เมนูปิด

ข้อ 26
กฎหมายภายในประเทศที่ให้การปฏิบัติที่อนุเคราะห์มากกว่า

 

               ถ้ากฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญารัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันหรือบัญญัติขึ้นภายหลัง มีข้อบังคับให้สิทธิแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ได้รับการปฏิบัติที่อนุเคราะห์มากกว่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญานี้ ข้อบังคับเช่นว่านี้ในส่วนที่เกี่ยวกับปฏิบัติที่อนุเคราะห์มากว่า จักไม่มีผลกระทบกระเทือนโดยอนุสัญญานี้

 

 

ข้อ 27
เจ้าหน้าที่ทางทูตและกงสุล

               ไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้จักกระทบกระเทือนต่อเอกสิทธิ์ทางการรัษฎากรของเจ้าหน้าที่ทางทูตหรือกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทบัญญัติแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

หมวด 6
บทบัญญัติสุดท้าย

ข้อ 28
การใช้บังคับ

1.             อนุสัญญานี้จักได้รับการสัตยาบัน และจะได้ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ณ กรุงโรมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

2.             อนุสัญญานี้จักเริ่มใช้บังคับในวันที่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารและบทบัญญัติต่างๆ จักมีผลใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้หรือกำไรพึงประเมินในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคม พ.ศ. 2521

 

3.             คำร้องเพื่อขอคืนเงินหรือเครดิตที่เกิดขึ้นตามอนุสัญญานี้ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีใดๆ ซึ่งผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐใดรัฐหนึ่งเป็นผู้เสีย จะต้องยื่นภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่อนุสัญญานี้มีผลใช้บังคับหรือจากวันที่ชำระภาษีแล้วแต่วันไหนเป็นวันหลัง

 

 

ข้อ 29
การเลิกใช้

               อนุสัญญานี้จักคงใช้บังคับจนกว่ารัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งบอกเลิก รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งรัฐใดอาจบอกเลิกอนุสัญญานี้โดยวิถีทางการทูต แต่ต้องไม่ก่อนกำหนด 5 ปีหลังจากที่อนุสัญญามีผลใช้บังคับ โดยแจ้งการบอกเลิกอย่างน้อย 6 เดือนก่อนสิ้นปีปฏิทิน ในกรณีเช่นนี้อนุสัญญาเป็นอันเลิกมีผลบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับเงินได้และผลกำไรอันพึงประเมินในปีภาษี หรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันแรกของเดือนมกราคมในปีปฏิทินต่อไป ที่ถัดจากปีที่มีการแจ้งการบอกเลิกนี้

 

               เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้ ได้ลงนามในอนุสัญญานี้

 

                ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2520 เป็นภาษาอังกฤษ อิตาลี และภาษาไทย ทุกฉบับใช้ได้เท่าเทียมกัน เว้นแต่กรณีสงสัยให้ใช้ฉบับภาษาอังกฤษบังคับ

 

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย



(วงศ์ พลนิกร)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี



(มาริโอ พรูนาส)
เอกอัครราชทูต

 

 

พิธีสาร

 

               ในขณะที่มีการลงนามในอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐอิตาลี เพื่อการเว้นการเก้บภาษีซ้อนและป้องกันการหลีกเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ผู้ลงนามได้ตกลงกันว่าบทบัญญัติดังต่อไปนี้จักถือเป็นส่วนสำคัญของอนุสัญญานี้

 

               เป็นที่เข้าใจว่าในข้อ 10 และ 11 คำว่า “กิจการอุตสาหกรรม” หมายถึง กิจการที่อยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดดังระบุไว้ต่อไปนี้

                              (1)          การหัตถกรรม  การประกอบ  และการแปรสภาพ

                              (2)          การก่อสร้าง  วิศวกรรมโยธา  และการต่อเรือ

                              (3)          การผลิตกระแสไฟฟ้า  พลังน้ำ  แก๊ส  และการประปา

                              (4)          การทำไร่ทำสวน  การเกษตร  การป่าไม้  และการประมง  และ

                              (5)          กิจการอื่นใดที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาที่กิจการนั้นตั้งอยู่อาจประกาศให้

                                            เป็น “กิจการอุตสาหกรรม” เพื่อความมุ่งประสงค์ของทั้งสองข้อนี้

 

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย



(วงศ์ พลนิกร)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี



(มาริโอ พรูนาส)
เอกอัครราชทูต

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011