เมนูปิด

ข้อ 26
การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

1.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญานี้หรือของกฎหมายภายในของรัฐคู่สัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอากรในขอบข่ายแห่งอนุสัญญานี้เท่าที่การเก็บภาษีอากรตามกฎหมายนั้นไม่ขัดกับอนุสัญญานี้ การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศจะไม่ถูกจำกัดโดยข้อ 1 ข้อสนเทศใดๆ ที่ได้รับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้กฎหมายภายในของรัฐนั้น และจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งศาลและองค์กรทางบริหาร) ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินหรือการจัดเก็บภาษีอากร การบังคับหรือการฟ้องร้องหรือการชี้ขาดอุทธรณ์ในเรื่องภาษีอากรซึ่งอยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญานี้บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะใช้ข้อสนเทศนั้นเพื่อจุดประสงค์เช่นว่านั้นเท่านั้น บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจเปิดเผยข้อสนเทศในกระบวนพิจารณาในศาลโดยเปิดเผยหรือการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ข้อสนเทศที่ได้รับจะถือว่าเป็นความลับตามความต้องการของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเป็นผู้ให้ข้อสนเทศดังกล่าวนั้น

2.             ไม่ว่ากรณีใดก็ตามมิให้ถือบทบัญญัติของวรรค 1 เป็นการตั้งข้อผูกพันบังคับรัฐผู้ทำสัญญาให้

                (ก)           ดำเนินมาตรการทางการบริหารโดยขัดกับกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติทางการบริหารของรัฐ
                               ผู้ทำสัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

                (ข)           ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำ
                               สัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

                (ค)           ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือ
                              วิชาชีพหรือกรรมวิธีการค้า หรือข้อสนเทศซึ่งหากเปิดเผยจะเป็นการขัดกับความสงบ
                               เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี

ข้อ 27
เจ้าหน้าที่ทางการทูตและกงสุล

                ไม่มีความใดในอนุสัญญานี้มีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของเจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

ข้อ 28
การเริ่มใช้บังคับ

1.             รัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองจะแจ้งให้แต่ละฝ่ายทราบซึ่งกันและกันว่าขั้นตอนต่างๆ ตามที่กำหนดไว้เพื่อที่จะทำให้อนุสัญญานี้มีผลเริ่มใช้บังคับได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

2.             อนุสัญญานี้ให้เริ่มใช้บังคับหกสิบวันหลังจากวันที่ได้มีการบอกกล่าวตามที่กล่าวถึงในวรรค 1 และจะมีผลใช้บังคับ

                (ก)           ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนเงินที่ได้จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันที่ 
                               1 มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีซึ่งอนุสัญญามีผลใช้บังคับ

                (ข)           ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่นๆ สำหรับภาษีที่ได้ชำระในภาษีใดๆ หรือรอบระยะเวลาบัญชี
                               ที่เริ่มในหรือหลังจากวันที่ 1 มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีซึ่งอนุสัญญามีผลใช้บังคับ

ข้อ 29
การเลิกใช้

                อนุสัญญานี้จะคงใช้บังคับตลอดไปจนกว่ารัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งบอกเลิก รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดอาจเลิกอนุสัญญานี้โดยทางการทูตโดยแจ้งการเลิกอย่างน้อย 6 เดือนก่อนสิ้นสุดปีปฏิทินใดๆ ภายหลังระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ ในกรณีเช่นนี้ให้อนุสัญญาเลิกมีผลใช้บังคับ

                (ก)           ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันที่ 
                               1 มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีที่มีการแจ้งการเลิก

                (ข)           ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้อื่นๆ สำหรับปีภาษีใดๆ หรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังจากวันที่ 
                               1 มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีที่มีการแจ้งการเลิก

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้อง ได้ลงนามในอนุสัญญานี้

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2532 เป็นภาษาอังกฤษ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย

ภิญญา ช่วยปลอด
(ภิญญา ช่วยปลอด)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ฝ่ายรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนฮังการี

โซลตัน กอมบอกซ์
(โซลตัน กอมบอกซ์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้า


 

พิธีสาร


                ในการลงนามอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนฮังการี เพื่อการเว้นการเก้บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้ตกลงกันตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญานี้

1.             ตามข้อ 5 วรรค 1 เป็นที่เข้าใจว่าคำว่า “สถานธุรกิจ” ให้รวมถึงสถานประกอบการผลิตสินค้าด้วย

2.             ตามข้อ 5 วรรค 3 อนุวรรค (ก) และ (ข) เป็นที่เข้าใจว่าคำว่า “ส่งมอบ” ให้หมายถึงเฉพาะการส่งมอบที่มิใช่การส่งมอบตามปกติและมิใช่การส่งมอบพร้อมกับการจำหน่าย

3.             ตามข้อ 5 วรรค 4 อนุวรรค (ค) และวรรค 6 เป็นที่เข้าใจว่า ในกรณีที่มีข้อสงสัยในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมของวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐจะต้องหาข้อยุติโดยความตกลงร่วมกัน

4.             เป็นที่เข้าใจว่า กฎหมายภาษีอากรในปัจจุบันของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐมิได้ถือว่าดอกเบี้ยจากการซื้อขายเงินผ่อน เป็นดอกเบี้ยในขอบข่ายของข้อ 11 หากแม้ต่อไปในภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีอากรภายในประเทศของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองและมีผลให้ดอกเบี้ยจากการซื้อขายเงินผ่อนดังกล่าวอยู่ในบังคับบทบัญญัติของข้อ 11  วรรค 2 อนุวรรค (ข) รัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐจะต้องพิจารณาทบทวนเพื่อที่จะลดอัตราภาษีซึ่งเก็บจากดอกเบี้ยดังกล่าวให้ต่ำลง

5.             ตามข้อ 17 เป็นที่เข้าใจว่าบทบัญญัติของวรรค 1 และ 4 มิให้ใช้บังคับพร้อมกันเพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้ ได้ลงนามพิธีสารนี้

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2532 เป็นภาษาอังกฤษ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย

ภิญญา ช่วยปลอด
(ภิญญา ช่วยปลอด)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ฝ่ายรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนฮังการี

โซลตัน กอมบอกซ์
(โซลตัน กอมบอกซ์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้า

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011