เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ./ก.793
วันที่: 18 กรกฎาคม 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.08)
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81(1)(ก), มาตรา 81(1)(จ), มาตรา 85/10(1)
ข้อหารือ: 1. บริษัทฯ มีสถานประกอบการตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประกอบกิจการขายส่งยากำจัดศัตรู
พืช และเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ก) และมาตรา 81(1)(จ)
แห่งประมวลรัษฎากร และมีการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืช บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบุประเภทของ
การประกอบการว่าส่งออกและขายส่งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขาย
หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
2. บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.พ.30 มาโดยตลอด แสดงยอดขายส่วนใหญ่เป็นยอดขายที่ได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และตั้งแต่เดือนภาษีมกราคม 2544 ถึงเดือนภาษีกันยายน 2544 บริษัทฯ มีการ
ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชไปต่างประเทศ ยอดเงิน 541,745.32 บาท ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าฐานภาษีขั้นต่ำ
600,000 บาท ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้เลิกกิจการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชแล้ว เนื่องจากมีตัวเลขการขายน้อย
และไม่มีบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการติดต่อต่างประเทศ จึงยุบแผนกส่งออกต่างประเทศ คงเหลือแต่
ประเภทการขายส่งยาจำกัดศัตรูพืชและเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. บริษัทฯ ยื่นแบบคำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.08) ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2544
เพื่อขอออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) โดยระบุประเภทของ
การประกอบกิจการว่าส่งออกและขายส่งเมล็ดพันธุ์พืชและยาฆ่าแมลง การขายส่งเมล็ดพันธุ์พืช และ ยา
ฆ่าแมลงเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ก) และมาตรา 81(1)(จ) แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่ได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบที่
อธิบดีกำหนดเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ถือว่าบริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทกิจการขายส่งเมล็ดพันธุ์พืชและยาฆ่า
แมลง โดยสำคัญผิด ประกอบกับบริษัทฯ ไม่มีเจตนานำประเภทกิจการขายส่งเมล็ดพันธุ์พืชและยาฆ่าแมลง
เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างชัดแจ้ง เนื่องจากในการยื่นแบบ ภ.พ.30 บริษัทฯ กรอกรายการขายใน
ประเทศในช่องยอดขายที่ได้รับยกเว้น ดังนั้น หากบริษัทฯ ต้องการเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของกิจการที่ได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2. กรณีบริษัทฯ ประสงค์จะขอให้อธิบดีกรมสรรพากรสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของ
ประเภทกิจการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชและยาฆ่าแมลงนั้น จะต้องปรากฏว่าการประกอบกิจการของบริษัทฯ มี
มูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดไว้ใน พระราชกฤษฎีกาเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี ก่อนการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 85/10(1)
แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 65/31801

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020