เมนูปิด

ข้อ 26
การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

 

1.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญานี้หรือตามกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเกี่ยวกับภาษีอากรที่อยู่ในขอบข่ายของอนุสัญญานี้เท่าที่ภาษีอากรตามกฎหมายนั้นไม่ขัดกันกับอนุสัญญานี้ ข้อสนเทศใดที่ได้รับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งให้ถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้กฎหมายภายในของรัฐนั้น และจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งศาลและองค์การฝ่ายบริหาร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินหรือการจัดเก็บ การบังคับหรือการดำเนินคดี หรือการชี้ขาดคำอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่อยู่ในขอบข่ายของอนุสัญญานี้ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่เช่นว่านั้น จะใช้ข้อสนเทศนั้นเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์นั้นเท่านั้น บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจเปิดเผยข้อสนเทศในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลหรือในคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล

 

2.             ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม มิให้แปลความหมายบทบัญญัติของวรรค 1 เป็นการตั้งข้อผูกพัน      บังคับรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดต้อง

 

                (ก)          ดำเนินมาตรการทางการบริหาร  โดยบิดเบือนไปจากกฎหมายและวิธีปฏิบัติทางการบริหารของ

                              รัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ข)          ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำสัญญา

                              รัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ค)          ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิชาชีพ

                              หรือกรรมวิธีทางการค้า หรือข้อสนเทศ  ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการขัดกับนโยบายสาธารณะ (ความ

                              สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของสาธารณชน)

 

 

ข้อ 27
ผู้แทนทางการทูตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล

 

                ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้จะมีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของผู้แทนทางการทูตหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

ข้อ 28
การเริ่มใช้บังคับ

 

1.             รัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐจะแจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดตามกฎหมายของรัฐนั้น เพื่อที่จะทำให้อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว  อนุสัญญานี้จึงจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ได้แจ้งครั้งหลังนั้น

 

2.             บทบัญญัติของอนุสัญญาจะมีผลใช้บังคับ

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนที่ได้จ่ายหรือเครดิตในหรือหลังจาก

                              วันแรกของเดือนมกราคมถัดจากเดือนที่อนุสัญญามีผลบังคับใช้  และ

 

                (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่นๆ สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังจากวัน

                              แรกของเดือนมกราคมถัดจากเดือนที่อนุสัญญามีผลบังคับใช้

 

 

ข้อ 29
การเลิกใช้

 

                อนุสัญญานี้จะยังคงมีผลใช้บังคับตลอดไป   แต่รัฐผู้ทำสัญญารัฐใดรัฐหนึ่งอาจแจ้งการบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยช่องทางการทูตต่อรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งได้ในหรือก่อนวันที่ 30 มิถุนายนในปีปฏิทินใดๆที่เริ่มต้นภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาห้าปีนับจากวันที่อนุสัญญานี้มีผลใช้บังคับ

 

                ในกรณีเช่นว่านั้น อนุสัญญาเป็นอันเลิกมีผลใช้บังคับ

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันแรกของ

                              เดือนมกราคมถัดจากเดือนที่มีการแจ้งการบอกเลิก

 

                (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆ สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือ

                              หลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากเดือนที่มีการแจ้งการบอกเลิก

 

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้  ผู้ลงนามข้างท้ายซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องได้ลงนามในอนุสัญญานี้

 

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ  ณ .............เมื่อวันที่.............ปีหนึ่งพันเก้าร้อย.........

แห่งคริสต์ศักราช เป็นภาษาอังกฤษ

 

 

ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย

ในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐไซปรัส

 

 

 

พิธีสาร

 

               ในการลงนามอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐไซปรัส เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้   ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้ตกลงกันตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้   ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญานี้

 

1.             ตามวรรค 3(ก) และ (ข) ของข้อ 5 เป็นที่เข้าใจว่า การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับส่งมอบจะถือเป็นสถานประกอบการถาวรถ้าสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นนั้นใช้เพื่อเป็นการจำหน่าย

 

2.             ตามวรรค 2 ของข้อ 8 เป็นที่เข้าใจว่า  กรณีที่รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งมีความชอบในสิทธิจัดเก็บภาษีหรือบังคับใช้อัตราภาษีที่ต่ำกว่ากับเงินได้ที่วิสาหกิจของประเทศอื่นได้รับจากการเดินเรือในการจราจรระหว่างประเทศ  การปฏิบัติเช่นนั้นจะต้องถูกใช้อย่างเปิดกว้าง  โดยผ่านความตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ

 

               เพื่อเป็นพยานแก่การนี้  ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้อง เพื่อการนี้ได้ลงนามพิธีสารนี้

 

               ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ..........................เมื่อ..................................เป็นภาษาอังกฤษ

 

ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย

ในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐไซปรัส

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011