เมนูปิด

อนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศแคนาดา
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศแคนาดา

               

                มีความปรารถนาที่จะทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้

 

                ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

 

 

บทที่ 1
ขอบข่ายแห่งอนุสัญญา

ข้อ 1
ขอบข่ายด้านบุคคล

 

                อนุสัญญานี้จะใช้บังคับกับบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง หรือทั้งสองรัฐ

 

 

ข้อ 2
ภาษีที่อยู่ในขอบข่าย

 

1.             อนุสัญญานี้จะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากเงินได้ที่บังคับจัดเก็บในนามของรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ โดยไม่คำนึงวิธีการเรียกเก็บ

 

2.             ภาษีทั้งปวงที่บังคับจัดเก็บจากเงินได้ทั้งสิ้น หรือจากองค์ประกอบของเงินได้รวมทั้งภาษีที่เก็บจากผลได้จากการจำหน่ายจ่ายโอนสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ภาษีที่เก็บจากยอดเงินค่าจ้างหรือเงินเดือน จ่ายโดยวิสาหกิจ ตลอดจนภาษีที่เก็บจากการเพิ่มค่าทุน ให้ถือว่าเป็นภาษีเก็บจากเงินได้

 

3.             ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอนุสัญญานี้ใช้บังคับ โดยเฉพาะได้แก่

 

                (ก)           ในกรณีประเทศแคนาดา

 

                                -       ภาษีเงินได้บังคับจัดเก็บโดยรัฐบาลแคนาดา

 

                                (ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีแคนาดา")

 

                (ข)           ในกรณีประเทศไทย

 

                                -               ภาษีเงินได้ และ

 

                                -               ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

 

                                (ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า "ภาษีไทย")

 

4.             อนุสัญญานี้จะใช้บังคับกับภาษีใดๆ ที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันในสาระสำคัญซึ่งบังคับจัดเก็บภายหลังวันที่ได้ลงนามในอนุสัญญานี้ เป็นการเพิ่มเติม หรือแทนที่ภาษีที่มีอยู่ในปัจจุบัน รัฐผู้ทำสัญญาจะแจ้งให้แก่กันและกันทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งมีขึ้นในกฎหมายภาษีอากรของแต่ละรัฐ

 


บทที่ 2
บทนิยาม

ข้อ 3
บทนิยามทั่วไป

 

1.             ในอนุสัญญานี้ เว้นแต่บริบทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

 

                (ก)      (1)            คำว่า "ประเทศแคนาดา" เมื่อใช้ในความหมายทางภูมิศาสตร์ หมายถึงอาณาเขตของ

                                          ประเทศแคนาดา รวมทั้งพื้นที่ใดที่อยู่นอกทะเลอาณาเขตของประเทศแคนาดาซึ่งตาม

                                          กฎหมายของประเทศแคนาดา และตามกฎหมายระหว่างประเทศเป็นพื้นที่ซึ่งประเทศ

                                          แคนาดาอาจใช้สิทธิในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นดินท้องทะเล และดินใต้พื้นท้องทะเล และ

                                          ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ได้

 

                            (2)          คำว่า "ประเทศไทย" หมายถึงราชอาณาจักรไทยและรวมถึงพื้นที่ใดซึ่งประชิดกับน่านน้ำ

                                          อาณาเขตของราชอาณาจักรไทย ซึ่งตามกฎหมายไทยและตามกฎหมายระหว่างประเทศ

                                          ได้กำหนดไว้ หรืออาจกำหนดในเวลาต่อไปให้เป็นพื้นที่ซึ่งราชอาณาจักรไทยอาจใช้สิทธิ

                                          ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นดินท้องทะเลและดินใต้พื้นท้องทะเลและทรัพยากรธรรมชาติของพื้น

                                          ดินท้องทะเลและดินใต้พื้นท้องทะเล

 

                (ข)           คำว่า "รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมายถึงประเทศไทยหรือประเทศ

                               แคนาดาแล้วแต่บริบทจะกำหนด

 

                (ค)           คำว่า "บุคคล" รวมถึงบุคคลธรรมดา กองมรดก ทรัสต์ บริษัท ห้างหุ้นส่วนและคณะบุคคลอื่นใด

 

                (ง)           คำว่า "บริษัท" หมายถึง บรรษัท นิติบุคคล หรือหน่วยซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลเพื่อความมุ่งประสงค์

                               ในทางภาษี

 

                (จ)           คำว่า "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" และ "วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง" หมาย

                               ถึง วิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งและวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้

                               มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งตามลำดับ

 

                (ฉ)           คำว่า "เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ" หมายถึง

 

                                (1)           ในกรณีของประเทศแคนาดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสรรพากร หรือผู้แทนที่

                                               ได้รับมอบอำนาจ

 

                                (2)           ในกรณีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้

                                                รับมอบอำนาจ

 

                (ช)           คำว่า "ภาษี" หมายถึง ภาษีแคนาดาหรือภาษีไทยตามที่บริบทจะกำหนด

 

                (ซ)           คำว่า "คนชาติ" หมายถึง

 

                                (1)           บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                                (2)           นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนและสมาคมที่ได้รับสถานภาพเช่นนั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับ

                                               อยู่ ใน รัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง

 

                (ฌ)          คำว่า "การจราจรระหว่างประเทศ" หมายถึง การขนส่งใดๆ ทางเรือเดินทะเล หรือ

                               ทาง อากาศยาน ซึ่งดำเนินการโดยวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ยกเว้นในกรณีที่การเดิน

                               ทางนั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขนส่งผู้โดยสาร หรือสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ในรัฐผู้ทำสัญญา

                               อีกรัฐ หนึ่ง

 

2.             ในการใช้บังคับอนุสัญญาโดยรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง คำใดที่มิได้นิยามไว้ในอนุสัญญาจะมีความหมายตามกฎหมายของรัฐผู้ทำสัญญานั้น เกี่ยวกับภาษีที่อนุสัญญานี้ใช้บังคับ เว้นแต่บริบทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

 

 

ข้อ 4
ผู้มีถิ่นที่อยู่

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งอนุสัญญานี้ คำว่า "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง" หมายถึงบุคคลใดซึ่งตามกฎหมายของรัฐนั้นมีหน้าที่จะต้องเสียภาษีในรัฐนั้น โดยเหตุผลแห่งการมีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานจัดการ สถานจดทะเบียนบริษัท หรือโดยเกณฑ์อื่นใด ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

 

2.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลธรรมดาใดเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้กำหนดสถานภาพของบุคคลดังกล่าวดังต่อไปนี้

 

                (ก)           ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนมีที่อยู่ถาวร ถ้าบุคคลธรรมดานั้นมีที่

                               อยู่ ถาวรในทั้งสองรัฐ ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนมีความสัมพันธ์ทางส่วนตัวและ

                               ทาง เศรษฐกิจใกล้ชิดกว่า (ศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ)

 

                (ข)           ถ้าไม่อาจกำหนดรัฐซึ่งบุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญได้ หรือถ้าบุคคล

                               ธรรมดา นั้นไม่มีที่อยู่ถาวรในรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าบุคคลธรรมดานั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐที่ตนมีที่

                               อยู่เป็น ปกติวิสัย

 

                (ค)           ถ้าบุคคลธรรมดาที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยในทั้งสองรัฐหรือไม่มีอยู่ในรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าเป็นผู้มี

                               ถิ่น ที่อยู่ของรัฐที่ตนเป็นคนชาติ

 

                (ง)           ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นคนชาติของทั้งสองรัฐ หรือมิได้เป็นคนชาติของรัฐหนึ่งรัฐใด ให้เจ้าหน้าที่

                               ผู้ มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐแก้ไขปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน

 

3.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บริษัทเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้กำหนดสถานภาพของบริษัทดังกล่าวดังนี้

 

                (ก)           ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนเป็นคนชาติ

 

                (ข)           ถ้ามิได้เป็นคนชาติของรัฐหนึ่งรัฐใด ให้ถือว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐซึ่งตนมี

                               สถานจัดการใหญ่ตั้งอยู่

 

4.             ในกรณีที่โดยเหตุผลแห่งบทบัญญัติของวรรค 1 บุคคลนอกเหนือจากบุคคลธรรมดาหรือบริษัทเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ของรัฐผู้ทำสัญญาทั้งสองรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาพยายามแก้ไขปัญหาและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่จะใช้อนุสัญญากับบุคคลเช่นว่านั้นโดยความตกลงร่วมกัน

 

 

ข้อ 5
สถานประกอบการถาวร

 

1.             เพื่อความมุ่งประสงค์แห่งอนุสัญญานี้ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือเพียงแต่บางส่วน

 

2.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" จะรวมถึงโดยเฉพาะ

 

                (ก)           สถานจัดการ

 

                (ข)           สาขา

 

                (ค)           สำนักงาน

 

                (ง)           โรงงาน

 

                (จ)           โรงช่าง

 

                (ฉ)           คลังสินค้าในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกใน

                               การเก็บรักษาสำหรับบุคคลอื่น และ

 

                (ช)           เหมืองแร่ บ่อน้ำมัน หรือบ่อก๊าซ เหมืองหิน หรือแหล่งขุดทรัพยากรธรรมชาติอื่นใด

 

3.             คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ให้รวมดังต่อไปนี้ด้วย

 

                (ก)           ที่ดินก่อสร้างหรือโครงการก่อสร้าง หรือโครงการประกอบหรือกิจการควบคุมตรวจตราที่

                               เกี่ยว ข้อง และ

 

                (ข)           การให้การบริการ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษา โดยวิสาหกิจผ่านลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น

                               สำหรับ โครงการเดียวกันหรือโครงการที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ที่ดิน

                               โครงการ หรือกิจกรรมเช่นว่านั้นจะมีอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะเวลารวมกันแล้วมากกว่า

                               หกเดือน ภายในระยะเวลาสิบสองเดือน

 

4.             แม้จะมีบทบัญญัติก่อนๆ ของข้อนี้อยู่ คำว่า "สถานประกอบการถาวร" มิให้ถือว่ารวมถึง

 

                (ก)           การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการเก็บรักษาหรือการจัดแสดงสิ่ง

                               ของ หรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจ

 

                (ข)           การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้นเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ใน

                               การ เก็บรักษาหรือจัดแสดง

 

                (ค)           การเก็บรักษามูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจนั้น เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์

                               ให้ วิสาหกิจอื่นใช้ในการแปรสภาพ

 

                (ง)           การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการจัดซื้อสิ่งของหรือสินค้าหรือเพื่อ

                               รวบ รวมข้อสนเทศเพื่อวิสาหกิจนั้น

 

                (จ)           การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ซึ่งมีลักษณะ

                               เป็น การเตรียมการ หรือการสนับสนุนสำหรับวิสาหกิจนั้น

 

                (ฉ)           การมีสถานธุรกิจประจำไว้เพียงดำเนินกิจกรรมดังกล่าวในอนุวรรค (ก) ถึง (จ)รวมกันอันใด

                               อัน หนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่ากิจกรรมทั้งมวลอันมีผลจากการรวมกันดังกล่าวของสถานธุรกิจประจำ

                               นั้น มี ลักษณะเป็นการเตรียมการหรือการสนับสนุน

 

5.             บุคคลใด (นอกเหนือจากตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระ ซึ่งอยู่ในบังคับของวรรค 6) กระทำการในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง ในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง จะถือว่าเป็นสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก ถ้า

 

                (ก)           บุคคลนั้นมีและใช้อย่างเป็นปกติวิสัย ในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรกซึ่งอำนาจในการทำสัญญาใน

                               นาม ของวิสาหกิจนั้น เว้นไว้แต่ว่ากิจกรรมต่างๆ ของบุคคลนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะเพียงกิจกรรมที่

                               กล่าว ไว้ในวรรค 4 ซึ่งหากดำเนินการโดยผ่านสถานธุรกิจประจำใดแล้วจะไม่ทำให้สถานธุรกิจ

                               ประจำนี้ เป็นสถานประกอบการถาวรภายใต้บทบัญญัติของวรรคนั้น

 

                (ข)           บุคคลนั้นเก็บรักษาในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรก ซึ่งมูลภัณฑ์สิ่งของหรือสินค้าซึ่งเป็นของวิสาหกิจ

                               และ ดำเนินการส่งมอบสิ่งของหรือสินค้าจากมูลภัณฑ์ดังกล่าวในนามของวิสาหกิจนั้นเป็นประจำ

                               ให้แก่ ผู้สั่งซื้อ หรือ

 

                (ค)           บุคคลนั้นจัดหาได้ในรัฐที่กล่าวถึงรัฐแรกอย่างเป็นปกติวิสัยซึ่งใบสั่งซื้อทั้งหมด หรือเกือบ

                               ทั้ง หมดเพื่อวิสาหกิจนั้น หรือเพื่อวิสาหกิจนั้นและวิสาหกิจอื่นซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจ

                               นั้น  หรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้น

 

6.             วิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งเพียงเพราะว่าได้ประกอบธุรกิจในรัฐนั้น โดยผ่านทางนายหน้า ตัวแทนการค้าทั่วไปหรือตัวแทนอื่นใดที่มีสถานภาพเป็นอิสระ หรือเพียงเพราะได้มีการเก็บรักษาในอีกรัฐหนึ่งซึ่งมูลภัณฑ์สิ่งของไว้กับตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระ และตัวแทนนั้นดำเนินการส่งมอบสิ่งของหรือสินค้าจากมูลภัณฑ์ดังกล่าวโดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นกระทำการตามทางอันเป็นปกติแห่งธุรกิจของตน เพื่อความมุ่งประสงค์นี้จะไม่ถือว่าตัวแทนเป็นตัวแทนที่มีสถานภาพเป็นอิสระ ถ้ากระทำการเป็นตัวแทนโดยเฉพาะหรือเกือบโดยเฉพาะเพื่อวิสาหกิจนั้น หรือเพื่อวิสาหกิจนั้นและวิสาหกิจอื่นๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสาหกิจนั้นหรือมีผลประโยชน์ควบคุมอยู่ในวิสาหกิจนั้นและดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่ได้กล่าวไว้ในวรรค 5

 

7.             เพียงแต่ข้อเท็จจริงที่ว่า บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งควบคุมหรืออยู่ในความควบคุมของบริษัทซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง หรือซึ่งประกอบธุรกิจในอีกรัฐหนึ่งนั้น (ไม่ว่าจะผ่านสถานประกอบการถาวรหรือไม่ก็ตาม) มิเป็นเหตุให้บริษัทหนึ่งบริษัทใดเป็นสถานประกอบการถาวรของอีกบริษัทหนึ่ง

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 08-12-2011