เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./5748
วันที่: 18 มิถุนายน 2546
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 86, มาตรา 82/3
ข้อหารือ: กรณีบริษัท ท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกิจการผลิต ส่งออก
จำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์พลาสติก และได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากร
ขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อส่งออกเป็น
ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่นำเข้าครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2542 บริษัท ท. ได้สั่งซื้อวัตถุดิบเป็นเม็ด
พลาสติกจำนวน 6,500 กิโลกรัม จากบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย แต่บริษัท พ.
ได้สั่งซื้อเม็ดพลาสติกดังกล่าวจากบริษัท ด. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศไทย และบริษัท
ด. ได้สั่งซื้อเม็ดพลาสติกชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันนี้จากบริษัท ป. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัท ด. จะ
โอนสินค้าที่สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นให้กับบริษัท ท. เป็นผู้นำเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อ
เจ้าพนักงานศุลกากร โดยบริษัท ท. ได้ใช้สิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนขอยกเว้นอากร
ขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเม็ดพลาสติกดังกล่าวจำนวน 6,000 กิโลกรัม ส่วนที่เหลืออีก 500
กิโลกรัม บริษัท ท. ได้ชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนการชำระเงินค่าสินค้านั้นบริษัท ด.
ชำระเงินค่าสินค้าให้กับบริษัท ป. ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้ออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจาก
บริษัท พ. ส่วนบริษัท พ. ได้ออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากบริษัท ท. โดยระบุจำนวนสินค้า
รวม 6,500 กิโลกรัม บริษัท ท. จึงหารือว่า การออกใบกำกับภาษีของบริษัท ด. และ บริษัท พ. เป็น
การปฏิบัติที่ถูกต้องหรือไม่ ส่วนภาษีซื้อของบริษัท ท. ตาม ใบกำกับภาษีของบริษัท พ. มีสิทธินำไปขอคืน
หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัท พ. เป็นผู้ซื้อเม็ดพลาสติกจากบริษัท ด. เพื่อขายให้แก่บริษัท ท. ดังนั้น บริษัท พ
. จึงเป็นผู้ขายสินค้าให้แก่บริษัท ท. มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีขายจากบริษัท ท.ตาม
จำนวนเม็ดพลาสติก 6,500 กิโลกรัมที่ขายได้ และบริษัท ด. มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บ
ภาษีขายจากบริษัท พ. ตามจำนวนเม็ดพลาสติก 6,500 กิโลกรัมได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ตามมาตรา 86
แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนภาษีซื้อที่บริษัท ท. ชำระให้แก่กรมศุลกากร บริษัท ท. สามารถขอคืนได้
นอกจากนี้ภาษีซื้อของบริษัท ท. ที่ถูกบริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น บริษัท ท. สามารถนำไปใช้
เป็นเครดิตในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้
เลขตู้: 66/32505


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020