เมนูปิด

ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐมอริเชียส

เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้


รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐมอริเชียส

 

            มีความปราถนาที่จะจัดทำความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เก็บจากเงินได้

 

                ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

 

 

 

ข้อ 1

ขอบข่ายด้านบุคคล

 

                อนุสัญญานี้จะใช้บังคับกับบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง หรือทั้งสองรัฐ

 

 

ข้อ 2

ภาษีที่อยู่ในขอบข่าย

 

1.             ความตกลงนี้ให้ใช้บังคับกับภาษีเก็บจากเงินได้ที่บังคับจัดเก็บในนามของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในนามของส่วนราชการ ของแต่ละรัฐ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการเรียกเก็บ

 

2.             ภาษีทั้งปวงที่ตั้งบังคับจัดเก็บจากเงินได้ทั้งสิ้น หรือจากองค์ประกอบของเงินได้ รวมทั้ง ภาษีที่เก็บจากผลได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนภาษีที่ เก็บจากยอดเงินค่าจ้าง หรือเงินเดือนที่จ่ายโดยวิสาหกิจ

 

3.             ภาษีที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งความตกลงนี้จะใช้บังคับ ได้แก่

 

                (ก)                ในกรณีประเทศมอริเชียส

 

                                (1) ภาษีเงินได้

 

                                (ต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีมอริเชียส")

 

                (ข) ในกรณีประเทศไทย

 

                                - ภาษีเงินได้ และ

 

                                - ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

 

                                (ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีไทย")

 

4.             ความตกลงนี้จะใช้บังคับกับภาษีใดๆ ที่มีลักษณะเหมือนกันในสาระสำคัญที่บังคับจัดเก็บในนามรัฐผู้ทำสัญญารัฐใดรัฐหนึ่งภายหลังจากวันที่ได้ลงนามในความตกลงนี้เป็นการเพิ่มเติม หรือแทนที่ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

5.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะแจ้งให้แก่กันและกันทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใดๆ ซึ่งได้มีขึ้นในกฎหมายภาษีอากรของแต่ละรัฐ และหากมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติใดๆ ในความตกลงฉบับนี้โดยไม่มีผลกระทบต่อหลักการทั่วไปนั้นการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นจะสามารถทำได้โดยการตกลงร่วมผ่านการแลกเปลี่ยนหนังสือ

 

 

 

ข้อ 3

บทนิยามทั่วไป

 

1.             ในความตกลงนี้

 

                (ก)                คำว่า "ประเทศมอริเชียส" หมายความว่าสาธารณรัฐมอริเชียสและรวมถึง

 

                                (1) อาณาเขตและเกาะทั้งหลาย ซึ่งตามกฎหมายของประเทศมอริเชียสถือเป็น รัฐมอริเชียส

 

                                (2) ทะเลอาณาเขตของประเทศมอริเชียส และ

 

                                (3) พื้นที่อื่นใดๆ นอกทะเลอาณาเขตของประเทศมอริเชียสที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้หรือต่อไปอาจกำหนด และภายใต้กฎหมายของประเทศมอริเชียสให้เป็นพื้นที่รวมถึงไหล่ทวีปซึ่งอยู่ภายใต้สิทธิของประเทศมอริเชียสที่อาจใช้สิทธิเกี่ยวกับทะเลก้นทะเล และดินใต้ผิวดินก้นทะเล และทรัพยากรธรรมชาติของตนภายในพื้นที่นั้นๆ ได้

 

                (ข)          คำว่า "ประเทศไทย" หมายความว่าราชอาณาจักรไทยและรวมถึงพื้นที่ใดๆซึ่งประชิดกับน่านน้ำอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย ซึ่งตามกฎหมายไทยและตามกฎหมาย ระหว่างประเทศได้กำหนดหรือต่อไปอาจกำหนดให้เป็นพื้นที่ซึ่งราชอาณาจักรไทยอาจใช้สิทธิเกี่ยวกับก้นทะเลและดินใต้ผิวดินก้นทะเลและทรัพยากรธรรมชาติของตน ภายในพื้นที่นั้นๆได ้

 

                (ค)          คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึง ประเทศมอริเชียสหรือประเทศไทย แล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

                (ง)          คำว่า "บริษัท" หมายถึงนิติบุคคลใดๆหรือหน่วยใดๆ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางภาษ ี

 

                (จ)          คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายถึง

 

                               (1) ในกรณีของประเทศมอริเชียส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

                               (2) ในกรณีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

                (ฉ)          คำว่า "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึงวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งตามลำดับ

 

                (ช)          คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึง การขนส่งใดๆ ทางเรือ หรือทางอากาศ ซึ่งดำเนินการโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ยกเว้นกรณีการเดินเรือหรือการเดินอากาศยานระหว่างสถานที่ต่างๆในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเท่านั้น

 

                (ซ)          คำว่า "คนชาติ" หมายถึง บุคคลธรรมดาทั้งปวงที่เป็นคนชาติหรือมีสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ตลอดจนบุคคลตามกฎหมายใดๆ ห้างหุ้นส่วน สมาคมหรือหน่วยใดๆที่มีสถานภาพของตนนั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                (ฌ)         คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา บริษัท ทรัสต์ กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งตลอดจนคณะบุคคลใดๆ ซึ่งถือเป็นหน่วยภาษี และ

 

                (ญ)         คำว่า "ภาษี" หมายถึง ภาษีมอริเชียสหรือภาษีไทยแล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

2.             เมื่อใดก็ตามที่ความตกลงนี้ใช้บังคับโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดๆ ที่มิได้นิยามไว้ในความตกลงนี้ ให้มีความหมายซึ่งคำนั้นมีอยู่ตามกฎหมายของรัฐนั้นเกี่ยวกับภาษีซึ่งความตกลงนี้ใช้บังคับ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ความหมายใดๆภายใต้กฎหมายภาษีที่ใช้บังคับอยู่ของรัฐนั้น จะมีผลบังคับเหนือคำจำกัดความภายใต้กฎหมายอื่น ของรัฐนั้น

 

 

 

ข้อ 4

ผู้มีถิ่นที่อยู่

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" หมายถึง บุคคลใดๆภายใต้กฎหมายของประเทศนั้นที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยเหตุผลแห่งภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานที่ก่อตั้ง สถานจัดการหรือโดยเกณฑ์อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และรวมถึงรัฐคู่ทำสัญญา และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใดๆ หรือในนามของส่วนราชการของรัฐนั้น อย่างไรก็ดี คำนี้มิให้รวมถึงบุคคลใดซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นด้วยเหตุเฉพาะการมีเงินได้จากแหล่งในรัฐนั้น

 

2.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาผู้ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้กำหนดสถานภาพของบุคคลดังกล่าวดังต่อไปนี้

 

                (ก)          ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวร ถ้าบุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวรในทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า (ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ)

 

                (ข)          ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญได้หรือถ้าบุคคลธรรมดานั้นไม่มีที่อยู่ถาวรในรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐ ที่บุคคลนั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัย

 

                (ค)          ถ้าบุคคลธรรมดานั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐหรือไม่มีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐ ให้ถือว่า เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐที่บุคคลนั้นเป็นคนชาติ

 

                (ง)          ถ้าบุคคลธรรมดานั้นเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐหรือไม่เป็นคนชาติของทั้งสองรัฐให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐพยายามแก้ไขปัญหาโดยความตกลง ร่วมกัน

 

3.             ในกรณีที่ตามเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บริษัทเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่บริษัทนั้นได้ก่อตั้งขึ้น หรือภายใต้กฎหมายที่ถือว่าบริษัทนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ ถ้าบริษัทนั้นยังคงเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในทั้งสองรัฐ จะถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่มีสถานการจัดการตั้งอยู่ ถ้าไม่อาจกำหนด รัฐที่ตั้งของสถานจัดการของบริษัทนั้นได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐพยายามแก้ไขปัญหาโดย ความตกลงร่วมกัน

 

 

 

ข้อ 5

สถานประกอบการถาวร

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

 

2.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" โดยเฉพาะรวมถึง

 

                (ก)          สถานจัดการ

 

                (ข)          สาขา

 

                (ค)          สำนักงาน

 

                (ง)          โรงงาน

 

                (จ)          โรงช่าง

 

                (ฉ)          คลังสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา สินค้าสำหรับบุคคลอื่น

 

                (ช)          ที่ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือไร่สวน

 

                (ซ)          เหมืองแร่ บ่อน้ำมันหรือบ่อก๊าซ เหมืองหิน หรือสถานที่อื่นใดที่ใช้ในการขุดค้น ทรัพยากรธรรมชาติ

 

                (ฌ)         การติดตั้งหรือโครงสร้างที่ใช้เพื่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ

 

3.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ในทำนองเดียวกันให้หมายรวมถึง

 

                (ก)          ที่ตั้งอาคาร โครงการก่อสร้าง โครงการประกอบหรือโครงการติดตั้ง หรือกิจกรรมตรวจควบคุมเกี่ยวกับโครงการนั้น ในกรณีที่ตั้งโครงการหรือกิจกรรมนั้นดำเนินการติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน

 

                (ข)          การให้บริการ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งโดยผ่านทางลูกจ้างหรือพนักงานอื่นในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ทั้งนี้ กิจกรรมในลักษณะนั้นดำเนินติดต่อกัน สำหรับโครงการเดียวกันหรือโครงการที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะเวลาเดียวหรือหลายระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา สิบสองเดือนใดๆ

 

4.             แม้จะมีบทบัญญัติก่อนๆของข้อนี้อยู่ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ให้ถือว่าไม่รวมถึง

 

                ก)            การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเก็บรักษาหรือ การจัดแสดงสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้น

 

                ข)            การเก็บรักษามูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจเพียงเพื่อความมุ่ง ประสงค์ในการเก็บรักษา หรือการจัดแสดง

 

                ค)            การเก็บรักษามูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจเพียงเพื่อความมุ่ง ประสงค์ให้วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ

 

                ง)            การมีสถานธุรกิจประจำเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดซื้อสิ่งของ หรือสินค้า หรือ รวบรวมข้อสนเทศเพื่อวิสาหกิจนั้น

 

                จ)            การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการโฆษณา การให้ข้อสนเทศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันซึ่งมีลักษณะเป็นการเตรียม การหรือเป็นส่วนประกอบให้แก่วิสาหกิจนั้น

 

                ฉ)           การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อดำเนินกิจกรรมที่กล่าวถึงในอนุวรรค (ก) ถึง (จ) โดยมีเงื่อนไขว่า กิจกรรมทั้งมวลของสถานธุรกิจประจำ ซึ่งเป็นผลมาจากการรวมเข้ากันนี้ มีลักษณะเป็นการเตรียมการหรือส่วนประกอบ

 

5.             แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 1 และวรรค 2 เมื่อบุคคล (นอกเหนือจากตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 6) กระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งให้ถือว่าวิสาหกิจนั้นมีสถานประกอบการถาวรในรัฐนั้น แม้ว่า บุคคลนั้นไม่มีสถานธุรกิจประจำในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ถ้า

 

                ก)            บุคคลนั้นมีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรกซึ่งอำนาจในการทำสัญญาในนามของวิสาหกิจนั้น เว้นแต่ว่ากิจกรรมของบุคคลนั้นจะถูกจำกัดเพียงการซื้อสิ่งของ หรือสินค้าให้กับวิสาหกิจ

 

                ข)            บุคคลนั้นได้เก็บรักษาในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งมูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าที่เป็นของ วิสาหกิจนั้น โดยบุคคลนั้นดำเนินการทำการส่งมอบมูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าใน นามของวิสาหกิจนั้นอยู่เป็นปกติ

 

6.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพียงเพราะว่าวิสาหกิจดังกล่าวดำเนินธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งโดยผ่านทางนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคล เช่นว่านั้นได้กระทำการอันเป็นปกติแห่งธุรกิจของตน

 

7.             ข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุม หรืออยู่ในความควบคุมของบริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบ ธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011