เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/2969
วันที่: 26 มีนาคม 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542
ข้อหารือ: หารือเรื่องภาษีเงินได้ กรณีหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 สรุปได้ว่า นางสาว พ. ได้นำอสังหาริมทรัพย์ไปจดจำนองกับสถาบันการเงิน
ธนาคารฯ เพื่อค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งได้รับสินเชื่อจาก ธนาคารฯ สาขาราชเทวี ราย นาย ว. ต่อมา การ
ดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ประสบปัญหาอันเกิดจากผลกระทบวิกฤตทางเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่สามารถชำระหนี้สิน
เชื่อให้กับเจ้าหนี้ ธนาคารฯ ตามจำนวนเงิน/ตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ได้ นางสาว พ.
ผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตามรายละเอียดในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โดย นางสาว พ. ได้ตกลงขายอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคารฯ ดังกล่าว ให้กับ นาย
ฉ. ตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน รวมเป็นเงิน 9,000,000 บาท โดยมีราคาประเมินทุนทรัพย์ในการ
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นจำนวนเงิน 13,516,100 บาท นางสาว พ. ได้ชำระ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงิน 553,840 บาท และอากรแสตมป์ เป็นเงิน 67,601 บาท และ
นางสาว พ. ได้นำเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คือ ธนาคารฯ จำนวนเงิน 4,200,000 บาท เป็นการ
ชำระหนี้ของลูกหนี้ ราย นาย ว. ซึ่งมีหนี้คงค้างชำระอยู่กับเจ้าหนี้ธนาคารกรุงเทพฯ 5,715,670.76
บาท ต่อมา นางสาว พ. ทราบว่า การขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับยกเว้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ ในส่วนของเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้
บุคคลอื่น เพื่อนำมาชำระให้กับสถาบันการเงิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างอยู่กับเจ้าหนี้ ตาม
หลักเกณฑ์ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดจากจำนวนเงิน
4,200,000 บาท นางสาว พ. จึงได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อสำนักงาน
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 โดยแนบหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ฯ ตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งลงนามโดย นางสาว พ.
ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ซึ่งเป็นผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ แต่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน (ธนาคารฯ) และผู้ซื้อ
(นาย ฉ.) ซึ่งเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ลงนาม โดยนางสาว พ. อ้างว่าไม่สามารถติดตามให้
ผู้ซื้อ คือ นางสาว ฉ. มาลงนามได้ เนื่องจาก นางสาว พ. อายุมาก ไม่สะดวกและไม่สามารถที่จะ
ติดตามได้ ประกอบกับ นางสาว พ. มีเอกสารรับรองการโอนกรรมสิทธิ์ครบถ้วนแล้ว
แนววินิจฉัย: การขายอสังหาริมทรัพย์ของ นางสาว พ. จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 373)
พ.ศ. 2543 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.
2543 โดยต้องมีการจัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามที่
แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ดังกล่าว และแจ้งหนังสือรับรองดังกล่าวต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่าน
สรรพากรพื้นที่ สรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมี
ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่ จึงจะได้รับยกเว้นภาษี
ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
เลขตู้: 66/32333


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020