เมนูปิด

 

ความตกลง

ระหว่าง

รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

และ

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย

เพื่อ การเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร

ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

 

รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย

 

               มีความปรารถนาที่จะทำความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

 

 

ข้อ 1

ขอบข่ายด้านบุคคล

 

               ความตกลงนี้จะใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือทั้งสองรัฐ

 

 

ข้อ 2

ภาษีที่อยู่ในขอบข่าย

 

1.             ความตกลงนี้จะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากเงินได้ที่บังคับจัดเก็บในนามของรัฐผู้ทำ สัญญา รัฐหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงวิธีการเรียกเก็บ

 

2.             ภาษีทั้งปวงที่บังคับจัดเก็บจากเงินได้ทั้งสิ้น หรือจากองค์ประกอบต่าง ๆ ของเงินได้ รวมทั้งภาษี ที่เก็บจากผลได้จากการจำหน่ายสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ภาษีที่เก็บจาก ยอดเงินค่าจ้าง หรือ เงินเดือนซึ่งวิสาหกิจเป็นผู้จ่ายให้ ตลอดจนภาษีที่เก็บจากการเพิ่มค่าของทุนให้ถือว่าเป็นภาษีเก็บจากเงินได้

 

3.             ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งความตกลงนี้จะใช้บังคับ ได้แก่

 

               (ก)          ในกรณีประเทศไทย

 

                             (1)          ภาษีเงินได้ และ

 

                             (2)          ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

 

                                            (ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีไทย")

 

               (ข)          ในกรณีของอินโดนีเซีย

 

                             ภาษีเงินได้ที่จัดเก็บภายใต้ the Undang - undang Pajak Penghasilan 1984

                             (Law Number 7 of 1983 as amended)

 

                             (ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีอินโดนีเซีย")

 

 

4.             ความตกลงนี้จะใช้บังคับกับภาษีเงินได้ใดๆ ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ในสาระสำคัญ ซึ่งบังคับจัดเก็บภายหลังจากวันที่ได้ลงนามในความตกลงนี้ เป็นการเพิ่มเติม หรือแทนที่ภาษีที่อ้างถึงในวรรค 3 เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองจะได้แจ้งแก่กันและกัน ให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งได้มีขึ้นในกฎหมายภาษีอากรของแต่ละรัฐ

 

 

ข้อ 3

บทนิยามทั่วไป

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

               (ก)          คำว่า "ประเทศอินโดนีเซีย" ประกอบด้วยอาณาเขตของสาธารณรัฐ

                              อินโดนีเซีย ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายของตน และพื้นที่ที่ประชิดซึ่ง

                              สาธารณรัฐอินโดนีเซียมีอำนาจอธิปไตย สิทธิแห่งอธิปไตยหรือเขตอำนาจ

                              ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

               (ข)          คำว่า "ประเทศไทย" หมายถึง ราชอาณาจักรไทย และรวมถึงพื้นที่ใด

                              ซึ่งประชิดกับน่านน้ำอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย ซึ่งตกอยู่ภายใต้สิทธิ

                              ของราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ

 

               (ค)          คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึง

                              ประเทศอินโดนีเซียหรือประเทศไทย แล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

               (ง)          คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา บริษัท และคณะบุคคลอื่นใดตลอดจน

                             นิติบุคคลใด ๆ ซึ่งถือเป็นหน่วยภายใต้กฎหมายภาษีอากรที่ใช้บังคับในรัฐ

                             ผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ

 

               (จ)          คำว่า "บริษัท" หมายถึง นิติบุคคลใด ๆ หรือหน่วยใด ๆ ที่ถือว่าเป็นนิติบุคคล

                             ภายใต้กฎหมายภาษีอากรที่ใช้บังคับในรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ

 

               (ฉ)          คำว่า "คนชาติ" หมายถึง

 

                             (1)          บุคคลธรรมดาใด ๆ ซึ่งมีสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                             (2)          นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วน สมาคมและหน่วยอื่นใดที่ได้รับสถานภาพนั้นตาม

                                             กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

 

               (ช)          คำว่า " วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำ

                             สัญญา อีกรัฐหนึ่ง" หมายถึง วิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำ

                             สัญญารัฐหนึ่งและวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญา อีกรัฐหนึ่งตามลำดับ

 

 

               (ซ)          คำว่า "ภาษี" หมายถึง ภาษีอินโดนีเซียหรือภาษีไทย แล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

               (ฌ)         คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึง การขนส่งใดๆทางเรือหรือ

                              ทางอากาศยาน ซึ่งดำเนินการโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

                              ยกเว้นกรณีการเดินเรือหรือเดินอากาศยานระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ในรัฐผู้ทำ

                              สัญญาอีกรัฐหนึ่งเท่านั้น และ

 

               (ญ)        คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายถึง

 

                             (1)          ในกรณีประเทศอินโดนีเซีย หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

                                            หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย และ

 

                             (2)          ในกรณีประเทศไทย หมายถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือ

                                            ผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย

 

2.             ในการใช้บังคับความตกลงนี้ โดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดๆ ที่มิได้นิยามไว้ใน ความตกลงนี้ให้มีความหมาย ซึ่งคำนั้นมีอยู่ตามกฎหมายของรัฐนั้นเพื่อความมุ่งประสงค์ในทางภาษี ซึ่งความตกลงนี้ใช้บังคับ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

 

ข้อ 4

ผู้มีถิ่นที่อยู่

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง หมายถึง บุคคลใดๆ ผู้ซึ่งตามกฎหมายของรัฐนั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นโดยเหตุผลแห่งการมี ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานจดทะเบียนบริษัท สถานจัดการหรือโดยเกณฑ์อื่นใดที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน แต่คำนี้มิให้รวมถึงบุคคลใด ๆ ผู้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นด้วย เหตุเฉพาะการ มีเงินได้จากแหล่งในรัฐนั้นแต่เพียงอย่างเดียว

 

2.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาผู้หนึ่งเป็นผู้มีถิ่น ที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้กำหนดสถานภาพของบุคคลดังกล่าวดังต่อไปนี้

 

               (ก)          ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวร

                              อยู่ในรัฐนั้น ถ้าบุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวรในทั้งสองรัฐให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐ

                              ซึ่งบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า

                              (ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ)

 

               (ข)          ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ

                              ได้หรือถ้าบุคคลธรรมดานั้นไม่มีที่อยู่ถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใด

                              ให้ถือว่า บุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐที่บุคคลนั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัย

 

               (ค)          ถ้าบุคคลธรรมดานั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐหรือไม่มีที่อยู่เป็นปกติวิสัย

                              ในสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐแก้ไขปัญหา

                              โดยความตกลงร่วมกัน

 

3.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลนอกเหนือจากบุคคลธรรมดา เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองจะแก้ไขปัญหาโดยวิธีตกลงร่วมกัน

 

 

ข้อ 5

สถานประกอบการถาวร

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

 

2.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" โดยเฉพาะรวมถึง

 

               (ก)          สถานจัดการ

 

               (ข)          สาขา

 

               (ค)          สำนักงาน

 

               (ง)          โรงงาน

 

               (จ)          โรงช่าง

 

               (ฉ)          สถานที่ที่ใช้เพื่อจำหน่ายสินค้า

 

               (ช)          คลังสินค้าในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล ซึ่งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บ

                              รักษาสินค้าสำหรับบุคคลอื่น

 

               (ซ)          ที่ทำการเพาะปลูก หรือไร่สวน หรือสถานที่อื่นที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการเกษตร

                              ทุ่งหญ้า ป่าไม้ หรือไร่สวน

 

               (ณ)         เหมืองแร่ บ่อน้ำมัน หรือบ่อก๊าซ เหมืองหิน หรือแหล่งขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ

                              อื่นใด แท่นหรือเรือขุดเจาะที่ใช้สำหรับการสำรวจหรือแสวงประโยชน์จาก

                              ทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ

 

3.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ให้หมายรวมถึง

 

               (ก)          ที่ตั้งอาคาร โครงการก่อสร้าง โครงการติดตั้ง หรือโครงการประกอบหรือกิจกรรม

                              ตรวจควบคุมเกี่ยวกับโครงการนั้น แต่เฉพาะที่ตั้ง โครงการหรือกิจกรรมในรัฐ

                              ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งสำหรับระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน

 

               (ข)          การให้บริการรวมถึงการให้บริการปรึกษาโดยวิสาหกิจ ผ่านลูกจ้างหรือพนักงานอื่น

                              ที่จ้างโดยวิสาหกิจนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว แต่เฉพาะกรณีที่กิจกรรมเช่นว่านั้น

                              ดำรงอยู่ (เพื่อโครงการเดียวกัน หรือโครงการต่อเนื่องกัน) ในประเทศนั้น

                              ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือนภายใน

                              12 เดือนใดๆ

 

4.             แม้จะมีบทบัญญัติก่อนๆ ของข้อนี้อยู่ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" มิให้ถือว่ารวมถึง

               (ก)          การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเก็บรักษาหรือการ

                              จัดแสดงสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจ

 

               (ข)          การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นเพียงเพื่อความ

                              มุ่งประสงค์ในการเก็บรักษาหรือการจัดแสดง

 

               (ค)          การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นเพียงเพื่อความ

                              มุ่งประสงค์ให้วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ

 

               (ง)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดซื้อสิ่งของ หรือ

                              สินค้าหรือเพื่อรวบรวมข้อสนเทศเพื่อวิสาหกิจนั้น

 

               (จ)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการโฆษณา หรือ

                              การจัดหาข้อมูล

 

               (ฉ)          การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อดำเนินกิจกรรมที่กล่าวถึงในอนุวรรค ก) ถึง จ)

                              โดยมีเงื่อนไขว่า กิจกรรมทั้งมวลของสถานธุรกิจประจำ ซึ่งเป็นผลมาจากการ

                              รวมเข้ากันนี้ มีลักษณะเป็นการเตรียมการหรือส่วนประกอบ

 

5.             เมื่อบุคคล (นอกเหนือจากนายหน้าซื้อขาย ตัวแทนนายหน้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใด

ที่มีสถานภาพเป็นอิสระซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 7 ) กระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนาม ของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง จะถือว่าวิสาหกิจนั้นมีสถานประกอบการถาวรในรัฐที่กล่าวถึง

รัฐแรกถ้า

 

               (ก)         บุคคลนั้นมีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งอำนาจในการ

                              เจรจาหรือทำสัญญาในนามของวิสาหกิจนั้น เว้นไว้แต่ว่ากิจกรรมต่างๆของ

                              บุคคลนั้นจำกัดอยู่เฉพาะเพียงการซื้อของหรือสินค้าเพื่อวิสาหกิจนั้น

 

               (ข)          บุคคลนั้นได้เก็บรักษาอย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งมูลภัณฑ์ของ

                              สิ่งของหรือสินค้าที่เป็นของวิสาหกิจซึ่งบุคคลนั้นดำเนินการส่งมอบสิ่งของหรือ

                              สินค้า เพื่อหรือในนามของวิสาหกิจนั้นอยู่เป็นประจำ หรือ

 

               (ค)          บุคคลนั้นได้จัดหาคำสั่งซื้อทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดอย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐ

                              ที่กล่าวถึงรัฐแรกเพื่อวิสาหกิจนั้นเอง หรือเพื่อวิสาหกิจนั้นเองและวิสาหกิจอื่น ๆ

                              ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้น หรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

6.             แม้จะมีบทบัญญัติก่อนๆของข้อนี้ วิสาหกิจประกันภัยของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง เว้นแต่การประกันภัยต่อ จะถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในอีกรัฐหนึ่ง ถ้าเรียกเก็บเบี้ยประกันใน อาณาเขตของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือรับประกันภัยที่เกิดขึ้นในรัฐนั้น โดยผ่านลูกจ้างหรือ ผ่านตัวแทนซึ่งมิใช่ตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระ ภายในความหมายของวรรค 7

 

7.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำ สัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพียงเพราะว่าวิสาหกิจดังกล่าวดำเนินธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้น โดยผ่านทางนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเช่นว่านั้นกระทำ การอันเป็นปกติธุระในธุรกิจของตน อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจกรรมของตัวแทนดังกล่าวทั้งหมดหรือเกือบ ทั้งหมดได้ถูกกระทำขึ้นในนามวิสาหกิจนั้นหรือกระทำในนามของวิสาหกิจนั้นกับวิสาหกิจอื่น ๆ ซึ่งอยู่ ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้นหรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น บุคคลเช่นว่านี้จะ ไม่ถือว่าเป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระตามความหมายของวรรคนี้

 

8.             เพียงแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุม หรืออยู่ในความควบคุมของบริษัท ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบธุรกิจ ในอีก รัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใด เป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011