เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.192
วันที่: 12 เมษายน 2545
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ของกองมรดกที่ไม่ได้แบ่งและให้ผู้อื่นเช่า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 91/1(4), มาตรา 91/2(6), มาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2544
ข้อหารือ: 1. นาง ก. เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ข. (บิดา) และนาย ค. (ผู้รับมรดกร่วมกับนาง
ก.) ตามคำสั่งศาลฯ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2524 โดยที่นาย ข. มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 2
แปลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดก ได้แก่ โฉนดเลขที่ 00001 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์
จำนวน 4 คูหา เลขที่ 1000 1001 1002 และ 1003 ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่
00002 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นอู่ซ่อมรถ 1 หลัง และนาง ก. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนกรรมสิทธิ์
ที่ดินทั้ง 2 แปลง เป็นของผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2528 ต่อมานาง ก. นำตึกแถว 4 คูหา
และอู่ซ่อมรถ 1 หลังให้บุคคลภายนอกเช่า ซึ่งปรากฏตามข้อมูลการเสียภาษีโรงเรือนปีภาษี 2536 และ
2537 โดยนาง ก. เป็นผู้ดำเนินการเสียภาษีในฐานะผู้จัดการมรดก และข้อมูลจากคำให้การของนาง
ก.
2. นาง ก. ได้จดทะเบียนรวมที่ดินทั้ง 2 แปลงข้างต้นเป็นโฉนดใหม่เลขที่ 111 เมื่อวันที่
16 มีนาคม 2537 ต่อมาได้จดทะเบียนแบ่งที่ดินจากโฉนดเลขที่ 111 เพื่อเป็นทางสาธารณะพร้อม
แบ่งแยกที่ดินเพิ่มเป็นอีก 1 แปลง เป็นโฉนดเลขที่ 112 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2537 และนาง ก.
โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 112 เป็นของตนเองในฐานะทายาทเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537
3. วันที่ 8 เมษายน 2537 นาง ก. ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 111 พร้อมตึกแถว 4 คูหา และ
อู่ซ่อมรถ 1 หลัง ให้กับธนาคารในราคา 60,000,000 บาท ราคาประเมิน 17,907,660 บาท
4. สพท. เห็นว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ของนาง ก. ในบานะผู้จัดการมรดกของนาย ก.
และนาย ข. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่า เข้าลักษณะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้เพื่อ
ประกอบกิจการตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กองมรดกดังกล่าว จึงอยู่
ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว พิจารณาได้ดังนี้
1. นาง ก. ในบานะผู้จัดการมรดกของนาย ข. และนาย ค. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากนาย
ข. (ผู้ตาย) ให้นาง ก. ในฐานผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2528 และได้นำตึกแถว 4 คูหา
และอู่ซ่อมรถ 1 หลัง ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองมรดกฯ ไปให้บุคคลภายนอกเช่า ถือได้ว่าการให้เช่า
อสังหาริมทรัพย์ เป็นการประกอบกิจการของกองมรดกฯ ต่อมากองมรดกฯ ขายที่ดินพร้อมตึกแถวและ
อู่ซ่อมรถดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ซึ่งในขณะนั้นต้องนำพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244)
พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีบุคคลธรรมดาไว้ว่า
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้เพื่อประกอบกิจการเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็น
ทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ดังนั้น นาง
ก. ในฐานะผู้จัดการมรดก ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 111 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของกองมรดกฯ ถือได้ว่าเป็น
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้เพื่อประกอบกิจการตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่
244) พ.ศ. 2534 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเพาะในนามกองมรดกตามมาตรา 91/2(6) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
2. กรณีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้โอนอสังหาริมทรัพย์เป็นชื่อผู้จัดการมรดกก่อน แล้วจึง
โอนมรดกให้แก่ทายาท การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์แทนทายาท เมื่อ
ผู้จัดการมรดกโอนมรดกให้แก่ทายาท จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายตามมาตรา 91/1(4) จึงไม่อยู่ใน
บังคับที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เลขตู้: 65/31363

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020