เมนูปิด

ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเชค
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

 

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเชค

              

               มีความปรารถนาที่จะทำอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

               ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

 

 

ข้อ 1
ขอบข่ายด้านบุคคล

                อนุสัญญานี้ใช้บังคับกับบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรืองทั้งสองรัฐ

 

 

ข้อ 2
ภาษีที่อยู่ในขอบข่าย

1.             อนุสัญญานี้จะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากเงินได้ที่บังคับจัดเก็บในนามของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือในนามของส่วนราชการ หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของรัฐนั้น โดยไม่คำนึงถึงวิธีการเรียกเก็บ

 

2.             ภาษีทั้งปวงที่บังคับจัดเก็บจากเงินได้ทั้งสิ้นหรือจากองค์ประกอบต่างๆ ของเงินได้ รวมทั้งภาษีที่เก็บจากผลได้จากการจำหน่ายสังหาริมทรัพย์หรือ อสังหาริมทรัพย์ ภาษีที่เก็บจากยอดเงินค่าจ้างหรือเงินเดือนซึ่งวิสาหกิจเป็นผู้จ่ายให้ ตลอดจนภาษีที่เก็บจากการเพิ่มค่าของทุนให้ถือว่าเป็นภาษีเก็บจากเงินได้

 

3.             ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

               (ก)          ซึ่งอนุสัญญานี้ใช้บังคับได้แก่

 

                              -        ภาษีเงินได้ และ

 

                              -        ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

 

                              (ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีไทย" )

 

               (ข)          ในกรณีประเทศเชค

 

                              -        ภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา

 

                              -        ภาษีเงินได้ของนิติบุคคล

 

4.             อนุสัญญานี้จะใช้บังคับกับภาษีใดๆที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันในสาระสำคัญ ซึ่งบังคับจัดเก็บภายหลังจากวันที่ได้ลงนามในอนุสัญญานี้ เป็นการเพิ่มเติม หรือแทนที่ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองจะได้แจ้งให้แก่กันและกันทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งได้มีขึ้นในกฎหมายภาษีอากรของแต่ละรัฐ

 

 

ข้อ 3
บทนิยามทั่วไป

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งอนุสัญญานี้ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

               (ก)          คำว่า "ประเทศไทย" หมายถึง ราชอาณาจักรไทย และรวมถึงพื้นที่ใด ซึ่งประชิดกับน่านน้ำ

                             อาณาเขตของราชอาณาจักรไทย ซึ่งตกอยู่ภายใต้ สิทธิของราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายไทย

                             และ กฎหมายระหว่าง ประเทศ

 

               (ข)          คำว่า "สาธารณรัฐเชค" หมายถึงอาณาเขตซึ่งสาธารณรัฐเชคมีสิทธิ ตามกฎหมายเชคและ

                             กฎหมายระหว่างประเทศ

 

               (ค)          คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมาย ถึง ประเทศไทยหรือสา

                             ธารณรัฐเชค แล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

               (ง)          คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา บริษัท คณะบุคคลอื่นใด ตลอดจน องค์กรใด ซึ่งถือเป็นหน่วย

                             ซึ่งอาจเก็บภาษีได้ ภายใต้ กฎหมายภาษี อากรที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

 

               (จ)          คำว่า "บริษัท" หมายถึง นิติบุคคล หรือองค์กรที่ถือว่าเป็นนิติบุคคล เพื่อความมุ่งประสงค์ใน

                             ทางภาษี

 

               (ฉ)          คำว่า "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจ ของรัฐผู้ ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมาย

                             ถึง วิสาหกิจที่ดำเนินการ โดยผู้มีถิ่นที่อยู่ ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและวิสาหกิจที่ดำเนินการ โดยผู้

                             มีถิ่นที่อยู่ในรัฐ ผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งตามลำดับ

 

               (ช)          คำว่า "ภาษี" หมายถึง ภาษีไทยหรือภาษีสาธารณรัฐเชค ตามที่ บริบทกำหนด

 

               (ซ)          คำว่า "คนชาติ" หมายถึง

 

                             (1)          บุคคลธรรมดาใดๆ ซึ่งมีสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                             (2)          นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน สมาคม และหน่วยอื่นใดที่มีสถานภาพ              นั้นตามกฎหมายที่

                                           ใช้บังคับอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญา รัฐหนึ่ง

 

               (ฌ)         คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึง การขนส่งใดๆทางเรือ หรือทางอากาศยาน ซึ่ง

                             ดำเนินการโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐ หนึ่ง ยกเว้นกรณีการเดินเรือหรือเดินอากาศยาน

                             ระหว่างสถานที่ต่างๆ ในรัฐผู้ทำสัญญาอีก รัฐหนึ่งเท่านั้น และ

 

               (ญ)         คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" ในกรณีของประเทศไทย หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

                             หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย และใน กรณีของสาธารณรัฐเชคหมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

                             การคลังหรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย

 

2.             ในการใช้บังคับอนุสัญญานี้โดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดๆที่มิได้นิยาม ไว้ในอนุสัญญานี้ให้มีความหมายซึ่งคำนั้นมีอยู่ตามกฎหมายของรัฐนั้นเกี่ยวกับภาษี ซึ่งอนุสัญญานี้ใช้บังคับ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

 

ข้อ 4
ผู้มีถิ่นที่อยู่

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งอนุสัญญานี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง "หมายถึง บุคคลใดๆผู้ซึ่งตามกฎหมายของรัฐนั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นโดยเหตุผลแห่งการมีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานจดทะเบียนบริษัท สถานจัดการหรือโดยเกณฑ์อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่คำนี้มิให้รวมถึงบุคคลใดผู้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นด้วยเหตุเฉพาะการมีเงินได้จากแหล่งในรัฐนั้นแต่เพียงอย่างเดียว

 

2.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาผู้หนึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้กำหนดสถานภาพของบุคคลดังกล่าวดังต่อไปนี้

 

               (ก)          ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีที่อยู่ ถาวรในรัฐนั้น ถ้าบุคคลนั้นมีที่

                             อยู่ถาวรในทั้งสองรัฐให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่น ที่อยู่ของรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและ

                             ทางเศรษฐกิจ ใกล้ชิดกว่า(ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ)

 

               (ข)          ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อัน สำคัญได้หรือถ้าบุคคลธรรมดา

                             นั้นไม่มีที่อยู่ถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐ หนึ่งรัฐใด ให้ถือว่า บุคคลธรรมดานั้น เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่

                             บุคคลนั้นมี ที่อยู่เป็นปกติวิสัย

 

               (ค)          ถ้าบุคคลธรรมดานั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐหรือไม่มีที่อยู่เป็น ปกติวิสัยในทั้งสองรัฐให้

                             ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของ รัฐที่บุคคลนั้นเป็น คนชาติ

 

               (ง)          ถ้าบุคคลธรรมดานั้นเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐหรือมิได้เป็นคนชาติของ ทั้งสองรัฐให้เจ้าหน้าที่ผู้มี

                             อำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐแก้ไข ปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน

 

3.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลนอกเหนือจากบุคคลธรรมดาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาแก้ไขปัญหาด้วยความตกลงร่วมกัน

 

 

ข้อ 5
สถานประกอบการถาวร

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำ ซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

 

2.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" โดยเฉพาะรวมถึง

 

               (ก)          สถานจัดการ

 

               (ข)          สาขา

 

               (ค)          สำนักงาน

 

               (ง)          โรงงาน

 

               (จ)          โรงช่าง

 

               (ฉ)          เหมืองแร่ บ่อน้ำมัน หรือบ่อก๊าซ เหมืองหิน หรือแหล่งขุด ทรัพยากร ธรรมชาติอื่นใด

 

               (ช)          ที่ทำการเพาะปลูกหรือไร่สวน

 

               (ซ)          คลังสินค้าในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก       ในการเก็บรักษาสินค้า

                             สำหรับบุคคลอื่น

 

               (ฌ)         ที่ตั้งอาคาร โครงการก่อสร้าง โครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบ หรือการให้คำแนะนำปรึกษา

                             เกี่ยวกับการนั้น โดยที่ที่ตั้ง โครงการ หรือ กิจกรรมเหล่านั้นดำเนินติดต่อกันเป็น ระยะเวลาเกินกว่า

                             6 เดือน

 

               (ญ)         การให้การบริการ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำ สัญญารัฐหนึ่งรัฐใดโดย

                             ผ่านทางลูกจ้างหรือบุคลากรอื่น ทั้งนี้ กิจกรรม ในลักษณะนั้นดำเนินติดต่อกัน สำหรับโครงการ

                             เดียวกันหรือโครงการที่ เกี่ยวเนื่องภายในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเป็นระยะเวลาเดียวหรือ หลาย

                             ระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือน ในระยะเวลาสิบสองเดือน

 

3.             แม้จะมีบทบัญญัติก่อนๆของข้อนี้อยู่ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" มิให้ถือว่ารวมถึง

 

               (ก)          การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการ เก็บ รักษาหรือการจัดแสดงสิ่งของ

                             หรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจ

 

               (ข)          การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นเพียง เพื่อความมุ่งประสงค์ในการ

                             เก็บรักษาหรือจัดแสดง

 

               (ค)          การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นเพียง เพื่อความมุ่งประสงค์ให้

                             วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ

 

               (ง)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดซื้อสิ่ง ของหรือสินค้าหรือเพื่อรวบ

                             รวมข้อสนเทศเพื่อ วิสาหกิจนั้น

 

               (จ)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการโฆษณา การให้ข้อสนเทศ การวิจัย

                             ทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อกิจกรรมที่คล้าย คลึงกันซึ่งมีลักษณะเป็นการเตรียมการหรือเป็นส่วน

                             ประกอบให้แก่ วิสาหกิจนั้น

 

               (ฉ)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อประกอบกิจกรรมที่กล่าวถึงในอนุ วรรค (ก) ถึง (จ) โดยมี

                             เงื่อนไขว่ากิจกรรมทั้งมวลของสถานธุรกิจ ประจำเป็นผลจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าวอันมี

                             ลักษณะเป็นการ เตรียมการ หรือส่วนประกอบ

 

4.             แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 1 และ 2 เมื่อบุคคลนอกเหนือจากตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 6 กระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจะถือว่าวิสาหกิจนั้นมีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก ถ้าบุคคลนั้น

 

               (ก)          มีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่ง อำนาจในการ ทำสัญญาในนามของ

                             วิสาหกิจนั้น เว้นไว้แต่ว่า กิจกรรมต่างๆของ บุคคลนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะเพียงการ ซื้อของหรือ

                             สินค้าเพื่อวิสาหกิจนั้น

 

               (ข)          ไม่มีอำนาจดังกล่าวแต่ได้เก็บรักษาอย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าว ถึงรัฐแรกซึ่งมูลภัณฑ์ของ

                             ของหรือสินค้าซึ่งเป็นของ วิสาหกิจนั้น และ ดำเนินการตามคำสั่งซื้อหรือส่งมอบในนาม ของ

                             วิสาหกิจนั้นอยู่เป็น ประจำ หรือ

 

               (ค)          ไม่มีอำนาจดังกล่าว แต่ได้จัดหาอย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐ แรก ซึ่งคำสั่งซื้อทั้งหมด

                             หรือเกือบทั้งหมดเพื่อวิสาหกิจนั้น หรือเพื่อ วิสาหกิจนั้น และวิสาหกิจอื่นๆซึ่งอยู่ในความควบคุม

                             ของวิสาหกิจนั้น หรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

5.           วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเพียงเพราะว่าวิสาหกิจดังกล่าวดำเนินธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้นโดยผ่านทางนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไป หรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระโดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเช่นว่านั้นกระทำการอันเป็นปกติธุระในธุรกิจของตนอย่างไรก็ตาม ถ้ากิจกรรมของตัวแทนดังกล่าวทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดได้กระทำในนามวิสาหกิจนั้น หรือกระทำในนามของวิสาหกิจนั้นกับวิสาหกิจอื่นๆซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้นหรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น บุคคลเช่นว่านี้จะไม่ถือว่าเป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระตามความหมายของวรรคนี้

 

6.           เพียงแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุมหรืออยู่ในความควบคุมของบริษัท ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011