เมนูปิด

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 207 (พ.ศ. 2540)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

 

---------------------------------------------

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

                ข้อ 1  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (42) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 206 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

                      “(42) ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดี กรมสรรพากรประกาศกำหนด”

 

                ข้อ 2  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2540

 

จาตุรนต์ ฉายแสง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

___________________________________________________________________

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการส่งเสริม ให้ธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ควบเข้ากันเพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง สมควรกำหนดให้เงินได้พึงประเมินที่ เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการควบกิจการดังกล่าว ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจำเป็น ต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 43 ก วันที่ 22 กันยายน 2540)

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022