เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.03)/727
วันที่: 30 มิถุนายน 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าตอบแทนที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับและจ่ายให้ผู้รับ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1), มาตรา 40(2), มาตรา 42(7), มาตรา 50(1), มาตรา 81(1)(ช), มาตรา 81(1)(ฉ)
ข้อหารือ: รายได้ค่าตอบแทนที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับและรายจ่ายที่สถาบันอุดมศึกษาให้ผู้รับเป็นรายได้
ประเภทใด ต้องเสียภาษีเงินได้หรือภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร
หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. รายได้ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับ มีภาระภาษี ดังนี้
1.1 ภาษีเงินได้
เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายสถาบัน
อุดมศึกษาแต่ละแห่ง ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ดังนั้น รายได้ที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับจากผู้เข้ารับการศึกษาหรืออบรมในโครงการ
ศึกษาต่าง ๆ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ก. รายรับค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ
การศึกษาของสถาบันฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร
ข. รายรับค่าตำราเอกสาร เข้าลักษณะเป็นขายตำราเรียนจะได้รับ
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
ค. รายรับค่าอาหารเครื่องดื่ม ค่าดูงานในประเทศและต่างประเทศที่มีการ
เรียกเก็บนอกเหนือจากค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าสัมมนาโครงการอบรมต่าง ๆ
ถ้าหากสถาบันฯ เป็นผู้จัดและเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรของสถาบันฯ เข้าลักษณะเป็นการ
ให้บริการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ช)
แห่งประมวลรัษฎากร
2. รายจ่ายที่สถาบันฯ จ่าย มีภาระในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้
2.1 กรณีจ่ายค่าตอบแทนอาจารย์ที่ปรึกษานิสิต ค่าตอบแทนคณะกรรมการดำเนินงาน
ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน ค่าสัญจร และค่าตอบแทนการบริการทางการแพทย์ ถ้าเป็นอาจารย์ประจำหรือ
พนักงานประจำในสถาบันฯ ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้า
ไม่เป็นอาจารย์ประจำหรือพนักงานประจำถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร สถาบันฯ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา
50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
2.2 กรณีจ่ายค่าสอนและค่าสอบ ตามข้อ 2.2 โดยคิดค่าสอนเป็นชั่วโมงตามที่สอนจริงซึ่ง
จะต้องไม่กำหนดเหมาจ่ายเป็นรายเดือนและไม่คำนึงว่าได้มีการสอนหรือไม่ จึงถือว่าเป็นเงินได้ซึ่งได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(7) แห่ง
ประมวลรัษฎากร สถาบันฯ ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
เลขตู้: 66/32548


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020