เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่2368/2534

 

กรมศุลกากร กับพวก

โจทก์

บริษัทโรแยลโมเซดเอกซ์ปอร์ต จำกัด

จำเลย

เรื่อง ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องแพ่ง ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด (มาตรา 224) ป.รัษฎากร เงินเพิ่ม
(มาตรา 89 ทวิ)

โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2517 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2520 จำเลยนำสินค้าเข้าตามใบขนสินค้ารวม 19 ฉบับ โดยสำแดงว่าสินค้า ที่นำเข้ามีสภาพเป็นวัตถุดิบจะใช้ในการผลิตสินค้าส่งออกภายใน 1 ปี นับ แต่วันนำเข้าและประสงค์ขอคืนเงินอากร พนักงานของโจทก์ได้ตรวจสอบ สินค้าตามใบขนส่งสินค้าทั้ง 19 ฉบับ จำเลยให้ธนาคารค้ำประกันการชำระ ภาษีอากรไว้เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่จำเลยนำสินค้าเข้า จำเลยมิได้ นำสินค้าที่นำเข้าตามใบขนทั้งทั้ง 19 ฉบับ ไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่ง ออกจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า พนักงานเจ้าหน้าที่ของ โจทก์ตรวจพบว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้อง ตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงทำการประเมินราคาสินค้าและภาษี อากรใหม่ แจ้งให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรซึ่งธนาคารได้ชำระ เป็นเงิน 1,980,800 บาท ตามวงเงินค้ำประกันจ่ายต้องชำระภาษีและ เงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้าต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน นับแต่วันตรวจปล่อยสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับภาษีการค้าและ ภาษีบำรุงเทศบาลต้องชำระเงินเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 1 ต่อเดือนนับแต่วัน ตรวจปล่อยสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีการค้าและ บำรุงเทศบาล จำเลยมีหน้าที่ยื่นใบสรุปยอดอากรและชำระเงินค่าภาษี อากรกับเงินเพิ่มที่จำเลยจะต้องเสียสำหรับสินค้าที่นำเข้า โดยไม่มีการ ผลิตส่งออก ภายในเวลา 18 เดือน นับแต่วันนำสินค้าเข้า แต่จำเลยเพิก เฉย เมื่อหักเงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระให้แก่โจทก์แล้วจำเลยต้อง ชำระค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันฟ้องเป็นอากรขาเข้าจำนวน 1,050,684.10 บาท ภาษีการค้า170,706.13 บาท ภาษีบำรุงเทศบาล 17,050.44 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ขอให้พิพากษาและ บังคับจำเลยชำระค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มจำนวน 1,238,439.96 บาท กับให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับ ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจน กว่าชำระเสร็จ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,238,438.96 บาท แก่โจทก์กับเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ของค่าอากรขาเข้าที่ค้าง ชำระจำนวน 72,181.61 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า"...จำเลยนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราช อาณาจักรตามใบขนสินค้าจำนวน 19 ฉบับ โดยสำแดงว่าเป็นวัตถุดิบที นำมาใช้ผลิตสินค้าแล้วจะส่งออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้าและขอคืนเงินอากรเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ตรวจ ปล่อยสินค้าดังกล่าวให้จำเลยรับไป แต่ให้จำเลยจัดหาธนาคารมาค้ำ ประกัน ครั้นเมื่อครบ 1 ปี จำเลยมิได้นำสินค้าดังกล่าวไปใช้ในการผลิต และส่งออกนอกราชอาณาจักร จำเลยจึงหมดสิทธิขอคืนเงินอากรแต่จำเลย ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลและเงินเพิ่มตาม กฎหมาย นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาจำเลย ได้สำแดงสินค้าไว้ในใบขนสินค้าไม่ถูกต้องจำนวน 10 ฉบับ โจทก์ที่ 1 จึงประเมินราคาใหม่แล้วคำนวณค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุง เทศบาลและเงินเพิ่ม เมื่อหักกับจำนวนเงินที่ธนาคารชำระแทนจำเลยใน ฐานผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยยังค้างชำระค่าอากรขาเข้ากับเงินเพิ่มจำนวน 1,050,684.10 บาท ภาษีการค้าและเงินเพิ่มจำนวน 170,706.13 บาท ภาษีบำรุงเทศบาลและเงินเพิ่ม 17,050.44 บาท รวม 3 รายการ เป็นเงิน 1,238,440.67 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยชำระ เพียง 1,238,439.96 บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า จำเลยจะต้องรับ ผิดชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าตามจำนวน ที่โจทก์ฟ้องนับแต่วันฟ้องหรือไม่ และโจทก์ก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับ ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ค้างชำระด้วยหรือไม่ สำหรับปัญหา เรื่องเงินเพิ่มของค่าอากรขาเข้านั้น ศาลฎีกาเห็นว่าแม้กฎหมายจะ บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระ นับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันนำเงินมาชำระก็ตามแต่ในฟ้องของโจทก์ก็ดี ตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี โจทก์ยอมรับว่าจำนวนเงินอากรขาเข้าที ฟ้องขอให้ชำระจำนวน 1,050,684.10 บาทนั้น ได้รวมเงินเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 1 ของเงินค่าอากรขาเข้าที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้องแล้ว โดย ในคำฟ้องของโจทก์และตามทางนำสืบของโจทก์ โจทก์มิได้แยกให้เห็นว่า เงินค่าอากรขาเข้าที่ค้างชำระโดยไม่รวมเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์ อ้างในฎีกาว่า โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเฉพาะยอดตัวภาษีโดยไม่รวมเงิน เพิ่มไว้ในเอกสารหมาย จ.1 แล้วนั้น ได้ตรวจดูเอกสารหมาย จ.1 แล้วก็ ไม่สามารถทราบได้โดยชัดแจ้งว่ายอดเงินค่าอากรขาเข้าที่ไม่รวมเงินเพิ่ม เป็นจำนวนเท่าใด แม้แต่ในฎีกาของโจทก์เองก็ไม่ได้ระบุว่ายอดเงินอากรที ไม่รวมเงินเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด และปรากฏตัวเลขดังกล่าวในช่องไหนของ เอกสารหมาย จ.1 ทั้งได้พิจารณาคำเบิกความของนางสาวสุวรรณี ทวีศรี พยานโจทก์ผู้ทำเอกสารหมาย จ.1 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าพยานได้เบิกความถึง จำนวนเงินค่าอากรขาเข้าที่ไม่รวมเงินเพิ่มว่าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อไม่ทราบ จำนวนเงินค่าอากรขาเข้าที่จะใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดเงินเพิ่มได้เช่นนี้ แล้ว ศาลก็ไม่อาจให้จำเลยชำระเงินเพิ่มจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระ เสร็จได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าอากรขาเข้าที่ค้างชำระ 72,181.61 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จนั้น นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสองอยู่แล้ว ฎีกาของ โจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิที่ใช้บังคับในขณะนั้น ได้บัญญัติถึงความรับผิดชอบของผู้เสีย ภาษีที่ผิดนัดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระ ภาษีภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที ต้องชำระ เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดไว้โดยเฉพาะเช่นนี้แล้ว จึงไม่ อาจนำบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดดังที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับอีก ที่ศาล ล่างทั้งสองพิพากษาไม่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีการค้าและ ภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"
พิพากษายืน
(ตัน เวทไว - ก้าน อันนานนท์ -จรัส อุดมวรชาติ)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 31-01-2021