เมนูปิด

ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้  

 

 

 รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

               

                มีความปรารถนาที่จะทำความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

                ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

 

 

ข้อ 1
ขอบข่ายด้านบุคคล

                ความตกลงนี้จะใช้บังคับกับบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือทั้งสองรัฐ

 

 

ข้อ 2
ภาษีที่อยู่ในขอบข่าย

1.             ความตกลงนี้ให้ใช้บังคับแก่ภาษีเก็บจากเงินได้ที่บังคับจัดเก็บในนามของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐหรือในนามของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของแต่ละรัฐโดยไม่คำนึงถึงวิธีการเรียกเก็บ

 

2.             ภาษีทั้งปวงที่บังคับจัดเก็บจากเงินได้ทั้งสิ้น หรือจากองค์ประกอบของเงินได้ รวมทั้งภาษีที่เก็บจากผลได้จากการจำหน่ายสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ตลอดจนภาษีที่เก็บจากการเพิ่มค่าของทุน ให้ถือว่าเป็นภาษีเก็บจากเงินได้

 

3.             ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งความตกลงนี้ใช้บังคับ ได้แก่

 

                (ก)          ในกรณีประเทศไทย

 

                               -              ภาษีเงินได้และ

 

                               -              ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

 

                               (ซึ่งต่อไปนี้ในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีไทย")

 

                (ข)          ในกรณีประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

                               -              ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

                               -              ภาษีเงินได้จากกิจการลงทุนร่วมกับจีนและการลงทุนจากต่างประเทศ

 

                               -              ภาษีเงินได้จากวิสาหกิจต่างประเทศ

 

                               -              ภาษีเงินได้ส่วนท้องถิ่น

 

                               (ซึ่งต่อไปนี้ในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีจีน")

 

4.             ความตกลงนี้จะใช้บังคับกับภาษีเงินได้ใดๆ ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในประการสำคัญซึ่งบังคับจัดเก็บภายหลังจากวันที่ได้ลงนามในความตกลงนี้เป็นการเพิ่มเติมหรือแทนที่ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะได้แจ้งให้แก่กันและกันทราบถึงความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่สำคัญซึ่งมีขึ้นในกฎหมายภาษีอากรของแต่ละรัฐ

 

 

ข้อ 3
บทนิยามทั่วไป

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

                (ก)          คำว่า "ประเทศไทย" หมายถึงราชอาณาจักรไทยและรวมถึงพื้นที่ ใดๆ ซึ่งประชิดติดน่านน้ำ

                              อาณาเขตราชอาณาจักรไทย ซึ่งตาม กฎหมายไทยและตามกฎหมายระหว่างประเทศได้กำหนด

                              ไว้ หรือ อาจกำหนดในเวลาต่อไปให้เป็นพื้นที่ซึ่งราชอาณาจักรไทยอาจใช้ สิทธิภายในพื้นที่นั้นๆ

                              ในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิว ดินรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติของพื้นดินท้องทะเล

                              และดินใต้ผิวดิน นั้น

 

                (ข)          คำว่า "จีน" หมายถึงประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อใช้ใน ความหมายทางภูมิศาสตร์ หมาย

                              ถึงอาณาเขตของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนรวมทั้งทะเลอาณาเขตซึ่งกฎหมายภาษี อากร

                              ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีผลบังคับและพื้นที่อื่นใด ที่อยู่นอกทะเลอาณาเขตของ

                              สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งสาธารณรัฐ ประชาชนจีนมีอธิปไตยสำหรับการสำรวจหรือเพื่อถือเอา

                              ประโยชน์ ของทรัพยากรแห่งพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินและแหล่ง ทรัพยากรในพื้นน้ำที่

                              ติดต่อกันนั้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

                (ค)          คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง"หมาย ถึงประเทศไทยหรือประเทศ

                              จีนแล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

                (ง)          คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา บริษัท คณะบุคคลอื่นใด ตลอด จนองค์กรใดซึ่งถือเป็นหน่วย

                              ซึ่งอาจเรียกเก็บภาษีได้ ภายใต้ กฎหมายภาษีอากรที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

 

                (จ)          คำว่า "บริษัท" หมายถึงนิติบุคคลใด หรือองค์กรซึ่งถือว่านิติบุคคล ตามกฎหมายภาษีอากรของ

                              รัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ

 

                (ฉ)          คำว่า "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจของรัฐผู้ ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมาย

                              ถึง วิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้

                              มีถิ่นที่อยู่ใน รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งตามลำดับ

 

                (ช)          คำว่า "ภาษี" หมายถึง ภาษีไทยหรือภาษีจีน แล้วแต่บริบทจะ กำหนด

 

                (ซ)          คำว่า "คนชาติ" หมายถึง

 

                              (1)          บุคคลธรรมดาใดๆ ซึ่งมีสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                              (2)          นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสมาคม และหน่วยอื่นใดที่มีสถานภาพนั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับ

                                            อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                (ฌ)         คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึง การขนส่งใดๆ ทางเรือ หรือทางอากาศยานซึ่ง

                              ดำเนินการโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐ หนึ่งยกเว้นกรณีที่เรือหรืออากาศยานมีการดำเนิน

                              การระหว่างสถาน ที่ต่างๆ ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเท่านั้น

 

                (ญ)         คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายถึง ในกรณีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

                              หรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจ และ ในกรณีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงการ

                              คลังหรือผู้ แทนที่ได้รับมอบอำนาจ

 

2.             ในการใช้บังคับความตกลงนี้โดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดๆ ที่มิได้นิยามไว้จะมีความหมายซึ่งคำนั้นมีอยู่ตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรของรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้นซึ่งความตกลงนี้ใช้บังคับ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

 

ข้อ 4
ผู้มีถิ่นที่อยู่

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" หมายถึงบุคคลใดซึ่งตามกฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้นมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีในรัฐนั้น โดยเหตุผลแห่งการมีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สำนักงานใหญ่ สถานจดทะเบียนบริษัทหรือโดยเกณฑ์อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

 

2.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาใดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐให้กำหนดสถานภาพของบุคคลดังกล่าวดังต่อไปนี้

 

                (ก)          ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญา ซึ่ง บุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวร ถ้าบุคคล

                              นั้นมีที่อยู่ถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาทั้ง สองรัฐให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งบุคคลนั้น

                              มี ความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า (ศูนย์กลาง ของผลประโยชน์อันสำคัญ)

 

                (ข)          ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผล ประโยชน์อันสำคัญได้ หรือถ้า

                              บุคคลธรรมดานั้นไม่มีที่อยู่ถาวรในรัฐผู้ ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มี

                              ถิ่นที่อยู่ใน รัฐผู้ทำสัญญาที่บุคคลนั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัย

 

                (ค)          ถ้าบุคคลธรรมดามีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ หรือไม่มีอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐ

                              หนึ่งรัฐใดให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ ของรัฐผู้ทำสัญญาที่บุคคลนั้นเป็นคนชาติ

 

                (ง)          ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นคนชาติของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ หรือมิได้ เป็นคนชาติของรัฐผู้ทำ

                              สัญญารัฐหนึ่งรัฐใดให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐแก้ไขปัญหาโดยความ

                              ตกลงร่วมกัน

 

3.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลนอกเหนือจากบุคคลธรรมดาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญากำหนดการเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งเพื่อความประสงค์แห่งความตกลงนี้โดยความตกลงร่วมกัน

 

 

ข้อ 5
สถานประกอบการถาวร

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

 

2.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" จะรวมถึงโดยเฉพาะ

 

                (ก)          สถานจัดการ

 

                (ข)          สาขา

 

                (ค)          สำนักงาน

 

                (ง)          โรงงาน

 

                (จ)          โรงช่าง

 

                (ฉ)          ที่ทำการเพาะปลูกหรือไร่สวน

 

                (ช)          เหมืองแร่ บ่อน้ำมันหรือบ่อก๊าซ เหมืองหิน หรือสถานที่อื่นๆ ที่ใช้ ในการขุดทรัพยากรธรรมชาติ

 

                (ซ)          ที่ตั้งอาคาร โครงการก่อสร้าง โครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบ หรือกิจกรรมตรวจควบคุม

                              เกี่ยวกับการนั้นในกรณีที่ที่ตั้งโครงการหรือ กิจการดังกล่าวดำเนินติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกินกว่า

                              หกเดือน

 

                (ฌ)         คลังสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ในการเก็บรักษาสินค้าสำหรับ

                              บุคคลอื่น

 

                (ญ)         การจัดให้มีการบริการรวมถึงบริการให้คำปรึกษาโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ใน รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใด

                              โดยผ่านทางลูกจ้างหรือบุคคลากรอื่น ทั้งนี้กิจกรรมในลักษณะนั้นต้องดำเนินติดต่อกัน (สำหรับ

                              โครงการ เดียวกันหรือโครงการที่เกี่ยวเนื่อง) ภายในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เป็นระยะเวลาเดียว

                              หรือหลายระยะรวมกันเกินกว่า183 วัน ในระยะ เวลาสิบสองเดือนใดๆ

 

3.             แม้จะมีบทบัญญัติก่อนๆ ของข้อนี้อยู่ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" มิให้ถือว่ารวมถึง

 

                (ก)          การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเก็บ รักษาหรือการจัดแสดงสิ่งของ

                              หรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจ

 

                (ข)          การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้น เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการ

                              เก็บรักษาหรือจัดแสดง

 

                (ค)          การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้น เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ให้

                              วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ

 

                (ง)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดซื้อสิ่ง ของหรือสินค้าหรือเพื่อรวบ

                              รวมข้อสนเทศเพื่อวิสาหกิจนั้น

 

                (จ)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการโฆษณา การให้ข้อสนเทศ การวิจัย

                              ทางวิทยาศาสตร์หรือเพื่อกิจกรรมที่คล้าย คลึงกันซึ่งมีลักษณะเป็นการเตรียมการหรือเป็นส่วน

                              ประกอบให้กับ วิสาหกิจนั้น

 

4.             บุคคลใด (นอกจากนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 5) ซึ่งกระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจะถือว่าเป็นสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรกถ้า

 

                (ก)          บุคคลนั้นมีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐ แรกซึ่งอำนาจในการทำ

                              สัญญาในนามของวิสาหกิจนั้น เว้นไว้แต่ว่า กิจกรรมต่างๆ ของบุคคลนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะเพียง

                              กิจกรรมที่กล่าว ไว้ในวรรค 3 ซึ่งหากดำเนินการโดยผ่านสถานธุรกิจประจำแล้ว จะไม่ ทำให้สถาน

                              ธุรกิจประจำนี้เป็นสถานประกอบการถาวรภายใต้บท บัญญัติของวรรคนั้น

 

                (ข)          บุคคลนั้นได้เก็บรักษาในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งมูล ภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็น

                              ของวิสาหกิจซึ่งบุคคลนั้นดำเนินการ สั่งซื้อจากหรือส่งมอบในนามของวิสาหกิจนั้นเป็นประจำ

                              หรือ

 

                (ค)          บุคคลนั้นจัดหาอย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐแรก ซึ่งคำสั่งซื้อทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดเพื่อวิสาหกิจ

                              นั้น หรือเพื่อวิสาหกิจนั้นและวิสาหกิจ อื่นๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้น หรือมีผล

                              ประโยชน์ควบ คุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

5.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเพียงเพราะว่าได้ประกอบธุรกิจในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น โดยผ่านทางนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ เมื่อบุคคลเช่นว่านั้นได้กระทำตามทางอันเป็นปกติแห่งธุรกิจของตน เพื่อความมุ่งประสงค์นี้ตัวแทนหนึ่งใดจะไม่ถือว่าเป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระถ้าตัวแทนนั้นดำเนินกิจกรรมในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งตามที่ระบุไว้ในวรรค 4 ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเพื่อวิสาหกิจนั้น หรือเพื่อวิสาหกิจนั้นและวิสาหกิจอื่นซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้นหรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

6.             แม้จะมีบทบัญญัติในวรรคก่อนๆ ของข้อนี้อยู่วิสาหกิจประกันภัยของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ยกเว้นในกรณีของการรับประกันภัยต่อ จะถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น ถ้าวิสาหกิจนั้นเรียกเก็บเบี้ยประกันในอาณาเขตของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น หรือรับประกันความเสี่ยงภัยภายในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น โดยผ่านทางลูกจ้างหรือผ่านทางตัวแทนซึ่งมิได้เป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระตามความหมายของวรรคที่ 5

 

7.             ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุมหรืออยู่ในความควบคุมของบริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบธุรกิจในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011