เมนูปิด

ข้อ 26
วิธีการเพื่อความตกลงร่วมกัน

 

1.             ในกรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งพิจารณาเห็นว่า การกระทำของรัฐผู้ทำสัญญารัฐเดียวหรือทั้งสองรัฐมีผลหรือจะมีผลให้ตนต้องเสียภาษีอากรโดยไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญานี้ ผู้นั้นอาจยื่นเรื่องราวของตนต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งตนมีถิ่นที่อยู่นั้นได้โดยไม่คำนึงถึงวิธีการแก้ไขที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญาดังกล่าว คำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นภายในเวลา 3 ปี นับจากที่ได้รับแจ้งครั้งแรกที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติทางภาษีอันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้

 

2.             ถ้าข้อคัดค้านนั้นปรากฏแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจว่ามีเหตุผลสมควรและถ้าตนไม่สามารถที่จะหาทางแก้ไขที่น่าพอใจได้เอง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะต้องพยายามแก้ไขกรณีนั้นโดยความตกลงร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำ สัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเว้นการเก็บภาษีอันไม่เป็นไปตามอนุสัญญานี้

 

3.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐจะพยายามแก้ไขข้อยุ่งยากหรือข้อสงสัยใดๆ อันเกิดขึ้นเกี่ยวกับการตีความหรือการใช้บังคับอนุสัญญานี้ โดยความตกลงร่วมกัน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจปรึกษาหารือกันเพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในกรณีใดๆที่มิได้บัญญัติไว้ในอนุสัญญานี้ด้วย

 

4.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐอาจติดต่อกันโดยตรงเพื่อความมุ่งประสงค์ให้มีการตกลงกันตามความหมายแห่งวรรคก่อนๆนั้น

 

 

ข้อ 27
การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

 

1.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญานี้หรือของกฎหมายภายในของรัฐคู่สัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอากรในขอบข่ายแห่งอนุสัญญานี้เท่าที่การเก็บภาษีอากรตามกฎหมายนั้นไม่ขัดกับอนุสัญญานี้ ข้อสนเทศใดๆที่ได้รับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้ กฎหมายภายในของรัฐนั้น และจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งศาลและองค์กรทางบริหาร) ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินหรือการจัดเก็บภาษีอากร การบังคับ หรือการฟ้องร้องหรือการชี้ขาดอุทธรณ์ในเรื่องภาษีอากรซึ่งอยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญานี้ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะใช้ข้อสนเทศนั้นเพื่อจุดประสงค์เช่นว่านั้นเท่านั้น บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจเปิดเผยข้อสนเทศในกระบวนพิจารณาในศาลหรือการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล

 

2.             ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม มิให้ถือบทบัญญัติของวรรค 1 เป็นการตั้งข้อผูกพันบังคับรัฐผู้ทำสัญญาให้

 

                 (ก)          ดำเนินมาตรการทางการบริหาร โดยขัดกับกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางการบริหารของรัฐผู้ทำ

                               สัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ข)          ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำสัญญา

                               รัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ค)          ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือวิชาชีพหรือ

                               กรรมวิธีการค้า หรือข้อสนเทศซึ่งหากเปิดเผยจะเป็นการขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรม

                               อันดี

 

 

ข้อ 28
เจ้าหน้าที่ทางการทูตและกงสุล

 

                 ไม่มีความใดในอนุสัญญานี้มีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิทางการรัษฎากรของเจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่าง ประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

ข้อ 29
การไม่รวมบางบริษัท

 

                 อนุสัญญาฉบับนี้จะไม่ใช้บังคับกับบริษัทผู้ถือครองหุ้น(Holding Company)ตามความหมายในกฎหมายพิเศษของประเทศสักเซมเบอร์ก ได้แก่กฎหมายของวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1929 และกฎหมายของวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1938 และกับบริษัททั้งหลายที่อยู่ภายใต้กฎหมายรัษฎากรที่คล้ายคึงกับของประเทศลักเซมเบอร์ก การไม่ใช้บังคับยังใช้กับเงินได้ที่เกิดขึ้นจากบริษัทเหล่านี้ซึ่งได้รับ โดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย รวมตลอดถึงหุ้นต่างๆ หรือสิทธิต่างๆในบริษัทเหล่านั้นที่ผู้มีถิ่นที่อยู่นั้นเป็นเจ้าของ

 

 

ข้อ 30
การเริ่มใช้บังคับ

 

1.             อนุสัญญานี้จะได้รับการสัตยาบันและจะทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ณ กรุงลักเซมเบอร์ก.โดยเร็วที่สุด

 

2.             อนุสัญญานี้จะเริ่มใช้บังคับเมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันแล้วและบทบัญญัติของอนุสัญญาจะมีผลใช้บังคับ

 

                 (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนเงินที่ได้จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันแรก

                               ของเดือนมกราคมของปีถัดจากปีซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร

 

                 (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอื่น ๆ ที่เก็บจากเงินได้และภาษีจากทุนสำหรับปีรัษฎากรหรือรอบระยะ

                               เวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีซึ่งมีการแลกเปลี่ยน

                               สัตยาบันสาร

 

 

ข้อ 31
การเลิกใช้

 

                อนุสัญญานี้จะคงใช้บังคับตลอดไป แต่รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดอาจบอกเลิกอนุสัญญานี้ได้โดยแจ้งการบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร ให้รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งทราบ โดยทางการทูตในหรือก่อนวันที่ 30 มิถุนายน ของปีปฏิทินใดๆ ที่เริ่มต้นภายหลังจากวันสิ้นสุดของระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่อนุสัญญานี้เริ่มใช้บังคับ

 

                ในกรณีเช่นนั้นอนุสัญญาเป็นอันเลิกมีผลบังคับ

 

                 (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนเงินที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังวันแรก

                               ของเดือนมกราคมถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิก

 

                 (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษอื่น ๆ ที่เก็บจากเงินได้และภาษีจากทุนสำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลา

                               บัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิก

 

                 เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องได้ลงนามในอนุสัญญานี้

                 ทำคู่กัน ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2539 เป็นภาษาไทย ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยทุกฉบับมีฐานะเป็นทางการเท่าเทียมกัน

 

สำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย


(ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

สำหรับรัฐบาลแห่งลักเซมเบอร์ก


(นายยอร์ช โวฟาต)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศความร่วมมือทางการค้าและการพัฒนา

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011