เมนูปิด
เลขที่หนังสือ: กค 0702/พ./1710
วันที่: 4 มีนาคม 2553
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(8) มาตรา 80 มาตรา 86/4 มาตรา 82/3 และมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ          บริษัทฯ ประกอบกิจการนำเข้าส่งออก และจำหน่ายเครื่องประดับจิวเวลรี่ บริษัทฯ จะซื้อวัตถุดิบ เช่น เพชร และ พลอยเจียระไนแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป จำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่าย ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ หลักฐานการซื้อวัตถุดิบ ได้แก่ ใบกำกับภาษีซื้อ ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมใบกำกับสินค้า (Invoice)
          กรณีที่บริษัทฯ ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดใน คำสั่งซื้อ บริษัทฯ จะส่งมอบวัตถุดิบ เช่น เพชร พลอย ให้ผู้ผลิตรายอื่น
          บริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบหลัก เช่น เงิน ทอง แรง งาน เพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป และส่งออกไปต่างประเทศ โดยจะเป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากรยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของบริษัท ดังกล่าวเพื่อส่งสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศตาม ที่ระบุในใบ Invoice ของบริษัทฯ ในราคาเต็มมูลค่าสินค้า (ราคาวัตถุดิบของบริษัทฯ รวมกับราคาของบริษัทผู้ผลิต) โดยบริษัท ผู้ผลิตจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าในต่างประเทศเฉพาะค่าวัตถุดิบของตน ไม่รวมค่าวัตถุดิบของ บริษัทฯ
          เอกสารหลักฐานจากยอดขายของบริษัทฯ ในเดือน มกราคมถึงเดือนธันวาคม 2550พบว่า ในกรณีที่บริษัทฯ ส่งมอบวัตถุดิบ ให้กับบริษัทผู้ผลิตทำการผลิตสินค้านั้น บริษัทฯ จะถือเป็นการขาย สินค้า และนำมาแสดงในสมุดรายวันขาย เป็นรายรับในการยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และยื่นแบบ ภ.พ.30 เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามรายงานภาษีขายบันทึกเป็นยอดขายส่งออก โดยมีใบ Invoice ของบริษัทฯ และใบ Order Form ของผู้ ซื้อต่างประเทศ
แนววินิจฉัย          กรณีการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศที่จะถือเป็นการส่ง ออกซึ่งจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 นั้น ต้องเป็นกรณีผู้ส่งออกได้ดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของตนเองเพื่อส่ง ออกไปต่างประเทศ โดยต้องมีหลักฐานใบขนสินค้าขาออก หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ส่งมอบวัตถุดิบให้บริษัทผู้ผลิต ผลิต เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งให้กับลูกค้าในต่างประเทศในนามบริษัทผู้ผลิต โดยบริษัทฯ มิ ได้เป็นผู้ดำเนินการยื่นใบขนสินค้าขาออก บริษัทฯ จึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การส่งมอบวัตถุดิบของบริษัทฯ ให้ แก่บริษัทผู้ผลิตนั้นเข้าลักษณะเป็น การจำหน่ายจ่ายโอนสินค้าที่ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้แก่บริษัทผู้ผลิต เมื่อความรับผิดเกิดขึ้นในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 และมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทผู้ผลิตมีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวมาใช้เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และมีสิทธิใช้เป็นเครดิตภาษีและขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายในสามปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น
เลขตู้: 73/37162

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020