เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่5609/2534

 

กรมสรรพากร

โจทก์

บริษัทแมเจซติคโฮเต็ล จำกัด

จำเลย

เรื่อง ประเมินภาษีการค้า

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องวิธีพิจารณาความแพ่ง ฟ้องเคลือบคลุม (มาตรา 172 วรรคสอง) ป.รัษฎากร
หมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินและกรณีไม่ปฏิบัติ ตามหมายฯอำนาจประเมิน
ภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของเจ้าพนัก งานประเมิน(มาตรา 19, 21, 87, 87 ทวิ)

โจทก์ฟ้องว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยได้แสดงรายการตามแบบ ยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.5) ไม่ถูกต้องตามความจริง และยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.4) ไว้โดยแสดงยอดรายรับ ไว้ต่ำกว่ายอดรายรับขั้นต่ำซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้ กำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนสำหรับกิจการค้าของจำเลย ซึ่ง ประกอบกิจการค้าประเภท 7 (ข) (ง) โรงแรมและภัตตาคาร เจ้า พนักงานประเมินของโจทก์จึงหมายเรียกจำเลยให้นำบัญชีพร้อมทั้ง เอกสารประกอบการลงบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2515 ถึง 2523 มาทำการตรวจสอบภาษีอากร แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามหมาย เรียก โดยไม่มาพบและไม่นำบัญชีพร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงบัญชี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวมาให้เจ้าพนักงานประเมินของ โจทก์ตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์อาศัยอำนาจตามมาตรา 87, 87 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้ทำการตรวจสอบรายได้ของ จำเลยจากแบบยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.5) และแบบ แสดงรายการการค้า (ภ.ค.4) ซึ่งจำเลยได้ยื่นไว้ตรวจสอบจากสถานที่ ประกอบการค้าตามความเป็นจริงของจำเลย และตรวจสอบจากยอด รายรับขั้นต่ำซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้า กองภาษีการค้ากรม สรรพากรได้กำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนสำหรับกิจการค้าของ จำเลย และได้แจ้งให้จำเลยได้ทราบแล้ว เป็นหลักฐานแห่งการคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและประเมินภาษีการค้าสำหรับกิจการค้าของ จำเลยซึ่งจำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้แก่โจทก์ จากการตรวจสอบ ของพนักงานเจ้าพนักที่ของโจทก์ดังกล่าว ปรากฏว่าในรอบระยะเวลา บัญชีระหว่างปี 2515 ถึง 2523 จำเลยแสดงแบบยื่นรายการภาษี เงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นแบบแสดง รายการการค้าไว้โดยแสดงยอดรายรับไว้ต่ำกว่ายอดรายรับขั้นต่ำ ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้กำหนดไว้สำหรับกิจการค้า ของจำเลย เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ทำการประเมินเสียใหม่ ทั้ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล เมื่อได้ ตรวจสอบภาษีอากรดังกล่าวแล้วเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ แจ้งให้จำเลยมารับทราบผลการตรวจสอบ แต่จำเลยไม่มารับทราบ ตามกำหนดเวลาเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้ทำการประเมิน ภาษีอากรตามผลการตรวจสอบดังกล่าว และได้แจ้งการประเมินภาษี อากรทุกประเภทให้จำเลยทราบและให้จำเลยจัดการชำระภาษีอากร ทุกประเภทให้แก่โจทก์ ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง การประเมิน มิฉะนั้นจำเลยจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามประมวล รัษฎากร มาตรา 27 สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรา 89 ทวิ สำหรับภาษีการค้าอีกด้วย ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือแจ้ง ภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้ารวมภาษีบำรุง เทศบาล เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2-26 จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าว ทุกฉบับแล้ว และมิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม หนังสือแจ้งการประเมิน เลขที่ 1047/2/00783-00786 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2520 (ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2-5) และตาม หนังสือแจ้งการประเมิน เลขที่ 1047/2/00817-00820ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2520 และตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้า เลขที่ 1047/3/01820-01827 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2520 (ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6-9, 13-20) แต่จำเลยได้ยื่น อุทธรณ์การประเมินภาษีสำหรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี เงินได้นิติบุคคล เลขที่ 1047/2/01315-01317 และแบบ แจ้งการประเมินภาษีการค้า เลขที่ 1047/3/03564-03565 ลงวันที่ 6 กันยายน 2522 (ตามเอกสารท้ายฟ้องเลขที่ 10-12, 21, 22) และแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้า เลขที่ 1047/3/ 04597-04598 ลงวันที่ 10 กันยายน 2522 (ตามเอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 23-24) และแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้า เลขที่ 1047/3/04775 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2523 (ตามเอกสารท้าย ฟ้องหมายเลข 25) แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้ง 3 ครั้ง ไว้พิจารณา เนื่องจาก คำอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและยื่นอุทธรณ์ เมื่อเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร และ นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นอุทธรณ์แบบแจ้งการประเมินภาษีการค้า เลขที่ 1047/3/04959 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2524 (ตามเอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 26) ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำ วินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ 33/2525 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2524 ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็น การถูกต้องและชอบแล้ว ซึ่งจำเลยได้รับทราบผลการวินิจฉัยไม่รับ อุทธรณ์และผลการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แล้วทุกครั้ง แต่จำเลยก็มิได้ดำเนินการนำคดีขึ้นสู่ศาล อันจะทำให้การ ประเมินการเสียภาษีอากรทุกชนิดของเจ้าพนักงานประเมินและคำ วินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีอากร ตามกฎหมาย มีผลเป็นอย่างอื่น และจำเลยก็มิได้จัดการชำระภาษีอากรให้แก่โจทก์ ภายในกำหนดแต่ประการใด รวมค่าภาษีอากรทุกประเภท เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์จนถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น 5,469,805.71 บาทปรากฏตามสำเนารายละเอียดแสดงหนี้ภาษี อากรค้าง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 27 เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ภาษี อากรค้างดังกล่าว โจทก์ได้ตรวจสอบเพื่อพบอสังหาริมทรัพย์และ สังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แล้วแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่อาจดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรได้ จำเลย ไม่มีทรัพย์ใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ต่อมาเจ้าหน้าที่ของ โจทก์ได้มีหนังสือไปยังจำเลยให้นำภาษีอากรค้างไปชำระให้แก่โจทก์ รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2530 ครั้งที่สองเมื่อวัน ที่ 3 มีนาคม 2530แต่ละครั้งได้แจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีอากรค้างไป ชำระให้แก่โจทก์ภายใน15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือเตือน ปรากฏ ตามภาพถ่ายสำเนาหนังสือแจ้งให้นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ และ บันทึกการส่งหนังสือแจ้ง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 28-29 ในการ ส่งหนังสือเตือนดังกล่าวปรากฏว่าไม่พบตัวจำเลยแต่พบกับพนักงาน ของจำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระที่โจทก์ นำส่งทั้งสองครั้ง และได้รับว่าจะนำหนังสือดังกล่าวให้แก่จำเลย ถือว่า จำเลยได้รับแล้ว จำเลยก็ยังเพิกเฉยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรค้างตาม จำนวนข้างต้นให้แก่โจทก์ภายในกำหนด จำเลยได้รับหนังสือทวงถาม จากโจทก์ให้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้องไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมี ระยะห่างกันไม่น้อยกว่า30 วัน จำเลยก็ไม่ชำระหนี้จำเลยจึงมีหนี้สิน ล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลย ล้มละลาย
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ บรรยายให้ชัดแจ้งว่ามีเหตุอันควรเชื่ออย่างไร เกิดจากอะไร และการ กำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้กำหนดไว้ อย่างไร มีจำนวนเท่าไรและมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณอย่างไร เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ออกหมายเรียกให้จำเลยส่งบัญชี พร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาประจำปี 2515 ถึง 2523 เมื่อไร เป็นการเคลือบคลุมในเรื่องอายุความจำเลยไม่อาจ ต่อสู้คดีได้ว่ามีการออกหมายเรียกจริงหรือไม่ จำเลยไม่เคยได้รับหมาย เรียกจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ให้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบ การลงบัญชี จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยขัดขืน ไม่ส่งบัญชีและเอกสาร ประกอบการลงบัญชีแก่เจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึง ไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่จำเลย แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.5) และภาษีการค้า(ภ.ค.4) ที่จำเลยได้ยื่นต่อโจทก์สำหรับปี ภาษี 2515 ถึง 2523 ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่มีค่าภาษีอากร ค้างที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ การประเมินภาษีของเจ้าพนักงาน ประเมินตามคำฟ้อง ข้อ ก.(1) ถึง (11) ข้อ ข.(1) ถึง(14) จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ ค่าภาษีที่ค้างชำระและที่ชำระไม่ถูกต้องในปีภาษี 2515 ถึง 2519 ตามคำฟ้องข้อ ก. (1) ถึง (9) และข้อ ข. (1) ถึง (8) โจทก์จะต้อง ฟ้องภายในอายุความ 10 ปี นับแต่จำเลยมีหน้าที่เสียภาษี แต่โจทก์ ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วตามคำฟ้องข้อ ก. (10) (11) โจทก์ฟ้องคำนวณเงินเพิ่มสำหรับปีภาษี 2520 ถึง 2521 รวม ยอดหนี้ด้วย การฟ้องเรียกเงินเพิ่มต้องฟ้องภายในอายุความ 5 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในอายุความ 5 ปี โจทก์ไม่อาจยกเอาหนี้ ที่ขาดอายุความมาเป็นมูลฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ ตามคำฟ้องข้อ ข.(9) ถึง (14) โจทก์ฟ้องคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับปี ภาษี 2521 ถึง 2522 และภาษีเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม 2523 โจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในอายุความ 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนและ ยังมีข้อโต้เถียงอยู่ จำเลยไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่มีทรัพย์สินและ เครดิตพอที่จะชำระหนี้ได้ จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามให้ ชำระหนี้ค่าภาษีอากรทั้งสองครั้ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว จำเลยฎีกาข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่า มีเหตุอะไรที่เป็นเหตุอันควรเชื่อว่า จำเลยยื่นแบบภาษีไว้ไม่ถูกต้อง โจทก์ออกหมายเรียกจำเลยเมื่อใด และ ได้กำหนดรายรับขั้นต่ำไว้มีจำนวนเท่าใด เห็นว่า ฟ้องโจทก์บรรยายว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยแสดงแบบยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ต่ำกว่า ยอดรายรับขั้นต่ำซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้กำหนดไว้ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้หมายเรียกจำเลยให้นำบัญชีพร้อม เอกสารประกอบการลงบัญชี ปี 2515 ถึง 2523 มาตรวจสอบภาษี จำเลยไม่มาพบและไม่นำบัญชีมาให้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ ตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์อาศัยอำนาจตามมาตรา 87, 87 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทำการประเมินเรียกเก็บภาษีใหม่ พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,469,805.71 บาท จำเลยไม่มีทรัพย์ใดที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์ได้ทวงถาม จำเลยให้ชำระแล้วสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่ อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ส่วนราย ละเอียดต่าง ๆ ตามฎีกาของจำเลยนั้น โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้น พิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยฎีกาข้อต่อไปว่า หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์นำมาฟ้องยัง เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้ไม่แน่นอน เพราะจำเลยไม่เคยได้รับ หมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยขัดขืนหมายเรียกอันจะทำให้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ มีอำนาจประเมินภาษี การประเมินของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวล รัษฎากรมาตรา 19, 21 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเสียภาษีไว้ น้อยกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กำหนดรายรับ ขั้นต่ำก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของจำเลยไว้เท่าใด มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ และได้แจ้งกำหนดรายรับ ขั้นต่ำให้จำเลยทราบอย่างไร การกำหนดรายรับขั้นต่ำดังกล่าวจึง ไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 86 เบ็ญจ จะถือว่าจำเลยเป็น หนี้ค่าค่าภาษีอากรโจทก์ตามการประเมินไม่ได้ ในข้อนี้ โจทก์มีพยาน เป็นผู้ตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้ของจำเลยระหว่างปี 2515 ถึง 2519 เพราะจำเลยได้ยื่นแบบแสดงภาษีมีผลขาดทุนตลอดมา และยื่นชำระภาษีการค้าไว้ต่ำกว่าที่โจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ ในการตรวจสอบพยานได้ออกหมายเรียกไปยังจำเลยให้นำบัญชี พร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีระหว่างปีดังกล่าวมาส่งมอบ ให้พยานปรากฏตามสำเนาหมายเรียกและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.1 จำเลยไม่มาพบและไม่ส่งเอกสารตามหมายเรียก พยานจึงมี หนังสือเตือนจำเลยให้ปฏิบัติตามหมายเรียกปรากฏตามสำเนา หนังสือเตือนและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.2 จ.3 นางนิภา ถิ่นพังงา เจ้าหน้าที่ของโจทก์เบิกความว่า จำเลยยื่นแสดงรายการเสียภาษี ไว้ต่ำกว่ายอดรายรับที่โจทก์กำหนดไว้และจำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล พยานจึงได้ออกหมายเรียกให้จำเลย นำบัญชีและเอกสารระหว่างปี 2519 ถึง 2521มาให้ตรวจสอบ ปรากฏตามใบรับเอกสารหมาย จ.29 แต่จำเลยไม่มาพบและ ไม่ส่งมอบบัญชีและเอกสารให้พยาน และนายธวัชชัย สวนสีดา นิติกร ของโจทก์เบิกความว่า การที่จำเลยไม่มาพบเจ้าพนักงานประเมินตาม หมายเรียกนั้น โจทก์มีอำนาจเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 7,000 บาท จำเลยยอมเสียค่าปรับ ปรากฏตามแบบเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับ เอกสารหมาย จ.52 โจทก์เคยแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำเพื่อเสียภาษี การค้าให้แก่จำเลยได้ทราบหลายครั้ง ปรากฏตามสำเนาหนังสือเอกสาร หมาย จ.53 เห็นว่าโจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมายืนยัน ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ของโจทก์ ได้แจ้งกำหนดรายรับขั้นต่ำให้จำเลยทราบแล้ว พยานหลักฐานโจทก์จึง มีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนจำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการ ประเมินภาษีจำเลยโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 21 และจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามการประเมินดังกล่าว จำเลยฎีกาข้อสุดท้ายว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ค่าภาษี อากรปี 2519 ขาดอายุความแล้ว เพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวัน ที่ 15 พฤษภาคม2530 ซึ่งเกินกว่า 10 ปี แล้วเห็นว่า การประเมิน ภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2519 เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนเงินภาษีที่ประเมินไปยัง จำเลย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 6 กันยายน 2522 ตามลำดับ ปรากฏตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.20 จ.23 และ จ.31 อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 173 นับแต่วันที่แจ้งดังกล่าวจนถึงวันฟ้องยัง ไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรปี 2519 จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลย เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท เป็นหนี้ที่ กำหนดจำนวนได้แน่นอน และจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจึงชอบแล้ว..."
พิพากษายืน
(ราเชนทร์ จัมปาสุต - สวิน อักขรายุธ - จรัส อุดมวรชาติ)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021