เมนูปิด

คำพิพากษาฎีกาที่13996/2553 
นางจำเนียร สธนเสาวภาคย์โจทก์
กรมสรรพากรจำเลย
เรื่อง ภาษีอากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้องประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 30 มาตรา 91/15 และมาตรา 91/16
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 112
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 3 มาตรา 37 มาตรา 41 และมาตรา 45
กรมสรรพากรมีอำนาจจัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นแทนกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พงศ.2528 ซึ่งบัญญัติว่า “กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากร...เพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของภาษี...ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทดังต่อไปนี้ (1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร...และวรรคสาม “ภาษีอากร...ตามมาตรานี้ให้ถือเป็นภาษีอากร...ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น” ดังนั้น ภาษีส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมาตรา 5 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร ประมวลรัษฎากร ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ และไม่มีบทบัญญัติว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นตามมาตรา 3 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ประมวลรัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สามารถแก้ไขตัวเลขภาษีให้ถูกต้องได้ ไม่ใช่เป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้อำนาจการประเมินแทนเจ้าพนักงานประเมิน

 

ปรับปรุงล่าสุด: 13-02-2021