เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.06)/675
วันที่: 9 กรกฎาคม 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีที่กรมศุลกากรประเมินเพิ่มเติม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 83/10(1), มาตรา 88/6(1)(ก)
ข้อหารือ: 1. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าสินค้าบุหรี่ต่างประเทศเพื่อขาย ต่อมาบริษัทฯ ถูก
กรมศุลกากรประเมินราคาและภาษีอากรเพิ่มเติมโดยแจ้งว่า บริษัทฯ ร่วมมือกับ บริษัท จ. และบริษัท
อ. จำกัด สำแดงราคาบุหรี่เพื่อเสียอากรในขณะนำเข้าไว้ต่ำกว่าราคากรมศุลกากรสำหรับการนำเข้า
จนถึงปี พ.ศ. 2542
2. บริษัทฯ ต้องชำระค่าอากรและอากรพิเศษ ค่าปรับอากรและอากรพิเศษ ค่าแสตมป์ยาสูบ
ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 103,940,148.50 บาท
และ 599,971,585.14 บาท แต่มิได้ระบุว่าเป็นการนำเข้าของเดือนภาษีใด จำนวนเงินเท่าใด บริษัทฯ
ได้ยินยอมชำระภาษีอากรและค่าปรับที่เกี่ยวข้องดังรายการต่อไปนี้
รายการ จำนวนเงินตามคำร้องขอคืน รวม
(1)* (2)*
อากร/อากรพิเศษ 8,504,675.00 45,638,110.00 54,142,785.00
ค่าปรับอากร/อากรพิเศษ 17,009,350.00 91,276,220.00 108,285,570.00
แสตมป์ยาสูบ 58,013,909.00 346,675,646.00 404,689,555.00
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ขอคืนภาษี) 8,294,217.00 45,597,575.00 53,891,792.00
เงินเพิ่ม ภ.พ. 3,823,780.50 25,186,459.14 29,010,239.64
เบี้ยปรับ ภ.พ. 8,294,217.00 45,597,575.00 53,891,792.00
รวม 103,940,148.50 599,971,585.14 703,911,733.64
หมายเหตุ ชำระยอด (1)* เมื่อ 10/10/2543 จำนวนเงิน 17,009,350.00 บาท
และ 12/10/2543 จำนวนเงิน 86,930,798.50 บาท
รวมจำนวนเงิน 103,940,148.50 บาท
ชำระยอด (2)* เมื่อ 25/10/2543 จำนวนเงิน 91,276,220.00 บาท
และ 10/11/2543 จำนวนเงิน 508,695,365.14 บาท
รวมจำนวนเงิน 599,971,585.14 บาท
1. ภาษีอากรที่บริษัทฯ ชำระให้กับกรมศุลกากรนั้น ได้รับมาจากบริษัท J และ บริษัท อ. ดังนี้
บริษัท J บริษัท อ.
งวดที่ 1 28/9/46 17,057,217.99 บาท 25/10/43 91,276,220.00 บาท
งวดที่ 2 5/10/43 84,435,554.63 บาท 9/11/46 508,695,365.24 บาท
งวดที่ 3 26/10/43 2,446,775.88 บาท - บาท
103,939,548.50 บาท 599,971,585.24 บาท
หมายเหตุ ภาษีอากรที่ได้รับจาก บริษัท JT International S.A. Geneva ในงวดที่ 1 และ 2
บริษัทฯ แจ้ง ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเป็นการกู้ยืมตามแบบ ธต.3 งวดที่ 3 ได้รับเป็นเช็คธนาคาร
เข้าบัญชีบริษัทฯ
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ แสดงราคาบุหรี่นำเข้าเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้าไว้ต่ำกว่าราคาที่กรมศุลกากร
กำหนดสำหรับการนำเข้าจนถึงปี พ.ศ. 2542 กรมศุลกากรจึงประเมินราคาบุหรี่นำเข้าเพิ่มเติม
พร้อมทั้งประเมินอากรขาเข้า ค่าปรับอากรและอากรพิเศษ แสตมป์ยาสูบ ภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับและ
เงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินภาษีอากรให้
ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา 83/10(1) และมาตรา 88/6(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าได้เสียไปเมื่อนำเข้าสินค้า จึงเป็นภาษีซื้อ ตามมาตรา
77/1(18)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมาถือเป็นภาษีซื้อในเดือนที่
ชำระภาษีตามการประเมิน แต่ต้องไม่เกินสามปีนับจากวันที่ออกใบกำกับภาษี คือ วันที่ระบุไว้ใน
ใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากร ทั้งนี้ ตามมาตรา
82/3 วรรคสี่ มาตรา 84 และมาตรา 86/14 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับกรณีเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่ถือเป็นภาษีซื้อตามมาตรา 77/1(18)(ก)
แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำเบี้ยปรับและเงินเพิ่มดังกล่าวมาถือเป็นภาษีซื้อใน
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัท J และบริษัท อ ได้ชำระค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ถูกกรมศุลกากรประเมิน
เรียกเก็บจำนวน 703,911,733.64 บาท แทนบริษัทฯ เงินจำนวนดังกล่าวบริษัทฯ ต้องนำไปถือเป็น
รายได้ในการคำนวณฯ กำไรสุทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่นั้น ปรากฏข้อเท็จจริง
เพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นดังกล่าว และ อธ. โดย
ความเห็นชอบของกรมสรรพากรได้พิจารณาอุทธรณ์ของบริษัทฯ เสร็จสิ้นแล้วตามบันทึกลงวันที่ 14
พฤษภาคม 2546 จึงเห็นควรให้เป็นไปตามผลการพิจารณาอุทธรณ์ที่ อธ.
เลขตู้: 66/32561


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020