เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/5526
วันที่: 24 มิถุนายน 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบรับค่าผ่านทางพิเศษ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(10), มาตรา 77/2, มาตรา 105 ทวิ
ข้อหารือ: การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีหนังสือหารือกรมสรรพากรกรณีการออกใบรับ
ค่าผ่านทางพิเศษ ซึ่งสรุปสาระสำคัญว่า กทพ. เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่
290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 มีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างทางพิเศษเพื่อเป็นเส้นทาง
คมนาคม และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กทพ. ทำสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 กับบริษัท
ท. (B.) เพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและบริหารโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 เมื่อวันที่ 22
ธันวาคม 2531 และได้ทำสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด กับบริษัท ด. (N) เพื่อให้
เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและบริหารโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 27 กันยายน
2539 ซึ่งในการให้บริการทางพิเศษ กทพ.ได้ออกใบรับค่าผ่านทางพิเศษทั้งสองโครงการ ตามมาตรา
105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ใช้บริการทางด่วน โดยได้มีการพิมพ์ชื่อหรือยี่ห้อของ กทพ. รวมทั้ง
ชื่อหรือยี่ห้อของ B และ N ลงในใบรับค่าผ่านทางพิเศษในโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 และใน
โครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด กทพ. หารือว่า การออกใบรับดังกล่าวถูกต้องตาม
ประมวลรัษฎากรหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. สัญญาร่วมลงทุนระหว่าง กทพ. กับ บริษัท ท. และระหว่าง กทพ. กับบริษัท ด. ตาม
เอกสารที่ส่งไปประกอบการพิจารณาถือว่า กทพ. เป็นผู้ดำเนินกิจการทางด่วนโดยให้บริการแก่
ผู้ใช้บริการทางด่วน ค่าผ่านทางทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการจ่ายให้ที่ตู้เก็บเงิน เป็นค่าบริการตามมาตรา
77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร กทพ. จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัท ท. และบริษัท ด. ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ให้บริการทางด่วน แต่เป็นผู้ให้บริการใน
การก่อสร้างและบริหารตลอดจนบำรุงรักษาทางด่วนแก่ กทพ. โดยได้รับค่าตอบแทนในรูปของส่วนแบ่ง
จากค่าผ่านทาง ซึ่งเป็นค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัท ท. และ
บริษัท ด. จึงหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนแบ่งที่ได้รับจาก กทพ. ตามมาตรา 77/2 แห่ง
ประมวลรัษฎากร
2. กทพ. เป็นผู้ให้บริการทางพิเศษแก่ผู้ใช้บริการทางด่วน กทพ. จึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับ
ค่าผ่านทางพิเศษที่มีรายการตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณี กทพ. เพิ่มชื่อหรือยี่ห้อของ
บริษัท ท. และบริษัท ด. ลงในใบรับค่าผ่านทางของ กทพ. ด้วย กทพ. สามารถกระทำได้ เนื่องจาก
เป็นการเพิ่มเติมข้อความมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
เลขตู้: 65/31585


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020