เมนูปิด

การคำนวณอากรแสตมป์

กรณีที่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 200 บาท และเศษของ 200 บาท ตามลักษณะตราสาร 28. ใบรับ(ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์โดย

  • นิติบุคคล คำนวณอากรแสตมป์จากราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
  • บุคคลธรรมดา คำนวณอากรแสตมป์จากราคาขายหรือประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

ลักษณะแห่งตราสารค่าอากรแสตมป์ผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์
28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้
(ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
(ข) ใบรับสำหรับการโอน หรือก่อตั้งสิทธิใดๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์  ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
(ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อหรือโอน
กรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ
ถ้าใบรับตาม (ก) (ข) หรือ (ค) มีจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ใบรับสำหรับรายรับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ
1 บาทผู้ออกใบรับผู้ออกใบรับ

คำเตือน ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่ขายไม่เข้าหลักเกณฑ์การยกเว้นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะท่านต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ในกรณีที่ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะท่านไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ และกรณีที่ท่านเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและได้เสียอากรแสตมป์ด้วย ท่านสามารถขอคืนอากรได้ โดยยื่น ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ภายใน 10 ปี นับแต่วันชำระอากรแสตมป์

คำนวณอากรแสตมป์

 

ปรับปรุงล่าสุด: 21-11-2022