้ว  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.24  มีความสัมพันธ์สนิทสนมใกล้ชินดกับข้ารากชารซึ่งมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้งก็ไม่เชื่อฟัง  (โทษ  ภาคทัณฑ์) 

                                       17.25  ไปมาหาสู่เพื่อนร่วมงาน  ซึ่งเป็นหญิงทั้งเวลากลางวันและกลางคืนในลักษณะสองต่อสอง  จนกระทั่งภรรยาเกิดความหึงหวง  และทะเลาะวิวาทกัน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1   เดือน)

                                       17.26  ทิ้งภรรยาไปอยู่กินกับหญิงอื่นจนมีบุตร  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.27  จดทะเบียนสมรสซ้อน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา   2  เดือน)

                                       17.28  อยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยากับชายอื่น  ซึ่งมีภรรยาแล้ว  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.29  เมื่อมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น  2  คน  กลับไม่ดูแลเอาใจใส่  และทำร้ายร่างกายภรรยาตนเอง  จนถูกดำเนินคดี  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.30  ทะเลาะวิวาทตบตีกับภรรยาชายที่ตนชอบ  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  1  เดือน)

                                       17.31  อยู่กินกันฉันสามีภรรยากับหญิงอื่น  โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  เมื่อหญิงตั้งครรภ์กลับทอดทิ้งและให้ไปทำแท้ง  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  3  เดือน)

                                       17.32  มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น  โดยแต่งงานและอยู่ร่วมกัน  3 – 4  เดือน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  3  เดือน)                 

                                       17.33  มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นจนกระทั่งมีบุตรด้วยกันเป็นเหตุให้ภรรยาร้องเรียน  เนื่องจากไม่อุปการะเลี้ยงดูบุตรและภรรยา  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       17.34  จดทะเบียนสมรสซ้อน  ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกแต่รองลงอาญา  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                       17.35  มีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายและบุตรแล้ว  แต่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกับข้าราชการหญิงเกินปกติ  และปฏิบัติต่อตนเสมอเป็นสามีภรรยา  เห็นเหตุให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด  (โทษ  ลดขั้นเงินเดือน  1  ขั้น)

                                       17.36  จับมือถือแขนหญิงสาว  ขณะนั่งคุยกันสองต่อสองที่ระเบียงบ้านของหญิงผู้นั้น  ผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นนั้น  (โทษ  ภาคทัณฑ์)

                                       17.37  เสพสุราจนมึนเมากระทำลวนลามน้องสาวของเพื่อน  โดยการจับมือ  โอบกอด  ภายหลังยอดชดใช้ค่าเสียหาย  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  2  เดือน)

                                       17.38  เมาสุราจนครองสติไม่ได้  โอบกอดภรรยาผู้อื่นจนถูกขับไล่ออกจากบ้าน  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

                                       17.39  ปลอมลายมือชื่อผู้บังคับบัญชารับรองการกู้เงินฉุกเฉินของตนจากสหกรณ์  (โทษ  ตัดเงินเดือน  10%  เป็นเวลา  4  เดือน)

 

 

ลักษณะแห่งความผิดวินัยร้ายแรง  ได้แก่ฐานความผิดดังต่อไปนี้

 

                             1.  ฐานความผิด  “ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ”  ตามมาตรา 82  วรรคสาม

                                     1.1  เรียกร้องและรับเงินในการขยายฐานภาษี  หรือตรวจปฏิบัติการ  หรือการตรวจสอบภาษี  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.2  เรียกร้องและรับเงินในการสำรวจแหล่งภาษี  เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ต้องส่งเรื่องให้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.3  ออกใบเสร็จรับเงินฉบับของผู้เสียภาษีเต็มทั้งจำนวน  แต่ฉบับของเจ้าพนักงานออก  ไม่มีเงินเรียกเก็บ  หรือมีเงินเรียกเก็บแต่มูลค่าต่ำกว่าฉบับของผู้เสียภาษี  แล้วยักยอกเป็นประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.4  ฉ้อโกงคืนภาษีอากรด้วยการแก้ไขแบบแสดงรายการที่ขอคืนเป็นเงินสด  เป็นโอนเข้าบัญชีธนาคารของตนเอง  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.5  ฉ้อโกงเงินคืนภาษีอากรด้วยการแก้ไขแบบแสดงรายการที่ขอคืนให้โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้เสียภาษี  เป็นโอนเข้าบัญชีธนาคารของตนเอง  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.6  รับฝากหรือยื่นแบบแสดงรายการ  ภ.พ.30  แล้วทำการแก้ไขแบบ ภ.พ.30  ให้มีภาษีซื้อเพิ่มขึ้น  ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องชำระต่ำลง  แล้วทำการยักยอกเงินส่วนตัวเป็นประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.7  ทำการแก้ไขแบบแสดงรายการที่ชำระภาษีด้วยแคชเชียร์เช็ค  ให้ไม่มีเงินเรียกเก็บ  หรือมีเงินเรียกเก็บ  แต่ต่ำกว่ามูลค่าตามแคชเชียร์เช็ค  แล้วนำเงินที่เหลือตามเช็คไปชำระให้แก่ผู้เสียภาษีรายอื่น  ซึ่งชำระด้วยเงินสด  ต่อจากนั้นทำการยักยอกเงินสดเป็นประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.8  กรณีมีผู้เสียภาษีมาชำระภาษีด้วยเงินสด  จะออกใบเสร็จรับเงินด้วยการไขว้รายการเป็นชำระด้วยเช็คของตนหรือพวกพ้อง  แล้วทำการยักยอกเงินสดเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.9  กรณีมีผู้เสียภาษีมาชำระภาษีด้วยเงินสด  จะออกใบเสร็จรับเงินเป็นเงินสด  แต่เมื่อสิ้นวันทำการจะไขว้รายการจากเงินสดเป็นเช็คของตนเองหรือพวกพ้อง  แล้วทำการยักยอกเงินสดเป็นประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.10  มีหน้าที่ทำบัญชีและรายงานต่าง ๆ  พร้อมทำหน้าที่นำเงินรายได้แผ่นดินส่งคลังด้วย  แล้วทำการยักยอกเงินรายได้แผ่นดินเป็นประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.11  ทำการยักยอกเงินค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้สอยเป็นประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.12  จ่ายเงินคืนภาษีอากร  ทั้ง ๆ ที่มีหนี้ภาษีอากรค้าง  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.13  ร่วมมือกับบุคคลภายนอกปลอมใบกำกับภาษี  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.14  มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก  ซึ่งปลอมใบกำกับภาษี  ด้วยการรับรองผลการตรวจปฏิบัติการสอบยันหรือตรวนคืน  ว่าถูกต้องทั้ง ๆ ที่มิได้มีการประกอบกิจการจริง  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.15  มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกซึ่งปลอมใบกำกับภาษี  ด้วยการเป็นผู้แทนหรือพาไปพบเจ้าพนักงานประเมิน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.16  ออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้เสียภาษีแล้ว  ต่อมาทำใบเสร็จรับเงินเสีย  โดยไม่มีการออกใบเสร็จรับเงินฉบับใหม่แทน   ส่วนแบบแสดงรายการได้ส่งหน่วยเหนือบันทึกข้อมูลตามปกติ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.17  นำเงินส่งคลังเกินกำหนด  3  ครั้ง  โดยแต่ละครั้งไม่ได้มอบเงินให้กรรมการเก็บรักษาเงินนำไปเก็บในตู้นิรภัยของอำเภอ  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.18  นำเงินรายได้แผ่นดินไปหมุนใช้  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.19  เรียกเก็บเงินภาษีอากรค้าง  แต่มิได้ออกใบเสร็จรับเงิน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.20  รับเงินค่าภาษีอากรล่วงหน้าอาชญาบัตร  แต่มิได้นำส่งลงบัญชีตามระเบียบ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.21  ออกใบเสร็จรับเงินฉบับผู้เสียภาษีกับฉบับสำหรับเจ้าพนักงานไม่ตรงกัน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.22  ปลอมลายมือชื่อและแก้ไขใบแจ้งคืนเงินภาษีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.23  นำใบเสร็จรับเงินในรายที่ไม่มีเงินเรียกเก็บ  มาใช้ในรายที่มีเงินเรียกเก็บ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.24  รับเงินที่ราชพัสดุ  แต่ไม่นำลงบัญชีและนำส่งคลัง  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.25  เรียกเก็บเงินภาษี  170  บาท   แต่ออกใบเสร็จไม่มีมีเงินเรียกเก็บ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.26  ตรวจสอบและประเมินภาษี  โดยไม่มีการตรวจบัญชีที่แท้จริง  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.27  ไปตรวจนับสินค้า  แล้วข่มขู่เรียกเก็บเงิน  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.28  แก้ไขเพิ่มเติมจำนวนภาษีในใบเสร็จรับเงิน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.29  ยักยอกเงินรายได้แผ่นดิน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.30  เรียกร้องและรับนาฬิกา  1  เรือน  โดยรับปากว่าจะช่วยเหลือไม่ต้องเสียภาษีอากรค้าง  (โทษ  ให้ออก)

                                     1.31  เรียกร้องและรับเงินจากผู้ถูกหมายเรียกตรวจสอบ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.32  ตรวจสอบภาษีโดยตัดค่าใช้จ่ายต้องห้ามไม่ครบถ้วน  ทำให้ประเมินภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเสีย  (โทษ  ให้ออก)   

                                     1.33  เก็บรักษาเงินและนำส่งคลังไม่เป็นไปตามระเบียบ   โดยมีมูลน่าเชื่อว่านำเงินรายได้แผ่นดินไปหมุนใช้  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.34  อากรแสตมป์ที่อยู่ในความรับผิดชอบขาดจากบัญชีรับ – จ่าย  จำนวน  3,985  ดวง  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.35  เรียกร้องเงินจากผู้ถูกหมายเรียกตรวจสอบ  เพื่อช่วยเหลือให้ถูกประเมินภาษีน้อยลง  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.36  ซื้อสินค้าในช่วงออกหมายเรียกตรวจสอบ  (โทษ  ให้ออก)

                                     1.37  นำเช็คเงินสดค่าภาษีอากรไปเข้าบัญชีเงินฝากส่วนตัว  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.38  รับเงินจากที่ดินอำเภอ  แต่ไม่ออกใบเสร็จรับเงิน  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.39  ไม่นำเงินส่งคลังจังหวัดในวันที่ลงรายการ  เนื่องจากนำไปใช้ส่วนตัวก่อน  ภายหลังจึงได้นำส่งโดยแก้วันที่ในใบนำส่ง  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.40  เบียดยังเงินหมวดค่าใช้สอยเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว  แล้วปลอมแปลงแก้ไขเอกสารการเงินของทางราชการ  นอกจากนี้ได้ยักยอกเงินเดือนและค่าเช่าบ้านของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.41  ไม่นำเงินฝากคลังตามระเบียบ  ภายหลังเป็นเวลาหลายเดือน  สตง.  ตรวจพบจึงได้นำเงินฝากคลังจังหวัด  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.42  หักเงินค่าจ้าง  ซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้าง  แล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.43  นำเอกสารซึ่งเป็นคำตอบข้อสอบคัดเลือก   เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการ  ไปแจกจ่ายให้ผู้เข้าสอบบางคน  เพื่อช่วยเหลือให้สอบได้  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.44  เรียกและรับเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.45  เก็บเงินค่าผ่อนชำระตามโครงการเพื่อสวัสดิการ  แล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ปลดออก)

                                     1.46  นำเงินฌาปนกิจสงเคราะห์  และเงินเดือนเจ้าหน้าที่ไปชำระหนี้ส่วนตัวก่อน  ภายหลังได้นำเงินทั้งหมดมาคืนแก่ทางราชการแล้ว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.47  วางฎีกาเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการและลูกจ้างซ้ำซ้อน  เบิกเงินเพิ่มค่าครองชีพและเงินช่วยเหลือบุตรสูงกว่าหลักฐาน  แก้ไขยอดเงินและสำเนาใบเสร็จรับเงินและนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว  ต่อมาได้นำเงินมาส่งใช้คืน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.48  ออกใบเสร็จรับเงินโดยต้นฉบับและสำเนาใบเสร็จรับเงินมีรายการและจำนวนเงินไม่ตรงกัน  ต่อมาได้ชดใช้คืนให้แก่ทางราชการ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.49  รับเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้ว  ไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินและไม่นำไปชำระให้เงินค่าธรรมเนียมก็ไม่คืนให้  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.50  จัดทำใบตรวจรับพัสดุ  แล้วนำเงินจ่ายค่าพัสดุไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.51  ลักตั๋วแลกเงิน  ซึ่งชำระแก่ทางราชการ  แล้วนำไปรับเงินเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.52  รับเงินค่าภาษีเงินได้และค่าอากรแสตมป์  แล้วไม่นำส่งทุกวันตามระเบียบและยักยอกเงินดังกล่าวไป  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.53  เรียกร้องเงินโดยอ้างว่าเป็นค่าดำเนินการ  จนกระทั่งมีการร้องเรียนจึงคืนให้  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.54  ได้รับเงินรายได้แผ่นดิน  แล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก  2  ปี  6  เดือน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.55  เบิกเงินค่าธรรมเนียม  แล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.56  เบิกจ่ายเงินทั้งที่ลูกจ้างมาทำงานไม่ครบตามจำนวนวันที่เบิก  แล้วนำเงินส่วนเกินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.57  เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเช็คให้ตนเป็นผู้รับเงิน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     1.58  แก้ไขและปลอมแปลงเช็คให้ตนเป็นผู้รับเงิน  แล้วโอนเข้าบัญชีเงินฝากของตน  (โทษ  ไล่ออก)

 

                             2.  ฐานความผิด  “ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา  เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง”  ตามมาตรา 88  วรรคสอง

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     2.1  ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา  ที่สั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง  ณ  ที่แห่งอื่นทำให้ขาดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ  เสียระบบการปกครองบังคับบัญชาและก่อให้เกิดความเสียหาย  ในการบริหารราชการอย่างร้ายแรง  (โทษ  ไล่ออก)

 

                             3.  ฐานความผิด  “รายงานเท็จ  เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง”  ตามมาตรา 90  วรรคสอง

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     3.1  ไม่ส่งหมายเรียกแล้วรายงานว่านำไปส่งแล้ว  เห็นเหตุให้เสียหายแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี  ถือว่าเป็นความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง  (โทษ  ให้ออก)

                                     3.2  จัดทำคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จและใช้เอกสารที่จัดทำขึ้นเอง  เพื่อความสะดวกในการเบิกค่าเช่าบ้านจากทางรากชาร  (โทษ  ไล่ออก)

 

                             4.  ฐานความผิด  “ละทิ้งหน้าที่รากชารเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง”  ตามมาตรา 92  วรรคสอง

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     4.1  ไม่ได้ยื่นใบลาออกตามระเบียบทางราชการ  จึงไม่พิจารณาการลาออก  เมื่อปรากฏว่าไม่มาปฏิบัติราชการอีกเลย  จึงเป็นละทิ้งหน้าที่ราชการเกินกว่า  15  วัน  โดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางรากชาร  (โทษ  ปลดออก)

                                     4.2  ขาดราชการแล้วไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย  โดยไม่ได้ส่งใบลาหรือแจ้งเหตุผลให้ผู้บังคับบัญชาทราบแต่อย่างใด  (โทษ  ไล่ออก)

                                     4.3  ลาศึกษาต่อ  เมื่อพ้นสภาพนักศึกษาแล้ว  ไม่รีบกลับมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     4.4  ลาพักผ่อน  แล้วไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย  ต่อมาได้โทรเลขแจ้งขอลาออกจากราชการ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     4.5  ส่งจดหมายขอลาออกจากราชการ  โดยไม่จัดทำใบลาตามที่ทางราชการกำหนด  ผู้บังคับบัญชาจึงไม่พิจารณาอนุญาต  (โทษ  ไล่ออก)

                                     4.6  ไม่ปฏิบัติงานตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาและไม่กลับมารายงานตัวแต่อย่างใด  (โทษ  ไล่ออก)

                                     4.7  ขออนุญาตออกไปค้างคืนนอกสถานฝึกอบรม  แล้วไม่กลับเข้ารับการอบรมอีก  ครบกำหนดการฝึกอบรมแล้ว  ก็ยังไม่กลับไปรายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอีก  (โทษ  ไล่ออก)

                                     4.8  ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่อื่นได้รับบาดเจ็บและหลบหนี้ไป  ไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย  (โทษ  ไล่ออก)

 

                             5.  ฐานความผิด  “ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง”  ตามมาตรา 98  วรรคสอง

                                     ตัวอย่างเรื่องกล่าวหา  เช่น

                                     5.1  หลอกลวงผู้เสียภาษีว่า  สามารถช่วยเหลือให้ถูกประเมินภาษีน้อยลงได้  แล้วเรียกและรับเงินจากผู้เสียภาษี  อ้างว่าจะไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.2  รับฝากเงินภาษี  แต่ไม่นำไปชำระให้  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.3  ทุจริตในการสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.4  กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์  ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  1  ปี  6  เดือน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.5  ถูกจับกุมพร้อมของกลางธนบัตร  ดอลลาร์ปลอม  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.6  ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในฐานกรรโชกทรัพย์  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.7  มีส่วนเกี่ยวข้องและช่วยเหลือผู้ประกอบการปลอมใบกำกับภาษี  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.8 เสพสุราในเวลาปฏิบัติราชการเป็นเหตุให้มีอาการมึนเมาจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.9  เบิกค่ารถยนต์บรรทุกสัมภาระและสิ่งของใบการเดินทางไปรับตำแหน่งใหม่  ทั้งที่ข้อเท็จจริงมิได้มีการจ้างรถยนต์บรรทุกอย่างใด  แต่ได้ขอใบเสร็จรับเงินจากเอกสารมาประกอบการเบิกเงิน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.10  เบิกค่าเช่าบ้านทั้งที่ไม่ได้พักอาศัยและชำระค่าเช่าจริง  นอกจากนี้  ได้เขียนรายงานการเดินทางไปประชุมอันเป็นเท็จ  เพื่อขอเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะในการเดินทาง  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.11  หลอกลวงราษฎรว่า  สามารถฝากบุตรหลานเข้าทำงานได้  แล้วเรียกเงินค่าฝากเข้าทำงาน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.12  อ้างว่าจะช่วยเหลือให้สอบบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ  เพื่อหลองลวงเอาเงินจากผู้เข้าสอบ  หากไม่สามารถช่วยเหลือได้จะคืนเงินให้  ปรากฏว่า  ไม่มีผู้ใดสอบได้จึงคืนเงินให้  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.13  เรียกร้องโดยหลอกลวงว่าจะช่วยให้เข้าทำงาน  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.14  แอบอ้างและจัดทำเอกสารหนังสือประกาศรับสมัครบุคคลเข้าทำงานเป็นเท็จ  โดยเรียกและรับเงินตากผู้มาสมัคร  เป็นค่าตอบแทน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.15  หลอกลวงเอาเงิน  โดยสัญญาว่าจะช่วยให้สอบบรรจุเป็นภารโรงได้  โดยทำสัญญากู้ยืมไว้เป็นประกัน  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.16  เรียกร้องและรับโดยอ้างว่าจะช่วยเหลือให้สอบแข่งขันเข้ารับราชการได้ (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.17  แอบลักลอบได้เสียกับภรรยาของเพื่อนข้าราชการ  (โทษ ให้ออก)

                                     5.18  สนิทสนมและไปมาหาสู่กับภรรยาของเพื่อนข้าราชการทั้งกลางวัน กลางคืน ในที่สุดเพื่อนข้าราชการได้บันทึกตกลงยินยอมยกภรรยาให้  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.19  ลักลอบได้เสียกันทั้งที่ต่างฝ่ายมีคู่สมรสและมีบุตรอยู่แล้ว  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.20  มีบุตรและสามีแล้ว  ไปมีสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้อื่นและอยู่กินด้วยกันจนมีบุตร  จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสลาม  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.21  มีภรรยาและมีบุตรแล้ว  หลอกลวงหญิงอื่นเป็นภรรยาจนมีบุตรด้วยกันแล้วกลับทอดทิ้งนอกจากนี้ยังหลอกลวงให้หญิงนั้นลงนามยินยอมให้ตนมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หลังจากนั้นได้ฟองขับไล่หญิงนั้น  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.22  มีฝิ่นไว้ในครอบครองและใช้เสพ  ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่รอลงอาญา  (โทษ  ไล่ออก) 

                                     5.23  มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย  ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.24  ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม  ข้อหามียาเสพติดประเภทเฮโรอีนไว้ในครอบครอง  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.25  ใช้อุบายหลอกหลวงและปลุกปล้ำนักศึกษาซึ่งเคยฝึกงาน เกิดการต่อสู้ขัดขืนจนนักศึกษาคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ  (โทษ  ไล่ออก) 

                                     5.26  พยายามทุจริตในการสอบโดยลักลอบนำเอกสารเกี่ยวกับวิชาที่เข้าสอบ  เข้าไปในห้องสอบ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.27  คัดลอกข้อความในเอกสารที่ลักลอบนำเขาไปในห้องสอบลงในกระดาษคำตอบ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.28  ปลอมลายมือชื่อเพื่อนข้าราชการ  เพื่อขอกู้เงินฉุกเฉินจากสหกรณ์  และรับเงินไปในฐานนะผู้รับมอบอำนาจ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.29  ปลอมลามมือชื่อเจ้าหน้าที่อื่นและภรรยาในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้ให้ความยินยอมกับปลอมลายมือชื่อพยาน เพื่อใช้ประกอบการกู้เงินจากสหกรณ์  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.30  ปลอมสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากธนาคาร  เพื่อไปแสดงประกอบหลักฐานการขอหนังสือผ่านแดนเข้าไปประเทศอื่น  ศาลพิพากษาจำคุก  1 ปี  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.31  ลักเช็คปลอมลายมือชื่อ  นำไปเบิกเงินที่ธนาคาร  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.32  ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.33  ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกในข้อหามีแสตมป์สุราปลอมและเครื่องมือสำหรับปลอมแปลงแสตมป์รัฐบาลไว้ในครอบครอง  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.34   ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก  กรณีใช้อาวุธปืนยิงภรรยาถึงแก่ความตายโดยเจตนา  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.35  ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในข้อหาพยายามลักทรัพย์ของทางราชการ  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.36  ถูกจับกุมพร้อมของกลางเป็นเฮโรอีนไว้ในครอบครอง  เพื่อจำหน่าย  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.37  ใช้อาวุธปืนยิงขาราชการอื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส  ภรรยาและบุตรข้าราชการดังกล่าวถึงแก่ความตายด้วย  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.38  ถูกศาลพิพากษาจำคุกในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง  เพื่อจำหน่าย  (โทษ  ไล่ออก)

                                     5.39  เข้าร่วมเล่นการพนัน  และมีหนี้สินที่เกิดจากการเล่นการพนันและมีหนี้สิน  จนต้องขาดราชการบ่อย   (โทษ  ให้ออก)

                                     5.40  ชักชวนข้าราชการร่วมเล่นแชร์  และเกิดปัญหาจนต้องยกเลิกวงแชร์โดยไม่คืนเงินที่รับไปแก่สมาชิกวงแชร์  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.41  เรียกเก็บเงินจากผู้เสียภาษีหลายราย  นำไปหมุนใช้ประโยชน์ส่วนตัวจนกระทั่งถูกทวงถามจึงคืนให้  (โทษ  ให้ออก)

                                     5.42  ใช้หนังสือเดินทางปลอมเดินทางออกนอกราชอาณาจักร  (โทษ  ปลดออก)

                                     5.43  เรียกและรับเงินเพื่อเป็นค่าวิ่งเต้นช่วยคดี  จนกระทั่งถูกร้องเรียน  จึงนำเงินมาคืนจนครบ  (โทษ  ปลดออก)

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 26-05-2017