ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศนิวซีแลนด์
รัฐบาลแห่งประเทศนิวซีแลนด์ และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
มีความปราถนาที่จะจัดทำความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้
ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้
ความตกลงนี้จะใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง หรือทั้งสองรัฐ
1. ภาษีที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งความตกลงนี้จะใช้บังคับได้แก่
(ก) ในประเทศนิวซีแลนด์
- ภาษีเงินได้
(ในความตกลงนี้จะเรียกว่า "ภาษีนิวซีแลนด์")
(ข) ในประเทศไทย
- ภาษีเงินได้ และ
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ในความตกลงนี้เรียกว่า "ภาษีไทย")
2. ความตกลงนี้จะใช้บังคับกับภาษีใดๆ ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายกันในสาระสำคัญที่บังคับจัดเก็บ ภายหลังจากวันที่ได้ลงนามในความตกลงนี้เป็นการเพิ่มเติม หรือแทนที่ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะแจ้งซึ่งกันและกันภายในระยะเวลาอันสมควรถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญใดๆ ซึ่งได้มีขึ้นในกฎหมายภาษีอากรของ แต่ละรัฐ
3. แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 1 และ 2 ภาษีภายใต้ความตกลงนี้จะไม่รวมถึงจำนวนใด ๆ ที่เป็นเบี้ยปรับหรือดอกเบี้ยที่บังคับเก็บภายใต้กฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญารัฐใด รัฐหนึ่ง
1. เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ เว้นแต่บริบทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(ก) (1) คำว่า "ประเทศนิวซีแลนด์" หมายถึงอาณาเขตของประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่รวมถึงโทโคลัวหรือเกาะคุ๊กและนัว คำนี้รวมถึงพื้นที่ใดๆ ที่อยู่โพ้นทะเล อาณาเขตที่ตามกฎหมายของประเทศนิวซีแลนด์และตามกฎหมายระหว่างประเทศ กำหนดหรือต่อไปอาจกำหนดให้เป็นพื้นที่ซึ่งประเทศนิวซีแลนด์อาจใช้สิทธิเกี่ยวกับ ทรัพยากร ธรรมชาติของตนในพื้นที่นั้นๆ ได้
(2) คำว่า "ประเทศไทย" หมายถึงราชอาณาจักรไทยและรวมถึงพื้นที่ใดๆ ซึ่งประชิดกับน่านน้ำอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย ซึ่งตามกฎหมายไทยและ ตามกฎหมายระหว่างประเทศได้กำหนดหรือต่อไปอาจกำหนดให้เป็นพื้นที่ซึ่งราช อาณาจักรไทยอาจใช้สิทธิเกี่ยวกับก้นทะเลและดินใต้ผิวดินก้นทะเลและทรัพยากร ธรรมชาติของตนภายในพื้นที่นั้นๆได้
(ข) คำว่า "บริษัท" หมายถึงนิติบุคคลใดๆหรือหน่วยใดๆ ซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคล เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางภาษี
(ค) คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายถึง
(1) ในกรณีของประเทศนิวซีแลนด์ อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
(2) ในกรณีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
(ง) คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึง ประเทศ นิวซีแลนด์หรือประเทศไทย แล้วแต่บริบทจะกำหนด
(จ) คำว่า "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึงวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง และวิสาหกิจ ที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งตามลำดับ
(ฉ) คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึง การขนส่งใดๆ ทางเรือ หรือทางอากาศ ซึ่งดำเนินการโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ยกเว้นกรณีการเดินเรือหรือ การเดินอากาศระหว่างสถานที่ต่างๆในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง เท่านั้น
(ช) คำว่า "คนชาติ" หมายถึง บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง
(ซ) เพื่อความมุ่งประสงค์ในบทบัญญัติข้อ 10 ข้อ11 และข้อ 12 คำว่า "ชำระแล้ว" ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับจำนวนใดๆ ให้รวมถึง การแบ่งสรร (ไม่ว่าในรูปเงินสดหรือทรัพย์สินอื่น) การให้เครดิตหรือการติดต่อทางธุรกิจในนามของบุคคล หรือคำสั่งของบุคคลนั้น คำว่า "ชำระ" "พึงชำระ" และ "การชำระ" ให้มีความหมาย ในทางเดียวกัน
(ฌ) คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง บริษัท และคณะ บุคคลใดๆ
2. เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งบทบัญญัติข้อ 10 11 และ 1 2 ผู้ดูแลทรัสต์ที่มีหน้าที่ ต้องเสียภาษีในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือ ค่าสิทธิ ให้ถือว่า เป็นผู้พึงได้รับประโยชน์จากเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือ ค่าสิทธินั้น
3. ในการใช้บังคับความตกลงนี้โดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดๆ ที่มิได้นิยามไว้ในความตกลงนี้ ให้มีความหมายซึ่งคำนั้นมีอยู่ตามกฎหมายของรัฐนั้นเกี่ยวกับ ภาษีซึ่งความตกลงนี้ใช้บังคับ เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ความหมายใดๆภายใต้กฎหมายภาษีที่ใช้บังคับอยู่ของรัฐนั้นจะมีผลบังคับเหนือคำจำกัดความภายใต้กฎหมาย อื่นของรัฐนั้น
1. เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" หมายถึง บุคคลใดๆ ผู้ซึ่ง
(ก) ภายใต้กฎหมายของประเทศนั้นมีหน้าที่เสียภาษีโดยเหตุผลแห่งภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานที่ก่อตั้ง สถานจัดการหรือโดยเกณฑ์อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือ
(ข) ในกรณีของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวซีแลนด์เพื่อ ความมุ่งประสงค์ของภาษีนิวซีแลนด์ หรือ
(ค) ในกรณีของประเทศไทย เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อความมุ่งประสงค์ของ ภาษีไทย
2. บุคคลหนึ่งจะไม่ถือเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งเพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ ถ้าบุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นด้วยเหตุเฉพาะการมีเงินได้จากแหล่งในรัฐนั้น
3. ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติก่อนๆของข้อนี้ บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ สถานภาพของบุคคลธรรมดาจะถูกกำหนดดังนี้
(ก) บุคคลธรรมดาจะถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในเฉพาะรัฐที่เป็นที่อยู่ถาวร ถ้าบุคคลนั้นมี ที่อยู่ถาวรในทั้งสองรัฐหรือไม่มีที่อยู่ถาวรในทั้งสองรัฐ จะถือว่าบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ ในรัฐที่บุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งกว่า (ข) ถ้าบุคคลธรรมดาไม่สามารถถือให้เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาตามที่ได้กำหนดไว้ ในอนุวรรค (ก) ให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่บุคคลนั้นมีที่อยู่เป็นปกติวิสัย
(ค) ถ้าบุคคลธรรมดามีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐหรือไม่มีที่อยู่เป็น ปกติวิสัยในทั้งสองรัฐให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่บุคคลนั้นถือสัญชาติ หรือเป็นคนชาติ
(ง) ถ้าบุคคลธรรมดาถือสัญชาติหรือเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐ หรือไม่ถือสัญชาติหรือ ไม่เป็นคนชาติของทั้งสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ แก้ไขปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน
4. ในกรณีที่ตามเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 และ วรรค 2บุคคลนอกเหนือจาก บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาแก้ไขปัญหาและกำหนดวิธีปฏิบัติตามความตกลงนี้ให้กับบุคคลดังกล่าวโดยการทำความตกลงร่วมกัน
1. เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
2. คำว่า "สถานประกอบการถาวร" โดยเฉพาะรวมถึง
(ก) สถานจัดการ
(ข) สาขา
(ค) สำนักงาน
(ง) โรงงาน
(จ) โรงช่าง
(ฉ) เหมืองแร่ บ่อน้ำมันหรือบ่อก๊าซ เหมืองหิน หรือสถานที่อื่นใดที่ใช้ในการขุดค้น ทรัพยากรธรรมชาติ
(ช) ที่ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือไร่สวน และ
(ซ) คลังสินค้า ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา สินค้าสำหรับบุคคลอื่น
3. ที่ตั้งอาคาร โครงการก่อสร้าง โครงการประกอบหรือโครงการติดตั้ง หรือกิจกรรมตรวจควบคุมเกี่ยวกับที่ตั้งอาคารหรือโครงการก่อสร้าง ประกอบหรือติดตั้ง จะถือว่าเป็นสถานประกอบการถาวรถ้าดำเนินการติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน
4. วิสาหกิจหนึ่งจะถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรนั้น ถ้าวิสาหกิจนั้นดำเนินกิจกรรมที่ประกอบด้วยหรือเกี่ยวเนื่องกับ การสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในรัฐนั้นเป็น ระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน
5. วิสาหกิจจะถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง และดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบถาวรนั้น ถ้าวิสาหกิจนั้นให้บริการรวมทั้งบริการให้คำปรึกษาโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งผ่านทางลูกจ้างหรือบุคลากรอื่นซึ่งกิจกรรมเช่นว่านั้น ดำเนินการติดต่อกันสำหรับโครงการเดียวกันหรือโครงการที่เกี่ยวเนื่องกันในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเป็นระยะเวลาเดียวหรือหลายระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือนในระยะเวลาสิบสองเดือนใดๆ
6. เพื่อความมุ่งประสงค์ในการกำหนดระยะเวลาของกิจกรรมภายใต้บทบัญญัติวรรค 3 วรรค 4 และ วรรค 5 ระยะเวลาใด ๆ ที่กิจกรรมได้ดำเนินอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญา รัฐหนึ่ง โดยวิสาหกิจหนึ่งร่วมกับอีกวิสาหกิจหนึ่งให้นับรวมระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ได้กล่าวถึงกิจกรรมแรก ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมที่ดำเนินในรัฐนั้นโดยวิสาหกิจที่กล่าวถึงวิสาหกิจหลัง โดยมีเงื่อนไขว่าระยะเวลาใด ๆ ที่สองวิสาหกิจหรือมากกว่านั้นได้ดำเนินกิจกรรมพร้อมกันให้นับได้เพียงครั้งเดียว วิสาหกิจหนึ่งจะถือว่าร่วมกับอีกวิสาหกิจหนึ่งถ้าวิสาหกิจใดถูกควบคุมโดยทางตรงหรือทางอ้อมโดยอีกวิสาหกิจหนึ่งหรือทั้งสองวิสาหกิจถูกควบคุมโดยทางตรงหรือทางอ้อมโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สาม
7. วิสาหกิจจะไม่ถือว่ามี "สถานประกอบการถาวร" เพียงเหตุผลดังต่อไปนี้
ก) การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเก็บรักษา หรือการจัด แสดงสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้น หรือ
ข) การเก็บรักษามูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจเพียงเพื่อความมุ่ง ประสงค์ในการเก็บรักษาหรือการจัดแสดง หรือ
ค) การเก็บรักษามูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจเพียงเพื่อความมุ่ง ประสงค์ให้วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ หรือ
ง) การมีสถานธุรกิจประจำเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดซื้อสิ่งของ หรือสินค้า หรือรวบรวมข้อสนเทศเพื่อวิสาหกิจ หรือ
จ) การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการดำเนินกิจการให้กับวิสาหกิจ หรือเพื่อกิจกรรมอื่นใดซึ่งมีลักษณะเป็นการเตรียมการหรือเป็นส่วนประกอบ ให้แก่ วิสาหกิจนั้นๆ เช่น การโฆษณาหรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
8. แม้จะมีบทบัญญัติของวรรค 1 และวรรค 2 เมื่อบุคคลซึ่งกระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง นอกเหนือจากตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 9 ให้ถือว่าวิสาหกิจนั้นมีสถานประกอบการถาวรในรัฐแรกที่กล่าวถึง ถ้าบุคคลนั้น
ก) มีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งอำนาจในการทำสัญญาในนาม ของวิสาหกิจนั้น เว้นแต่ว่ากิจกรรมของบุคคลนั้นจะถูกจำกัดเพียงการซื้อสิ่งของหรือ สินค้าให้กับวิสาหกิจ หรือ
ข) ได้เก็บรักษาในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งมูลภัณฑ์ของสิ่งของหรือสินค้าที่เป็นของ วิสาหกิจซึ่งบุคคลนั้นดำเนินการสั่งซื้อจากวิสาหกิจนั้นในนามของวิสาหกิจนั้นอยู่ เป็นปกติ หรือ
ค) จัดหาอย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งคำสั่งซื้อทั้งหมดหรือเกือบ ทั้งหมด เพื่อวิสาหกิจนั้นหรือเพื่อวิสาหกิจนั้นและวิสาหกิจอื่นซึ่งอยู่ในความควบคุม ของวิสาหกิจนั้นหรือมีการควบคุมผลประโยชน์ในวิสาหกิจนั้น หรือ
ง) กระทำการผลิตหรือแปรสภาพในรัฐนั้น ซึ่งสิ่งของหรือสินค้าที่เป็นของวิสาหกิจนั้น เพื่อวิสาหกิจนั้น
9. วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเพียงเพราะว่าวิสาหกิจดังกล่าวดำเนินธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้น โดยผ่านบุคคลผู้เป็นนายหน้าตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเช่นว่านั้นได้กระทำการอันเป็นปกติในธุรกิจของตน อย่างไรก็ตามกรณีกิจกรรมของตัวแทนดังกล่าวได้กระทำทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในนามวิสาหกิจนั้นหรือในนามวิสาหกิจนั้นกับวิสาหกิจอื่นซึ่งถูกควบคุมโดยวิสาหกิจนั้นหรือมีการควบคุมผลประโยชน์ในวิสาหกิจนั้น บุคคลเช่นว่านี้จะไม่ถือว่าเป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระ ตามความหมายของวรรคนี้
10. ข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุมหรืออยู่ในความควบคุมของบริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบ ธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง
|