เมนูปิด

ข้อ 26

 

                ไม่มีข้อความใดในความตกลงนี้กระทบต่อเอกสิทธิ์ทางรัษฎากรของเจ้าหน้าที่การทูตหรือกงสุลตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามบทแห่งความตกลงพิเศษทั้งหลาย

 

 

ข้อ 27

                ถ้ากฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญารัฐใดรัฐหนึ่งหรือความผูกพันระหว่างประเทศซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันหรือก่อตั้งขึ้นภายหลังระหว่างรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองเพิ่มเติมจากความตกลงนี้ มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งได้รับการประติบัติอันเป็นการอนุเคราะห์มากกว่าที่กำหนดไว้ในความตกลงนี้ ข้อกำหนดเช่นว่านั้นในส่วนที่เกี่ยวกับการประติบัติอันเป็นการอนุเคราะห์มากกว่า จะไม่มีผลกระทบกระเทือนโดยความตกลงนี้

 

 

ข้อ 28

                ความตกลงนี้ให้มีผลใช้บังคับถึงมลรัฐเบอร์ลินด้วย แต่มีเงื่อนไขว่ารัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมิได้แจ้งเป็นอย่างอื่นต่อรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ

 

 

ข้อ 29

(1)          ความตกลงนี้จะได้รับการสัตยาบันและจะได้ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ณ กรุงบอนน์โดยเร็วที่สุด

 

(2)          ความตกลงนี้ให้เริ่มใช้บังคับหลังจากครบกำหนด 1 เดือน ถัดจากวันแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารและจะมีผลบังคับนับแต่นั้นเป็นต้นไป

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเยอรมันสำหรับภาษีซึ่งเรียกเก็บสำหรับปีปฏิทิน 2510 (1967) และ

                              สำหรับปีปฏิทินถัดต่อๆ ไป

 

                (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีไทย

 

                                1.             สำหรับภาษีที่เก็บจากเงินได้สำหรับเงินได้ของปีปฏิทิน 2510 (1967) และสำหรับปี

                                                ปฏิทินถัดต่อๆ ไป และรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในปีปฏิทิน 2510 (1967) และปี

                                                ปฏิทินถัดต่อๆ ไป

 

                                2.             สำหรับภาษีที่เก็บจากทุนที่ต้องชำระในหรือหลังวันแรกของเดือนมกราคม 2510

                                                (1967)

 

 

ข้อ 30

                ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับตลอดไป แต่รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใดอาจบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเลิกความตกลงนี้โดยทางการทูตต่อรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งในหรือก่อนวันที่ 30 มิถุนายนของปีปฏิทินใดๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ภายหลังจากสิ้นกำหนดเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ และในกรณีเช่นนี้ ความตกลงนี้จะเป็นอันเลิกมีผลบังคับ

 

                (ก)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเยอรมัน สำหรับภาษีซึ่งเรียกเก็บสำหรับปีปฏิทินถัดจากปีซึ่งได้มีการบอก

                               เลิก

 

                (ข)          ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีไทย

 

                                1.             สำหรับภาษีเก็บจากเงินได้ สำหรับเงินได้ของปีปฏิทินถัดจากปีซึ่งได้มีการบอกเลิก

                                                และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งสิ้นสุดภายในปีปฏิทินนั้น

 

                                2.             สำหรับภาษีเก็บจากทุน ภาษีที่ต้องชำระในหรือหลังวันแรกของเดือนมกราคมในปี

                                                ปฏิทิน ถัดจากปีซึ่งได้มีการบอกเลิก

 

                เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้ ได้ลงนามในความตกลงนี้และได้ประทับตราไว้เป็นสำคัญ

 

                ทำ ณ กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1967 ต้นฉบับ 6 ฉบับ เป็นภาษาเยอรมัน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ภาษาละ 2 ฉบับ ทุกฉบับใช้ได้เท่าเทียมกัน เว้นแต่กรณีสงสัยให้ใช้ฉบับภาษาอังกฤษบังคับ

 

ฝ่ายรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ถ.คอมันตร์
(ถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่ายรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
สไวนิทซ์ 
(ฮันส์ อุลริช ฟอน สไวนิทซ์)
เอกอัครราชทูต

 

 

บันทึกสาระสำคัญ

 

เอกอัครราชทูตเยอรมัน

ดร. เอช. ยู. ฟอน  สไวนิทซ์                                                                               กรุงเทพฯ 10 กรกฎาคม 1967

วี 3–80 เลขที่ 181/67

ฯพณฯ

 

                ตามความตกลงที่ได้ลงนามกันในวันนี้ระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และราชอาณาจักรไทยเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะเรียนให้ท่านทราบในนามของรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันว่ารัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองได้ตกลงกันว่า บทที่อ้างถึงข้างล่างนี้จะใช้บังคับดังต่อไปนี้

 

                1.             ว่า “ทั้งหมด” หรือ “เกือบทั้งหมด” ตามที่ใช้ในข้อ 5 วรรค 5 อนุวรรค ค. เป็นที่เข้าใจกันหมายความว่า กิจกรรมที่บุคคลนั้นประกอบเพื่อวิสากหิจที่นอกเหนือไปจากวิสาหกิจที่อ้างถึงในข้อนั้นมีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับกิจกรรมที่ผู้นั้นประกอบเพื่อ หรือในนามของวิสาหกิจที่ระบุไว้ในข้อนั้นจนอาจถือได้ว่าเพื่อความมุ่งประสงค์ในทางปฎิบัติทั้งปวงที่บุคคลผู้นั้นทำงานเพียงเพื่อหรือในนามของวิสาหกิจฝ่ายหลังเท่านั้น

 

                2.             มิให้ใช้ข้อ 22 วรรค 2 (ก) และ 3 (ก) บังคับแก่เงินปันผลใดๆ ที่จ่ายโดยบริษัทซึ่งมิได้รับเงินได้ทั้งสิ้นหรือเกือบทั้งสิ้นจากการผลิต การขายของหรือสินค้า การให้เช่า การให้บริการ หรือการประกอบธุรกิจ ธนาคารหรือประกันภัย หรือจากเงินปันผลที่จ่ายจากบริษัทหนึ่งหรือหลายบริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่ง บริษัทแรกถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง โดยบริษัทเหล่านั้นเองได้รับเงินได้ทั้งสิ้นหรือเกือบทั้งสิ้นจากการผลิต การขายของหรือสินค้า การให้เช่า การให้บริการ หรือการประกอบธุรกิจธนาคาร หรือประกันภัย ให้ใช้ข้อ 22 วรรค 2 (ข) และ 3 (ข) บังคับแก่กรณีเงินปันผลเช่นว่านั้น

 

                ข้าพเจ้าจักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากท่านจะกรุณายืนยันความตกลงของท่านต่อข้อความข้างต้นนี้ และว่าในกรณีเช่นว่านั้น หนังสือนี้และคำตอบของท่านเพื่อการนี้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง

 

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายัง ฯพณฯ

(ลงนาม) สไวนิทซ์
ถนัด  คอมันตร์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กรุงเทพฯ

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011