เมนูปิด

ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
และรัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซีย
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้



 รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซีย


                มีความปรารถนาที่จะทำความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

                 ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

 

บทที่ 1
ขอบข่ายแห่งความตกลง

ข้อ 1
ขอบข่ายด้านบุคคล

                ความตกลงนี้ให้ใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งหรือทั้งสองรัฐ

 

ข้อ 2
ภาษีที่อยู่ในขอบข่าย

1.             ความตกลงนี้ให้ใช้บังคับแก่ภาษีเก็บจากเงินได้ที่ตั้งบังคับโดยรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการเรียกเก็บ

 

2.             ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งความตกลงนี้ใช้บังคับได้แก่

 

                ก.                ในประเทศมาเลเชีย

 

                                   (1)             ภาษีเงินได้และภาษีกำไรส่วนเกิน

 

                                   (2)             ภาษีเงินได้เพิ่มเติมซึ่งก็คือภาษีกำไรจากดีบุกภาษีการพัฒนาและภาษีกำไรจากการ

                                                    ทำไม้ และ

 

                                   (3)             ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ภาษีมาเลเซีย")

 

                ข.                ในกรณีประเทศไทย

 

                                   -             ภาษีเงินได้ และ

 

                                   -             ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

 

                                   (ในความตกลงนี้เรียกว่า "ภาษีไทย")

 

3.             ความตกลงนี้ให้ใช้บังคับแก่ภาษีใดๆ ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันในสาระสำคัญ ซึ่งจะได้ตั้งบังคับเพิ่มเติมจากหรือแทนที่ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบันหลังจากวันที่ได้มีการลงนามกันในความตกลงนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาจะได้แจ้งแก่กันและกันเพื่อให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ใดๆ ซึ่งได้มีขึ้น ในกฎหมายภาษีอากรของรัฐของตน

 

บทที่ 2
บทนิยาม

ข้อ 3
บทนิยามทั่วไป

1.             ในความตกลงนี้เว้นแต่บริบทจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

 

                (ก)              คำว่า "ประเทศมาเลเซีย" หมายถึงสหพันธ์รัฐมาเลเซีย และรวมทั้งพื้นที่ใดๆ ซึ่งประชิดกับน่าน

                                  น้ำอาณาเขตของมาเลเซียซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศได้กำหนด หรือต่อไปอาจกำหนด

                                  ขึ้นตามกฎหมายของมาเลเซียเกี่ยวกับ ในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดิน รวม

                                  ทั้งทรัพยากรธรรมชาติของพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินนั้น

 

                (ข)              คำว่า "ประเทศไทย" หมายถึงราชอาณาจักรไทยและรวมถึงพื้นที่ใดๆ ซึ่งประชิดกับน่านน้ำ

                                  อาณาเขตของมาเลเซียหรืออาจจะกำหนดในเวลาต่อ ไปให้เป็นพื้นที่ซึ่งราชอาณาจักรไทย

                                  อาจใช้สิทธิภายในพื้นที่นั้นๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นดินท้องทะเลและดินใต้รวมทั้งทรัพยากร

                                  ธรรมชาติของพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินนั้น

 

                (ค)              คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึงประเทศมาเลเซียและ

                                  ประเทศไทยแล้ว

 

                (ง)              คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา บริษัท และคณะบุคคลอื่นใดซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเพื่อ

                                  ประโยชน์ในทางภาษี

 

                (จ)              คำว่า "บริษัท" หมายถึงนิติบุคคลหรือหน่วยใดๆ ซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายภาษีอากร

                                  ของรัฐผู้ทำสัญญา

 

                (ฉ)              คำว่า "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมาย

                                  ความตามลำดับว่าวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและวิสาหกิจที่

                                  ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง

 

                (ช)              คำว่า "ภาษี" หมายถึงภาษีมาเลเซียหรือภาษีไทยตามที่บริบทจะกำหนด

 

                (ซ)              คำว่า "คนชาติ" หมายถึง

 

                                   (1)              บุคคลธรรมดาใดๆ ที่เป็นผู้ถือสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                                   (2)              นิติบุคคลใดๆ ห้างหุ้นส่วน สมาคมและหน่วยอื่นใดที่ได้รับสถานภาพเช่นนั้นตาม

                                                     กฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                (ฌ)              คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึงการขนส่งใดๆทางเรือหรือทางอากาศยานซึ่ง

                                  ดำเนินการ โดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ยกเว้นเมื่อเรือหรืออากาศยานได้มีการ

                                  ดำเนินงานระหว่างสถานที่ต่างๆ ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเท่านั้น

 

                (ญ)              คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายถึง

 

                                   (1)               ในกรณีของมาเลเซีย หมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้แทนที่ได้

                                                      รับมอบอำนาจ

                                   (2)              ในกรณีประเทศไทย หมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้แทนที่ได้รับ

                                                      มอบอำนาจ

 

2.             ในการใช้บังคับความตกลงนี้โดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดๆ ที่มิได้นิยามไว้เป็นอย่างอื่น ให้มีความหมายที่คำนั้นๆ มีอยู่ตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีที่อยู่ในขอบข่ายของความตกลงนี้ของรัฐผู้ทำสัญญานั้น

 

ข้อ 4
ผู้มีถิ่นที่อยู่

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" หมายถึง

 

                (ก)          ในกรณีประเทศไทย บุคคลผู้ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเสียภาษี

                               ไทย และ

 

                (ข)          ในกรณีมาเลเซียบุคคลผู้ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในมาเลเซียเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเสียภาษีมาเลเซีย

 

2.             ถ้าเนื่องจากเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาใดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐก็ให้วินิจฉัยสถานภาพของบุคคลดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

 

                (ก)          ให้ถือว่าบุคคลธรรมดาผู้มีที่อยู่ถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐใดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐนั้น ถ้าบุคคล

                              ธรรมดามีที่อยู่ถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาซึ่งตนมี

                              ความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า (ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ)

 

                (ข)          ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐผู้ทำสัญญาอันเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญของบุคคล

                              ธรรมดาได้ก็ดี หรือถ้าไม่มีที่อยู่ถาวรของบุคคลธรรมดาอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐก็ดี ให้ถือว่า

                              บุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาที่ตนมีที่อยู่เป็นปกติวิสัย

 

                (ค)          ถ้าบุคคลธรรมดามีที่อยู่เป็นปกติวิสัยในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐหรือไม่มีอยู่เลยในรัฐผู้ทำสัญญา

                              ทั้งสองรัฐให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาที่ตนเป็นคนชาติ

 

                (ง)          ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นคนชาติของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐหรือมิได้เป็นคนชาติของรัฐผู้ทำสัญญา

                              ทั้งสองรัฐให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาแก้ปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน

 

3.             ในกรณีที่ตามเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลซึ่งมิใช่บุคคลธรรมดาเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐคู่สัญญาแก้ไขปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน

 

ข้อ 5
สถานประกอบการถาวร

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งความตกลงนี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

 

2.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" โดยเฉพาะให้รวมถึง

 

                (ก)              สถานจัดการ

 

                (ข)              สาขา

 

                (ค)              สำนักงาน

 

                (ง)              โรงงาน

 

                (จ)              โรงช่าง

 

                (ฉ)              เหมืองแร่ เหมืองหิน บ่อน้ำมันหรือบ่อแก๊ส หรือสถานที่อื่นๆ ที่มีการขุดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

                                  ซึ่งรวมถึงไม้หรือผลิตภัณฑ์อื่นจากป่า

 

                (ช)              ที่ทำการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์และไร่สวน

 

                (ซ)              ที่ตั้งอาคารหรือการก่อสร้าง โครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบที่ดำรงอยู่นานกว่า 6 เดือน

 

3.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" มิให้ถือว่ารวมถึง

 

                (ก)              การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเก็บรักษา การจัดแสดงหรือการ

                                  ส่งมอบของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจ

 

                (ข)              การเก็บรักษามูลภัณฑ์ของของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์

                                  ในการเก็บรักษา การจัดแสดงหรือการส่งมอบ

 

                (ค)              การเก็บรักษามูลภัณฑ์ของของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์

                                  ที่จะให้วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ

 

                (ง)              การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์แห่งการจัดซื้อของหรือสินค้า หรือเพื่อรวบ

                                  รวมข้อสนเทศให้กับวิสาหกิจนั้น

 

                (จ)              การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์แห่งการโฆษณา เพื่อแจกจ่ายข้อสนเทศ

                                  เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน อันมีลักษณะเป็นการเตรียมงาน

                                  หรือเป็นส่วนประกอบให้กับวิสาหกิจนั้น

 

4.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง จะถูกถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ถ้าวิสาหกิจนั้นดำเนินกิจกรรมการให้คำแนะนำปรึกษาในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้นเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน เกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง โครงการติดตั้ง หรือโครงการประกอบซึ่งดำเนินอยู่ในอีกรัฐหนึ่งนั้น

 

5.             บุคคล (นอกจากนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไป หรือตัวแทนอื่นๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 6) ผู้กระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก ถ้า

 

                (ก)              บุคคลนั้นมีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัยในรัฐแรกซึ่งอำนาจในการทำสัญญาในนามของวิสาหกิจ

                                  นั้น เว้นไว้แต่ว่ากิจกรรมต่างๆ ของบุคคลนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะเพียงการซื้อของหรือสินค้าเพื่อ

                                  วิสาหกิจนั้น

 

                (ข)              บุคคลนั้นได้เก็บรักษาไว้ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรกซึ่งมูลภัณฑ์ของ หรือสินค้าอันเป็นของ

                                  วิสาหกิจนั้นและจากมูลภัณฑ์ดังกล่าวได้ดำเนินการตามคำสั่งซื้อเป็นปกติวิสัยในนามของ

                                  วิสาหกิจนั้น

 

                (ค)              บุคคลนั้นจัดหาคำสั่งซื้อในรัฐแรกเป็นจำนวนมากเพื่อวิสาหกิจนั้นเองหรือเพื่อวิสาหกิจอื่นๆ ซึ่ง

                                  อยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้น หรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

6.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถูกถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเพียงเพราะว่าวิสาหกิจดังกล่าวได้ประกอบธุรกิจในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น โดยผ่านนายหน้าตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ ถ้าบุคคลเช่นว่านั้นได้กระทำตามทางอันเป็นปกติแห่งธุรกิจของตนเพื่อความมุ่งประสงค์นี้ตัวแทนหนึ่งใดจะไม่ถือว่าเป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระ ถ้าหากว่าตัวแทนเช่นว่านั้นได้กระทำในอีกรัฐหนึ่งนั้นซึ่งกิจกรรมที่ระบุไว้ในวรรค 5 โดยส่วนสำคัญเพื่อวิสาหกิจนั้นเองหรือเพื่อวิสาหกิจนั้นและวิสาหกิจอื่นๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้นหรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

7.             เพียงแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุมหรืออยู่ในความควบคุมของบริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบธุรกิจในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011