เมนูปิด

ข้อ 26
วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน

 

1.            ในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งพิจารณาเห็นว่าการกระทำของรัฐผู้ทำสัญญา รัฐหนึ่งหรือทั้งสองรัฐมีผลหรือจะมีผลให้ตนเองต้องเสียภาษีอากรโดยไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง อนุสัญญานี้  บุคคลผู้นั้นอาจยื่นเรื่องราวของตนต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาที่ตน      มีถิ่นที่อยู่  โดยไม่ต้องคำนึงถึงทางแก้ไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญา  คำร้อง ดังกล่าวต้องยื่นภายในเวลา 3 ปี นับจากที่ได้รับแจ้งครั้งแรกถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติทาง ภาษีอันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งอนุสัญญานี้

 

2.            ถ้าข้อคัดค้านนั้นปรากฏแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจว่ามีเหตุผลสมควรและถ้าตนไม่สามารถที่จะ หาทางแก้ไขที่พอใจได้เองให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพยายามแก้ไขกรณีนั้นโดยความตกลงร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง  เพื่อการเว้นการเก็บภาษีอันไม่เป็นไปตามอนุสัญญานี้  

 

3.            เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ จะต้องพยายามแก้ไขความยุ่งยากหรือข้อสงสัย  ใดๆ อันเกิดขึ้นเกี่ยวกับการตีความหรือการใช้บังคับอนุสัญญานี้ โดยความตกลงร่วมกัน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจปรึกษาหารือกัน เพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้อนในกรณีใดๆที่มิได้บัญญัติไว้ใน อนุสัญญานี้ด้วย

 

4.            เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐอาจติดต่อกันโดยตรงเพื่อความมุ่งประสงค์ ให้บรรลุความตกลงกันตามความหมายในวรรคก่อน ๆ นั้น

 

ข้อ 27
การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

1.            เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามบท บัญญัติของอนุสัญญานี้หรือตามกฎหมายภาษีภายในของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเกี่ยวกับภาษีอากรที่อยู่ใน ขอบข่ายของอนุสัญญานี้เท่าที่ภาษีอากรตามกฎหมายนั้นไม่ขัดกันกับอนุสัญญานี้ ข้อสนเทศใดซึ่งได้ รับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งให้ถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้กฎหมาย ภายในของรัฐนั้น และจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งศาลและองค์การบริหาร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินหรือการจัดเก็บ การบังคับหรือการดำเนินคดี หรือการชี้ขาดคำอุทธรณ์ใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่อยู่ในขอบข่ายของอนุสัญญานี้ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่เช่นว่านั้นจะใช้ข้อ สนเทศนั้นเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์นั้นเท่านั้นบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจเปิดเผยข้อสนเทศในการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลหรือในคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล

 

2.            ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามมิให้แปลความหมายบทบัญญัติของวรรค 1 เป็นการตั้งข้อผูกพันบังคับ ทั้งสองรัฐให้ต้อง

 

                (ก)            ดำเนินมาตรการทางการบริหารโดยบิดเบือนไปจากกฎหมายและวิธีปฏิบัติทางการบริหาร ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ข)            ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำ สัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ค)            ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือ วิชาชีพ หรือกรรมวิธีทางการค้า หรือข้อสนเทศ ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการขัดกับนโยบาย สาธารณะ (ความสงบเรียบร้อยอันดีของสาธารณชน)

 

ข้อ 28
สมาชิกของผู้ปฏิบัติงานด้านการทูตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล

                ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้จะมีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของ  สมาชิกของผู้ปฏิบัติงานด้านการทูตหรือเจ้าหน้าที่กงสุล ตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่าง ประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

ข้อ 29
การเริ่มใช้บังคับ

1.            รัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐจะแจ้งแก่อีกรัฐหนึ่งว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดโดย         กฎหมายของรัฐนั้นเพื่อทำให้อนุสัญญามีผลบังคับเสร็จสิ้นแล้ว อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่มี การแจ้งครั้งหลัง   และบทบัญญัตินี้จะมีผล

 

                ก)            กรณีของประเทศอาร์เมเนีย

                                1)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่ได้รับในหรือหลังจากวันแรก

                                                ของเดือนมกราคม ในปีปฏิทินถัดจากปีที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ และ

                                2)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่น ๆ และจากทุน  สำหรับภาษีที่จัดเก็บ

                                                ในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมในปีปฏิทินถัดจากปีที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ

 

                 ข)            กรณีของประเทศไทย

                                1)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับจำนวนที่ได้จ่ายหรือนำส่งในหรือหลัง

                                                จาก วันแรก ของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญานี้มีผลใช้บังคับ  และ

                                2)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆสำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่ เริ่มต้น ในหรือ หลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญานี้มีผลใช้บังคับ

                               

ข้อ 30
การเลิกใช้

                 อนุสัญญานี้จะยังคงมีผลบังคับใช้ตลอดไป รัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐอาจบอกเลิกเป็น ลายลักษณ์อักษรให้รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งทราบ   โดยแจ้งผ่านวิถีทางการทูตในหรือก่อนวันที่ 30 มิถุนายนของปีปฏิทินใดๆหลังจากครบกำหนดห้าปีนับจากวันที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ ในกรณีเช่นว่านี้ อนุสัญญาเป็นอันเลิกมีผลใช้บังคับ

 

                 ก)            กรณีของประเทศอาร์เมเนีย

                                1)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนเงินได้ที่ได้รับในหรือ

                                                หลังจากวันแรกของเดือนมกราคมในปีปฎิทินถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิก   และ

                                2)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆและจากทุน  สำหรับภาษีที่

                                                จัดเก็บในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมในปีปฏิทินถัดจากปีที่มี การแจ้งการบอกเลิก

 

                 ข)            กรณีประเทศไทย

                                1)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับจำนวนที่ได้จ่ายหรือนำส่งในหรือ

                                                หลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิก

                                2)            ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆสำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลา

                                                บัญชีที่เริ่มต้นในหรือ หลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่มี การแจ้งการบอกเลิก

 

 

                 เพื่อเป็นพยานแก่การนี้   ผู้ลงนามข้างท้ายซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องได้

ลงนามในอนุสัญญานี้

 

                 ทำคู่กันเป็นสองฉบับ    ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที 7 พฤษจิกายน  คริสต์ศักราช  สองพันหนึ่งเป็นภาษาไทย อาร์เมเนี่ยน และอังกฤษ   ต้นฉบับทุกฉบับใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกัน 

กรณีที่มีความแตกต่างในการตีความ   ให้ถือฉบับภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์

 

 

สำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย


ดร. สุรเกียรติ์   เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ     
สำหรับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย


นายทาทูล  มาร์คาเรียน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 

 

 

พิธีสาร

 

                 ในการลงนามอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนียและรัฐบาลแห่งราชอาณา จักรไทย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บ จากเงินได้และจากทุน ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้ตกลงกันว่าบทบัญญัติดังต่อไปนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ อนุสัญญา

 

                 ตามข้อ 7  ข้อ 8  และข้อ 9  ของอนุสัญญานี้  คำว่า “กำไร” จะรวมถึงเงินได้ด้วย

 

                 เพื่อเป็นพยานแก่การนี้   ผู้ลงนามข้างท้ายซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องได้ลงนาม ในอนุสัญญานี้

 

                 ทำคู่กันเป็นสองฉบับ    ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 พฤษจิกายน  คริสต์ศักราช    สองพันหนึ่งเป็นภาษาไทย อาร์เมเนี่ยน และอังกฤษ   ต้นฉบับทุกฉบับใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกัน 

กรณีที่มีความแตกต่างในการตีความ   ให้ถือฉบับภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์

 

 

สำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย


ดร. สุรเกียรติ์   เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ     
สำหรับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย


นายทาทูล  มาร์คาเรียน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011