เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/5530
วันที่: 24 มิถุนายน 2545
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอคืนภาษีจากการยกเลิกเช็ค
ข้อกฎหมาย: มาตรา 69 ทวิ
ข้อหารือ: องค์การฯ ได้ออกเช็คลงวันที่ 27 ธันวาคม 2543 จ่ายค่าจ้างหล่อยางลูกพิมพ์และ
ภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 1,431 บาทให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นเงินค่าจ้างจำนวน 1,350 บาท ได้หัก
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย เป็นเงิน 13.50 บาท และนำส่งกรมสรรพากร เมื่อวันที่ 8 มกราคม
2544 ต่อมาห้างฯ ตรวจพบว่าองค์การฯ พิมพ์ชื่อห้างฯ ในเช็คผิดไม่มีคำว่า "จำกัด" จึงไม่รับเช็คและ
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย องค์การฯ จึงยกเลิกเช็คและออกเช็คฉบับใหม่ ลงวันที่ 19 มกราคม
2544 พร้อมกับออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ฉบับใหม่ ลงวันที่ 19 มกราคม 2544 เป็นเงิน
ค่าจ้างจำนวน 1,350 บาท ให้กับห้างฯ และนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 13.50
บาท เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 องค์การฯ ได้หารือว่า
1. การที่องค์การฯ ได้นำภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นเงินของ องค์การฯ นำส่ง
กรมสรรพากรไว้เกิน องค์การฯ ควรปฏิบัติอย่างไรในการขอคืนภาษี จึงจะถูกต้อง
2. ห้างฯ ได้รับเช็คลงวันที่ 19 มกราคม 2544 ห้างฯ สามารถใช้หนังสือรับรอง การหัก
ภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 มกราคม 2544 เป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของห้างฯ ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตามข้อเท็จจริงองค์การฯ เป็นผู้เสียประโยชน์จากการนำส่งภาษีไว้ผิด องค์การฯ จึง
ต้องเป็น "ผู้ขอคืน" โดยยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรตามแบบ ค.10
2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 มกราคม 2544 ที่ห้างฯ ได้รับจาก
องค์การฯ ห้างฯ นำไปถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของห้างฯ ได้ ตามรอบระยะเวลาบัญชีที่
หักไว้นั้นตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 65/31589


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020