เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/10786
วันที่: 13 ธันวาคม 2545
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีของนักพากย์ภาพยนตร์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(2)
ข้อหารือ: กรณีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าพากย์ภาพยนตร์ ซึ่งบริษัท
ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของงานออกให้แก่นักพากย์ภาพยนตร์อิสระที่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ และรับ
พากย์ภาพยนตร์เป็นรายเรื่อง รายชุด ทั้งที่เป็นครั้งคราวและต่อเนื่อง โดยที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่ายได้ระบุรายการไว้หลากหลายว่าเป็น "ค่าจ้างทำของ" "ค่าบริการ" "วิชาชีพอิสระ" และบริษัท
ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของงานติดต่อว่าจ้างนักพากย์เป็นรายบุคคล เป็นครั้งคราวหรือติดต่อบุคคลใด
บุคคลหนึ่งเพื่อให้จัดทีมพากย์ภาพยนตร์ และผู้รับงานจะรับเงินค่าพากย์ภาพยนตร์จากบริษัท ผู้ประกอบการ
หรือเจ้าของงานมาแจกจ่ายให้ลูกทีม หรือบริษัทผู้ประกอบการ หรือเจ้าของงานอาจจ่ายเงินค่าพากย์ให้
แก่นักพากย์แต่ละคนโดยตรง สามารถระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ว่าเป็น "ค่าพากย์
ภาพยนตร์" และนักพากย์สามารถนำไปแสดงในการยื่นแบบแสดงรายการเป็นเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีการเสียภาษีเงินได้สำหรับนักพากย์ภาพยนตร์โดยว่าจ้างเป็นรายบุคคลหรือว่าจ้างบุคคลให้
จัดทีมพากย์ภาพยนตร์ ค่าตอบแทนที่ได้รับจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใดและต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไรนั้น กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีกรณี
เงินได้จากการรับทำงานให้ไว้แล้วตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้
และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการ ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.
2545 และตามข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าวให้นำความมาใช้บังคับสำหรับผู้มีเงินได้ที่มี
เงินได้ลักษณะทำนองเดียวกับตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต สำหรับนักพากย์ภาพยนตร์ตาม
ข้อเท็จจริงเป็นกรณีที่ผู้มีเงินได้มีเงินได้ลักษณะทำนองเดียวกับตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
ดังนั้น จึงให้พิจารณาเทียบเคียงถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำเกี่ยวกับการเสียภาษี
ต่อไป
เลขตู้: 65/32124

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020