ข้อ 26 การไม่เลือกประติบัติ 1. คนชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง จะต้องไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งให้เสียภาษีอากรใดๆ หรือให้ปฎิบัติตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ใดๆ เกี่ยวกับการนั้นอันเป็นการนอกเหนือไปจาก หรือเป็นภาระหนักกว่าการเก็บภาษีอากรและข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งคนชาติของอีกรัฐหนึ่งนั้นถูกหรืออาจถูกบังคับให้เสียหรือให้ปฏิบัติตามในสถานการณ์เดียวกันบทบัญญัตินี้จะใช้บังคับกับบุคคลผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือทั้งสองรัฐด้วย 2. ภาษีอากรที่เก็บจากสถานประกอบการถาวรซึ่งวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งมีอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง จะต้องไม่เรียกเก็บในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้นโดยเป็นการอนุเคราะห์น้อยกว่าภาษีอากรที่เรียกเก็บจากวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งที่ประกอบกิจกรรรมอย่างเดียวกัน บทบัญญัตินี้จะไม่แปลความเป็นการผูกพันรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งต้องยอมให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งค่าลดหย่อนส่วนบุคคล การบรรเทาภาระและการหักลดใด ๆ เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางภาษีอันเนื่องมาจากความเป็นพลเมือง หรือความรับผิดชอบทางครอบครัวซึ่งรัฐนั้นให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐของตน 3. ยกเว้นในกรณีที่บทบัญญัติของวรรค 1 ของข้อ 9 (วิสาหกิจในเครือ) วรรค 7 ของ ข้อ 11 (ดอกเบี้ย) หรือวรรค 6 ของข้อ 12 (ค่าสิทธิ) ใช้บังคับ ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจ่ายให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ในการกำหนดกำไรที่จะต้องเสียภาษีของผู้มีถิ่นที่อยู่ที่กล่าวถึงคนแรก จะนำมาหักได้ภายใต้เงื่อนไขเช่นเดียวกัน เสมือนว่าเงินเหล่านั้นได้จ่ายให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก 4. วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งซึ่งผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง คนเดียวหรือหลายคนเป็นเจ้าของหรือควบคุมทุนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของวิสาหกิจนั้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม จะไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกให้ เสียภาษีอากรใดๆ หรือปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ใดๆ เกี่ยวกับการนั้น อันเป็นการนอกเหนือไปจากหรือเป็นภาระหนักกว่าการเก็บภาษีอากรและข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งวิสาหกิจอื่นที่คล้ายคลึงกันของรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรกถูกหรืออาจถูกบังคับให้เสีย หรือให้ปฏิบัติตาม 5. ไม่มีบทบัญญัติของข้อนี้จะแปลความเป็นการห้ามรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองเก็บภาษีตามที่ระบุในข้อ 14 (ภาษีสาขา) ข้อ 27 วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน 1. ในกรณีที่บุคคลพิจารณาเห็นว่าการกระทำของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดหรือทั้งสองรัฐมีผลหรือจะมีผลให้ตนเองต้องเสียภาษีอากร โดยไม่เป็นไปตามทบัญญัติของอนุสัญญานี้ บุคคลผู้นั้นอาจยื่นเรื่องราวของตนต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาที่ตนมีถิ่นที่อยู่ หรือกรณีของบุคคลนั้นอยู่ภายใต้วรรค 1 ของข้อ 26 (การไม่เลือกประติบัติ) ก็ให้ยื่นต่อรัฐผู้ทำสัญญาที่เป็นคนชาติ โดยไม่ต้องคำนึงถึงทางแก้ไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญา คำร้องดังกล่าวต้องยื่นภายในสามปี นับจากที่ได้มีการแจ้งการกระทำครั้งแรกที่ก่อให้เกิดการเรียกเก็บภาษีอันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ 2. ถ้าข้อคัดค้านนั้นปรากฏแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจว่ามีเหตุผลสมควรและถ้าตนไม่สามารถที่จะหาทางแก้ไขที่เหมาะสมได้เอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพยายามแก้ไขกรณีนั้นโดยความตกลงร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อการเว้นการเก็บภาษีอันไม่เป็นไปตามอนุสัญญา 3. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะต้องพยายามแก้ไขความยุ่งยากหรือข้อสงสัยใด ๆ อันเกิดขึ้นเกี่ยวกับการตีความหรือการใช้บังคับอนุสัญญาโดยความตกลงร่วมกัน เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐอาจตกลงเป็นการเฉพาะเพื่อเพิ่มจำนวนใด ๆ ที่ระบุไว้ในอนุสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและทางการเงิน 4 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจทั้งสองได้ตกลงตามที่ระบุในวรรค 2 และ 3 ภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ดังกล่าว และการคืนเงินหรือการให้เครดิตภาษีจะยอมให้โดยรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองตามความตกลงดังกล่าว 5. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐอาจติดต่อซึ่งกันและกันโดยตรงเพื่อความมุ่งประสงค์ให้มีความตกลงกัน ตามความหมายแห่งวรรคก่อน ๆ นั้น ข้อ 28 การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ 1. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนข้อสนเทศอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงนี้หรือตามกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งเกี่ยวกับภาษีอากรที่อยู่ในขอบข่ายของบทบัญญัติของอนุสัญญานี้ตราบเท่าที่การเก็บภาษีอากรตามกฎหมายนั้นไม่ขัดกันกับอนุสัญญา การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศจะไม่ถูกจำกัดโดยข้อ 1 (ขอบข่ายด้านบุคคล) ข้อสนเทศใดที่ได้รับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งให้ถือว่าเป็นความลับเช่นเดียวกันกับข้อสนเทศที่ได้รับภายใต้กฎหมายภายในของรัฐนั้นและจะเปิดเผยได้เฉพาะกับบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งศาลและองค์การ ฝ่ายบริหาร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินหรือการจัดเก็บหรือการบริหารการบังคับหรือการดำเนินคดี หรือการชี้ขาดคำอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่อยู่ในขอบข่ายของอนุสัญญานี้ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่เช่นว่านั้นจะใช้ข้อสนเทศนั้นเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์นั้นเท่านั้น บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจเปิดเผยข้อสนเทศในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลหรือในคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล 2. ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม มิให้แปลความหมายบทบัญญัติของวรรค 1 เป็นการตั้งข้อผูกพันให้รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดต้อง (ก) ดำเนินมาตรการทางการบริหาร โดยบิดเบือนไปจากกฎหมายและวิธีปฏิบัติทางการบริหารของ รัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง (ข) ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามทางการบริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำสัญญา รัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง (ค) ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือ วิชาชีพ หรือกรรมวิธีทางการค้า หรือข้อสนเทศซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการขัดกับนโยบาย สาธารณะ (ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของสาธารณชน ) 3. ภายใต้บทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อ 31 (การเลิกใช้) ถ้ารัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ร้องขอข้อมูลตามข้อนี้ รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจะจัดหาข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับคำขอในวิธีการและเนื้อหาเดียวกันเสมือนหนึ่งว่าภาษีในรัฐที่ผู้กล่าวถึงรัฐแรกเป็นภาษีของรัฐอีกรัฐหนึ่ง และจัดเก็บโดยรัฐอีกรัฐหนึ่งการบังคับใช้ของวรรคนี้ จะถูกระงับไว้จนถึงเวลาที่รัฐบาลของประเทศสหรัฐได้รับเอกสารทางการทูตจากรัฐบาลของประเทศไทยซึ่งบ่งชี้ว่าประเทศไทยได้เตรียมการและสามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติของวรรคนี้ได้ 4. เพื่อความมุ่งประสงค์ของข้อนี้ อนุสัญญาจะใช้บังคับภาษีทุกประเภทแม้จะมีบทบัญญัติของข้อ 2 (ขอบข่ายด้านภาษี) (1) ในกรณีของประเทศสหรัฐ ภายใต้ประมวลรัษฎากรภายในประเทศ (Internal Revenue Code) และ (2) ในกรณีของประเทศไทย ภายใต้ประมวลรัษฎากรและพระราชบัญญัติกฎหมายภาษีเงิน ได้ปิโตรเลียม ข้อ 29 ผู้แทนทางการทูตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้จะมีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของผู้แทนทางการทูตหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย ข้อ 30 การเริ่มใช้บังคับ 1. อนุสัญญานี้จะได้รับการให้สัตยาบันตามขั้นตอนที่ใช้บังคับอยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ และจะได้ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ณ วอชิงตัน โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2. อนุสัญญานี้จะเริ่มใช้บังคับต่อเมื่อมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารและจะมีผลใช้บังคับ (ก) ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่ได้จ่ายหรือเครดิตในหรือหลังจากวัน แรก ของเดือนที่หกถัดจากวันที่อนุสัญญาเริ่มใช้บังคับ (ข) ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ สำหรับปีภาษีที่เริ่มต้นในหรือ หลังจากวันแรกของ เดือน มกราคมถัดจากวันที่อนุสัญญาเริ่มใช้บังคับ ข้อ 31 การเลิกใช้ 1. อนุสัญญานี้จะยังคงมีผลใช้บังคับจนกระทั่งเลิกใช้โดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งแต่รัฐผู้ทำสัญญารัฐใดรัฐหนึ่งอาจเลิกใช้อนุสัญญาในเวลาใด ๆ ภายหลังห้าปีนับจากวันที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับโดยมเงื่อนไขว่าการแจ้งการเลิกใช้จะต้องแจ้งอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการเลิกใช้ โดยผ่านช่องทางการทูต ในกรณีเช่นว่านั้นอนุสัญญาเป็นอันเลิกมีผลใช้บังคับ (ก) ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับจำนวนที่จ่ายหรือเครดิตในหรือหลังจากวันแรกของ เดือนมกราคมถัดจากระยะเวลา 6 เดือนของการสิ้นผลใช้บังคับ (ข) ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่น ๆ สำหรับปีภาษีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวัน แรกของ เดือนมกราคมถัดจากระยะเวลา 6 เดือน ของการสิ้นผลใช้บังคับ 2. แม้จะมีวรรค 1 อนุสัญญานี้จะเลิกใช้ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่ 6 ถัดจากปีที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับยกเว้นรัฐบาลของประเทศสหรัฐได้รับหนังสือทางการทูตจากรัฐบาลของประเทศไทยในลักษณะตามที่ระบุไว้ในประโยคสุดท้ายของวรรค 3 ของข้อ 28 (การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ) ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีที่5 ถัดจากปีที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 เป็นภาษาอังกฤษ สำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(ดร.อำนวย วีรวรรณ) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | สำหรับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
(วิลเลียม เอช.อิโตะ) เอกอัครราชทูตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา |
บันทึกสาระสำคัญ
การให้การปฎิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งเป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องกี่ยวกับการยอมให้ความช่วยเหลือเชิงภาษีโดยประเทศสหรัฐ เป็นที่เข้าว่าถ้าประเทศสหรัฐหลังจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับบทบัญญัติว่าด้วยความช่วยเหลือเชิงภาษี หรือ ถ้าประเทศสหรัฐมีข้อตกลงจัดทำบทบัญญัติว่าด้วยความช่วยเหลือเชิงภาษีดังกล่าวกับประเทศอื่นใด ประเทศสหรัฐจะตกลงเปิดการเจรจาใหม่กับประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำข้อสรุปในพิธีสารโดยกำหนดให้ความช่วยเหลือเชิงภาษีที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย ในการปฎิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งเป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเก็บภาษีอากรของกำไรจากการเดินเรือ เป็นที่เข้าใจว่าถ้าประเทศไทยตกลงในสนธิสัญญาหรือความตกลงยื่นกับประเทศอื่นใดใน (1) อัตราภาษีจากเงินได้หรือกำไรที่ได้รับโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ของประเทศอื่นๆ เหล่านั้นเกี่ยวกับการดำเนินการเดินเรือ ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราที่ระบุในวรรค 2 ข้อข้อ 8 (การขนส่งทางเรือและทางอากาศ) หรือที่อำนวยประโยชน์มากกว่าการปฏิบัติที่ระบุในวรรค 8 ของข้อ 7 (กำไรจากธุรกิจ) หรือวรรค 4 ของข้อ 8 (การขนส่งทางเรือและอากาศยาน) ประเทศไทยจะตกลงเปิดการเจรจาใหม่กับประเทศสหรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำข้อสรุปในพิธีสารให้ใช้อัตราที่ต่ำกว่านั้นหรือการปฏิบัติที่ให้ความอนุเคราะห์มากมากว่านั้นแก่ผุ้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพิธีสารให้เครดิตภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของประเทศไทย เป็นที่เข้าใจว่าการใช้คำว่า เงื่อนไข ในวรรค 1 ของข้อ 25 (การบรรเทาภาระภาษีซ้อน) มีเจตนาเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากฎระเบียบของประเทศสหรัฐเกี่ยวกับ ฐานซ้ำซ้อน ที่ผู้เสียภาษีจะนำมาใช้ในการกำหนดขอบเขตนั้น ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของประเทศไทยจะให้ถือว่าเป็นภาษีเงินได้ภายใต้ข้อ 25 |