เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4006
วันที่: 29 เมษายน 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีพนักงานซื้อหุ้นในราคาพิเศษ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1), มาตรา 41 วรรคสอง
ข้อหารือ: บริษัท ส. เป็นผู้ประกอบกิจการ ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง
บริษัท C กับบริษัทในเครือของบริษัท ป. โดย C ถือหุ้นร้อยละ 60 และบริษัท ป. ถือหุ้นร้อยละ 40 C
มีโครงการออกหุ้นขายให้แก่พนักงานของกลุ่ม ม. ทั่วโลกในราคาพิเศษ เพื่อให้พนักงานมีส่วนเป็น
เจ้าของในบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ ในฐานะผู้ถือหุ้นจากการที่พนักงานได้
ทุ่มเททำงานให้บริษัท อันจะเป็นผลดีต่อพนักงานและบริษัทร่วมกันในระยะยาว ในประเทศไทยมีบริษัทใน
กลุ่มฯ ทั้งหมด 11 บริษัท ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการนี้ โดยในเดือนเมษายน 2545 C ซึ่งเป็น
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปารีส (Euronext Paris) ประเทศฝรั่งเศส ได้มีโครงการเสนอ
ขายหุ้นที่ออกใหม่แก่พนักงานในกลุ่ม ม. ทั่วโลก โดยมีลักษณะพิเศษดังนี้
1. C จะกำหนดราคาขายหุ้นโดยให้ส่วนลด 20% จากราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วันทำการ
ในตลาดหลักทรัพย์ปารีส (ราคาเสนอขายหุ้นจะเท่ากับร้อยละ 80 ของราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วัน)
2. สำหรับการซื้อหุ้น 10 หุ้นแรก บริษัทที่เป็นนายจ้างในแต่ละประเทศจะช่วยออกค่าหุ้นให้แก่
พนักงานอีกร้อยละ 50 ของราคาที่เสนอขาย
3. บริษัทที่เป็นนายจ้างในแต่ละประเทศจะเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราในการจองซื้อหุ้นดังกล่าว
สรุปข้อเท็จจริงข้างต้นเป็นดังนี้
- ราคาหุ้นเฉลี่ยในตลาดหลักทรัพย์ปารีส 43 ยูโร
- C เสนอขายให้พนักงานในราคา (43 ยูโร ลด 20%) 35 ยูโร
- เพื่อความสะดวกของพนักงาน C กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
เท่ากับ 38.38 บาท/ยูโร (อัตราในขณะนั้น) ซึ่งเท่ากับ 1,344 บาท
- พนักงานต้องจ่ายเงินค่าหุ้นเอง ในอัตราหุ้นละ 672 บาท
- บริษัทฯ ช่วยจ่ายเงินสมทบให้ ในอัตราหุ้นละ 672 บาท
- บริษัทฯ รับผิดชอบส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น
โดยบริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราล่วงหน้า (forward
contract) ในอัตรา 39.94 บาท/ยูโร แต่อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศของ
ธนาคารแห่งประเทศไทยในวันส่งเงินออกไป เป็น 40.53 บาท/ยูโร
4. บริษัทฯ หารือว่า บริษัทฯ มีความเข้าใจดังต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่
4.1 พนักงานต้องนำประโยชน์เพิ่มที่ได้รับจากการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาดมา
คำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการคำนวณประโยชน์เพิ่มดังกล่าวต้องปฏิบัติตาม
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 โดยคำนวณมูลค่าหุ้นตาม ข้อ 2(2) ของ
คำวินิจฉัยดังกล่าว ซึ่งตามกรณีของบริษัทฯ นั้น หุ้นที่จัดสรรให้พนักงานดังกล่าวไม่มีราคาขายให้ประชาชน
ทั่วไป (Public Offering) จึงต้องถือมูลค่าหุ้นเท่ากับมูลค่าทางบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น (พ.ศ. 2544) ซึ่งมีมูลค่าหุ้นละ 29.67 ยูโร หักด้วย
ราคาหุ้นที่ขายให้พนักงาน 35 ยูโร เท่ากับว่าพนักงานไม่ได้ประโยชน์เพิ่มใน ส่วนนี้
4.2 ประโยชน์เพิ่มจากการที่บริษัทฯ ช่วยเหลือลูกจ้าง ได้แก่
(1) จ่ายเงินค่าหุ้นสมทบให้ลูกจ้างในอัตราหุ้นละ 672 บาท
(2) จ่ายผลต่างอัตราแลกเปลี่ยน (จากอัตรา 38.38 บาท/ยูโร เป็น 40.53
บาท/ยูโร) เพิ่มขึ้น 2.15 บาท/ยูโร ซึ่งเท่ากับหุ้นละ 75.25 บาท
พนักงานต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4.3 เมื่อพนักงานได้รับกรรมสิทธิ์หุ้นดังกล่าวในปี 2545 แล้ว ต่อมาในปี 2546 หาก
พนักงานขายหุ้นนั้นในประเทศฝรั่งเศส และได้รับ Capital Gains พนักงานต้องนำ Capital Gains
ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามความตกลงระหว่างประเทศไทยและ
ประเทศฝรั่งเศสเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน โดยการคำนวณ Capital Gains นั้น ได้จากการนำ
ราคาขายหุ้นในประเทศฝรั่งเศส หักด้วยต้นทุนซื้อหุ้นซึ่งได้แก่ มูลค่าหุ้นที่ C เสนอขายให้แก่พนักงาน (หุ้น
ละ 35 ยูโร) โดยการคำนวณราคาขาย ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เงินดังกล่าวส่งกลับมาถึง
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และการคำนวณราคาต้นทุน ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ส่งเงินออกไป
ชำระค่าซื้อหุ้น คือ 40.53 บาท/ยูโร
4.4 ในกรณีที่พนักงานได้รับเงินปันผลและถูกหักภาษีเงินได้ในประเทศฝรั่งเศสสำหรับ
เงินปันผลที่ได้รับดังกล่าว การนำภาษีที่ถูกหักไว้ในประเทศฝรั่งเศสมาใช้สิทธิเครดิต
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสเพื่อ
การเว้นการเก็บภาษีซ้อน ต้องใช้หลักฐานตามที่ระบุในข้อ 11 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 65)ฯ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงเป็นที่ยอมรับของกรมสรรพากรถ้า
พนักงานได้รับเงินปันผลจากการถือหุ้นหรือได้รับ Capital Gains จากการขายหุ้นในปีภาษี 2546 แต่
พนักงานไม่นำเงินได้ดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี 2546 พนักงานไม่ต้องเสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: 1. พนักงานต้องนำประโยชน์เพิ่มที่ได้จากการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาดมารวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการคำนวณประโยชน์เพิ่มดังกล่าวต้องปฏิบัติตามข้อ 2(2) ของ
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 ฯ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538
2. กรณี 4.2, 4.4 และ 4.5 ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องแล้ว
3. กรณี 4.3 ในการคำนวณเงินได้พึงประเมินที่เป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน ที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตรา
ไทยของวันถัดไปตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32392


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020