เมนูปิด

 

      1. กรณีสามีมีเงินได้ประเภทที่ 1 จำนวน 200,000 บาท ภริยามีเงินได้ประเภทที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในปีภาษี ถ้าสามีภริยานำเงินได้รวมคำนวณเสียภาษีในชื่อของสามี เงินได้ทั้งหมด 300,000 บาท จะหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท (เงินได้สามีหักค่าใช้จ่ายได้ 60,000 บาท เงินได้ภริยาหักค่าใช้จ่ายได้ 40,000 บาท) อนึ่ง กรณีนี้แม้ว่าภริยาจะเลือกเสียภาษี โดยแยกเงินได้ประเภทที่ 1 ไปเสียภาษีในชื่อของภริยา การหัก ค่าใช้จ่ายก็ยังคงหักได้ในจำนวนเท่ากับกรณีรวมคำนวณคือ เงินได้ของสามี 200,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 60,000 บาท ส่วนเงินได้ของภริยา 100,000 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 40,000 บาท

      2. ในกรณีภริยามีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 โดยที่แหล่งเงินได้มิใช่แหล่งเดียวกันเฉพาะ เงินได้ประเภทที่ 1 เท่านั้น ที่ภริยาสามารถนำไปแยกคำนวณเสียภาษีในชื่อของตนเองต่างหากจากเงินได้สามี ส่วนเงินได้ประเภทที่ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีในชื่อของสามีกรณีเช่นนี้ การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ 2 ประเภทดังกล่าว ต้องเฉลี่ยหักตามส่วน

      3. ในกรณีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุ ออกจากงาน โดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน ทั้งนี้ไม่ว่าเงินที่จ่ายนั้นจะจ่ายจากเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญหรือเงินอื่นใด ผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีโดยรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทที่ 1 คือ ให้คำนวณรวมกับเงินเดือนแล้วหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 40 ของเงินได้พึงประเมิน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท หรือเลือกคำนวณตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วให้นำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไปก็ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดภาษีได้



 

ปรับปรุงล่าสุด: 17-05-2016