เมนูปิด

ข้อ 21

 

1.             ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการยอมให้ถือเป็นเครดิตต่อภาษีไทยของภาษีที่พึงชำระในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศไทย ในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเงินได้จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งอาจเก็บภาษีได้ในประเทศญี่ปุ่นตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ จำนวนภาษีญี่ปุ่นที่พึงชำระในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้นั้นจะยอมให้ถือเป็นเครดิตต่อภาษีไทยที่ตั้งบังคับจัดเก็บจากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ดี จำนวนเครดิตนั้นจะต้องไม่เกินกว่าส่วนของภาษีไทย ซึ่งเหมาะสมกับเงินได้นั้น

 

2.             ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นในส่วนที่เกี่ยวกับการยอมให้ถือเป็นเครดิตต่อภาษีญี่ปุ่นของภาษีที่พึงชำระในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น

 

                (ก)          ในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินได้จากประเทศไทย ซึ่งอาจเก็บภาษีได้ในประเทศ

                              ไทยตามบทบัญญัติในอนุสัญญานี้ จำนวนภาษีไทยที่พึงชำระในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้นั้นจะยอม

                              ให้ถือ เป็นเครดิตต่อภาษีญี่ปุ่นที่ตั้งบังคับจัดเก็บจากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี

                              จำนวนเครดิตนั้นจะต้องไม่เกินกว่าส่วนของภาษีที่ ญี่ปุ่นซึ่งเหมาะสมกับเงินได้นั้น

 

                (ข)          ในกรณีที่เงินได้รับจากประเทศไทยเป็นเงินปันผลที่จ่ายโดยบริษัท ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ

                              ไทยให้แก่บริษัทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ญี่ปุ่นและซึ่งเป็นเจ้าของไม่ร้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นที่

                              มีสิทธิออก เสียงของบริษัทที่จ่ายเงินปันผลหรือของหุ้นทั้งหมดที่ออกโดย บริษัทนั้น การเครดิต

                              นั้นจะต้องคำนึงถึงภาษีไทยที่พึงชำระโดย บริษัทที่จ่ายเงินปันผลในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้ที่จ่าย

                              เงินปันผลนั้น เอง

 

3.             ภายใต้บังคับบทบัญญัติของวรรค 4 เพื่อความมุ่งประสงค์ของการเครดิตที่ระบุไว้ในวรรค 2 (ก) ข้างต้น คำว่า "ภาษีไทยที่พึงชำระ" จะให้ถือว่ารวมถึงจำนวนภาษีไทยซึ่งควรจะได้ชำระ ถ้าภาษีไทยนั้นมิได้รับการลดหย่อนตามบทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อ 10 หรือวรรค 2 และวรรค 5 ของข้อ 12

 

4.             (ก)          เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งการเครดิตที่ระบุไว้ในวรรค 2 ข้างต้น คำ ว่า "ภาษีไทยที่พึงชำระ" จะให้

                              ถือว่ารวมถึงจำนวนภาษีไทยซึ่งควร จะได้ชำระภายใต้กฎหมายของประเทศไทย ถ้าภาษีไทยนั้น

                              มิได้รับ การลดหย่อนหรือยกเว้นตาม

                              (1)          บทบัญญัติของมาตรา 31, 33, 34, 35 (2), 35 (3), 35 (4) หรือ 36 (4) แห่งพระราช

                                            บัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 (1977) ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในวันที่ลงนามใน

                                            อนุสัญญานี้  หรือ

                              (2)          บทบัญญัติใดๆ ที่ระบุใน (1) ข้างต้น ซึ่งได้เปลี่ยนแปลง ภายหลังจากวันที่ลงนามใน

                                            อนุสัญญานี้หรือมาตรการจูงใจพิเศษอื่นใดที่มุ่งหมายจะส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

                                            ในประเทศไทย ซึ่งอาจนำมาใช้ในอนาคตในกฎหมายภาษี ไทยในการเปลี่ยนแปลงหรือ

                                            เพิ่มเติมจาก มาตรการที่เป็นอยู่ใน (1) ข้างต้น หากได้มีการตกลงกันแล้ว ระหว่างรัฐบาล

                                            ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับขอบเขตของสิทธประโยชน์ของผู้เสียภาษีตามบทบัญญัติที่ได้

                                            เปลี่ยนแปลงหรือตามมาตรการดังกล่าว

 

                (ข)          บทบัญญัติของอนุวรรค (ก) (1) ข้างต้น ในเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรา 35 (3) หรือ 36 (4) ของพระ

                              ราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 (1977) จะไม่ใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้ในแต่ละ

                              รายที่ เกิดขึ้นหลังจากปีภาษีที่สิบสามนับแต่การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี ไทยที่ยอมให้ครั้งแรก

                              ตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวหรือนับแต่ อนุสัญญานี้มีผลบังคับ แล้วแต่อย่างไหนจะช้ากว่า

 

5.             เพื่อความมุ่งประสงค์ของวรรค 3 และวรรค 4 ข้างต้น ส่วนที่เกี่ยวกับเงินปันผล ค่าสิทธิ หรือเงินที่ได้รับซึ่งบทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อ 10 หรือ วรรค 2 หรือ วรรค 5 ของข้อ 12 ใช้บังคับได้ แล้วแต่กรณี การเครดิตใดๆ ต่อภาษีญี่ปุ่นที่ยอมให้ตามบทบัญญัติของวรรค 2 (ก) และวรรค 3 หรือ วรรค 4 (ก) ข้างต้น จะไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนเงินปันผล ค่าสิทธิ หรือเงินที่ได้รับทั้งสิ้น

 

 

ข้อ 22

 

1.             คนชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งให้เสียภาษีอากรใดๆ หรือให้ปฏิบัติตามข้อใดๆ เกี่ยวกับการนั้นอันเป็นการนอกเหนือไปจากหรือเป็นภาระหนักกว่าการเสียภาษีอากรและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องซึ่งคนชาติของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้นถูกหรืออาจถูกบังคับให้เสียหรือให้ปฏิบัติตามในสถานการณ์เดียวกัน

 

2.             ภาษีอากรเก็บจากสถานประกอบการถาวรซึ่งวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งมีอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจะไม่เรียกเก็บในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งโดยเป็นการอนุเคราะห์น้อยกว่าภาษีอากรที่เรียกเก็บจากวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้นที่ประกอบกิจกรรมอย่างเดียวกัน บทบัญญัตินี้จะไม่แปลเป็นความผูกพันรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในอันที่จะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งค่าลดหย่อนส่วนบุคคล การผ่อนผันและการหักอย่างใดๆ เพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร เนื่องจากการมีสถานะเป็นพลเมืองหรือมีภาระรับผิดชอบทางครอบครัวซึ่งรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งนั้นยอมให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐของตน

 

3.             ยกเว้นในกรณีที่บทบัญญัติของข้อ 9 วรรค 7 ของข้อ 11 หรือวรรค 7 ของข้อ 12 ใช้บังคับ ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งจ่ายโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ในการกำหนดกำไรอันพึงเสียภาษีของวิสาหกิจนั้นให้นำมาหักได้ภายใต้เงื่อนไขเช่นเดียวกันเสมือนเงินได้เหล่านั้นถูกจ่ายให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรก

 

4.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งซึ่งผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งคนเดียวหรือหลายคนเป็นเจ้าของหรือควบคุมทุนทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม จะไม่ถูกบังคับในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกให้เสียภาษีอากรใดๆ หรือให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับการนั้นอันเป็นการนอกเหนือจากหรือเป็นภาระหนักกว่าการเสียภาษีอากรและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องซึ่งวิสาหกิจที่คล้ายคลึงกันของรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกถูกหรืออาจถูกบังคับให้เสียหรือให้ปฏิบัติตาม

 

5.             ในข้อนี้คำว่า "ภาษีอากร" หมายถึง ภาษีอากรซึ่งเป็นหัวข้อเรื่องของอนุสัญญานี้

 

 

ข้อ 23

 

1.             ในกรณีที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ได้พิจารณาเห็นว่าการกระทำของรัฐผู้ทำสัญญารัฐเดียวหรือทั้งสองรัฐมีผลหรือจะมีผลให้ตนต้องเสียภาษีอากรโดยไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ ผู้นั้นอาจยื่นเรื่องราวของตนต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งตนเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่นั้นได้โดยไม่คำนึงถึงวิธีการแก้ไขที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายภายในของรัฐผู้ทำสัญญาดังกล่าว คำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นภายใน 3 ปี นับจากที่ได้รับแจ้งครั้งแรกถึงการกระทำอันมีผลให้การเสียภาษีอากรไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้

 

2.             ถ้าข้อคัดค้านนั้นปรากฏแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจว่ามีเหตุผลสมควรและถ้าตนไม่สามารถที่จะหาทางแก้ไขที่น่าพอใจได้เอง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะต้องพยายามแก้ไขกรณีนั้นโดยความตกลงร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเว้นการเก็บภาษีอันไม่เป็นไปตามอนุสัญญานี้

 

3.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะพยายามแก้ไขข้อยุ่งยากหรือข้อสงสัยใดๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการตีความหรือการบังคับใช้อนุสัญญานี้โดยความตกลงร่วมกัน เจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจปรึกษาหารือกันเพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในกรณีซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในอนุสัญญานี้

 

4.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาอาจติดต่อซึ่งกันและกันโดยตรงเพื่อความมุ่งประสงค์ให้มีการตกลงกันตามนัยแห่งวรรคก่อนๆ ของข้อนี้

 

 

ข้อ 24

 

1.             เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐอาจแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเช่นว่านั้นเท่าที่จะหาได้ ภายใต้กฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องในวิถีทางแห่งการบริหารตามปกติอันเป็นสิ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้เพื่อป้องกันการฉ้อโกงหรือการบริหารแห่งบทบัญญัติที่กำหนดไว้ซึ่งคัดค้านต่อการเลี่ยงภาษีในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเหล่านั้น ข้อสนเทศใดๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนกันนั้นจะถือเป็นความลับและจะไม่เปิดเผยแก่บุคคลใดๆ นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรวมถึงศาลซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินและการจัดเก็บภาษีหรือการวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินและการจัดเก็บภาษีนั้น

 

2.             ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม บทบัญญัติของวรรค 1 จะไม่ถูกแปลความเป็นการตั้งข้อผูกพันบังคับแก่รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                (ก)          ให้ดำเนินมาตรการทางการบริหารโดยขัดกับกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติ ทางการบริหารของรัฐผู้ทำ

                              สัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐ หนึ่ง

 

                (ข)          ให้ข้อสนเทศอันมิอาจจัดหาได้ตามกฎหมายหรือตามวิถีทางการ บริหารโดยปกติของรัฐผู้ทำ

                              สัญญารัฐนั้นหรือรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐ หนึ่ง

 

                (ค)          ให้ข้อสนเทศซึ่งจะเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมใดๆ หรือความ

                              ลับทางวิชาชีพ หรือ กรรมวิธีทางการค้า หรือข้อสนเทศ ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะเป็นการขัดต่อความ

                              สงบเรียบ ร้อยหรือศีลธรรมอันดี

 

 

ข้อ 25

 

                ไม่มีความใดในอนุสัญญานี้มีผลกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของเจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล ตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

ข้อ 26

 

1.             อนุสัญญานี้จะได้รับการให้สัตยาบันและจะได้ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันที่กรุงเทพฯโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

2.             อนุสัญญานี้จะเริ่มใช้บังคับในวันที่สามสิบภายหลังที่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารและจะมีผลใช้บังคับ

 

                (ก)          ในประเทศญี่ปุ่น

                                            ในส่วนของเงินได้สำหรับปีภาษีใดๆ ที่เริ่มต้นในหรือหลังวัน แรกของเดือนมกราคม ของ

                              ปีปฏิทินถัดจากปีที่อนุสัญญานี้เริ่มใช้ บังคับ และ

 

                (ข)          ในประเทศไทย

                               (1)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากจำนวนที่จ่าย   หรือนำส่งให้แก่ผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่

                                             ในหรือหลังจากวันแรกของเดือน   มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีที่อนุสัญญานี้เริ่มใช้

                                             บังคับ

   (2)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆ สำหรับปีภาษี   หรือรอบระยะเวลาบัญชีใดๆ ที่เริ่มในหรือหลังจากวันแรกของเดือน   มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีที่อนุสัญญานี้เริ่มใช้บังคับ

 

3.             อนุสัญญาระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ซึ่งลงนามที่กรุงเทพฯในวันที่ 1 มีนาคม 2506 จะสิ้นสุดและเลิกมีผลบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้ซึ่งอนุสัญญานี้ใช้บังคับภายในบทบัญญัติของวรรค 2

 

 

ข้อ 27

 

                อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับต่อไปโดยไม่มีข้อจำกัด แต่รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดอาจให้คำบอกกล่าวการเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรแก่รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งโดยผ่านวิถีทางการทูตในหรือก่อนวันที่สามสิบของเดือนมิถุนายนของปีปฏิทินใดๆ ที่เริ่มต้นหลังจากพ้นชั่วระยะเวลาห้าปีนับจากวันที่อนุสัญญานี้เริ่มใช้บังคับ ในกรณีเช่นว่านั้นอนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับ

 

                (ก)          ในประเทศญี่ปุ่น

                                          ในส่วนของเงินได้สำหรับปีภาษีใดๆ ที่เริ่มในหรือหลังจากวัน  แรกของเดือนมกราคมของปี

                               ปฏิทินถัดจากปีที่ได้ให้คำบอกกล่าว  การเลิก และ

 

                (ข)          ในประเทศไทย

                               (1)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากจำนวนที่ได้จ่าย  หรือนำส่งให้แก่ผู้ไม่มีถิ่นที่

                                              อยู่ในหรือหลังจากวันแรกของเดือน  มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีที่ได้ให้คำ

                                              บอกกล่าวการเลิก

                                (2)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้อื่นๆ สำหรับปีภาษี  หรือรอบระยะเวลาบัญชีใดๆ

                                              ที่เริ่มในหรือหลังจากวันแรกของเดือน  มกราคมของปีปฏิทินถัดจากปีที่ได้ให้คำ

                                              บอกกล่าวการเลิก

 

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้ด้วยอำนาจแห่งรัฐบาลทั้งสอง

 

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2533 เป็นภาษาอังกฤษ

 

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศไทย

พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
(สิทธิ เศวตศิลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น

ทาโร นากายามา
(ทาโร นากายามา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 

 

พิธีสาร

 

                ในการลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้(ต่อไปนี้จะเรียกว่า "อนุสัญญา") ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้ตกลงกันตามบทบัญญัติต่อไปนี้ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญานี้

 

                1.             ตามวรรค 7 ของข้อ 5 ของอนุสัญญานี้ คำว่า "นายหน้า ตัวแทน นายหน้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ" เป็นที่เข้าใจว่า ไม่รวมถึงบุคคลตามที่กำหนดไว้ในอนุวรรค (ก) (ข) หรือ (ค) ของวรรค 6 ของข้อดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเช่นว่านั้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเพื่อหรือในนามวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือเพื่อหรือในนามวิสาหกิจเช่นว่านั้น และวิสาหกิจอื่นซึ่งถูกควบคุมโดยหรือมีการควบคุมผลประโยชน์ในวิสาหกิจเช่นว่านั้น

 

                2.             ตามวรรค 3 ของข้อ 7 ของอนุสัญญานี้ จะไม่ยอมให้มีการหักในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนที่ได้จ่ายหรือถูกเรียกเก็บ (นอกเหนือจากการจ่ายชดใช้คืนของค่าใช้จ่ายที่แท้จริง) โดยสถานประกอบการถาวรของวิสาหกิจหนึ่งให้แก่สำนักงานใหญ่ของวิสาหกิจหรือสำนักงานอื่นใดของวิสาหกิจนั้นในรูปของ

 

                (ก)          ค่าสิทธิ ค่าธรรมเนียม หรือการชำระอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันในการ ตอบแทน สำหรับการใช้สิทธิ

                              บัตรหรือสิทธิอื่นๆ

 

                (ข)          ค่านายหน้าสำหรับการบริการเฉพาะเจาะจงที่ได้กระทำหรือเพื่อการ จัดการ และ

 

                (ค)          ดอกเบี้ยจากเงินกู้ยืมแก่สถานประกอบการถาวร เว้นแต่ในกรณีที่ วิสาหกิจนั้น เป็นสถาบันการ

                              ธนาคาร

 

3.             ตามวรรค 2 วรรค 3 และวรรค 4 ของข้อ 7 ของอนุสัญญาในกรณีของผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นผู้ซึ่งมิได้อ้างหลักเกณฑ์การเสียภาษีอากรในประเทศไทยจากกำไรสุทธิที่แท้จริงของสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย ไม่มีกรณีใดในวรรคที่กล่าวไว้แล้วจะตัดหนทางของประเทศไทยในอันที่จะกำหนดกำไรที่พึ่งถือว่าเป็นของสถานประกอบการถาวรจากมูลฐานของอัตราร้อยละ ซึ่งเหมาะสมแน่นอนของยอดรายรับทั้งสิ้นของสถานประกอบการถาวรโดยมีเงื่อนไขว่าจะมีผลตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในข้อที่กล่าวไว้แล้ว

 

4.             ตามวรรค 3 (ข) ของข้อ 10 ของอนุสัญญานี้ คำว่า "กิจการอุตสาหกรรม" ให้หมายถึงกิจการใดๆ ที่ได้รับสิทธิตามกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนทางอุตสาหกรรมด้วย

 

5.             ไม่มีกรณีใดในอนุสัญญานี้จะแปลความเป็นการตัดหนทางมิให้ประเทศไทยตั้งบังคับจัดเก็บภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทย โดยสถานประกอบการถาวรตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 (193)

 

6.             ตามข้อ 16 ของอนุสัญญาเป็นที่เข้าใจว่าเงินได้ที่ได้รับในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจากบทบัญญัติแห่งกิจกรรมที่กล่าวถึงในวรรค 1 ของข้อดังกล่าว โดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง อาจเก็บภาษีได้ในรัฐผู้ทำสัญญาที่กล่าวถึงรัฐแรกในวิธีเดียวกันตามที่กำหนดไว้โดยวรรค 2 ของข้อดังกล่าว

 

7.             ตามวรรค 4 (ก) ของข้อ 21 ของอนุสัญญานี้เป็นที่เข้าใจว่ามาตราใดๆ ที่ได้ระบุไว้ในอนุวรรค (1) ของวรรคดังกล่าวซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังจากวันที่ลงนามในอนุสัญญานี้จะอยู่ภายใต้บทบัญญัติของอนุวรรคดังกล่าว และบทบัญญัติของอนุวรรค (2) ของวรรคดังกล่าวจะไม่ใช้บังคับแก่มาตราที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้นตราบเท่าที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กระทำเพียงขนาดที่ขอบเขตแห่งสิทธิประโยชน์ตามมาตราดังกล่าวซึ่งมีผลบังคับอยู่ในวันที่ลงนามในอนุสัญญานี้ไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง

 

8.             แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อ 26 ของอนุสัญญานี้ บทบัญญัติของวรรค 4 (ก) (1) ของข้อ 21 จะใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้สำหรับปีภาษีใดๆ ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2531

 

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้ด้วยอำนาจแห่งรัฐบาลทั้งสอง

 

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2533 เป็นภาษาอังกฤษ

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศไทย

พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
(สิทธิ เศวตศิลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น

ทาโร นากายามา
(ทาโร นากายามา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011