เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ./5529
วันที่: 24 มิถุนายน 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ได้นำส่งภาษีขาย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/3, มาตรา 90(2), มาตรา 89(2)(4)(7), มาตรา 89/1, ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรภาคหารือกรมสรรพากร เรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ได้
นำส่งภาษีขาย โดยปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
1. สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ได้ส่งสอบยันใบกำกับภาษีซื้อ ราย บริษัท ร.(ผู้ขาย) ซึ่งอยู่
ในเขตความรับผิดชอบของ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ผลการสอบยันใบกำกับภาษีซื้อปรากฏว่า ปัจจุบัน
บริษัท ร. ไม่มีการประกอบกิจการและได้รับอนุมัติให้เพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเมื่อวันที่ 16
มีนาคม 2542 และจากการคัดหลักฐานการยื่นแบบ ภ.พ.30 พบว่า บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมผ้าฯ ยื่น
แบบ ภ.พ.30 ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 และไม่พบข้อมูลว่ามีการยื่นแบบ ภ.พ.30 อีก
2. เจ้าพนักงานประเมินสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ได้แจ้งผลการสอบยันใบกำกับภาษี
ดังกล่าวให้ บริษัท ย. จำกัด (ผู้ซื้อ) ทราบ โดยบริษัทฯ ได้นำพิสูจน์หลักฐานการจ่ายเงินให้แก่บริษัท
ร. ดังนี้
2.1 บริษัทฯ จ่ายชำระเงินตามใบกำกับภาษี ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 มูลค่าสินค้า
1,596,464 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 159,646.40 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,756,110.40 บาท โดย
สั่งจ่ายชำระเป็นเช็คเงินสด จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
(1) เช็คลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 1,500,000 บาท
(2) เช็คลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 208,216.48 บาท
2.2 บริษัทฯ จ่ายชำระเงินตามใบกำกับภาษีลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 มูลค่าสินค้า
1,292,050 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 129,205 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,421,255 บาท โดยบริษัทฯ
สั่งจ่ายชำระสินค้าเป็นเช็คเงินสดธนาคาร A จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
(1) เช็คลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 300,000 บาท
(2) เช็คลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 500,000 บาท
(3) เช็คลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 382,493.50 บาท
(4) เช็คลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 200,000 บาท
2.3 บริษัทฯ จ่ายชำระเงินตามใบกำกับภาษีลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 มูลค่าสินค้า
1,885,318.60 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 188,531.86 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,073,850.46 บาท
โดยบริษัทฯ ได้สั่งจ่ายชำระสินค้าเป็นเช็คเงินสดธนาคาร A จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
(1) เช็คลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 500,000 บาท
(2) เช็คลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 500,000 บาท
(3) เช็คลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 500,000 บาท
(4) เช็คลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จำนวน 517,290.90 บาท
ซึ่งหลักฐานการเบิกจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็น
ผู้รับเงินตามเช็คดังกล่าว
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ (ผู้ซื้อ) นำใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยบริษัท ร.(ผู้ขาย) ก่อนได้รับอนุมัติ
เพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยบริษัทฯ ได้แสดงหลักฐานการ
ชำระราคาสินค้าเป็นเช็คเงินสดจำนวน 8 ฉบับ และสำเนาใบแจ้งหนี้ยอดบัญชี (Statement of
Account) ของธนาคาร A ซึ่งแสดงการชำระเงินตามจำนวนที่ปรากฏตามเช็คเงินสด แต่หลักฐาน
ดังกล่าวมิได้แสดงว่าบริษัทฯ ได้ชำระภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีไปจริง เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถพิสูจน์
ผู้รับเงินจำนวนดังกล่าวได้ และบริษัท ร. ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจาก
ผู้ซื้อดังกล่าว บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา
82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
17)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ทำให้บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง
เป็นเหตุทำให้จำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป บริษัทฯ ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4)
และ มาตรา 89(7) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีบริษัท ร. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในกำหนดเวลา
กล่าวคือ มีการยื่นแบบ ภ.พ.30 ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 เนื่องจากผู้ประกอบการ
จดทะเบียนมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 เป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) ไม่ว่าจะ
ได้ขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น
เมื่อบริษัท ร. ไม่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในกำหนดเวลา จึงจะต้องรับผิดระวางโทษปรับไม่เกินสองพัน
บาทตามมาตรา 90(2) แห่งประมวลรัษฎากรและต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือ
นำส่งในเดือนภาษีตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษ
ของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 65/31588


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020