เมนูปิด

ข้อ 21
การไม่เลือกปฏิบัติ

 

                 ในกรณีนักศึกษา

 

1.             คนชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งให้เสียภาษีใด ๆ หรือให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการนั้น อันเป็นการนอกเหนือไปจากหรือเป็นภาระหนักกว่าการเก็บภาษี และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนชาติของอีกรัฐหนึ่งนั้นถูก หรืออาจถูกบังคับให้เสีย หรือให้ปฏิบัติตามในสถานการณ์เดียวกัน

 

2.             การเก็บภาษีจากสถานประกอบการถาวรซึ่งวิสาหกิจของรัฐผทำสัญญารัฐหนึ่งมีอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง จะไม่จัดเก็บในอีกรัฐหนึ่งนั้นโดยเป็นการอนุเคราะห์น้อยกว่าการจัดเก็บจากวิสาหกิจของอีกรัฐหนึ่งประกอบกิจกรรมอย่างเดียวกัน

 

3.             ไม่มีบทบัญญัติใดในข้อนี้ที่จะแปลความเป็นการผูกพันรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดในอันที่จะให้ค่าลดหย่อน การผ่อนผัน หรือการหักลดส่วนบุคคลแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อความมุ่งหมายในการเก็บภาษีอากรตามสถานะของบุคคลหรือตามความรับผิดชอบของทางครอบครัว ซึ่งรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งนั้นให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐของตน

 

4.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งซึ่งผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งคนเดียวหรือหลายคนเป็นเจ้าของ หรือควบคุมทุนทั้งหมด หรือบางส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม จะไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกให้เสียภาษีใด ๆ หรือปฏิบัติตามข้อกำหนดใด ๆ ที่เกี่ยวกับการนั้น อันเป็นการนอกเหนือไปจากหรือเป็นภาระหนักกว่าการเก็บภาษีและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องซึ่งวิสาหกิจอื่นที่คล้ายคลึงกันของรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรกนั้นถูกหรืออาจถูกบังคับให้เสียหรือให้ปฏิบัติ

 

5.             ในข้อนี้คำว่า "ภาษี" หมายถึง ภาษีซึ่งอยู่ในบังคับของอนุสัญญานี้

 

 

ข้อ 22
วิธีดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน

1.             ในกรณีที่บุคคลพิจารณาเห็นว่า การกระทำของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือทั้งสอบรัฐมีผลหรือจะมีผลให้ตนต้องเสียภาษีอากรโดยไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญานี้ ผู้นั้นอาจยื่นเรื่องราวของตนต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งตนมีถิ่นที่อยู่นั้นได้ โดยไม่คำนึงถึงทางแก้ไขที่บัญญัติไว้โดยกฎหมายภายในของรัฐแต่ละรัฐนั้น คำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นภายในเวลา 3 ปี นับจากที่ได้รับแจ้งครั้งแรกของการกระทำที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติทางภาษี อันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้

 

2.             ถ้าข้อคัดค้านนั้นปรากฎแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจว่ามีเหตุผลสมควรและถ้าตนไม่สามารถที่จะหาทางแก้ไขที่น่าพอใจได้เอง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะพยายามแก้ไขกรณีนั้น โดยความตกลงร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเว้นการเก็บภาษีอันไม่เป็นไปตามอนุสัญญานี้

 

3.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ จะพยายามแก้ไขข้อยุ่งยากหรือข้อสงสัยใด ๆ อันเกิดขึ้นเกี่ยวกับการตีความหรือการใช้บังคับอนุสัญญานี้โดยความตกลงร่วมกัน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจปรึกษาหารือกันเพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในกรณีใด ๆ ที่มิได้บัญญัติไว้ในอนุสัญญานี้ด้วย

 

4.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐอาจติดต่อกันโดยตรงเพื่อความมุ่งประสงค์ให้มีการตกลงกันตามความหมายแห่งวรรคก่อน ๆ นั้น

 

 

ข้อ 23
การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

1.             เมื่อมีการร้องขอเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ อันจำเป็นแก่การปฏิบัติการตามบทบัญญัติของข้อ 7,10,11,12 และ 20 ข้อสนเทศใด ๆ ที่ได้รับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้กฎหมายภายในของรัฐนั้น และจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ข้อบทนั้น ๆ

 

2.             ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามมิให้ถือบทบัญญัติของข้อนี้ เป็นการตั้งข้อผูกพันบังคับรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งให้ดำเนินมาตรการทางการบริหารโดยขัดกับกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางการบริหารของรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น หรือของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมาย หรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือความลับทางวิชาชีพ หรือกรรมวิธีการค้า หรือข้อสนเทศซึ่งหากเปิดเผยจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

 

 

ข้อ 24
เจ้าหน้าที่ทางการฑูตและกงสุล

1.             ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้จะกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิทางการรัษฎากรของเจ้าหน้าที่ทางการทูต หรือกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

2.             โดยไม่ต้องคำนึงถึงบทบัญญัติในข้อ 4 บุคคลธรรมดาผู้ซึ่งเป็นสมาชิกในงานของคณะทูตคณะทูตถาวรฯ หรืองานของกงสุลขนองรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งหรือในรัฐที่สาม เพื่อความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้จะถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ส่ง ถ้า

 

                (ก)          ตามกฎหมายระหว่างประเทศบุคคลนั้นไม่มีภาระภาษีในรัฐผู้รับ ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้จากแหล่ง

                              นอกประเทศของรัฐนั้น

 

                 (ข)          บุคคลนั้นมีภาระหน้าที่ในรัฐผู้ส่งเกี่ยวกับภาษีจากเงินได้ทั้งสิ้นเช่นเดียวกับผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ส่ง

                               นั้น

 

3.             อนุสัญญานี้ไม่ใช้บังคับแก่องค์การระหว่างประเทศ องค์ประกอบหรือเจ้าหน้าที่องค์การดังกล่าว และแก่บุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของคณะทูต หรือกงสุล หรือหน้าที่งานประจำของรัฐที่สาม ซึ่งอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและมิได้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้

 

 

ข้อ 25
การเริ่มใช้บังคับ

1.             อนุสัญญานี้จะได้รับการสัตยาบันและจะได้ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ณ กรุงเบิร์น โดยเร็วที่สุด

 

2.             อนุสัญญาจะเริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารและบทบัญญัติจะมีผลใช้บังคับ

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังวันแรกของเดือน

                              มกราคมถัดจากเดือนซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน

 

                (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวัน

                              แรกของเดือนมกราคม ถัดจากเดือนซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน

 

 

ข้อ 26
การเลิกใช้

                 อนุสัญญานี้จะยังคงมีผลใช้บังคับจนกระทั่งรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งเลิกใช้ รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดอาจบอกเลิกใช้สัญญาโดยวิถีทางการทูตด้วยการแจ้งการเลิกอย่างน้อย 6 เดือน จนสิ้นสุดปีปฏิทินใด ๆ ในกรณีเช่นว่านี้ให้อนุสัญญาสิ้นสุดการมีผลใช้บังคับ

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันแรกของ

                              เดือนมกราคมถัดจากเดือนที่มีการแจ้งการเลิก

 

                 (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ สำหรับ ปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังจาก

                              วันแรกของเดือนมกราคม ถัดจากเดือนที่มีการแจ้งการเลิก

 

                 เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องได้ลงนามในอนุสัญญานี้

 

                 ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2539 เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน และไทย ทุกฉบับใช้ได้เท่าเทียมกันในกรณีความแตกต่างในการตีความระหว่างฉบับเยอรมันและไทย ให้ ใช้ภาษาอังกฤษ

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย


(ฯพณฯ ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายคณะมนตรีแห่งสหพันธ์สวิส 


(ฯพณฯ นายแบลส์ โกเดต์)
เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม

 

 

พิธีสาร

 

                 รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และคณะมนตรีแห่งสหพันธ์สวิส ในการตกลงนามอนุสัญญาระหว่างสองรัฐเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ บทบัญญัติต่อไปนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญานี้

 

1.             ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 5

 

                 เป็นที่เข้าใจว่าการให้บริการทางเทคนิคซึ่งได้นิยามไว้ในวรรค 12 ของคำอธิบาย ข้อ 12 ของ OECD Model Convention 1977  จะถูกครอบคลุมโดยอนุวรรค (ญ) ของวรรค 2 ของข้อ 5

 

                 ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรค 3 ของข้อ 5 เป็นที่เข้าใจว่าในการรักษามูลภัณฑ์ของของหรือสินค้า เพื่อความมุ่งประสงค์ในนามส่งมอบหรือการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการส่งมอบของหรือสินค้าไม่ก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวร ตราบเท่าที่ยังไม่มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขของอนุวรรค (ข) ของวรรค 4 ของข้อเดียวกัน

 

                 ในส่วนของอนุวรรค (ค) ของวรรค 4 ของข้อ 5 เป็นที่เข้าใจว่าการมีเพียงข้อเท็จจริงว่า บุคคลนั้นๆ จัดหาคำสั่งซื้อทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในรัฐแรกนั้นอยู่เป็นปกติเพื่อวิสาหกิจนั้นเองหรือเพื่อวิสาหกิจนั้น และวิสาหกิจอื่นๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้น หรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น ไม่ก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวร เว้นแต่บุคคลนั้นมีอำนาจในการเจรจาสาระสำคัญ หรือรายละเอียดใดๆ ซึ่งก่อให้เกิดคำสั่งซื้อและการตกลงทำสัญญา แม้ว่าสัญญานั้นได้ลงนามโดยวิสาหกิจ และมิได้ลงนามได้โดยบุคคลนั้นก็ตาม

 

2.             ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 7

 

                 ในส่วนของวรรค 1 และ 2 ของข้อ 7 ในกรณีที่วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง มีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งขายของหรือสินค้าหรือประกอบธุรกิจอื่นๆ ในอีกรัฐหนึ่งนั้น กำไรของสถานประกอบการถาวรจะไม่ถูกกำหนดบนพื้นฐานของจำนวนทั้งสิ้นที่รับโดยวิสาหกิจ แต่จะถูกกำหนดเพียงเฉพาะบนพื้นฐานของส่วนที่ได้รับจากส่วนที่ได้รับทั้งหมด ซึ่งพึงถือได้ว่าเกิดจากกิจกรรมที่แท้จริงของสถานประกอบการถาวร สำหรับการขายหรือกิจกรรมธุรกิจอื่นๆ นั้น

 

                 เป็นที่เข้าใจด้วยว่า กำไรของวิสาหกิจจะพิจารณาให้พึงถือเป็นของสถานประกอบการถาวรด้วย ถ้าวิสาหกิจขายของหรือสินค้า หรือประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับการขาย หรือการประกอบธุรกิจที่กระทำโดยสถานประกอบการถาวรโดยมีเงื่อนไขว่า สถานประกอบการถาวรนั้นได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านั้น

 

3.             ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 10

 

                 ในส่วนของวรรค 5 เป็นที่เข้าใจว่า ตราบเท่าที่กฎหมายภายในของสวิตเซอร์แลนด์ ไม่จัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจากกำไรของสถานประกอบการถาวรที่ได้จำหน่วยหรือส่งออกจากสวิตเซอร์แลนด์ ภาษีที่เรียกเก็บในประเทศไทยจากการจำหน่ายหรือส่งออกกำไรจะถูกจำกัดในอัตราที่บัญญัติไว้ในอนุวรรค (ก) ของวรรค 2 ของข้อ 10

 

4.             ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 11

 

                 ในส่วนของวรรค 3 เป็นที่เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอาจระบุและตกลงกันในจดหมายที่จะได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของสถาบันใดๆ ที่บทบัญญัติของอนุวรรค (ก) และ (ข) จะใช้บังคับและเรื่องการวางแนวปฏิบัติของบทบัญญัตินี้

 

                 ธนาคารแห่งชาติสวิสไม่ปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในวรรค 3

 

5.             ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 12

 

                 ในส่วนของวรรค 2 อนุวรรค (ค) เป็นที่เข้าใจว่า ตราบเท่าที่สวิตเซอร์แลนด์ตามกฎหมายในไม่จัดเก็บภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าสิทธิที่จ่ายให้แก่ผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ และเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้เครดิตภาษียินยอมโดยทั่วไป ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่พึงหักได้ ร้อยละห้าสิบของค่าสิทธิจำนวนทั้งสิ้นค่าสิทธิที่จ่ายจากผู้มีถิ่นที่อยู่ของประเทศไทยให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และสามารถเก็บภาษีได้ในประเทศไทยในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนค่าสิทธิทั้งสิ้น

 

                 ทำคู่กันสองฉบับ ที่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2539  เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน และไทย ในกรณีที่มีความแตกต่างในการตีความใดๆ ระหว่างฉบับเยอรมันและไทย ให้ใช้ภาษาอังกฤษ

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย


(ฯพณฯ ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายคณะมนตรีแห่งสหพันธ์สวิส 


(ฯพณฯ นายแบลส์ โกเดต์)
เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011